เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22 ... 30
  พิมพ์  
อ่าน: 60834 มอง 7/7 bombings ที่ลอนดอนแล้วย้อนมองดูเรา
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 285  เมื่อ 29 มี.ค. 19, 10:31

ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของผู้เสียชีวิตด้วยค่ะ
ในอเมริกา ทุกวันนี้ แม้แต่ขับรถออกจากบ้านตามปกติ   ก็ไม่รู้ว่าจะเจอคนร้ายไล่ยิงไล่ชน  ทั้งๆไม่รู้จักกันมาก่อนหรือเปล่า
รายนี้น่าจะป่วยโรคจิต   มากกว่าก่อการร้าย
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 286  เมื่อ 30 มี.ค. 19, 09:55

ข่าวเศร้าปีก่อนซ้อนโศกปีนี้

            จากเหตุการณ์วาเลนไทน์เลือดในร.ร.มัธยมที่ฟลอริด้าเมื่อปีก่อน ปีนี้มีข่าวสะเทือนใจตามมา
เมื่อมีรายงานข่าวว่า นักเรียนที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนั้น 2 ราย ได้เสียชีวิตจากการกระทำอัตวินิบาตกรรม
            Calvin Desir วัย 16 ปีได้กระทำอัตวินิบาตกรรมเมื่อวันที่ 17 มีนาคมและจากไปในคืนวันเสาร์
ที่แล้ว     Sydney Aiello วัย 19 ปีเสียชีวิตจากอัตวินิบาตกรรมเมื่อวันอาทิตย์

            ครอบครัวของ Aiello กล่าวว่าหลังการสูญเสียเพื่อนรักจากเหตุการณ์ครั้งนั้น เธอก็มีชีวิตอยู่ด้วย
ความรู้สึกผิดที่รอดตายมา และได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยด้วยภาวะ ความเครียดหลังจากเหตุการณ์สะเทือนใจ
(post-traumatic stress disorder)

รายงานข่าวกล่าวว่า เมื่อครั้งเหตุการณ์ Columbine shooting ในปี 1999 ก็ได้มีผู้กระทำอัตวินิบาตกรรม
ตามหลังเช่นกัน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 287  เมื่อ 30 มี.ค. 19, 13:37

ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของเยาวชนทั้งสองด้วยค่ะ
อยากขอให้คุณหมอ SILA ช่วยอธิบายถึง ความเครียดหลังจากเหตุการณ์สะเทือนใจ (post-traumatic stress disorder) ด้วยค่ะ   คงยังมีคนอีกมากที่ไม่ทราบว่ามันคืออะไร
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 288  เมื่อ 01 เม.ย. 19, 10:29

งานงอก ยิ้ม    

               โรคทางจิตเวชที่ค่อนข้างใหม่ - Post-traumatic Stress Disorder นี้, PTSD ชื่อนี้เพิ่งเข้ามาอยู่ใน
สาระบบการวินิจฉัย เมื่อประมาณปี 1970-80 นี้เอง สืบเนื่องจากจำนวนผป. หลายรายในเมกาที่เป็นทหารผ่านศึกสงคราม
เวียดนามเกิดอาการทางจิต,พฤติกรรมที่เป็นผลจากบาดแผลสงคราม - Posttraumatic condition  
               เมื่อย้อนกลับไปดู จะพบภาวะนี้ที่มีชื่อเรียกกันดั้งเดิมมาตั้งแต่สมัยสงครามกลางเมืองเมกา - สงครามโลก
ครั้งที่ 1 - 2 ว่า Irritable Heart, Shell Shock Syndrome, Combat neurosis หรือ  Operational Fatigue
ตามลำดับ จนสุดท้ายจึงใช้ชื่อนี้
                ชื่อไทย, พบว่าใช้แตกต่างกันไป เช่น ความผิดปกติทางจิตใจ(หรือ เครียด) ภายหลังภยันตราย (หรือ เหตุ
สะเทือนใจ หรือ ได้รับบาดแผลทางจิตใจ), ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง

The Deer Hunter หนึ่งในภาพยนตร์ที่นำเสนอตัวละครที่เป็นทหารผ่านศึกเวียตนามผู้ป่วยด้วยภาวะ PTSD


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 289  เมื่อ 01 เม.ย. 19, 18:31

ขอบคุณค่ะคุณหมอ SILA
ไปหาอ่านเพิ่มเติม ถึงอาการของผู้ป่วย   พบว่าพวกนี้ฝังใจจำเหตุการณ์ร้ายแรงในอดีต  ลืมไม่ได้  เห็นอะไรก็ย้อนกลับไปคิดถึงเหตุการณ์เดิมอยู่ร่ำไป  เกิดอาการตามมาหลายอย่างเช่นซึมเศร้า   ประสาทหลอน   บางคนติดเหล้าติดยา เพื่อให้ลืมทุกข์ 
บางคนทนรับความกดดันไม่ไหว ก็จบชีวิตตัวเองให้พ้นทรมาน

เป็นเรื่องน่าเศร้ามากสำหรับนักเรียน 2 คนที่รอดชีวิตมาได้ แต่ไม่รอดจากอาการป่วย

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 290  เมื่อ 02 เม.ย. 19, 08:11

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 291  เมื่อ 02 เม.ย. 19, 10:02

             ภาวะ PTSD จัดอยู่ในกลุ่มของโรคที่เกี่ยวเนื่องกับ stress ทั้งหมด   
             ผป. จะมีอาการหลังประสบกับเหตุการณ์ที่รุนแรงมากจนกระทบกระเทือนเป็นบาดแผลทางใจ(และอาจ
มีทางกายด้วย) เช่น การถูกทำร้ายทรมาน, ข่มขืน, อาชญากรรม, อุบัติเหตุหรือภัยพิบัติรุนแรง, สงครามจลาจล ฯ
โดยอาจมีปัจจัยหนุนนำที่มีส่วนทำให้ผป.เกิดอาการได้ง่ายขึ้น เช่น ลักษณะบุคลิกภาพแบบย้ำคิด, อ่อนแอ
             ผป.ผ่านเหตุการณ์นั้นแล้วรอดมาได้ หรือสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักในเหตุการณ์นั้น แล้วเกิดความเครียด
ทางด้านจิตใจชนิดรุนแรงทนทุกข์ทรมาน จนส่งผลให้เกิดความบกพร่องในหน้าที่การงานและการใช้ชีวิตประจำวัน

(ย่อความจากบทความโดย #หมอเบิ่นนี่)

            ในส่วนของรายงานข่าวนี้ ผป.ที่เป็นผู้รอดจากความตายในขณะที่เพื่อนรักเสียชีวิตไป ทำให้มี

            ความรู้สึกผิดของผู้รอดชีวิต(survivor's guilt)

            ผป.เกิดคำถามว่า ทำไมฉันถึงรอด? ในขณะที่คนอื่นตาย ทำไมฉันถึงไม่ทำอะไรเพื่อจะได้ช่วยคนอื่นหรือ
ตายแทนคนนั้น หรือ ทำไมเขาต้องมาตายแทนฉัน?
            ทั้งนี้เป็นผลมาจากความรู้สึกนึกคิดโทษตนเองว่า เป็นสาเหตุหลักทำให้คนอื่นตาย, ทำบางสิ่งบางอย่างผิด
ไปหรือไม่ได้ทำเพื่อช่วยให้คนรอด โดยที่อาจจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงหรือคิดไปเอง
            ทั้งนี้บริบทของสังคม มีส่วนกระตุ้นภาวะนี้ผ่านทางวัฒนธรรมในสังคมที่ให้ความสำคัญ และเรียกร้องความรับ
ผิดชอบต่อส่วนรวม หรือแรงกดดัน ตำหนิติเตียน จากคนรอบข้างในสังคม


