เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 16
  พิมพ์  
อ่าน: 49751 ผลงานชั้นเยี่ยมเป็นนิพนธ์ของเจ้าฟ้ากุ้งเองหรือกวีนิรนามในสำนักของพระองค์
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 31 ส.ค. 15, 19:51


จะขอเรียนตอบคุณศรีสรรเพชญ์ และท่านอาจารย์เทาชมพูไปทีละประเด็นครับ

1. เรื่องกำสรวลสมุทร ชื่อสถานที่ต่างๆมีอยู่ในสมัยพระนารายณ์ด้วยครับ ผมเชื่อตามท่าน ดร.วินัย พงษ์ศรีเพียร ที่ว่าเรื่องนี้
เกี่ยวข้องระหว่างเจ้าฟ้าน้อยกับพระสนมศรีจุฬาลักษณ์ ในสมัยอยุธยาไม่น่าจะมีมากกรณีที่เจ้านายชั้นสูงแอบรักกับพระสนมเอกแล้วยังแต่งกลอนเผยแพร่ได้


1.จริงๆผมเคยอ่านงานของดร.วินัย พงษ์ศรีเพียรครับ แต่จำไม่ได้แล้ว อยากขอรายละเอียดเพิ่มเติมที่จะสนับสนุนว่ากำสรวลสมุทรแต่งสมัยสมเด็จพระนารายณ์หน่อยครับ เพราะทั้งการใช้คำและภาษาและเนื้อความนั้นไม่สอดคล้องกับภาษาสมัยสมเด็จพระนารายณ์ครับ

คุณ Koratian ยังไม่ได้เอาเรื่องที่ผมขอมาลงเลยนะครับ รออยู่นะครับ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 31 ส.ค. 15, 21:00

ผู้แต่งกำสรวลสมุทร น่าจะเป็นเจ้านายระดับสูง  ถึงขั้นกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่งของอยุธยา ย้อนหลังจากสมัยสมเด็จพระนารายณ์ขึ้นไป อาจจะอยู่ยุคเดียวกับทวาทศมาส เพราะภาษาอยู่ประมาณนั้น
ทั้งตัวกวีและนางที่เรียกว่า บาศรีจุฬาลักษณ์ เป็นสามีภรรยากัน  ไม่ใช้ชู้    เพราะหลายตอนกล่าวถึงกิจวัตรประจำวันของนาง อย่างสามีที่รู้จักคุ้นเคยกับงานประจำวันของภรรยา   รู้ว่าชอบโน่นทำนี่   เป็นการกล่าวอย่างเปิดเผย    และมีระยะเวลาอยู่ด้วยกันนาน  ไม่ใช่นานๆแอบพบกันที

นางในกำสรวล ไว้ผมยาวเกล้ามวย   หาหนังสืออยุธยาอาภรณ์ในตู้ไม่พบ  ไม่งั้นคงเช็คได้ว่าอยุธยายุคไหนที่สาวๆไว้ผมยาว แต่ไม่ได้ปล่อยประบ่าอย่างอยุธยาตอนปลาย  หากแต่เกล้าเป็นมวย
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 31 ส.ค. 15, 21:20

ผู้แต่งกำสรวลสมุทร น่าจะเป็นเจ้านายระดับสูง  ถึงขั้นกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่งของอยุธยา ย้อนหลังจากสมัยสมเด็จพระนารายณ์ขึ้นไป อาจจะอยู่ยุคเดียวกับทวาทศมาส เพราะภาษาอยู่ประมาณนั้น
ทั้งตัวกวีและนางที่เรียกว่า บาศรีจุฬาลักษณ์ เป็นสามีภรรยากัน  ไม่ใช้ชู้    เพราะหลายตอนกล่าวถึงกิจวัตรประจำวันของนาง อย่าง
สามีที่รู้จักคุ้นเคยกับงานประจำวันของภรรยา   รู้ว่าชอบโน่นทำนี่   เป็นการกล่าวอย่างเปิดเผย    และมีระยะเวลาอยู่ด้วยกันนานอย่างเปิดเผย   ไม่ใช่นานๆแอบพบกันที

