เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 16
  พิมพ์  
อ่าน: 49745 ผลงานชั้นเยี่ยมเป็นนิพนธ์ของเจ้าฟ้ากุ้งเองหรือกวีนิรนามในสำนักของพระองค์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 01 ก.ย. 15, 10:03

ตั้งแต่ดิฉันเรียนที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ในยุคที่หลายคนในเรือนไทยยังไม่เกิด     อาจารย์ก็สอนแล้วว่า ศรีปราชญ์ที่เราเข้าใจกันว่าเป็นผู้แต่งกำศรวลศรีปราชญ์นั้นไม่มีตัวจริง
อาจารย์ท่านที่จุดประกายเรื่องนี้ขึ้นมาคือ ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล   ท่านยกภาษาและพงศาวดารมาอ้างอิงเลยทีเดียว

อาจารย์ผู้สอนคือศ.วัชรี รมยะนันทน์ สอนว่า ที่เราเรียกนิราศเรื่องนี้ว่ากำศรวลศรีปราชญ์ เพราะไปเชื่อนายนรินทร์ธิเบศร์  ที่อ้างไว้ในโคลงนิราศนรินทร์   ว่าศรีปราชญ์เป็นผู้แต่ง     และต่อมา ก็เชื่อ "ตำนานศรีปราชญ์" ที่เรียบเรียงโดยพระยาปริยัติธรรมธาดา ว่าศรีปราชญ์เป็นกวีเอกสมัยสมเด็จพระนารายณ์

ดิฉันเองก็เคยเขียนบทความเรื่องนี้เอาไว้ สมัยเรียนจบปริญญาตรีใหม่ๆ ยังไม่ได้เรียนต่อ ว่าความสัมพันธ์ของกวีผู้แต่งกับบาศรีจุฬาลักษณ์นั้นอยู่ในฐานะสามีภรรยากัน ไม่ใช่ชู้ที่ลักลอบพบปะ
มีบทหนึ่งที่กล่าวขณะเดินทางผ่านถึงสำโรง ว่าทำให้นึกถึงร่วมหอลงโรงกัน บทความนั้นอยู่ไหนไม่ทราบ  กลับไปหากำศรวลในตู้หนังสือเรือนไทย ก็พบว่าความกลายเป็นอีกอย่าง  งงอยู่เหมือนกัน

บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 01 ก.ย. 15, 13:47

ผู้แต่งกำสรวลสมุทร น่าจะเป็นเจ้านายระดับสูง  ถึงขั้นกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่งของอยุธยา ย้อนหลังจากสมัยสมเด็จพระนารายณ์ขึ้นไป อาจจะอยู่ยุคเดียวกับทวาทศมาส เพราะภาษาอยู่ประมาณนั้น
ทั้งตัวกวีและนางที่เรียกว่า บาศรีจุฬาลักษณ์ เป็นสามีภรรยากัน  ไม่ใช้ชู้    เพราะหลายตอนกล่าวถึงกิจวัตรประจำวันของนาง อย่างสามีที่รู้จักคุ้นเคยกับงานประจำวันของภรรยา   รู้ว่าชอบโน่นทำนี่   เป็นการกล่าวอย่างเปิดเผย    และมีระยะเวลาอยู่ด้วยกันนาน  ไม่ใช่นานๆแอบพบกันที

นางในกำสรวล ไว้ผมยาวเกล้ามวย   หาหนังสืออยุธยาอาภรณ์ในตู้ไม่พบ  ไม่งั้นคงเช็คได้ว่าอยุธยายุคไหนที่สาวๆไว้ผมยาว แต่ไม่ได้ปล่อยประบ่าอย่างอยุธยาตอนปลาย  หากแต่เกล้าเป็นมวย

