เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 49
  พิมพ์  
อ่าน: 70753 ห้วยขาแข้ง เมื่อ '14 '15
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 195  เมื่อ 29 ก.ย. 15, 19:30

ขออนุญาตขัดจังหวะการเล่าเรื่องครับ
ขอรบกวนสอบถามคุณ naitang ครับ รบกวนถามว่า เคยได้ยินตำนานหรือเรื่องเล่าของพราน(ไม่แน่ใจว่าชาติพันธุ์ไหน) ที่เดินจากอุ้มผาง(หรืออาจจะเป็นช่องทางที่เรียกว่า ช่องแป๊ะ)และน่าจะผ่านทุ่งใหญ่ลงมาที่ทองผาภูมิภายในวันเดียวบ้างไหมครับ  เนื่องจากคนรู้จักผมเขาเล่าตำนานนี้ให้ฟัง แต่ไม่มีรายละเอียด ผมจึงมาขอความกรุณารบกวนสอบถามครับ

เป็นไปไม่ได้ครับ  ระยะทางที่เป็นเส้นตรงตามไม้บรรทัดจากตัว อ.อุ้มผางถึงตัว อ.ทองผาภูมิก็ประมาณ 150+ กม. คนเราเดินได้ประมาณวันละ 40-50 กม.ในพื้นที่ราบลอนคลื่นเท่านั้น 

แต่หากจะเป็นการเดินจาก บ.แม่จันทะ (บนแม่น้ำแม่กลอง) หรือ บ.เลตองคุ (หมู่บ้านชายแดน) ซึ่งอยู่ในเขต อ.อุมผาง ซึ่งเป็นส่วนล่างใกล้เขตต่อ จ.ตาก กับ จ.กาญจนบุรี  มายัง บ.พุจือ ซึ่งอยู่ชายทุ่งใหญ่นเรศวรทางตะวันตกเฉียงเหนือและอยู่ในเขต อ.สังขละบุรี ของ จ.กาญจนบุรี ก็เป็นไปได้ครับ   แต่จะให้เลยมาถึงตัว อ.ทองผาภูมิ (หรือถึงเพียงชายเขต อ.ทองผาภูมิ แถว บ.วังปาโท่ หรือ เจดีย์บุอ่อง) ก็คงจะเป็นไปได้ยากมาก

คำว่าหนึ่งวันของชาวบ้านป่านั้น เช้าของพวกเขานั้นเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 4 น. และหมดวันที่เวลาประมาณดวงอาทิตย์เริ่มลับขอบฟ้า
ก็อยู่ในระยะเวลาประมาณ 12+ชม.นิดหน่อย  เราเดินแบบเร็วได้ประมาณ 6 กม./ชม. แต่เมื่อเฉลี่ยรวมกับช่วงเวลาพักด้วยแล้วก็อยู่แถวๆ 4 กม./ชม.ครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 196  เมื่อ 29 ก.ย. 15, 20:04

กระดึบๆขึ้นมาได้ระยะทางประมาณ 30 ม.(ทางตรง) ก็มาถึงเกือบจะจุดสุดท้ายที่ฝั่งซ้ายของลำน้ำ   ตั้งหัวเรือได้ ก็เร่งเครื่อง หัวเรือเผินขึ้นพร้อมกับได้ยินเสียงเครื่องเรือกระหึ่มแบบเร่งเครื่องฟรี แล้วส่วนหัวเรือด้ายซ้ายก็ตกลงวางอยู่บนโขดหิน  นายท้ายเรือก็ตะโกนบอกว่าให้โดดลงแล้วดึงเชือกหัวเรือไปผูกไว้  เกือบไปละครับ เพียงก้าวลงออกจากเรือไปคนเดียว เรือก็ขยับจะหลุดจากที่เกย ก็เลยต้องช่วยกันมารวมกลุ่มลงน้ำหนักมิให้เรือหลุดลอยออกไปจนกว่าจะผูกเชือกเสร็จ

