han_bing
|
หลายท่านเคยดูรูปภาพสมัยโบราณ ของทั้งในประเทศไทย และตะวันตก จะพบว่าสุภาพสตรีตระกูลสูง หรือที่มีฐานะดียามแต่งกายสวยงามเต็มยศจะมีเครื่องประดับหลายชิ้นแปลกตาจากที่เราเห็นในปัจจุบัน หนึ่งในนั้นคือ เข็มกลัดขนาดใหญ่เป็นพิเศษหรือสร้อยระย้าแพรวพราว เครื่องประดับงามหรูเหล่านี้นำมากลัดติดกับเสื้อผ้าของผู้สวมใส่ในบริเวณหน้าอก
สิ่งนี้คืออะไร
ในยุโรปตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๕ เป็นต้นมาการแต่งกายของชายและหญิงจะมีการตบแต่งเสื้อผ้าบริเวณหน้าท้องของผู้สวมใส่อย่างสวยงามเป็นพิเศษ อาจจะประดับด้วยผ้าที่ลวยลายมากกว่าส่วนอื่น หรืออาจจะประดับด้วยริบบิ้น การตบแต่งเช่นนี้เรียกว่า Stomacher หรือ เครื่องตบแต่งบริเวณหน้าท้อง ภายหลังผู้ที่จะแต่งก็เหลือเพียงสตรี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 10 ส.ค. 15, 09:49
|
|
อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่ประมาณ ศตวรรษที่ ๑๗ เป็นต้นมา การตบแต่งก็ขยับขยายไปไกล กล่าวคือ แทนที่จะตบแต่งด้วยผ้า สตรีชั้นสูงจะตบแต่งด้วยสายสร้อยหรือเข็มกลัดชิ้นโตในบริเวณหน้าท้อง สตรีชั้นสูงและสตรีในราชสำนักยามแต่งกายเต็มยศ เครื่องเพชรประดับอุทรนี้ถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยทีเดียว
ภาพจักพรรดินีแอนนา และภาพจักพรรดินีอลิสซาเบ็ธแห่งรัสเซีย ทรงเครื่องเพชรประดับพระอุทร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 10 ส.ค. 15, 09:59
|
|
การตบแต่งด้วยเครื่องเพชรประดับอุทรเช่นนี้เป็นที่นิยมเรื่อยมาจนกระทั่งเข้าสู่ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ ความนิยมการตบแต่งอัญมณีบริเวณอุทรก็หายไป สาเหตุของการหายไปเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเครื่องแต่งกายของสตรียุโรป เครื่องประดับประดับอุทรเหล่านี้เป็นผลพวงจากการที่สตรีใส่ชุดรัดทรงหรือคอเซต ทำให้รูปร่างผู้หญิงดูราวกับนาฬิกาทราย เครื่องเพชรประดับอุทรก็จะออกแบบให้เข้ากับรูปทรงดังกล่าว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 10 ส.ค. 15, 10:06
|
|
แต่ว่าเมื่อเข้าสู่ยุคสงครามโลกครั้งที่ ๑ สตรีตะวันตกไม่นิยมใช่เครื่องรัดทรงอย่างคอเซตอีกต่อไปแล้ว เสื้อผ้าก็จะเป็นแบบไม่รัดแน่นอย่างในอดีต ดังนั้น การที่จะประดับเครื่องประดับอุทรจึงไม่เหมาะสมอีกต่อไป ในที่สุด ความนิยมตรงนี้ก็ค่อยๆหาย หลังจากที่เป็นที่นิยมในสตรีชั้นสูงนับร้อยปี อย่างไรก็ตามเราก็พอจะเห็นการตบแต่งเช่นนี้บ้างในบางโอกาส เช่น Marchioness of Londonderry ในอดีตและปัจจุบันสองท่านก็นำเครื่องประดับชนิดนี้มาตบแต่ง
Lady Theresa, Marchioness of Londonderry, wife of the 6th Marquess. The diamond stomacher consisted of 230 carats of diamonds in total; the largest diamond was 15 carats and mounted in silver and gold. The diamonds were taken from a Garter insignia and sword of the Viscount Castlereagh which he had worn at the coronation of George IV in 1821
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 10 ส.ค. 15, 10:13
|
|