อย่างที่ อ.เทาชมพูว่ามาครับ นอกจากเรื่องของภาษา เนื้อความ และบทประพันธ์ที่เป็นโคลงดั้นที่ใช้กันในสมัยอยุทธยาตอนต้น กำสรวลสมุทรบางตอนโวหารนั้นใกล้เคียงกับทวาทศมาสซึ่งเป็นโคลงดั้นเหมือนกันมาก จนอาจจะเป็นไปได้ด้วยว่าเป็นผู้แต่งคนเดียวกันครับ ซึ่งในทวาทศมาสก็มีการกล่าวถึง 'ศรีจุฬาลักษณ์' อยู่เช่นกันครับ ซึ่งก็สันนิษฐานว่าคงจะเป็นคนเดียวกับ 'บาศรีจุฬาลักษณ์' ในกำสรวลสมุทร ซึ่งคงจะเป็นมเหสีของกษัตริย์อยุทธยาในตอนนั้น

"     อาณาอาณาสเพี้ยง     เพ็ญพักตร์
"อกก่ำกรมทรวงถอน         ถอดไส้
ดวงศรีจุฬาลักษณ์            เฉลิมโลก กูเอย
เดือนใหม่มามาได้            โสกสมร ฯ"

ถ้าเป็นเจ้าฟ้าน้อยอนุชาสมเด็จพระนารายณ์ที่คบชู้กับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ การเขียนโคลงโดยชื่อชู้รักแบบเปิดเผยไม่กลัวคนจับสังเกตได้ก็ยิ่งจะดูผิดธรรมชาติมากขึ้นไปอีกครับ


ต้องยอมรับว่าไม่ใช่ครับ ดูตัวอย่างโคลงนิราศกำศรวลสมุทรที่ระบุว่าเป็นศรีปราชญ์แต่ง แต่เนื้อความไม่สอดคล้องกับเรื่องของศรีปราชญ์ ภาษาที่ใช้ไม่สอดคล้องกับสมัยพระนารายณ์ ภูมิประเทศที่กวีผ่านบ่งชี้ว่าไม่ใหม่ไปกว่ายุคพระไชยราชาฯ เห็นชัดว่าสิ่งที่คนต้นรัตนโกสินทร์รับรู้นั้นผิดอย่างจะแจ้ง


เรื่องกำสรวลสมุทร (Last edition ไม่ใช่ First edition) นี้ ผมเชื่อตามฝ่ายนักวิชาการเสียงข้างน้อยครับ เช่น ดร.วินัย และ คุณธนิต อยู่โพธิ์ ที่ว่าแต่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์
แต่งโดยสำนักพิมพ์เจ้าฟ้าน้อย ก่อนที่จะมีสำนักพิมพ์เจ้าฟ้ากุ้งครับ
เรื่องนี้ถ้าเกิดเชนเชื่อเหมือนกันอีก แล้วเกิดบ้าเลือดขึ้นมา เดี๋ยวพระเอกเชนคงไปลุยเดี่ยวในกระทู้เก่าคุณ CrazyHOrse ต่อคนเดียวเองนะครับ สมุนขอหลบแถวนี้ก่อน
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 01 ก.ย. 15, 14:16


ขอเสนอพล็อตนิยายคร่าวๆ ต่อนะครับ

เมื่อได้รับโอกาสอภัยโทษ สึกออกมาแล้าท่านเจ้าฟ้าฯ ก็เริ่มสร้างผลงานเปิดบริษัทสำนักพิมพ์
บริษัทนี้นอกจากจะแต่งเพลงรัก เพลงโศก แต่งสารคดีท่องเที่ยวแล้ว
ยังมีธุรกิจปลีกย่อยเกี่ยวกับการตีหัวคน และ หาเรื่องชาวบ้านอีกด้วย

เมื่อผลงานเริ่มติดตลาด แล้ว ผลิตสินค้าไม่ทัน ก็จะใช้วิธีเอาสินค้าที่ผลิตจากผู้ผลิตรายอื่นมาติดตราสำนักพิมพ์
เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการตลาดได้

การติดตราสำนักพิมพ์นี้ได้รับการคุ้มครองอย่างเด็ดขาดจากกฎหมายลิขสิทธิเฉพาะในเวลานั้น (ถวายแล้วชิงเอาคืน โดนตัดนิ้ว)
ทำให้บริษัทคู่แข่งยากที่จะทำการแข่งขันได้ และผู้บริโภคยอมรับใน  branding ของบริษัทในที่สุด

