เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 45 เมื่อ 09 ก.ย. 15, 21:16
|
|
ด้านนอก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 46 เมื่อ 10 ก.ย. 15, 12:02
|
|
อย่างไรก็ตาม คอลลีน มัวร์ไม่ได้เก็บบ้านตุ๊กตาหลังนี้เอาไว้ดูเล่นส่วนตัว เมื่อสร้างเสร็จ เธอก็พาตระเวนรอบอเมริกา เปิดให้คนเข้าชมทั่วประเทศ เงินที่เก็บได้ไม่ได้เอาเข้ากระเป๋า จำนวนเงินมหาศาลในยุคนั้นถึง $650,000 เธอนำไปเป็นเงินบริจาคสำหรับเด็กยากจนที่ประสบภัยพิบัติจากเศรษฐกิจตกต่ำ ทั่วประเทศ เศรษฐกิจตกต่ำในครั้งนั้นมีชื่อขนานนามภายหลังว่า The Great Depression ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 7 เราคงจำได้ว่ามีผลกระทบต่อเศรษฐกิจการเมืองในสยามอย่างมหาศาล จนเป็นสาเหตุหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475
คอลลีนเก็บบ้านตุ๊กตาไว้จนถึงค.ศ. 1949 เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง 4 ปีแล้ว บ้านเมืองกลับเข้าสู่ภาวะปกติ เธอก็หักใจยอมพรากจากบ้านตุ๊กตาแสนรัก โดยการบริจาคให้ Chicago’s Museum of Science and Industry ซึ่งก็ยังอยู่ให้พวกเราได้ชมจนทุกวันนี้ ใครอยู่แถวๆชิคาโก หรือไปเที่ยวแถวนั้น จะลองหาโอกาสไปชมก็ได้นะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 47 เมื่อ 11 ก.ย. 15, 10:46
|
|
บ้านตุ๊กตาอย่างที่เราเห็นกันในกระทู้นี้ มีประวัติถอยหลังไปถึงศตวรรษที่ 16 เดิมไม่ใช่ของเล่นเด็ก แต่เป็นของจำลองจากบ้านช่องของใช้จริงๆ เป็นของสวยของงามสำหรับหญิงสาวทั้งที่เป็นเจ้านายและลูกผู้ดีมีตระกูลจะเก็บรักษาไว้ มีค่าคล้ายๆเครื่องประดับเพชรพลอย สมัยหนึ่งก็เป็นที่นิยมว่าเจ้าบ่าวจะมอบให้เจ้าสาวเป็นของขวัญวิวาห์ เพราะเธอจะต้องเดินทางไกลจากบ้านเดิมมาอยู่บ้านสามี โดยไม่มีโอกาสกลับไปอีก เขาก็เลยสั่งช่างฝีมือให้จำลองบ้านเดิมของเธอเอามาให้ดู เพื่อคลายความคิดถึงบ้าน ดังนั้นข้าวของเครื่องใช้จึงจำลองจากของจริงเท่าที่จะทำได้ ไม่ได้เป็นของเล่นตุ๊กตาสำหรับเด็กๆ
บ้านตุ๊กตาในยุคแรก เป็นงานฝีมือทำด้วยมือล้วนๆ ไม่ได้เรียกว่า dollhouse แต่เรียกว่า baby house แปลว่า "บ้านน้อย" ไม่ใช่ "บ้านเด็กทารก" จำลองห้องต่างๆรวมทั้งข้าวของเครื่องใช้ ใส่เอาไว้ในตู้คาบิเน็ต หมายถึงตู้ที่แบ่งเป็นชั้นๆหรือช่องๆ ซึ่งถือเป็นเครื่องเรือนประจำน ยังไม่ได้มีการสร้างบ้านตุ๊กตาขึ้นมารองรับของเล็กๆเหล่านี้ ตู้เหล่านี้ก็เลยเป็นทั้งเฟอร์นิเจอร์ และของดูเล่นคลายเหงาของคุณนายสาวเจ้าของบ้าน
สมัยนี้ถ้าอยากดูก็ต้องไปดูตามพิพิธภัณฑ์ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 48 เมื่อ 11 ก.ย. 15, 10:52
|
|
ผู้นำในการสร้าง "บ้านน้อย" เหล่านี้ไม่ใช่อังกฤษ แต่เป็นเยอรมันและเนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศสก็ไม่น้อยหน้ากันค่ะ รูปนี้คือบ้านตุ๊กตาของเยอรมัน ผลิตจากเมืองนูเรมเบิร์ก ในศตวรรษที่ 17
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 49 เมื่อ 11 ก.ย. 15, 10:58
|
|
เมื่อบ้านตุ๊กตาได้รับความนิยมแพร่หลายขึ้น การปฏิวัติอุตสาหกรรมก็เป็นโอกาสสำคัญให้บ้านตุ๊กตาผลิตขึ้นมาได้ทีละมากๆ ไม่ใช่ว่าต้องจ้างช่างฝีมือมาผลิตทีละชิ้นสองชิ้น รอกับเป็นปีกว่าจะเสร็จอีกต่อไป มีโรงงานรับออเดอร์กันเป็นล่ำเป็นสัน จากตู้คาบิเน็ตก็มีการสร้างตัวบ้านขึ้นรองรับเครื่องเรือน อย่างภาพข้างบนนี้ บ้านตุ๊กตาก็เลื่อนฐานะ(ไม่แน่ใจว่าเลื่อนขึ้นหรือเลื่อนลง) มาเป็นของเล่นสำหรับเด็ก ที่เกิดมาเป็นคุณหนู ในห้องของเด็กน้อยที่เรียกว่า nursery นั้น ของเล่นที่ขาดไม่ได้ นอกจากม้าโยก ก็คือบ้านตุ๊กตา