ล่าสุดที่เราสามารถพบเห็นได้ ก็ดั่งสมเด็จพระนางเจ้าอลิสเบ็ธที่ ๒ ทรงหนึ่งครั้ง
ถือเป็นความงามที่นานๆจะได้พบเห็นในยุคปัจจุบัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 10 ส.ค. 15, 10:39
|
|
หมายเหตุ ในประเทศไทยก็สามารถพบเครื่องประดับแบบนี้ได้เช่นกัน หากเราสังเกตุในรูปภาพโบราณดีๆ
ประเทศเรานำสมัยไม่แพ้ใครแต่โบราณอยู่แล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 10 ส.ค. 15, 10:51
|
|
สมเด็จพระพันปี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 10 ส.ค. 15, 12:32
|
|
Princess Alice, Countess of Athlone – ในพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก พระเจ้าจอร์ชที่ 5 ปี 1911
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 10 ส.ค. 15, 13:56
|
|
โครงสร้างคล้ายกัน คือเป็นสามเหลี่ยมแคบ ปลายแหลม ฝีมือช่างที่ทำเรือนลายฉลุได้บอบบางเหมือนผ้าลูกไม้ นั่นสิ น่าพิศวงมาก ออกแบบเรือนได้สวยกว่าเพชร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 10 ส.ค. 15, 13:57
|
|
ชอบงานออกแบบ อันนี้ค่ะ อะร้าอร่ามมาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 10 ส.ค. 15, 16:05
|
|
พระฉายาลักษณ์เก่าของเจ้านายฝ่ายในบางพระองค์ของเราก็มีเครื่องเพชรประดับพระอุทรนะครับ สวยมากด้วย
แต่ขอเก็บไว้เป็นความลับ
ในอีกไม่กี่อึดใจ เชื่อแน่ว่าท่านผู้เชี่ยวชาญจะเดาได้ว่าเป็นพระฉายาลักษณ์ใด ข้าพเจ้าเคยเข้าไปชมในเพจหนึ่ง งดงามมาก ท่านเจ้าของเพจได้ลงสีรูปไว้อย่างสวยงามแล้วด้วย
ใบ้ให้ -เจ้าของเพจนี้เป็นผู้มีอุปการะในการหารูปเก่าในเว็ปเรือนไทยของเราเสมอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 10 ส.ค. 15, 16:40
|
|
พระฉายาลักษณ์เก่าของเจ้านายฝ่ายในบางพระองค์ของเราก็มีเครื่องเพชรประดับพระอุทรนะครับ สวยมากด้วย
แต่ขอเก็บไว้เป็นความลับ
ในอีกไม่กี่อึดใจ เชื่อแน่ว่าท่านผู้เชี่ยวชาญจะเดาได้ว่าเป็นพระฉายาลักษณ์ใด ข้าพเจ้าเคยเข้าไปชมในเพจหนึ่ง งดงามมาก ท่านเจ้าของเพจได้ลงสีรูปไว้อย่างสวยงามแล้วด้วย
ใบ้ให้ -เจ้าของเพจนี้เป็นผู้มีอุปการะในการหารูปเก่าในเว็ปเรือนไทยของเราเสมอ
เจ้านายฝ่ายในบางพระองค์ของเราก็มีเครื่องเพชรประดับพระอุทร - คงมีน้อยองค์นะครับเนี่ย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 10 ส.ค. 15, 19:44
|
|
รอผู้มาเฉลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 11 ส.ค. 15, 09:03
|
|
ผู้ที่ยึดแฟชั่นประดับ stomacher งามๆ ในการแต่งกายเต็มยศ คือพระราชินีแมรี่ พระมเหสีของพระเจ้าจอร์ชที่ 5 พระอัยกา(ปู่) ของพระราชินีนาถเอลิซาเบธองค์ปัจจุบัน ตั้งแต่สาวจนทรงพระชรา ควีนแมรี่ไม่เคยว่างเว้นประดับ stomacher ดูจากเครื่องแต่งกาย ท่านก็ไม่เปลี่ยนแฟชั่นไปเท่าใดนักในหลายสิบปี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 11 ส.ค. 15, 09:06
|
|
stomacher มักจะถูกออกแบบให้ถอดแยกได้เป็นชิ้นๆ โดยไม่เสียรูปทรง สามารถดัดแปลงเป็นเข็มกลัดติดเสื้อได้พอเหมาะพอดี สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธ ทรงประดับเข็มที่แยกชิ้นมาจาก stomacher ของสมเด็จย่าของท่าน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|