เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 16
  พิมพ์  
อ่าน: 49952 ผลงานชั้นเยี่ยมเป็นนิพนธ์ของเจ้าฟ้ากุ้งเองหรือกวีนิรนามในสำนักของพระองค์
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 30 ก.ย. 15, 22:23


รีบเข้ามาตอบ ก่อนที่ คุณศรีสรรเพชญ์จะสรุปว่า วัดชีเชียง ถูกพระเจ้าปราสาททอง"รื้อทิ้ง"
วันวลิตบอกว่ารื้อถึงฐาน ไม่ได้แปลว่ารื้อทิ้ง
ก่อนหน้านั้นวันวลิตก็บอกชัดเจน ว่าพระเจ้าปราสาททองตั้งใจบูรณะวัดนี้  
ตำแหน่งที่พระยาโบราณฯ ว่าไว้เป็นวัดชีเชียงไม่ได้ ที่ไม่กว้างพอครับ


รื้อถึงฐานในที่นี้เข้าใจว่าหมายถึงรื้อหมดแม้กระทั่งฐาน มากกว่าจะหมายถึงว่ารื้อแล้วเหลือฐานไว้ครับ เพราะกล่าวอยู่ว่าไปสร้างวัดใหม่ที่ตำแหน่งอื่น ก็ไม่ทราบว่าจะเหลือฐานไว้เพื่ออะไร

สอบกับฉบับภาษาอังกฤษที่แปลจากต้นภาษาดัตช์โดยตรงเขียนว่า 'demolished to its very base' น่าจะสื่อว่ารื้อแบบถอนรากถอนโคนจนไม่เหลืออะไรแล้ว ไม่แน่ใจว่าผมเข้าใจถูกหรือไม่ ใครเก่งภาษาอังกฤษลองช่วยดูด้วยนะครับ




"...ข้าพเจ้าได้กล่าวเมื่อเร็วๆนี้ ว่าพระชัยราชา พระเจ้าแผ่นดินองค์ที่สิบสี่แห่งสยามได้สร้างวัดพระชีเชียง ซึ่งมีเหตุมหัศจรรย์ปรากฏขึ้นเสมอๆ  เนื่องจากเป็นเรื่องนิยายเกินไป ข้าพเจ้าจึงไม่ขอกล่าว ณ ที่นี้

    ครั้งหนึ่ง วัดแห่งนี้เคยเป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดในพระราชอาณาจักร แต่ได้ถูกฟ้าผ่า และพายุพัดหักลงมาตลอดเวลา  พระเจ้าแผ่นดินหลายพระองค์ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้  แต่เมื่อไรก็ตามที่เริ่มงานก็ต้องล้มเลิกไปกลางคัน  เพราะว่าผู้ควบคุมงานและคนงานเกิดเจ็บป่วยและสิ้นชีวิตอย่างน่าสังเวช

    กล่าวกันว่าพราหมณ์และพระสงฆ์ได้ทำนายไว้ ว่าผู้ที่จะบูรณะวัดนี้ได้ ต้องเป็นพระเจ้าแผ่นดินสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์เก่าอย่างบริสุทธิ์  

    เมื่อสองสามเดือนที่แล้ว พระองค์ศรีธรรมาธิราช(พระเจ้าปราสาททอง)ได้ทรงให้รื้อวัดจนถึงฐาน  และทรงย้ายรูปหล่อทองแดงซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ ที่นั้นออกไปไกลหลายวา เพื่อว่าจะสร้างวัดใหม่ ณ ที่ประดิษฐานรูปหล่อทองแดง..."


ข้อความของวัน วลิตไม่มีตรงไหนเลยครับที่ระบุว่าพระเจ้าปราสาททองตั้งใจบูรณะวัดนี้ มีแต่บอกว่าพระเจ้าแผ่นดินในอดีตหลายองค์ทรงพยายามแต่ไม่สำเร็จ สำหรับพระเจ้าปราสาททองมีแต่บอกว่าทรงรื้อเพื่อสร้างใหม่ ณ ที่ใหม่