นางในกำสรวล ไว้ผมยาวเกล้ามวย   หาหนังสืออยุธยาอาภรณ์ในตู้ไม่พบ  ไม่งั้นคงเช็คได้ว่าอยุธยายุคไหนที่สาวๆไว้ผมยาว แต่ไม่ได้ปล่อยประบ่าอย่างอยุธยาตอนปลาย  หากแต่เกล้าเป็นมวย

อย่างที่ อ.เทาชมพูว่ามาครับ นอกจากเรื่องของภาษา เนื้อความ และบทประพันธ์ที่เป็นโคลงดั้นที่ใช้กันในสมัยอยุทธยาตอนต้น กำสรวลสมุทรบางตอนโวหารนั้นใกล้เคียงกับทวาทศมาสซึ่งเป็นโคลงดั้นเหมือนกันมาก จนอาจจะเป็นไปได้ด้วยว่าเป็นผู้แต่งคนเดียวกันครับ ซึ่งในทวาทศมาสก็มีการกล่าวถึง 'ศรีจุฬาลักษณ์' อยู่เช่นกันครับ ซึ่งก็สันนิษฐานว่าคงจะเป็นคนเดียวกับ 'บาศรีจุฬาลักษณ์' ในกำสรวลสมุทร ซึ่งคงจะเป็นมเหสีของกษัตริย์อยุทธยาในตอนนั้น

"     อาณาอาณาสเพี้ยง     เพ็ญพักตร์
"อกก่ำกรมทรวงถอน         ถอดไส้
ดวงศรีจุฬาลักษณ์            เฉลิมโลก กูเอย
เดือนใหม่มามาได้            โสกสมร ฯ"

ถ้าเป็นเจ้าฟ้าน้อยอนุชาสมเด็จพระนารายณ์ที่คบชู้กับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ การเขียนโคลงโดยชื่อชู้รักแบบเปิดเผยไม่กลัวคนจับสังเกตได้ก็ยิ่งจะดูผิดธรรมชาติมากขึ้นไปอีกครับ

ผู้แต่งน่าจะเป็นพระมหากษัตริย์ โดยพิจารณาจากร่ายตอนต้นคือ "ศรีสิทธิวิวิทธบวร นครควรชํ ไกรพํรหรงงสรรค สวรรคแต่งแต้ม แย้มพื้นแผ่นพสุธา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานี บูรียรมยเมืองมิ่ง แล้วแฮ ราเมศไท้ท้าวต้งง แต่งเอง ฯ"     
นอกจากพระมหากษัตริย์แล้ว ไม่น่าจะมีการเรียกผู้อื่นว่า ไท้ นะครับ 
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 31 ส.ค. 15, 21:27


เรื่องกำสรวลสมุทรผมเชื่อ ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร ครับ ตามเล่มนี้

100 เอกสารสำคัญ :สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย ลำดับที่ 4 (กำสรวลสมุทร สุดยอดกำสรวลศิลป์ :มรดกค
ผู้แต่ง : วินัย พงศ์ศรีเพียร
ผู้แปล :
Barcode : 9789742255275
ISBN : 9789742255275
ปีพิมพ์ : 1 / 2553

เป็นเรื่องระหว่างเจ้าฟ้าน้อย กับ พระสนม ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์

บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 31 ส.ค. 15, 21:34


เอาเรื่องตามกระทู้นี้ก่อนนะครับ

1. ถ้าเราเห็นตรงกันว่า ข้อความบอกชื่อผู้แต่งใน นันโทปนันทสูตรคำหลวง และ พระมาลัยคำหลวง
    เป็นข้อความที่แต่งแทรกขึ้นมาภายหลัง เราต้องลบข้อความที่แต่งแทรกออกไปก่อนใช่ไหมครับ (เพราะเป็นข้อความอันเป็นเท็จ)

2. ถ้าลบข้อความที่แต่งแทรกออกไปแล้ว ทางค่ายโน้น มีหลักฐานยืนยันที่น่าเชื่อถือไหมครับว่่า เจ้าฟ้ากุ้งแต่ง นันโทปนันทสูตรคำหลวง และ พระมาลัยคำหลวง

บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 31 ส.ค. 15, 21:40


3. ถ้าเจ้าฟ้ากุ้งแต่ง กาพย์ห่อโคลงนิราศธารทองแดง และ นิราศธารโศก
    ได้ความสละสลวยด้วยตัวท่านเอง
    ทำไมถึงไม่มีปัญญาแต่งให้ บทบรรยายสรรพคุณตัวเอง ให้ต่างกันครับ
    ทำไมต้องลอกกันมาแปะไว้ทั้งสองที่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 31 ส.ค. 15, 21:45