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 292  เมื่อ 02 เม.ย. 19, 10:04

ลักษณะของบุคคลที่จะมีความรู้สึกผิดได้ต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานดังนี้

1. คนมีคุณธรรม (moral)  ยิ่งมีคุณธรรมประจำใจมาก, ความรู้สึกผิดก็ยิ่งมาก
2. เป็นคนที่มีความรับผิดชอบ (responsibilty) ต่อพฤติกรรมของตน รวมทั้งจิตสำนึกในผลจากการกระทำของตน
ต่อส่วนรวม (accountability)
3. เป็นคนที่รู้สึกว่าต้องช่วยคนอื่น (altruism) 
4. เป็นคนที่สามารถเห็นอกเห็นใจคนอื่นได้ (empathy)

แต่ คนที่จะมีความรู้สึกผิดได้มากจนเกิดโทษ คือ

1. เกิดจากบุคลิกที่ชอบตำหนิตัวเอง (self- criticism)
2. คนที่ให้อภัยตนเองได้ยาก มีระดับการมีคุณธรรมมากเกินไปไม่สามารถให้อภัยตนเองได้
3.เป็นคนขาดความยืดหยุ่น มองอะไรเป็นขาวหรือดำเท่านั้น ไม่มีสีเทา


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 293  เมื่อ 02 เม.ย. 19, 10:07

ความรู้สึกผิดมากเกินไปเช่นนี้ มีผลทำให้

1. อาจกลายเป็นโรคซึมเศร้า หรือ โรควิตกกังวล
2. ไม่อนุญาตให้ตนเองมีความสุข ต้องการลงโทษตัวเองเพราะเมื่อมีความสุขก็รู้สึกละอายใจ จึงต้องทำให้ตนเอง
รู้สึกทุกข์ใจ หรือทำให้ชีวิตตนเองตกต่ำอยู่ตลอดเพราะยังรู้สึกผิดอยู่ ใช้ชีวิตไปอย่างไม่ใยดีตนเองเพื่อชดเชย
ความผิด
3. พยายามฆ่าตัวตายเพื่อชดเชยความผิดนั้น

Saving Private Ryan หลายชีวิตต้องสูญเสียไปเพื่อให้พลทหารไรอันรอด แต่ด้วยประโยคทองของ
ร.อ.มิลเลอร์ที่สั่งเสียไว้ก่อนสิ้นใจ “James.... earn this. Earn it.” ช่วย save พลทหารไรอันจาก
Survivor's Guilt

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6879.msg164449#msg164449


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 294  เมื่อ 04 เม.ย. 19, 09:32

หลังจากความสูญเสียเกิดบาดแผลในใจของผู้รอด

             ในช่วง 1 เดือนแรก, เป็นระยะอาการเครียดเฉียบพลัน(Acute Stress Disorder)
             หลังจากนั้น คือระยะที่สอง -  PTSD: Post-Traumatic Stress Disorder
เป็นช่วงเวลาอาการเนิ่นนานเกิน 1 เดือน - หลายเดือนหรือเป็นปี ผป.ยังคงมีลักษณะอาการสำคัญ 4 อย่าง คือ

1. นึกถึง,เห็นภาพเหตุการณ์นั้นตามมาหลอกหลอน โดยที่อาจจะมาเป็น ฝันร้าย (nightmares) ถึงเหตุการณ์
หรือ เห็นภาพเหตุการณ์เกิดขึ้นซ้ำ ๆ (flashbacks)
2. พยายามหลีกเลี่ยงเหตุการณ์หรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น (avoidance) ที่ทำให้นึกถึง,เกิด flashbacks
3. อาการตื่นกลัว (hyperarousal) มีอาการนอนไม่หลับ ใจสั่น หงุดหงิด,ตกใจง่าย ไม่มีสมาธิ
4. มีการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ไปในเชิงลบ รู้สึกว่าชีวิตหม่นหมอง ไม่อาจมีความสุขได้อีกต่อไป ไม่สนใจกิจกรรมที่เคย
ชอบ และอาจมีความคิดฆ่าตัวตายหรือพึ่งสารเสพติด