อ่านไปอ่านมาเหมือนกับทุบวิหารเก่า ย้ายพระพุทธรูป(ฉบับภาษาอังกฤษเขียนว่าชักถอยหลัง)แล้วสร้างวิหารใหม่ครอบมากกว่าจะสร้างทั้งวัด ดูๆไปก็คล้ายกับที่ในพงศาวดารกล่าวถึงการชักพระมงคลบพิตรจากทิศตะวันออกมาตะวันตก แล้วสร้างมณฑปครอบไว้

"ศักราช ๙๖๕ ปีเถาะศก (พ.ศ. ๒๑๔๖) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ชักพระมงคลบพิตรอยู่ฝ่ายตะวันออก มาไว้ฝ่ายตะวันตก แล้วให้ก่อพระมณฑปใส่ให้"

พงศาวดารระบุว่าอยู่ในรัชกาลพระเจ้าทรงธรรม  แต่ศักราชนั้นผิดเพราะอยู่ในสมัยสมเด็จพระนเรศวร นอกจากนี้ก็ยังมีหลายตอนที่เขียนศักราชผิดและมีเหตุการณ์คลาดเคลื่อนเมื่อเทียบกับเอกสารอื่นๆ ถ้าเอามาเทียบกับจดหมายเหตุของวัน วลิตที่เนื้อหาดูใกล้เคียงกันมากก็อาจจะเป็นไปได้ว่าในความเป็นจริงเหตุการณ์นี้อาจเกิดในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองก็ได้ครับ

มีผู้สันนิษฐานว่าตำแหน่งเดิมที่พระมงคลบพิตรอยู่น่าจะเป็นตำแหน่งของวัดชีเชียงเดิม(น่าจะอยู่ประมาณกึ่งกลางใต้วัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นตำแหน่งของหน้าป้อมสีเชียงที่พระยาโบราณราชธานินทร์กล่าว จะให้อยู่กลางวัดพระศรีสรรเพชญ์คงไม่น่าเป็นไปได้) สันนิษฐานกันว่าพระมงคลบพิตรอาจจะเป็นพระประธานของวัดชีเชียง ซึ่งซากวิหารแกลบด้านตะวันออกของวิหารพระมงคลบพิตรอาจจะเป็นอาคารที่เหลือของวัดชีเชียง ซึ่งถ้าเอามาประกอบกับเอกสารของวันวลิตก็เป็นไปได้ว่า สมเด็จพระเจ้าปราสาททองโปรดให้ทุบวัดชีเชียงทิ้ง(หลังจากที่ปรากฏว่าถูกฟ้าผ่าและพายุหลายหน และบูรณะไม่สำเร็จ) แล้วโปรดให้ชักพระมงคลบพิตรมาทางทิศตะวันตก(ตรงกับภาษาอังกฤษที่ว่าชักถอยหลัง เพราะองค์พระหันหน้าไปทางตะวันออก)แล้วสร้างมณฑปครอบองค์พระไว้ อาจจะทรงต้องการสร้างวัดใหม่ทั้งหมดด้วยแต่ไม่สำเร็จ จึงได้แต่มณฑปเท่านั้นครับ

วิหารพระมงคลบพิตรกับซากวิหารแกลบ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 01 ต.ค. 15, 14:04


บูรณะ กับรื้อทิ้ง คนละเรื่องกันเลยนะครับ
ตรงไหนครับที่บอกว่า รื้อทิ้ง
ผมอ่านยังไงก็เป็นบูรณะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 01 ต.ค. 15, 15:27

อ้างถึง
สอบกับฉบับภาษาอังกฤษที่แปลจากต้นภาษาดัตช์โดยตรงเขียนว่า 'demolished to its very base' น่าจะสื่อว่ารื้อแบบถอนรากถอนโคนจนไม่เหลืออะไรแล้ว ไม่แน่ใจว่าผมเข้าใจถูกหรือไม่ ใครเก่งภาษาอังกฤษลองช่วยดูด้วยนะครับ

แปลว่ารื้อหมดไม่มีอะไรเหลือ  ถอนรากถอนโคนนั่นละค่ะ   
ไม่ใช่รื้อส่วนบนแต่ยังเก็บฐานเอาไว้
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 01 ต.ค. 15, 18:01


"รื้อทำใหม่" กับ "รื้อทิ้ง"มันต่างกันอยู่นะครับ
ก่อนหน้านั้น วันวลิตเขียนว่า พระเจ้าปราสาททอง ตั้งใจ "ซ่อม" วัด ไม่ได้รื้อทิ้ง

 
   Although the prophecy and what has happened in connection with this temple,
is well known to the king and he is also convinced that he has usurped the crown unlawfully,
his arrogance and pride have carried him so far, that last year
he has intention to begin the repair of the temple. But by the dissuasion of the Braman priests
(who said that it was not a lucky time) as of other resolute mandarins it was prevented.