เรื่องที่เกิดขึ้นก็คือ ใบจักรเรือไปฟันเข้ากับโขดหิน จนใบพัดหักไปทั้งหมด ไม่เหลือหรอเลย    แก้ไขไม่ยากครับ เพียงเปลี่ยนใบจักรเท่านั้นเองแต่ในสภาพที่ยากหน่อยเท่านั้นเอง (เรือทุกลำจะมีใบจักรสำรองไว้สองสามอันเสมอ)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 197  เมื่อ 29 ก.ย. 15, 21:05

เปลี่ยนใบจักรเสร็จก็ตามมาด้วยความเสียวใส้ที่แท้จริง

ก็ต้องลุ้นกันหน่อยว่าจะหันกลับเรือกลางแก่งน้ำเชี่ยวได้สำเร็จหรือไม่    แต่ก่อนจะไปถึงเรื่องนั้น ก็ต้องคิดเสียก่อนว่าจะทำอย่างไรให้ทุกคนได้ขึ้นไปอยู่บนเรือก่อนที่จะปล่อยเชือกที่ผูกไว้  ใช้วิธีการย้อนทางเดิมครับ เอาคนขึ้นเรือแล้วร่วมกันลงน้ำหนักให้เรือมันวางอยู่บนหิน แล้วค่อยๆลดน้ำหนัก ณ จุดลงน้ำหนัก  พอเรือหลุดลอยออกมา ผู้โดยสารก็ต้องรีบกระจายน้ำหนักบนเรือ สัมพันธ์กับนายท้ายที่ต้องพยายามหันหัวเรือให้ไปตามทิศทางที่น้ำไหลโดยต้องเร่งเครื่องทำให้เรือมีความเร็วมากกว่าความเร็วของน้ำไหล (จึงจะบังคับทิศทางของเรือได้) และต้องเร็วมากพอที่จะทำให้น้ำมิให้น้ำไหลตบตูด (ตลบเข้าทางท้ายเรือ)    ลองนึกดูภาพของการขวางเรือในกระแสน้ำไหลและการใช้ความเร็วที่เหมาะสมสำหรับกรณีต่างๆ  วู้...

แล้ววันหนึ่ง ผมกับคณะก็ต้องเขย่งกองกอยลอยคอข้ามน้ำที่หัวแก่งนี้ พร้อมๆไปกับช้างต่าง แล้วก็ต้องข้ามกลับมาฝั่งปากลำขาแข้งเพื่อกลับแคมป์ ก็เป็นอีกหนึ่งระทึกครับ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 198  เมื่อ 30 ก.ย. 15, 11:45

ขออนุญาตขัดจังหวะการเล่าเรื่องครับ
ขอรบกวนสอบถามคุณ naitang ครับ รบกวนถามว่า เคยได้ยินตำนานหรือเรื่องเล่าของพราน(ไม่แน่ใจว่าชาติพันธุ์ไหน) ที่เดินจากอุ้มผาง(หรืออาจจะเป็นช่องทางที่เรียกว่า ช่องแป๊ะ)และน่าจะผ่านทุ่งใหญ่ลงมาที่ทองผาภูมิภายในวันเดียวบ้างไหมครับ  เนื่องจากคนรู้จักผมเขาเล่าตำนานนี้ให้ฟัง แต่ไม่มีรายละเอียด ผมจึงมาขอความกรุณารบกวนสอบถามครับ

เป็นไปไม่ได้ครับ  ระยะทางที่เป็นเส้นตรงตามไม้บรรทัดจากตัว อ.อุ้มผางถึงตัว อ.ทองผาภูมิก็ประมาณ 150+ กม. คนเราเดินได้ประมาณวันละ 40-50 กม.ในพื้นที่ราบลอนคลื่นเท่านั้น 