Jeremy Cains PTSD flashback


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 295  เมื่อ 04 เม.ย. 19, 09:36

            ภาวะ PTSD มักจะเป็นแบบเรื้อรัง หากไม่รักษามักจะไม่หาย, อาการจะรุนแรงขึ้นในช่วงที่เครียด
และ มักมีอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวลตามมา ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้มีความเสี่ยงต่อ
การฆ่าตัวตายสูงกว่าคนปกติถึง 14 เท่า
           ในต่างประเทศ ผู้ที่รอดจากเหตุการณ์รุนแรงนี้ จะได้รับคำแนะนำให้พบกับจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยา
เพื่อประเมินว่ามีอาการ PTSD หรือ survivor's guilt หรือไม่

            การรักษา มักเริ่มด้วย จิตบำบัด, ความคิดพฤติกรรมบำบัด (psychotherapy, cognitive-behavioral therapy)
เป็นอันดับแรก และจะมีการใช้ยาร่วมด้วย โดยเฉพาะกรณีผู้ป่วยเป็นเรื้อรังและอาการมาก
            ในส่วนของจิตบำบัด ประกอบด้วย การจัดการความเครียด โดยการผ่อนคลาย, การคิดบวก, เทคนิค
การหยุดความคิด เป็นต้น
            และ การปรับเปลี่ยนความคิด,ความเชื่อ เพื่อให้ผป.ได้รู้ถึงความคิดที่ผิดคลาดเคลื่อนของตนเองแล้ว
แก้ไข และ การเผชิญหน้ากับสถานการณ์ซํ้าเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าสถานการณนั้นไม่น่ากลัวอีกต่อไป


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 296  เมื่อ 06 เม.ย. 19, 15:47

การปฎิบัติธรรม เช่นนั่งสมาธิ  ทำกรรมฐาน เดินจงกรม  โดยไม่ใช้ยาเลย 
ช่วยได้ไหมคะ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 297  เมื่อ 07 เม.ย. 19, 10:59

(คห.ส่วนตัว ครับ)
           การทำโยคะ, การหายใจเข้าออกผ่อนคลาย, การปฏิบัติธรรมที่ได้ผล น่าจะช่วย ลดหรือระงับ
ความเครียดลงได้ หรือ บางแห่งที่กล่าวถึง การดูจิต ถ้าดูแล้วเห็นก็น่าจะลดละความเครียดลงได้ แต่
ถ้ามีอาการมากเกินก็ควรใช้ยาและรับจิตพฤติกรรมบำบัด

และ, อ้างถึง, คำแนะนำ จากบทความรับสถานการณ์บ้านเมืองยามนี้ ที่กล่าวถึง
 Political Stress Syndrome (PSS)    Post-Election Stress Disorder

การเมืองเรื่อง (ไม่) เครียด  http://www.judprakai.com/feature/994

           5. การผ่อนคลายความเครียด เช่น การออกกำลังกาย ฝึกโยคะ ทำสมาธิ ฝึกผ่อนคลายกำหนดลมหายใจ
เข้า-ออก เป็นต้น


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 298  เมื่อ 07 เม.ย. 19, 11:22

ขอบคุณค่ะคุณหมอ
ลิ้งค์ที่คุณหมอทำให้ข้างบนนี้   ทันกระแสสังคมยุคหลังเลือกตั้งมากค่ะ
ขอนำลิ้งค์มาลงอีกครั้งค่ะ

 http://www.judprakai.com/feature/994
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 299  เมื่อ 22 เม.ย. 19, 14:23

ผ่านมาสดๆร้อนๆ คือระเบิดในศรีลังกา
https://www.bbc.com/thai/international-48002445
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22 ... 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 20 คำสั่ง