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 01 ต.ค. 15, 18:46


ถ้าจะซ่อมพระปรางค์ หรือเจดีย์ใหญ่ที่หักพังลง
ก็ต้องรื้อถึงฐาน ทำฐานรากใหม่ให้แข็งแรงก่อนทั้งนั้นแหละครับ
ไม่ว่าจะเป็นสมัยไหนๆ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 01 ต.ค. 15, 20:14

ในภาพนี้คือการรื้อทิ้งครับ รื้อให้ถึงระดับต่ำกว่าผิวดินหน่อยแล้วเอาดินกลบร่องรอยด้านบนในสมัยรัชกาลที่ ๕ กรมศิลปากรเปิดหน้าดินขึ้นมาใหม่ก็จะเห็นฐานรากแผ่สำหรับรับน้ำหนักของผนังอาคารชัด

ถ้ารื้อเพื่อสร้างใหม่ให้เหมือนเดิม ที่เรียกว่าบูรณะปฏิสังขรณ์ ระดับRebuild หรือสร้างใหม่(ให้เหมือนเดิมเป๊ะ) ก็ต้องรื้อฐานพวกนี้ทิ้ง เพราะไว้ใจไม่ได้ว่าถ้าสร้างผนังก่ออิฐถือปูนหนักๆขึ้นไปใหม่แล้ว ฐานรากเก่าจะทรุดหรือไม่

ดังนั้นสร้างใหม่จะปลอดภัยกว่า


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 01 ต.ค. 15, 22:20


ถ้าจะว่่าไปตามที่ท่านพระยาโบราณฯ อธิบาย
ว่าพระมงคลบพิตรเคยอยู่วัดชีเชียงมาก่อน ก็ต้องยอมรับว่าพงศาวดารสมัยพระเจ้าทรงธรรมจดผิด
แต่ถ้าเราไปดูรูปวาดเกาะอยุธยาของ VOC ร่วมสมัยกับวันวลิตเราก็เห็นพระมณฑปแล้ว
อีกประการถ้าวัดชีเชียงอยู่ตรงนั้น ก็ต้องรื้อฐานเจดีย์ออกทั้งหมดก่อนแล้วถึงจะถอยพระไปทางนั้นได้
ซึ่งขัดกับคำบรรยายของวันวลิต

พระยาโบราณฯท่านก็บอกเองว่าลำดับชื่อประตูตามกฎมณเฑียรบาลอาจจดผิดพลาดกันได้
เป็นไปไม่ได้ที่พระเจ้าปราสาททองจะรื้อวัดที่เคยยิ่งใหญ่ที่สุดในเมืองแล้วเหลือวิหารแกลบไว้ดูต่างหน้า
นักก่อสร้างในรัชกาลนั้นทำโปรเจคใหญ่ๆสำเร็จทั้งนั้นครับ ยกเว้นปราสาทนครหลวงปลายรัชกาล

ถ้าจะเชื่อว่าวัดชีเชียงอยู่ในบริเวณใกล้วังหลวง และให้สอดคล้องกับที่วันวลิตบรรยาย
ก็เหลือแต่วัดธรรมมิกราชเท่านั้นที่เป็นไปได้ครับ
แต่ต้องตีความฉบับหลวงประเสริฐว่า พระไชยราชาทรงพูนดินก่อเจดีย์และบูรณะวัดแต่ไม่ได้เป็นผู้สร้าง