ในที่สุด ท่านพระราชาคณะที่หวังผลมองการไกล ได้สนับสนุน เสนอให้ท่านเจ้าฟ้าได้รับการเลื่อนตำแหน่ง
แล้วสำนักพิมพ์ก็ทยอยผลิตสินค้าชั้นดีทางธรรมและทางโลกย์ ออกมาสู่ตลาดจนได้รับความนิยมสูงมาก

เนื่องจากความเชี่ยวชาญของสำนักพิมพ์ทางศิลปะและวัฒนธรรม
จึงได้รับการไว้วางใจให้เป็นผู้ดูแลโครงการก่อสร้างและบูรณะขนาดใหญ่ให้รัฐบาลในเวลาต่อมา
นับได้ว่าเป็นบริษัทดาวรุ่งของแผ่นดินในเวลานั้น ไม่มีใครเทียบ ยกเว้นบริษัทคู่แข่งของค่ายสามกรม

นี่และครับพล็อตเรื่องคร่าวๆ "จากนักเลง สู่เจ้าของบริษัทก่อสร้างพันล้าน" ของกระผม
 
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 01 ก.ย. 15, 14:27

ดร.วินัย และ คุณธนิต ให้เหตุผลว่าอย่างไรครับว่าทำไมกำสรวลสมุทรถึงแต่งในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์?

ถ้าเป็นเจ้าฟ้าน้อยแต่งจริง ก็ต้องเป็นงานตั้งใจทำเทียมของเก่า ความยากน้องๆ ทฤษฎีจารึกหลักที่ 1 ทำเทียมสมัย ร. 4 เลยนะครับ

สงสัยจะต้องแตกเป็นอีกกระทู้หนึ่งต่างหากแล้วมังครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 01 ก.ย. 15, 14:53

เชิญตั้งกระทู้ใหม่ได้เลยค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 01 ก.ย. 15, 15:12

ตอบค.ห. 92

นิยายเรื่องนี้ไม่อาจเกิดขึ้นได้ในสมัยปลายอยุธยาค่ะ เพราะบริบทไม่อำนวย

ในสมัยอยุธยาเรื่อยมาจนสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น    การเล่าเรียนเขียนอ่านจำกัดอยู่ในวัดสำหรับพระสงฆ์พรรษายาวๆ  และกุลบุตรที่ได้บวชเรียนระยะสั้นๆ ก่อนสึกออกไปแต่งงานสร้างครอบครัว หรือเข้ารับราชการ
ผู้หญิงซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งของราชอาณาจักร ไม่มีโอกาส  เพราะการดูแลบ้านช่องตลอดจนการทำไร่ ไถนา ทอผ้า ทำกับข้าวกับปลาหุงหาอาหาร นั้นล้วนแล้วแต่ไม่ต้องอาศัยเล่าเรียนเขียนอ่าน   ผู้หญิงที่มีโอกาสเรียนวิชาหนังสือ คือสตรีสูงศักดิ์ที่ไม่ต้องทำงานบ้าน  อย่างเช่นเจ้านายสตรี    เจ้าฟ้ากุณฑลกับเจ้าฟ้ามงกุฎจึงมีโอกาสแต่งหนังสือได้ยาวมาก