ส่วนภาพข้างล่าง เป็นแบบของบ้านตุ๊กตาในอเมริกาที่สร้างอย่างสวยงามประณีต ปัจจุบันกลายเป็นของเก่าแอนทีคไปแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SRISOLIAN
อสุรผัด

ตอบ: 36
|
ความคิดเห็นที่ 50 เมื่อ 11 ก.ย. 15, 12:46
|
|
ภาพบ้านตุ๊กตาที่คุณเทาชมพูนำมาแบ่งปันนั้นทั้งสวยงามและลงรายละเอียดได้ดีมากครับ ทำให้อดนึกถึงบ้านตุ๊กตาของสยามในอดีตอย่างบ้านตุ๊กตาของเจ้าจอมเลียม (สกุลบุนนาค) ที่จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร รวมถึงเรือนของเจ้าพระยามหิธร (สกุลไกรฤกษ์) ที่จัดแสดงในพระราชวังพญาไท แต่ถ้าจะหากเข้าไปอยู่ในบ้านตุ๊กตาคงต้องเป็นเจ้าหญิงโสนน้อยเรือนงามคนเดียวเท่านั้นถึงจะมีสิทธิ์ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 51 เมื่อ 11 ก.ย. 15, 13:00
|
|
คุณ Srisolian หายไปนาน เสียดายที่หารูปบ้านตุ๊กตาของเจ้าจอมเลียม และเจ้าพระยามหิธรมาลงไม่ได้ค่ะ ใครมีกรุณาแบ่งปันด้วยจะขอบคุณมาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 52 เมื่อ 11 ก.ย. 15, 13:37
|
|
เรือนมหิธรเป็นเรือนจำลองในดุสิตธานี เป็นของเจ้าพระยามหิธร สุดท้ายตกไปอยู่กับครอบครัวของหม่อมหลวงปิ่น มาลากุลและภริยาท่านมอบให้เป็นสมบัติของชมรมคนรักวัง จึงได้มาจัดแสดงพระราชวังพญาไท ภาพจาก rikagib.wordpress.com
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 53 เมื่อ 11 ก.ย. 15, 13:42
|
|
หลังนี้เอง เคยเห็นที่ตั้งอยู่บนเทอเรสในบ้านท่าน ม.ล.ปิ่น มาลากุล ที่ถนนสุขุมวิท แม่เล่าว่าเป็นบ้านที่ดุสิตธานีมาก่อน
เสียดายดุสิตธานี เมื่อสิ้นรัชกาลที่ 6 บ้านน้อยแฮนด์เมดที่สร้างอย่างสุดฝีมือ ก็กระจัดกระจายหายสูญไป ทางการไม่ได้เก็บรักษาไว้ หากว่ายังเก็บรักษาได้ครบถ้วน นำเข้าพิพิธภัณฑ์ จะเป็นสมบัติของชาติที่อวดนักท่องเที่ยวได้ไม่น้อยกว่า มาดูโรดัม ในฮอลแลนด์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 54 เมื่อ 11 ก.ย. 15, 13:47
|
|
นำบ้านตุ๊กตาหลังดังระดับโลกมาให้ดูกันอีกหลัง ชื่อ Titania's Palace ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่ Egeskov Castle ในประเทศเดนมาร์ค
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 55 เมื่อ 11 ก.ย. 15, 13:47
|
|
ชมห้องด้านหน้ากันสักห้อง อลังการงานสร้างขนาดไหน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Anna
|
ความคิดเห็นที่ 56 เมื่อ 11 ก.ย. 15, 18:36
|
|
เรือนมหิธรเป็นเรือนจำลองในดุสิตธานี เป็นของเจ้าพระยามหิธร สุดท้ายตกไปอยู่กับครอบครัวของหม่อมหลวงปิ่น มาลากุลและภริยาท่านมอบให้เป็นสมบัติของชมรมคนรักวัง จึงได้มาจัดแสดงพระราชวังพญาไท ภาพจาก rikagib.wordpress.comชอบบ้านสีขาว พอเห็นหลังนี้ปั๊บ ตกหลุมรักเลยค่ะ ข้างในมีเฟอร์นิเจอร์ด้วยหรือเปล่าคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 57 เมื่อ 11 ก.ย. 15, 18:56
|
|
โชว์ร้านขายยาจิ๋ว ฝีมือหนุ่มสยามครับผม 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 58 เมื่อ 11 ก.ย. 15, 21:07
|
|
ร้านขายยาร้านนี้ โชว์ในพิพิธภัณฑ์ได้สบายเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 59 เมื่อ 11 ก.ย. 15, 21:45
|
|
กลับไปที่ปราสาททิทาเนีย มองจากด้านหน้าเป็นแบบนี้ค่ะ จะเห็นได้ว่า เครื่องเรือนทั้งหลายในปราสาท ล้วนเป็นงานฝีมือทั้งนั้น
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|