การเสนอว่าวัดชีเชียงคือวัดธรรมิกราชอธิบายง่ายกว่่า  แต่ไม่สนุกเท่าไรครับ

บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 01 ต.ค. 15, 23:28


ผมกลับไปอ่านที่พระยาโบราณฯท่านเขียนไว้อีกทีหนึ่งครับ
พบว่าท่านเป็นนักวิชาการที่ซื่อตรงมาก
ไม่ได้บอกว่าพระมงคลบพิตรมาจากวัดชีเชียง
ท่านบอกว่าวัดชีเชียงมีจริงแน่แต่จะเป็นวิหารแกลบหรือเปล่าท่านไม่ทราบ
เพราะวิหารแกลบมีแต่วิหารไม่มีเจดีย์

ท่านรู้แน่ว่าไม่มีเจดีย์เพราะท่านขุดดูฐานรากได้
เพราะฉะนั้นตัดเรื่องวัดชีเชียงอยู่ตรงวิหารแกลบ
หรือเกี่ยวกับพระมงคลบพิตรไปได้เลยครับ
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 03 ต.ค. 15, 06:59


"รื้อทำใหม่" กับ "รื้อทิ้ง"มันต่างกันอยู่นะครับ
ก่อนหน้านั้น วันวลิตเขียนว่า พระเจ้าปราสาททอง ตั้งใจ "ซ่อม" วัด ไม่ได้รื้อทิ้ง

  
   Although the prophecy and what has happened in connection with this temple,
is well known to the king and he is also convinced that he has usurped the crown unlawfully,
his arrogance and pride have carried him so far, that last year
he has intention to begin the repair of the temple. But by the dissuasion of the Braman priests
(who said that it was not a lucky time) as of other resolute mandarins it was prevented.




ฉบับภาษาอังกฤษจากหนังสือ Van Vliet’s Siam ที่แปลจากต้นฉบับภาษาดัตช์ ในบทของ ‘พระองค์ศรีธรรมราชาธิราช(Prae Onghsrij d’Harmae Roateial Thieraija)’ ไม่มีข้อความ ‘he has intention to begin the repair of the temple.’ ครับ  ข้อความอื่นๆที่ยกก็มีเนื้อหาไม่ตรงกันเลย ฉบับภาษาไทยที่แปลมาใช้ชื่อ ‘พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวันลวิต พ.ศ.๒๑๘๒’ ของสำนักพิมพ์มติชนก็มีความตรงกัน  ตอนนี้เลยสงสัยแล้วว่าเราอ้างอิงเอกสารตอนเดียวกันหรือเปล่า เพราะข้อความที่เกี่ยวกับเรื่องคำทำนายการสร้างวิหารหลังใหม่ในฉบับที่ผมมีมีอยู่แค่ว่า

“However, the brahmans say that they have seen in the sign of heaven, that His Masjesty would not complete the newly-begun temple but would die before its completion, principally because the rebuilding was no begun out of pure devotion, but out of His Majesty’s hope of finding great treasures in the demolition of the former temple”

จากเนื้อหาที่กล่าวๆมาแล้ว น่าจะเป็นการรื้อตัววิหาร ชักพระพุทธรูป(วัน วลิตเรียกรูปหล่อทองแดง)ไปที่อื่นที่ไกลจากเดิมแล้วสร้างวิหารหลังใหม่ครอบ ดูจากบริบทแล้ววิหารเก่าคงจะรื้อไปทั้งหมด การที่ไม่ได้สร้างวิหารอยู่ที่เดิมคงไม่น่าจะกล่าวได้ว่าเป็นการบูรณะวิหารครับ ควรจะเรียกว่าสร้างใหม่มากกว่า แต่ถ้าจะบอกว่าตัววิหารที่สร้างใหม่ยังอยู่ในอาณาบริเวณของวัดชีเชียงเดิมก็อาจจะพอบอกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการบูรณะวัดครับ
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 03 ต.ค. 15, 07:21


ถ้าจะว่่าไปตามที่ท่านพระยาโบราณฯ อธิบาย
ว่าพระมงคลบพิตรเคยอยู่วัดชีเชียงมาก่อน ก็ต้องยอมรับว่าพงศาวดารสมัยพระเจ้าทรงธรรมจดผิด
แต่ถ้าเราไปดูรูปวาดเกาะอยุธยาของ VOC ร่วมสมัยกับวันวลิตเราก็เห็นพระมณฑปแล้ว
อีกประการถ้าวัดชีเชียงอยู่ตรงนั้น ก็ต้องรื้อฐานเจดีย์ออกทั้งหมดก่อนแล้วถึงจะถอยพระไปทางนั้นได้
ซึ่งขัดกับคำบรรยายของวันวลิต