วรรณคดีทั้งหลายถ้าจะให้ชาวบ้านชาวเมืองรับรู้ ต้องเป็นวรรณคดีที่ต้องเปล่งเสียง เช่นเอาไว้อ่านเอาไว้เทศน์  อย่างมหาชาติคำหลวงหรือกาพย์มหาชาติ    ชาวบ้านจึงจะรู้เรื่องกะเขาได้     ถ้าเขียนอย่างเดียว  จบสนิท  หาคนอ่านนอกวัดไม่ได้
อีกอย่างสมัยนั้นไม่มีการพิมพ์   การพิมพ์เพิ่งจะแว่วเข้าหูชาวไทยในสมัยรัชกาลที่ 3     กวีเขียน อาลักษณ์ลอกลงสมุดไทย ทีละแผ่นทีละเล่ม เสร็จแล้วเก็บเข้าหอสมุด     ถ้าจะเอาไว้ขับอย่างกาพย์เห่เรือหรือเสภา ก็ได้ยินกันเฉพาะชาววัง  กับข้าราชการที่เข้าเฝ้า   ใครอยากจะอ่านก็อ่านไม่ได้ถ้าไม่ได้อยู่ในแวดวง เพราะระบบเดินเข้าไปขอยืมสมุดข่อยมาอ่านยังไม่เกิดในสมัยนั้น    นายกุหลาบริอ่านทำก็ล่วงเข้าไปถึงรัชกาลที่ 5 แล้ว  มิหนำซ้ำยังต้องใช้อุบายกว่าจะขอยืมมาให้เสมียนคัดได้
ด้วยเหตุเหล่านี้การระบุชื่อผู้แต่งจึงไม่ใช่เรื่องจำเป็น  จะบอกก็ได้ ไม่บอกก็ไม่แปลก  เนื่องจากแวดวงผู้เสพมีอยู่แคบมาก  แคบยิ่งกว่าชั้นเรียนที่คุณคนโคราชสอนซะอีก    ใครแต่งเรื่องอะไรก็รู้กันหมด   ไม่มีใครคิดเผื่อว่าอีก 400 ปีต่อมา ยังมีคนอ่านอยู่ แล้วพยายามหากันให้ควั่ก ว่ากวีเป็นใคร

ความคิดว่า ฉันไม่ได้แต่งแต่ขอเบ่งว่าแต่ง  จึงไม่มี  เพราะความลับไม่มีในราชสำนัก   ขนาดเป็นชู้กันซึ่งเป็นเรื่องลอบเร้นนักหนายังหลุดรั่วได้         เรื่องใช้คนอื่นแต่งแทนตัว จึงไม่รู้จะทำไปทำไม   ยังไงมันก็ปิดไม่ได้อยู่ดี
แม้แต่สมัยรัตนโกสินทร์ การประชุมกวีแต่งหนังสือกันหน้าพระที่นั่งก็ทำกันอย่างเปิดเผย    ไม่ได้แอบๆกระมิดกระเมี้ยนทำ   คนสมัยนั้นเขาก็รู้กันว่ารามเกียรติ์  อิเหนา สังข์ทอง ฯลฯ  พระเจ้าแผ่นดินทรงชุมนุมกวีแต่งกันทั้งนั้น  ตอนนี้ท่านแต่ง ตอนนั้นพระเจ้าลูกยาเธอแต่ง  ตอนโน้นกวีท่านนั้นแต่ง  ต่อเชื่อมกันจนจบเรื่อง
ไม่งั้นจะมีเรื่องอยู่ในประวัติสุนทรภู่ได้ไงล่ะคะ ว่าต้องโทษแล้วพ้นโทษเพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯทรงแต่งชมรถทศกัณฐ์แล้วติดขัด ต้องให้สุนทรภู่แต่งถวายจนจบตอน     
เรื่องเล่านี้กรุณาอย่าค้านว่าไม่จริงอีกเรื่องนะ    เดี๋ยวสุนทรภู่ของข้าพเจ้าจะหายไปอีกคน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 01 ก.ย. 15, 15:14

กระทู้นี้สนุก ทำให้นึกถึงเรื่อง Shakespeare Forgeries  ซึ่งเคยเขียนมาแล้วในเรือนไทย   รวบรวมบรรดานักปราชญ์ราชบัณฑิตที่ไม่เชื่อว่าผลงานของกวีเอกคนนี้  นายอะไรคนนึงชื่อวิลเลียม เชคสเปียร์ที่มีอาชีพเป็นผู้จัดการโรงละคร เป็นคนแต่ง   
เชื่อกันว่าแกเป็นนักเขียนผีของบุคคลสูงศักดิ์ หรือใครสักคน ที่เปิดเผยตัวไม่ได้ ต้องยืมชื่อแกมาใช้

คุณเพ็ญชมพูจำกระทู้นี้ได้ไหมคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 01 ก.ย. 15, 15:17

ดร.วินัย และ คุณธนิต ให้เหตุผลว่าอย่างไรครับว่าทำไมกำสรวลสมุทรถึงแต่งในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์?