คำถามคุณชาวโคราช ทำเอางงๆ   เห็นจะต้องวานคุณศรีสรรเพชญ์มาตอบ ว่ามีบอกไว้ในพงศาวดารหรือหลักฐานที่ไหนอีก เพราะรายนี้ดูจะอ่านพงศาวดารเยอะพอควร
ส่วนตัวดิฉัน  ในเมื่อวรรณคดีเรื่องไหนมีระบุเอาไว้ชัดเจนว่าใครแต่ง   ก็ถือว่าเรื่องนี้มีเจ้าของบอกชื่อแซ่ไว้เรียบร้อยแล้ว  เป็นอันรู้กันว่าเรื่องนี้ท่านผู้นี้แต่ง
ถ้าหากว่าไปค้นเจอว่าข้อความที่ว่านั้นมีมือดีดอดมาบวกเพิ่มเข้าไปทีหลัง  ตามหลักฐานในหอสมุดแห่งชาติ  หรือเป็นฉบับเชลยศักดิ์เจ้าไหนก็ตาม มองเห็นชัดเจนว่าบวกเพิ่มเข้าไปแน่ๆ  ก็ค่อยมาว่ากันใหม่

สมองยังคิดไม่ไกลถึงขั้นที่ว่า ต่อให้ระบุชื่อคนแต่งไว้ชัดเจนแล้วก็ยังสงสัยว่าไม่ได้แต่ง    ถ้าจะให้เชื่อว่าแต่งต้องไปเอาหลักฐานที่อื่นมายืนยัน
ตอนนี้พอมีคุณชาวโคราชมาสะกิด  เลยชักอยากรู้ขึ้นมาอีกละค่ะว่ามีไหม
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 31 ส.ค. 15, 22:56

เผลอไม่ได้เข้ามาแป๊บเดียว กระทู้วิ่งปรู๊ดปร๊าดไวมาก ทั้งยังน่าสนใจกระตุ้นรอยหยักในสมอง  คุณโคราชและคุณศรีสรรเพชญ์นี่วรยุทธไม่ธรรมดาจริงๆ ระดับยอดฝีมือเพลงกระบี่ล้ำลึกพริ้วไหวที่เพิ่งตัดสินใจลงจากเขาเข้าสู่ยุทธจักรแท้ๆ ดูท่าน่าจะท่องยุทธภพได้อีกนาน


ในฐานะที่เคยเรียนวิทย์มานิดๆ หน่อยๆ  อ่านเหตุผลจากหลายๆ ท่านแล้ว ผมขอโหวตตามเชนอีกเสียงนึงครับ  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม

อีกเรื่องที่คิดคือไทยเราแต่ไหนแต่ไรมาดูจะไม่ค่อยมีธรรมเนียมเรื่องสิทธิของกวีนิพนธ์ผู้ประพันธ์เท่าไหร่ บทกวีต่างๆ แม้จะลงชื่อว่าเป็นของเจ้านายหรือพระมหากษัตริย์เป็นผู้แต่ง แต่จริงๆ น่าจะเป็นองค์อุปถัมภ์มากกว่า แต่มีการใส่ชื่อเพื่อยอพระเกียรติ

นอกจากนั้นการจะฝึกปรือวิทยายุทธจนรจนาภาษาแต่บทโคลงกลอนได้สละสลวยงดงาม ต้องสั่งสมประสบการณ์อย่างยาวนาน ทั้งต้องใช้เวลามาก ต้องทุ่มเทใจรัก ดูจากลักษณะเจ้าฟ้ากุ้งแล้ว คงแค่ใช้คำว่าแค่เป็นเสเพลไม่ได้  กิจกรรมเลวร้ายต่างๆ น่าจะต้องใช้เวลาไปไม่น้อยจนเจ้าตัวไม่น่ามีเวลาไปฝึกปรือฝีมือขนาดนั้นได้ กวีขี้เหล้ามีมากมาย กวีเสเพลเจ้าชู้ก็มีไม่น้อย จริงๆ เป็นส่วนใหญ่ของกวีเลย แต่กวีซาดิสก์หรือกวีจอมโหดเหี้ยมนี่นอกจากเจ้าฟ้ากุ้งนี่ผมนึกไม่ออกซักคน  ดังนั้นการใช้หรืออุปถัมภ์ใครซักคนหรือหลายคนแต่ง แล้วใส่ชื่อเพื่อองค์อุปถัมภ์ให้เครดิต น่าจะเป็นไปได้มากกว่า  ยิ่งคิดยิ่งเห็นด้วยกับเชน
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 01 ก.ย. 15, 00:35