รูปภาพกรุงศรีอยุทธยาที่มีมณฑปพระมงคลบพิตรที่เก่าที่สุด(และเป็นภาพมุมกว้างของอยุทธยาที่เก่าที่สุดด้วย)คือภาพสีน้ำมันชื่อ IUDEA  หลายแห่งชอบเอาไปอ้างว่าเป็นภาพวาดสมัยพระเจ้าปราสาททองซึ่งไม่เป็นความจริงครับ เพราะภาพนี้วาดโดย David กับ Johannes Vingboons จิตรกรพี่น้องชาวดัตช์ โดยทั้งสองได้รับการว่าจ้างจาก VOC ให้วาดภาพเมืองท่าสำคัญในเอเชีย ๑๐ แห่งเช่นละแวก(LAWEC) กวางตุ้ง(CANTON) โคชิน(Couchyn)ซึ่งก็รวมถึงภาพอยุทธยาภาพนี้ด้วย โดยวาดขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๒๐๖ ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ครับ  โดยได้รับค่าจ้างการวาดภาพทั้ง ๑๐ รูปในวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๒๐๖

จากภาพทางซ้ายบนจะเห็นอาคารที่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นมณฑปพระมงคลบพิตร มีลักษณะเป็นมณฑปแปดเหลี่ยม


หลังจากนั้นก็มีภาพที่ใช้ภาพนี้เป็นต้นแบบทำออกมาอีกหลายภาพครับ แต่หลายภาพดัดแปลงไปจนรูปแบบอาคารกลายเป็นแบบตะวันตกไปมาก

Afbeldinge der Stadt Iudiad Hooft des Choonincrick Siam(ภูมิทัศน์ฺของกรุงยูเดียด์ นครหลวงแหล่งราชอาณาจักรสยาม) อีกภาพของ Vingboons สันนิษฐานว่าน่าจะวาดหลังภาพแรก เช่นเดียวกับภาพแรกคือถูกใช้เป็นต้นแบบในการทำใหม่อีกหลายภาพ


พิจารณาจากเวลาวาดภาพแล้วข้อสันนิษฐานเรื่องการชักพระมงคลบพิตรจึงยังไม่ควรตัดทิ้งไปครับ ส่วนเรื่องการชัดกพระที่ว่าจะทำไม่ได้วัน วลิตเองก็ได้บอกไว้แล้วว่า 'demolished to its very base' ที่อ.เทาชมพูช่วยแปลให้แล้วว่ารื้อหมดแบบไม่เหลือฐาน ถ้าอนุมานว่าได้รื้อเจดีย์ไปพร้อมก็วิหารเก่าด้วยด้วยก็ไม่ขัดแย้งกับวัน วลิตครับ นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับที่พระยาโบราณราชธานินทร์กล่าวด้วยว่าไม่พบเจดีย์ในบริเวณนั้น
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 03 ต.ค. 15, 07:48


เรื่อง ซ่อมวัดชีเชียง วันวลิตบอกในพงศาวดารฯว่าเคยกล่าวไว้แล้ว
ซึ่งรายละเอียดเรื่องนี้ วันวลิตเขียนบรรยายใน

Description of the Kingdom of Siam

วันวลิตบอกว่าวัดนี้ อยู่ติดกับ the king's palace courtyard
ชึ่งจะตรงกับ วัดธรรมิกราช

แต่ถ้าเป็น the king's villa courtyard จะสนุกกว่าเยอะจะเป็นวัดชัยวัฒนารามได้

เรื่องฐานเวดีย์ตรงวิหารแกลบ พระยาโบราณท่านสงสัยตรงไหนท่านขุดดูนะครับ
ที่ท่านบอกว่าไม่มีเจดีย์ เชื่อได้แน่นอน หรือ เราไปถามกรมศิลปากร ปัจจุบันได้ว่ามีร่องรอยเจดีย์หรือเปล่า