ถ้าเป็นเจ้าฟ้าน้อยแต่งจริง ก็ต้องเป็นงานตั้งใจทำเทียมของเก่า ความยากน้องๆ ทฤษฎีจารึกหลักที่ 1 ทำเทียมสมัย ร. 4 เลยนะครับ

สงสัยจะต้องแตกเป็นอีกกระทู้หนึ่งต่างหากแล้วมังครับ

ตอนที่ศ.วัชรี รมยะนันทน์ สอนเรื่องกำศรวลศรีปราชญ์ ตามข้อเขียนของศ.ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล       หักล้างความเชื่อที่ว่าแต่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์  เพราะภาษาเก่ากว่าวรรณคดีสมัยพระนารายณ์มาก
ดิฉันถามอาจารย์ว่า ถ้ากวีเขาใช้ภาษาเก่าของยุคก่อนสมัยพระนารายณ์มาเขียนล่ะคะ     อาจารย์ตอบว่า  เขาไม่ทำกัน จะทำไปทำไม เรื่องอะไรถึงใช้ภาษาที่คนร่วมสมัยไม่ใช้
ก็จริงของอาจารย์     
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 01 ก.ย. 15, 15:24

คุณเพ็ญชมพูจำกระทู้นี้ได้ไหมคะ

เมื่อเชกสเปียร์ ถูกจับผิด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 01 ก.ย. 15, 15:40

 ยิงฟันยิ้ม
ขอบคุณค่ะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 01 ก.ย. 15, 15:44

ไม่งั้นจะมีเรื่องอยู่ในประวัติสุนทรภู่ได้ไงล่ะคะ ว่าต้องโทษแล้วพ้นโทษเพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯทรงแต่งชมรถทศกัณฐ์แล้วติดขัด ต้องให้สุนทรภู่แต่งถวายจนจบตอน     

-  สุนทรภู่ เคยได้แต่ง พระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ในรัชกาลที่ ๒  ด้วย  ต่อจากสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงค้างเอาไว้ในการบรรยายรถทรงของทศกัณฐ์ ตอน ศึกสิบขุนสิบรถ ว่า

     รถที่นั่ง..............................บุษบกบัลลังก์ตั้งตระหง่าน
กว้างยาวใหญ่เท่าเขาจักรวาล.....ยอดเยี่ยมเทียมวิมานเมืองแมน
ดุมวงกงหันเป็นควันคว้าง.........เทียมสิงห์วิ่งวางข้างละแสน
สารถีขี่ขับเข้าดงแดน................พื้นแผ่นดินกระเด็นไปเป็นจุณ

กล่าวกันว่าทรงพรรณนามาถึงตอนนี้ก็หยุดค้างไว้  ยังติดขัดเรื่องจะบรรยายต่อไปอย่างไรให้เห็นความยิ่งใหญ่ของรถทรงของทศกัณฐ์   สุนทรภู่ก็แต่งต่อให้ว่า

นทีตีฟองนองระลอก..................กระฉอกกระฉ่อนชลข้นขุ่น
เขาพระเมรุเอนเอียงอ่อนละมุน.....อานนท์หนุนดินดาลสะท้านสะเทือน
ทวยหางกัมปนาท......................สุธาวาสไหวหวั่นลั่นเลื่อน
บดบังสุริยันตะวันเดือน...............คลาดเคลื่อนจัตุรงค์ตรงมา

ยังสงสัยอยู่ว่า มีบันทึกไว้ตรงไหนว่า ตอนนี้เป็นพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๒ ตอนนี้เป็นผลงานของสุนทรภู่   ฮืม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 01 ก.ย. 15, 16:48

จำได้ว่ามีอยู่ในหนังสือสุนทรภู่ 200 ปี นะคะ  แต่ถ้าคุณเพ็ญหมายถึงว่าเป็นข้อมูลขั้นปฐมภูมิ  มีพิสูจน์กันชัดเจน อันนี้ไม่เคยค้นถึงขนาดนั้น
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 01 ก.ย. 15, 19:17