แต่หากจะเป็นการเดินจาก บ.แม่จันทะ (บนแม่น้ำแม่กลอง) หรือ บ.เลตองคุ (หมู่บ้านชายแดน) ซึ่งอยู่ในเขต อ.อุมผาง ซึ่งเป็นส่วนล่างใกล้เขตต่อ จ.ตาก กับ จ.กาญจนบุรี  มายัง บ.พุจือ ซึ่งอยู่ชายทุ่งใหญ่นเรศวรทางตะวันตกเฉียงเหนือและอยู่ในเขต อ.สังขละบุรี ของ จ.กาญจนบุรี ก็เป็นไปได้ครับ   แต่จะให้เลยมาถึงตัว อ.ทองผาภูมิ (หรือถึงเพียงชายเขต อ.ทองผาภูมิ แถว บ.วังปาโท่ หรือ เจดีย์บุอ่อง) ก็คงจะเป็นไปได้ยากมาก

คำว่าหนึ่งวันของชาวบ้านป่านั้น เช้าของพวกเขานั้นเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 4 น. และหมดวันที่เวลาประมาณดวงอาทิตย์เริ่มลับขอบฟ้า
ก็อยู่ในระยะเวลาประมาณ 12+ชม.นิดหน่อย  เราเดินแบบเร็วได้ประมาณ 6 กม./ชม. แต่เมื่อเฉลี่ยรวมกับช่วงเวลาพักด้วยแล้วก็อยู่แถวๆ 4 กม./ชม.ครับ

ขอบพระคุณครับ สำหรับรายละเอียดเส้นทางผมไม่แน่ใจว่าจะมาถึงตัว อ.ทองผาภูมิหรือเปล่านะครับ เพราะตอนที่คุยไม่ได้คุยในรายละเอียดเท่าไรครับ ลักษณะฟังเป็นคำบอกเล่าเท่านั้นครับ  กลับไปคราวหน้า คงต้องหาโอกาสสอบถามผู้เล่าเรื่องนี้ให้ผมฟังถึงรายละเอียดอีกรอบครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 199  เมื่อ 30 ก.ย. 15, 19:08

นัดแนะกันดีแล้วในเรื่องช้าง 2 เชือก เรื่องคนงาน และวันเวลาที่จะพบกัน ก็เดินทางกลับเมืองกาญจน์  ออกจากปากลำก็มาระทึกที่แก่งยาวอีกเล็กน้อย    เรือบรรทุกหนักมากไปหน่อย เลยทำให้บังคับยากขึ้น ประกอบกับใบจักรที่เปลี่ยนเมื่อวานนี้เป็นใบจักรเก่าที่มีรอยบิ่นอยู่มากพอสมควรแถมยังขันน๊อตไม่แน่นพออีก เรือก็เลยอยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์เต็มที่    เข้าร่องน้ำไหลเชี่ยวผิดจังหวะไปนิดเดียว เร่งความเร็วไม่ทันพอดี ก็เลยทำให้น้ำตลบตบท้ายเข้าทางท้ายเรือ   ทำอะไรไม่ได้มากไปกว่าเร่งความเร็วประประคองเรือให้ลงพ้นแก่งไป แล้วจึงค่อยมาจัดการกับน้ำที่ทะลักเข้าเรือ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 200  เมื่อ 30 ก.ย. 15, 19:21

ใช้งานเรือในการสำรวจเป็นครั้งแรกของผมนี้ ได้เรียนรู้อะไรมากมายเกี่ยวกับการทำงานทางน้ำเลยทีเดียว  ซึ่งต่อมาก็ได้นำไปใช้เป็นประโยชน์ในการสำรวจในลุ่มแควน้อย 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 201  เมื่อ 30 ก.ย. 15, 19:59

จากนั้นมา ผมก็เดินสำรวจในสำรวจโดยใช้ช้าง 2 เชือกขนสัมภาระ หายเข้าป่าแต่ละช่วงแบบยาวๆไปเลย