ขอตั้งข้อสังเกตเรื่องหนึ่งนะครับ

กาพย์ห่อโคลงทั้งสองเรื่องนี้มีรูปแบบเหมือนกัน คือมีส่วนความหลักที่เป็นกาพย์ห่อโคลง แล้วมีส่วนยอพระเกียรติปะหัวท้าย (นิราศธารทองแดงมีแต่ปะท้าย ความตอนต้นหายไปบางส่วน) สำนวนภาษาที่ใช้ในส่วนความหลักกับส่วนยอพระเกียรติต่างกันมาก ถ้าไม่ใช่เพราะว่าแต่งเพื่อวัตถุประสงค์ที่ต่างกันทำให้ใช้ระดับของภาษาต่างกัน ก็ต้องเป็นเพราะว่าแต่งโดยกวีคนละคนกัน

ถ้าดูจากบทกวีสมัยอยุธยาเรื่องอื่นๆ ที่รอดมาถึงรัตนโกสินทร์ จะเห็นว่าการเขียนความนำ หรือบทตามเพิ่มเติมเข้าไปเป็นเรื่องปกติ (เช่นกำสรวลสมุทร) เป็นไปได้ว่าบทยอพระเกียรตินี้จะเขียนเติมเข้าไปภายหลัง เผลอๆจะเป็นในยุครัตนโกสินทร์ด้วยซ้ำไปครับ

ทีนี้ จะรู้ได้อย่างใดว่าเจ้าฟ้ากุ้งทรงแต่งเอง?

ข้อนี้ ผมยอมรับว่าไม่มีหลักฐานอะไรที่จะพิสูจน์ได้ แต่ก็เห็นว่าไม่มีหลักฐานอะไรที่จะชี้ชัดว่าไม่ใช่พระนิพนธ์เจ้าฟ้ากุ้ง

ข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนผมเห็นว่ามีเรื่องเดียว คือความทรงจำของคนสมัยต้นรัตนโกสินทร์ที่รับรู้ว่าโคลงนี้เป็นพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ถ้าคิดว่าเป็นของคนอื่นก็คงระบุได้โดยไม่ต้องเกรงราชภัย ดังนั้นสรุปได้ประการเดียวคือคนต้นรัตนโกสินทร์เข้าใจว่าเป็นพระนิพนธ์เจ้าฟ้ากุ้งจริงๆ

ทีนี้ การที่คนต้นรัตนโกสินทร์เข้าใจอย่างนั้นถือเป็นข้อสรุปได้หรือไม่?

ต้องยอมรับว่าไม่ใช่ครับ ดูตัวอย่างโคลงนิราศกำศรวลสมุทรที่ระบุว่าเป็นศรีปราชญ์แต่ง แต่เนื้อความไม่สอดคล้องกับเรื่องของศรีปราชญ์ ภาษาที่ใช้ไม่สอดคล้องกับสมัยพระนารายณ์ ภูมิประเทศที่กวีผ่านบ่งชี้ว่าไม่ใหม่ไปกว่ายุคพระไชยราชาฯ เห็นชัดว่าสิ่งที่คนต้นรัตนโกสินทร์รับรู้นั้นผิดอย่างจะแจ้ง

แต่สิ่งที่แตกต่างกันของกำสรวลสมุทรกับกาพย์ห่อโคลงทั้งสองเรื่องนี้คือ ณ พ.ศ. 2325 กำสรวลสมุทรถูกเข้าใจว่าเป็นกวีนิพนธ์ที่แต่งขึ้นราวปี 2200 เศษ มีอายุร้อยกว่าปี (แต่ที่จริงแต่งก่อนปี 2100 เก่าถึงสองร้อยกว่าปีแล้ว) แต่กาพย์ห่อโคลงสองเรื่องนี้ถูกเชื่อว่าแต่งโดยเจ้าฟ้ากุ้งที่มีชีวิตอยู่จนถึงปี 2298 เพียงแค่ไม่ถึง 30 ปีก่อนหน้านี้เอง คนในยุคต้นรัตนโกสินทร์หลายคนต้องเคยใช้ชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับเจ้าฟ้ากุ้งนะครับ