หายไปพักใหญ่ๆ กลับมาพบสมาชิกประจำหลายๆท่านมาร่วมวงสนทนาด้วย ดีจังครับ


เอาเรื่องตามกระทู้นี้ก่อนนะครับ

1. ถ้าเราเห็นตรงกันว่า ข้อความบอกชื่อผู้แต่งใน นันโทปนันทสูตรคำหลวง และ พระมาลัยคำหลวง
    เป็นข้อความที่แต่งแทรกขึ้นมาภายหลัง เราต้องลบข้อความที่แต่งแทรกออกไปก่อนใช่ไหมครับ (เพราะเป็นข้อความอันเป็นเท็จ)

2. ถ้าลบข้อความที่แต่งแทรกออกไปแล้ว ทางค่ายโน้น มีหลักฐานยืนยันที่น่าเชื่อถือไหมครับว่่า เจ้าฟ้ากุ้งแต่ง นันโทปนันทสูตรคำหลวง และ พระมาลัยคำหลวง



คำถามคุณชาวโคราช ทำเอางงๆ   เห็นจะต้องวานคุณศรีสรรเพชญ์มาตอบ ว่ามีบอกไว้ในพงศาวดารหรือหลักฐานที่ไหนอีก เพราะรายนี้ดูจะอ่านพงศาวดารเยอะพอควร
ส่วนตัวดิฉัน  ในเมื่อวรรณคดีเรื่องไหนมีระบุเอาไว้ชัดเจนว่าใครแต่ง   ก็ถือว่าเรื่องนี้มีเจ้าของบอกชื่อแซ่ไว้เรียบร้อยแล้ว  เป็นอันรู้กันว่าเรื่องนี้ท่านผู้นี้แต่ง
ถ้าหากว่าไปค้นเจอว่าข้อความที่ว่านั้นมีมือดีดอดมาบวกเพิ่มเข้าไปทีหลัง  ตามหลักฐานในหอสมุดแห่งชาติ  หรือเป็นฉบับเชลยศักดิ์เจ้าไหนก็ตาม มองเห็นชัดเจนว่าบวกเพิ่มเข้าไปแน่ๆ  ก็ค่อยมาว่ากันใหม่

สมองยังคิดไม่ไกลถึงขั้นที่ว่า ต่อให้ระบุชื่อคนแต่งไว้ชัดเจนแล้วก็ยังสงสัยว่าไม่ได้แต่ง    ถ้าจะให้เชื่อว่าแต่งต้องไปเอาหลักฐานที่อื่นมายืนยัน
ตอนนี้พอมีคุณชาวโคราชมาสะกิด  เลยชักอยากรู้ขึ้นมาอีกละค่ะว่ามีไหม

กลับมาที่เรื่องของเจ้าฟ้ากุ้งนะครับ

อย่างที่เคยตอบไปว่าเป็นไปได้ที่ข้อความตอนท้ายอาจจะเป็นการเขียนภายหลังการประพันธ์ ซึ่งอาจจะเป็นจริงหรือไม่จริงก็ได้ซึ่งข้อความตรงนี้ ก็เหมือนกับที่คุณ CrazyHorse กล่าวไว้ในความเห็นที่ 83 คือผมก็ไม่ได้มีหลักฐานอะไรพิสูจน์ได้เพราะผมเองก็ไม่ได้อยู่ร่วมสมัย แต่ก็เห็นว่าไม่มีหลักฐานอะไรที่จะชี้ชัดว่าไม่ใช่พระนิพนธ์เจ้าฟ้ากุ้งเช่นเดียวกันครับ แต่ผมคงจะไม่กล้าสรุปว่าข้อความตอนท้ายของพระมาลัยคำหลวงนันโทปนันสูตรคำหลวง(ในความเห็นที่ 47) "เป็นข้อความอันเป็นเท็จ" เพราะเพียงว่าข้อความเหล่านั้นถูกเพิ่มมาภายหลัง ตามความเห็นส่วนตัวคิดว่าดูเป็นการสรุปชี้ชัดเกินไปโดยที่ยังไม่มีหลักฐานหรือแนวโน้มชัดเจนที่ชวนให้เชื่อว่าข้อความเหล่านี้เป็น 'เท็จ'  และดูจะมี bias เกินไปหน่อยครับ