เรื่องภาพวาด จิตรกรไม่ได้มาวาดที่อยุทธยานะครับ ใช้ต้นฉบับจาก sketch ของ VOC
สเกาเตน คนที่มาก่อนวันวลิต ก็สั่งให้วาดภาพร่างไว้
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 03 ต.ค. 15, 08:13



พระยาโบราณฯท่านก็บอกเองว่าลำดับชื่อประตูตามกฎมณเฑียรบาลอาจจดผิดพลาดกันได้
เป็นไปไม่ได้ที่พระเจ้าปราสาททองจะรื้อวัดที่เคยยิ่งใหญ่ที่สุดในเมืองแล้วเหลือวิหารแกลบไว้ดูต่างหน้า
นักก่อสร้างในรัชกาลนั้นทำโปรเจคใหญ่ๆสำเร็จทั้งนั้นครับ ยกเว้นปราสาทนครหลวงปลายรัชกาล



วัดชีเชียงตามหลักฐานของวัน วลิต ระบุว่าเป็นวัดที่ใหญ่ก็จริง แต่สันนิษฐานจากที่วัน วลิตระบุว่าถูกฟ้าผ่าหลายหนและไม่เคยได้รับการบูรณะอย่างสมบูรณ์ จึงเป็นไปได้สูงที่น่าจะมีสภาพทรุดโทรม และจากหลักฐานของวัน วลิตในเอกสาร Description of the Kingdom of Siam 1683 ก็ไม่ได้ระบุว่าวัดชีเชียงเป็นวัดสำคัญอันดับต้นๆของอยุทธยาในสมัยนั้นแล้ว แต่ระบุว่าวัดหลวงในพระนครศรีอยุทธยาที่สำคัญที่สุดมี ๔ วัดคือ วัดพระศรีสรรเพชญ์(Wat Syserpudt) วัดมหาธาตุ(Nappetat) วัดเจ้าพญาไท(Thimphiathey) วัดเดือน(Wat Deun) ถ้าในสมัยนั้นวัดชีเชียงจึงอาจจจะไม่ได้มีความสำคัญมากเท่าในอดีตอีกแล้ว และคงจะเพราะบูรณะได้ยาก จึงทรงให้รื้อวิหารเก่าและย้ายองค์พระออกไปไกล เพื่อที่จะสร้างวิหารใหม่ ซึ่งจะสร้างเสร็จทั้งวัดหรือไม่ก็ไม่ทราบเพราะวัน วลิตเองอยู่ไม่ทันสร้างเสร็จ แต่ถ้าจะเชื่อทฤษฎีว่าเป็นมณฑปพระมงคลบพิตรก็จะเห็นว่าสามารถสร้างมณฑปได้เสร็จครับ ส่วนที่ทำไมไม่สร้างใหม่ทั้งวัดนี่ก็ไม่ทราบ แต่อาจจะขึ้นอยู่กับพระราชประสงค์ก็เป็นได้

ปราสาทนครหลวงสร้างตั้งแต่ พ.ศ.๒๑๗๔ พระเจ้าปราสาททองเพิ่งครองราชย์ได้แต่ ๒ ปีครับ และก็ไม่ได้ปรากฏว่าสร้างไม่สำเร็จแต่อย่างใด ขนาดกว้างยาวก็พอๆกับปราสาทย่อมๆของเขมรเพียงแต่อาจจะไม่ได้อลังการเท่า ถ้าเทียบกับปราสาทของไทยก็นับว่าใหญ่โตมากทีเดียว
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 03 ต.ค. 15, 08:30


เรื่อง ซ่อมวัดชีเชียง วันวลิตบอกในพงศาวดารฯว่าเคยกล่าวไว้แล้ว
ซึ่งรายละเอียดเรื่องนี้ วันวลิตเขียนบรรยายใน

Description of the Kingdom of Siam

วันวลิตบอกว่าวัดนี้ อยู่ติดกับ the king's palace courtyard
ชึ่งจะตรงกับ วัดธรรมิกราช