แต่ผมชอบนะครับที่คุณ Koratian ยกเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นประเด็นพูดคุยกัน ประเทืองปัญญาดีครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 01 ก.ย. 15, 06:01

เผลอไม่ได้เข้ามาแป๊บเดียว กระทู้วิ่งปรู๊ดปร๊าดไวมาก ทั้งยังน่าสนใจกระตุ้นรอยหยักในสมอง  คุณโคราชและคุณศรีสรรเพชญ์นี่วรยุทธไม่ธรรมดาจริงๆ ระดับยอดฝีมือเพลงกระบี่ล้ำลึกพริ้วไหวที่เพิ่งตัดสินใจลงจากเขาเข้าสู่ยุทธจักรแท้ๆ ดูท่าน่าจะท่องยุทธภพได้อีกนาน


ในฐานะที่เคยเรียนวิทย์มานิดๆ หน่อยๆ  อ่านเหตุผลจากหลายๆ ท่านแล้ว ผมขอโหวตตามเชนอีกเสียงนึงครับ  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม

อีกเรื่องที่คิดคือไทยเราแต่ไหนแต่ไรมาดูจะไม่ค่อยมีธรรมเนียมเรื่องสิทธิของกวีนิพนธ์ผู้ประพันธ์เท่าไหร่ บทกวีต่างๆ แม้จะลงชื่อว่าเป็นของเจ้านายหรือพระมหากษัตริย์เป็นผู้แต่ง แต่จริงๆ น่าจะเป็นองค์อุปถัมภ์มากกว่า แต่มีการใส่ชื่อเพื่อยอพระเกียรติ

นอกจากนั้นการจะฝึกปรือวิทยายุทธจนรจนาภาษาแต่บทโคลงกลอนได้สละสลวยงดงาม ต้องสั่งสมประสบการณ์อย่างยาวนาน ทั้งต้องใช้เวลามาก ต้องทุ่มเทใจรัก ดูจากลักษณะเจ้าฟ้ากุ้งแล้ว คงแค่ใช้คำว่าแค่เป็นเสเพลไม่ได้  กิจกรรมเลวร้ายต่างๆ น่าจะต้องใช้เวลาไปไม่น้อยจนเจ้าตัวไม่น่ามีเวลาไปฝึกปรือฝีมือขนาดนั้นได้ กวีขี้เหล้ามีมากมาย กวีเสเพลเจ้าชู้ก็มีไม่น้อย จริงๆ เป็นส่วนใหญ่ของกวีเลย แต่กวีซาดิสก์หรือกวีจอมโหดเหี้ยมนี่นอกจากเจ้าฟ้ากุ้งนี่ผมนึกไม่ออกซักคน  ดังนั้นการใช้หรืออุปถัมภ์ใครซักคนหรือหลายคนแต่ง แล้วใส่ชื่อเพื่อองค์อุปถัมภ์ให้เครดิต น่าจะเป็นไปได้มากกว่า  ยิ่งคิดยิ่งเห็นด้วยกับเชน
ด็อก ฮอลิเดย์ พร้อมจะมาฟาดปูเมื่อไหร่ หลังไมค์มาเลย

ได้ปูนาจากโคราชมาเยอะ
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 01 ก.ย. 15, 08:13