ขนข้าวใส่เรือมากระสอบนึง ฝากไว้ที่บ้านที่ปากลำขาแข้ง เลิกใช้เต๊นท์นอนทั้งหมด ทั้งคณะใช้เพียงผ้าใบใหญ่ 2 ผืน ใช้ทำหลังคาผืนนึง ใช้ปูนอนผืนนึง และผ้าใบผืนเล็กอีกผืนนึงเพื่อปูเป็นพื้นที่ครัว   เครื่องนอนของพวกผมที่มาจากกรุงเทพฯก็มีเพียงถุงนอนคนละใบและผ้าห่มสักหลาดอีกผืนหนึ่ง เสื้อผ้าและเสื้อหนาวตามสมควร (ลักษณะง่ายๆก็คือ มีถุงทะเลคนละถุงสำหรับเครื่องใช้ของแต่ละบุคคล) 
อุปกรณ์ทำครัวก็มีกระทะ หม้อหูสำหรับหุงข้าว (แบบเช็ดน้ำ) และสำหรับทำแกงอย่างละใบ กาต้มน้ำใบนึง ถ้วยชาม แก้วน้ำ และช้อนตามสมควร แล้วก็เครื่องปรุงรสและของแห้งทั้งหลาย ทั้งหมดนี้บรรจุลงในปิ๊บ 2 ใบ (สั่งทำพิเศษ)  ถังน้ำพลาสติกขนาดประมาณ 20 ลิตรใบนึง ตะเกียงเจ้าพายุและตะเกียงรั้วอย่างละหนึ่ง 

หลักๆก็คงจะเป็นดังที่กล่าวถึงนี้  ซึ่งก็ด้วยเหตุผลสำคัญคือ ช้างนั้นแต่ละตัวมีน้ำหนักแถว 4+/- ตัน ลากของที่มีน้ำหนักได้หลายๆตัน อาจจะบรรทุกของได้ช่วงสั้นๆครั้งละเป็นสองสามร้อยกิโลกรัม  แต่หากต้องใช้ในลักษณะงานบรรทุกทั้งวัน (ประมาณ 6-8 ชม./วัน) สำหรับงานหลายๆวัน น้ำหนักบรรทุกก็ไม่ควรจะเกิน 100 กก. เพราะมันก็เจ็บกระดูสันหลังของมันเหมือนกัน   

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 202  เมื่อ 01 ต.ค. 15, 18:10

เรื่องของการทำงานกับช้างนั้น จะได้ทำเป็นกระทู้แยกออกไปนะครับ มีความน่ารักที่แฝงอยู่ในความน่ากลัวอยู่มากมายในเพื่อนร่วมโลกตัวโตๆนี้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 203  เมื่อ 01 ต.ค. 15, 18:45

เมื่อประมวลข้อมูลต่างๆแล้วก็จะเห็นว่า สภาพกาณ์ในห้วยขาแข้งนั้นมีอันตรายจากคนค่อนข้างมากกว่าจากสัตว์  จะทำงานในพื้นที่นี้อย่างมีความปลอดภัยต่อชีวิตของผมและ จนท.ที่มาร่วมอยู่ในหน่วยสำรวจของผม และรวมถึงชาวบ้านทุกคนที่ผมจ้างมาเป็นคนงานในคณะสำรวจร่วมของผมนั้น ก็จำเป็นจะต้องมีเกราะที่ดี มีหูตาเป็นสับปะรด และมีข้อมูลข่าวสารเชิงลึกที่ดี

คณะของผมที่ควรจะมีจำนวนคนน้อยก็เลยต้องมีหลายคน จ้างช้างมา 2 เชือก ก็กลายเป็นต้องบวกอีก 2 คนงาน คือ คนที่เราเรียกว่า ตีนช้าง ผ่านไปแต่ละหมู่บ้านก็ต้องจ้างคนในหมู่บ้านนั้นเพิ่มอีก 1 คน  ก็พอจะโชคดีที่คนที่เราจ้างจากหมู่บ้านที่ผ่านมานั้น เขาไม่นิยมที่จะเดินต่อไปไกลจากบ้านเขามากนัก   ครับ..ก็คล้ายกับการจ้างคนเดินนำพาไปส่งยังที่อีกแห่งหนึ่ง