แต่ถ้าเป็น the king's villa courtyard จะสนุกกว่าเยอะจะเป็นวัดชัยวัฒนารามได้

เรื่องฐานเวดีย์ตรงวิหารแกลบ พระยาโบราณท่านสงสัยตรงไหนท่านขุดดูนะครับ
ที่ท่านบอกว่าไม่มีเจดีย์ เชื่อได้แน่นอน หรือ เราไปถามกรมศิลปากร ปัจจุบันได้ว่ามีร่องรอยเจดีย์หรือเปล่า

เรื่องภาพวาด จิตรกรไม่ได้มาวาดที่อยุทธยานะครับ ใช้ต้นฉบับจาก sketch ของ VOC
สเกาเตน คนที่มาก่อนวันวลิต ก็สั่งให้วาดภาพร่างไว้


ผมเจอแล้วครับ สรุปคือเราอ่านกันคนละเอกสารคนละฉบับ งั้นเรื่องพระเจ้าปราสาททองทรงเคยมีความตั้งใจจะบูรณะวัดนี้เป็นอันจบครับ

แต่ก็ค่อนข้างจะขัดแย้งกับในเอกสาร The Short History of the Kings of Siam 1640 อยู่กับสภาพที่ระบุว่าทุบวัดเก่าทิ้ง แล้วสร้างใหม่ที่อื่น  แต่มาลองคิดเล่นๆตอนนี้จากข้อความใน Description of the Kingdom of Siam ยกอาจจะเป็นไปได้ว่าเป็นการ 'แก้เคล็ด' ก็เป็นได้ เพราะพระเจ้าปราสาททองนั้นทรงค่อนข้างเชื่อถือในเรื่องโชคลางโหรศาสตร์อยู่มาก และปรากฏว่าเมื่อมีการบูรณะก็มีอาเพศและมีการทำนายว่าพระเจ้าปราสาททองจะไม่สามารถบูรณะได้ จึงทรงเลี่ยงไปทำแบบอื่นโดยการย้ายไปสร้างที่อื่น ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่า 'บูรณะ' แบบไม่เต็มปากนัก

ส่วนเรื่องวัดพระชีเชียง ฉบับที่ผมมีระบุว่าตั้งอยู่ in the courtyard of the king's palace เลยครับ ไม่ใช่อยู่ข้างๆ สันนิษฐานน่าจะหมายถึงสนามหลวงหรือลานพระเมรุซึ่งอยู่ใต้วัดพระศรีสรรเพชญ์ซึ่งเป็นที่ตั้งของวิหารแกลบมากกว่า เพราะมีที่กว้างขวางเพียงพอจะมีวัดตั้งอยู่ได้ถ้าจะเทียบกับสนามหน้าจักรวรรดิที่ติดวัดธรรมิกราชซึ่งมีที่แคบกว่าและยังมีกำแพงพระราชวังล้อมรอบ  ไม่น่าจะมีวัดซึ่งถูกระบุว่ามีขนาดใหญ่โตมากที่สุดตั้งอยู่ได้ครับ

ส่วนเรื่องภาพของ Vingboons เท่าที่ทราบคือไม่มีหลักฐานว่าทั้งสองคนเคยเข้ามาในอยุทธยา(ซึ่งทั้งสองอาจจะเคยเข้ามาหรือไม่ก็ได้) มีความเป็นไปได้สูงที่จะวาดจากภาพ sketch จากคนที่เคยเห็นของจริง แต่ก็ไม่ได้จำเป็นว่าจะต้องวาดโดยใช้ภาพที่วาดตั้งแต่สมัยของโยส สเคาเต็นเป็นแบบ(ซึ่งไม่รู้ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร และมีมณฑปหรือไม่) เพราะช่วงเวลานั้นก็ห่างกันมากกว่า ๒๐ ปีและ VOC ยังคงทำการค้ากับอยุทธยามาอย่างต่อเนื่อง โอกาสที่จะได้รับภาพร่างที่ทันสมัยกว่ามาเป็นแบบย่อมมีอยู่แล้วครับ
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 03 ต.ค. 15, 09:00

ผมว่าเราคุยกันไปไกลมากแล้ว หาทางกลับมาเรื่องเจ้าฟ้ากุ้งกันเถอะครับ 
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 03 ต.ค. 15, 11:33


^^ หาทางกลับไม่ถูกแล้ว ไปทะเลกันดีกว่า
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 19 คำสั่ง