ด็อก ฮอลิเดย์ พร้อมจะมาฟาดปูเมื่อไหร่ หลังไมค์มาเลย

ได้ปูนาจากโคราชมาเยอะ

ไปขับแท็กซี่ที่ต่างบ้านต่างเมืองหลายปีไม่ได้กลับเมืองไทยเลย เลยไม่มีโอกาสหาหมอฟันเลย 4 ปีเต็มๆ เพราะขนาดไปลงชื่อต่อคิวหมอฟันของรัฐไว้เป็นปีๆ ก็ไม่ถึงคิวซะที จะไปหาหมอฟันเอกชนก็แพง กลับมาเมืองไทยเลยพบว่าฟันทั้งร้าวทั้งผุหลายซี่ ต้องรักษาขนานใหญ่ครับ คุณหมอ(สาว)บอกว่าเรื่องกินอะไรแข็งๆ เช่นปูลืมไปได้เลย คุณหมอแนะนำให้กินกุ้งแม่น้ำเผาแทนครับ กระผมเลยจนใจจะฟาดปูนาคงไม่ได้ เปลือกมันแข็งแทะไม่ได้ คงรับได้แต่อะไรที่นุ่มๆ หน่อยจำพวกกุ้งแม่น้ำ ปลาสมัน(แซลมั่น) โอโทโร่ หอยเป๋าฮื้อ ถ้าปูก็ต้องประเภทปูม้าถอดสื้อเท่านั้น เฮ้ออออ ลำบากใจ เกรงใจท่านเจ้ามือจริงๆ


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 01 ก.ย. 15, 08:56

หมั่นแสดงความเห็นหน่อย เมนูกุ้งก็ไม่ไกลเกินเอื้อม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 01 ก.ย. 15, 09:17

น้ำพริกปูหลนยังรออยู่ค่ะ กลืนได้เลย ไม่ต้องเคี้ยว
ส่วนปูม้ากุ้งแม่น้ำ ต้องรอเชนไปตกมาให้ซะก่อน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 01 ก.ย. 15, 09:23

ขออธิบายเรื่องหนังสือที่มีคำว่าพระราชนิพนธ์ประกอบชื่อเรื่อง
แบ่งได้เป็น 3 ประเภท
1 หนังสือที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯประชุมกวีนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งขึ้น    ในสมัยอยุธยาเรียกว่าคำหลวง     
จริงอยู่ว่าไม่ได้ทรงลงมือแต่งเอง แต่จะเรียกว่าเป็นองค์อุปถัมภ์อย่างในกระทู้นี้เรียกก็ได้    แต่เรื่องทั้งหมดก็ต้องผ่านสายพระเนตร อาจจะทรง edit เองด้วย เพื่อให้ออกมาดีงามเป็นผลงานค่าควรเมือง
สังข์ทอง ในรัชกาลที่ 2  ก็เป็นแบบนี้เหมือนกัน   เราคงจำตำนานเรื่องสุนทรภู่มีเหตุขัดพระทัยกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้

2  เรื่องทรงแต่งเองล้วนๆ อย่างพระราชนิพนธ์มัทนะพาธา ท้าวแสนปม ศกุนตลา ในรัชกาลที่ 6

3  เรื่องทรงแต่งเป็นบางตอน  อย่างขุนช้างขุนแผนฉบับหอพระสมุด  ตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง เป็นพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 01 ก.ย. 15, 09:27

ดูตัวอย่างโคลงนิราศกำศรวลสมุทรที่ระบุว่าเป็นศรีปราชญ์แต่ง แต่เนื้อความไม่สอดคล้องกับเรื่องของศรีปราชญ์ ภาษาที่ใช้ไม่สอดคล้องกับสมัยพระนารายณ์ ภูมิประเทศที่กวีผ่านบ่งชี้ว่าไม่ใหม่ไปกว่ายุคพระไชยราชาฯ เห็นชัดว่าสิ่งที่คนต้นรัตนโกสินทร์รับรู้นั้นผิดอย่างจะแจ้ง

โคลงขึ้นต้นบทของนิราศกำสรวลสมุทร เขียนไว้ว่า

กำสรวลศรีปราชญ์ร้าง                แรมสมร
เสาะแต่ปางนคร                      ล่มแล้ว
ไป่พบไป่พานกลอน                  โคลงท่าน จบแฮ
จวบแต่ต้นปลายแคล้ว                หนึ่งน้อยยืมถวาย


ก็ไม่ได้หมายความว่า โคลงนี้เป็นผลงานของศรีปราชญ์ นักวิชาการหลายท่านให้ความเห็นว่า ศรีปราชญ์ไม่มีตัวตนจริงเสียด้วยซ้ำ

ป.ล. คุณประกอบมีปัญหาเรื่องฟัน ไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับการรับประทานปู เรากินเนื้อปูมิใช่เปลือกปูเสียเมื่อไหร่  ยิ้มเท่ห์  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 20 คำสั่ง