ถ้าเอาเรื่องลบข้อความที่ระบุชื่อผู้แต่งออกไปเป็นเกณฑ์ เช่นเดียวกับบทประพันธ์อื่นๆ อย่างเช่นทวาทศมาส นิราศนรินทร์ รวมบทประพันธ์ทั้งหลายแม้แต่หนังสือธรรมดาที่ระบุชื่อผู้แต่ง ก็คงแทบไม่มีเอกสารใดในโลกที่จะเชื่อได้เลยครับว่า คนๆนั้นเป็นคนแต่งเองครับ

เรื่องที่ อ.เทาชมพูวานให้หา ในขณะนี้ผมเองยังไม่พบในหลักฐานอื่นๆว่ามีการระบุว่าได้เพิ่มไปภายหลังครับ

ส่วนพล็อตนิยายใน ความเห็นที่ 92 เห็นตรงตามที่ อ.เทาชมพูได้ตอบไว้แล้วครับ โอกาสที่ชนชั้นใต้ปกครองซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของอยุทธยาซึ่งส่วนมากไม่สามารถอ่านออกเขียนได้จะเข้าถึงงานวรรณกรรมชั้นสูงนั้นมีต่ำมาก ส่วนมากก็จำกัดอยู๋ในแวดวงของระดับเจ้าศักดิน่เท่านั้นครับ
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 01 ก.ย. 15, 19:20

ขอ copy บางความเห็นของผมกลับไปแปะที่กระทู้เก่าเรื่อง 'การสิ้นพระชนม์ของเจ้าฟ้ากุ้ง' นะครับ เพราะเนื้อหาเข้ากับกระทู้นั้นมากกว่า
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 01 ก.ย. 15, 20:13

ดูตัวอย่างโคลงนิราศกำศรวลสมุทรที่ระบุว่าเป็นศรีปราชญ์แต่ง แต่เนื้อความไม่สอดคล้องกับเรื่องของศรีปราชญ์ ภาษาที่ใช้ไม่สอดคล้องกับสมัยพระนารายณ์ ภูมิประเทศที่กวีผ่านบ่งชี้ว่าไม่ใหม่ไปกว่ายุคพระไชยราชาฯ เห็นชัดว่าสิ่งที่คนต้นรัตนโกสินทร์รับรู้นั้นผิดอย่างจะแจ้ง

โคลงขึ้นต้นบทของนิราศกำสรวลสมุทร เขียนไว้ว่า

กำสรวลศรีปราชญ์ร้าง                แรมสมร
เสาะแต่ปางนคร                      ล่มแล้ว
ไป่พบไป่พานกลอน                  โคลงท่าน จบแฮ
จวบแต่ต้นปลายแคล้ว                หนึ่งน้อยยืมถวาย


ก็ไม่ได้หมายความว่า โคลงนี้เป็นผลงานของศรีปราชญ์ นักวิชาการหลายท่านให้ความเห็นว่า ศรีปราชญ์ไม่มีตัวตนจริงเสียด้วยซ้ำ

จริงๆ ถ้าดูจากที่ปรากฏก็ไม่จำเป็นว่าคนแต่งต้องมีชื่อว่าศรีปราชญ์ จากเนื้อหาอาจจะแปลว่าผู้แต่งนั้นเป็น 'ปราชญ์' ก็เป็นได้ครับ 

ที่เข้าใจว่าเป็นศรีปราชญ์ คงเพราะเอาไปโยงกับ 'ศรีปราชญ์' ในเอกสารคำให้การขุนหลวงหาวัด(ซึ่งระบุว่าอยู่ในสมัยพระเจ้าเสือ)ซึ่งเนื้อหาไม่น่าเชื่อถือนักเพราะหลายตอนแตกต่างจากหลักฐานร่วมสมัยเหมือนเรื่องเล่าต่อๆกันมากกว่า กับตำนานศรีปราชญ์ซึ่งเรียบเรียงโดยพระยาปริยัติธรรมธาดา

อันที่จริงก็ระบุชื่อเอกสารแล้วว่าเป็น 'ตำนาน' แต่คนสมัยหลังก็เชื่อว่าเป็น 'ประวัติศาสตร์' เสียเป็นส่วนใหญ่ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 20 คำสั่ง