ที่ผมต้องทำเช่นนี้ก็เพาะว่า เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและไว้ใจอย่างบริสุทธิ์ใจ และแสดงให้เห็นจริงว่า ผมมาสำรวจทำแผนที่เรื่องทางธรณีวิทยาจริงๆ ไม่มีเรื่องของการแสวงหาผลประโยชน์อื่นๆใด (แหล่งแร่ ไม้หายาก ล่าสัตว์ จับสัตว์ ...ฯลฯ)     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 204  เมื่อ 01 ต.ค. 15, 19:13

ซึ่งก็ได้ผลนะครับ  เมื่อซื่อต่อกัน ผมก็ได้รู้การเคลื่อนไหวต่างๆเกือบจะทุกเรื่อง รวมถึงการส่งคนมามาบอกว่า พื้นที่ใดเข้าไปเดินสำรวจได้หรือไม่ได้ เข้าไปได้ลึกเพียงใด ฯลฯ   

มันก็มีบางพื้นที่ๆมีความสำคัญจริงๆที่เราต้องเข้าไปสำรวจ เนื่องจากมันเป็นจุดที่จะทำให้เรื่องราวทางธรณีแยกไปซ้ายหรือขวาได้เลย ฝ่ายเขาก็อนุโลมนะครับ ซึ่งผมก็ได้ทำบ่อยครั้งในพื้นที่นี้และที่อื่นๆ  จนกระทั่งวันหนึ่ง ไปทำงานอยู่ที่ อ.สังขละบุรี (อีกสองปีต่อมา) เขาก็ส่งข่าวฝากมาว่า คราวนี้จะเอาจริงแล้วนะ  ครับ..ในพื้นที่ อ.สังขละฯ นี้ มีหมู่บ้านเลาะชายแดนทางทิศเหนือที่อยู่ในอิทธิพลของเขา ซึ่งต่อตลอดแนวชายแดนไปจนถึง อ.อุ้มผาง     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 205  เมื่อ 01 ต.ค. 15, 19:46

คำว่า "ห้วยขาแข้ง" ของกระทู้นี้  คงจะทำให้หลายท่านคิดว่าคงจะเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์หลากหลายชนิดและที่มีอย่างชุกชุม     อาจจะรู้สึกว่ายังไม่เห็นมีเรื่องเกี่ยวกับสัตว์เลย   สำหรับผมนั้น ห้วยขาแข้งนั้นมันมีเรื่องราวในมิติอื่นๆอีกมาก มิใช่มีแต่เรื่องของสัตว์ป่าและความบริสุทธิ์ของผืนป่าแต่เพียงอย่างเดียว 

ครับ..ผมตั้งใจจะเล่าเรื่องที่เกี่ยวพันกับห้วยขาแข้งทั้งหมดเท่าที่จะนึกออก เดิมก็คิดว่าจะเป็นกระทู้สั้นๆ ตอนนี้รู้สึกจะยาวเสียแล้ว อายจัง

เรื่องที่เกี่ยวกับการเดินทางเข้าถึงโดยทางน้ำ (แควใหญ่) เพื่อเข้าถึงพื้นที่ส่วนปลายของห้วยขาแข้งนั้น  คิดว่าน่าจะพอเพียงแล้วนะครับ  จากนี้ไปก็คงจะขยับเป็นเรื่องอื่นๆ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 206  เมื่อ 01 ต.ค. 15, 19:50

จะขออนุญาตหายไปจากหน้ากระทู้นี้ไปจนถึงวันที่ 23 นี้นะครับ  ไป ตจว. ครับ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 207  เมื่อ 26 ต.ค. 15, 18:43

กลับเข้ามาเดินกระทู้ต่อครับ

แล้วผมก็ได้ช้างมา 2 เชือกเพื่อช่วยในการขนสัมภาระ  ตัวผู้อายุประมาณ 20++ ปี กับตัวเมียอายูประมาณ 40++ ปี   แล้วก็ได้คนงานเพิ่มขึ้นมาโดยปริยายอีก 4 คน เป็นควาญช้าง 2 คน เป็นตีนช้างอีก 2 คน 

ก็เพิ่งจะเข้าใจจากนั้นไม่นานว่า ด้วยเหตุใดจึงต้องมีคนเดินคู่ไปกับช้าง แม้ว่าจะมีควาญช้างนั่งอยู้่บนหัวช้างแล้วก็ตาม

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 208  เมื่อ 26 ต.ค. 15, 19:05

ห้วยขาแข้งช่วงพื้นที่ใกล้ปากห้วย โดยเฉพาะในแนวเขตระยะห่างจากตัวห้วยประมาณไม่เกิน 1 กม. เป็นพื้นที่ๆค่อนข้างจะมีการเคลื่อนไหวของมนุษย์อยู่เป็นประจำ จึงทำให้เป็นพื้นที่ๆไม่ค่อยจะพบสัตว์ป่าพวกสัตว์กีบใดๆ   สัตว์ที่พบเห็นเป็นหลักๆ ก็ได้แก่

   - พวกสัตวที่หากินอยู่ในระยะสูงจากพื้นดิน ซึ่งก็มี พวกฟันแทะ เช่น กระรอกธรรมดา พญากระรอกดำ บ่างเล็ก บ่างใหญ่ ลิงหางสั้น (ลิงกัง) ลิงหางยาว (ลิงวอก)  
   - พวกนกต่างๆ เช่น นกแกง นกแก้วแขก นกเขาสายพันธุ์ต่างๆ (เขาไฟ เขาเปล้า เขาเขียว เขาใหญ่) นกกุลุมพู เหยี่ยวอีลุ้ม เหยี่ยวนกเขา นกแสก ไก่ป่า นกกระทา นกคุ่ม ไก่ฟ้า (จำแนกสายพันธุ์ไม่ถูกครับ)    
   - พวกสัตว์หากินกลางคืน เช่น เม่นใหญ่ เม่นขนแบนหางพวง เห็นอ้ม เห็นลาย เห็นแผง (หางปล้อง) และพวกหริ่ง (หน้าหมูตีนหมาและ
หน้าหมาตีนหมู)
   - พวกสัตว์น้ำและครึ่งบกครึ่งน้ำก็มี เช่น กบทูต งูเหลือม ปลาเกล็ดชนิดต่างๆ_ปลาใบไม้ ตะโกก ตะเพียน ปลากั้ง ปลาแมลงภู่ ปลากดหมู
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 209  เมื่อ 26 ต.ค. 15, 19:24

กลับเข้ามาเดินกระทู้ต่อครับ

แล้วผมก็ได้ช้างมา 2 เชือกเพื่อช่วยในการขนสัมภาระ  ตัวผู้อายุประมาณ 20++ ปี กับตัวเมียอายูประมาณ 40++ ปี   แล้วก็ได้คนงานเพิ่มขึ้นมาโดยปริยายอีก 4 คน เป็นควาญช้าง 2 คน เป็นตีนช้างอีก 2 คน 

ก็เพิ่งจะเข้าใจจากนั้นไม่นานว่า ด้วยเหตุใดจึงต้องมีคนเดินคู่ไปกับช้าง แม้ว่าจะมีควาญช้างนั่งอยู้่บนหัวช้างแล้วก็ตาม
[/u]

ขออนุญาตเข้าใจด้วยคนได้ไหมคะอาจารย์ ว่าด้วยเหตุใด ฮืม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 49
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 20 คำสั่ง