เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 49
  พิมพ์  
อ่าน: 70748 ห้วยขาแข้ง เมื่อ '14 '15
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 03 ก.ย. 15, 18:37

คนเรือเขาขับเรือดั่งกลางวันเลยทีเดียว เพียงแต่ผ่อนเบาเป็นช่วงๆตอนเข้าพื้นที่แก่งและบางคุ้งน้ำ   

สักพักคนหัวเรือก็เอาไฟฉายส่องแวบมายังนายท้าย  ณ ทันใดนั้นนายท้ายเรือจะเบาเครื่องเรือในทันที  ในขณะเดียวกันกับที่คนนั่งหัวเรือทำการใช้ไฟฉายส่องกราดไปข้างหน้า วอบไปแวบมาทางซ้าย-ทางขวา  ครับแล้วก็มีไฟแวบย้อนกลับมาของเรืออีกลำหนึ่งที่วิ่งสวนทางมา  ก็มีเรือวิ่งสวนกันสามสี่ครั้ง

ว้าว  แล้วเขารู้กันได้อย่างไร เขาทำกันได้อย่างไร และการเดินทางในเวลาค่ำคืนนั้นเป็นเรื่องเกือบจะปรกติหรือไร     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 03 ก.ย. 15, 19:08

มาถึงลาดหญ้าแล้ว ขนของขึ้นฝั่งหมดเรียบร้อยแล้ว ผมก็อดไม่ได้ที่จะต้องถามคนเรือว่าทำได้อย่าง มืดจนมองไปข้างหน้าไม่เป็นอะไรเลย

นี่คือคำตอบครับ

  - คนขับเรือเขาขับเรือขึ้น-ล่องจนมีความชำนาญมาก คือ รู้จักและจำสภาพพื้นที่ได้ทั้งหมด
  - ลองนึกถึงภาพที่ผมได้เล่ามาในตอนแรกว่า เรือแต่ละลำนั้นจะมีนายท้ายเรือและมีคนนั่งอยู่หัวเรือ  เมื่อเรือแต่ละลำจะมีประทุนครอบไว้ยาวตลอดลำเรือ (อย่างที่เห็นภาพชินตาของเรือหางยาวในแม่น้ำต่างๆ)  นายท้ายเรือจึงขับเรือด้วยการใช้ภาพที่เห็นจากองค์ประกอบต่างๆ  คือ มองออกไปข้างหน้าบ้าง ทางตลิ่งบ้าง มองยอดทิวเขาหรือทิวไม้บ้าง และดูสัญญาณจากคนที่นั่งอยู่หัวเรือบ้าง ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือ แผนที่เดินเรือที่อยู่ในสมองนั่นเอง
  - เมื่อจะต้องขับเรือตอนมืด เรื่องแรกที่ต้องทำคือ เก็บประทุนเรือ โดยการรวบเอาไปผูกไว้กลางๆเรือ เพราะนายท้ายเรือจะใช้วิธีดูยอดทิวเขาที่ดำทมึนตัดกับแสงของท้องฟ้าที่ไม่มืดสนิทนัก ว่าถึงที่ใหนแล้ว และซึ่งจะต้องบังคับหางเสือไปอย่างไรและมากน้อยเพียงใด
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 03 ก.ย. 15, 19:24

สำหรับเรื่องเรือสวนกันนั้น เขารู้ได้จากเสียง resonance ของเครื่องยนต์เรือทั้งสองลำ นายท้ายเรืออาจจะได้ยินบ้าง ไม่ได้ยินบ้าง แต่คนหัวเรือได้ยินแน่นอน  เขาเก่งกันจริงๆนะครับ ไม่พลาดเลย   

เมื่อรู้แล้วก็จะเบาเครื่องเรือ ฝ่ายนั้นก็จะเบาเครื่องเรือเช่นกัน แล้วปฏิบัติตามกฏ คือ แล่นชิดขวา ขาขึ้นต้องเกาะโค้งด้านใน ขาล่องเกาะโค้งด้านนอก  ใช้ไฟฉายนั้นแหละครับสำหรับการสื่อสารกันระหว่างเรือทั้งสองลำ ว่าเราต่างคนต่างอยู่ในกฎเกณฑ์แล้วนะ   
บันทึกการเข้า
PATAMA.M
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 04 ก.ย. 15, 09:07

ไม่ได้หายไปไหนนะคะ..ยังเฝ้าอยู่ค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 04 ก.ย. 15, 19:05

ย้อนกลับไปนิดนึง   เรื่องของนายท้ายเรือที่ใช้วิธีการดูทิวเขาทิวไม้นั้น   

จริงๆแล้ว แม้กระทั่งในช่วงเวลากลางวันเขาก็ใช้วิธีนี้กันนะครับ ซึ่งก็คือการใช้ยอดเขาตะปุ่มตะป่ำบางยอด หรือช่องเขาระหว่างยอดเหล่านั้น เป็น landmark หรือ marker ว่า ณ ตำแหน่งนั้นๆจะต้องพุ่งหัวเรือให้ไปตรงกับจุดใด ซึ่งก็ใช้วิธีนี้กันทั้งในแควใหญ่และแควน้อย   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 04 ก.ย. 15, 19:41

ยังมีเรื่องของการใช้เรือเดินทางอีก แต่จะเป็นภาคอารัมภบทที่ยาวเกินไปจนน่าเบื่อ  ก็เอาเป็นว่า เลยจากแก่งยาว น้ำก็ราบเรียบแต่เห็นเลยว่าเรากำลังวิ่งสวนกับน้ำไหล   แล้วก็ถึงปากลำขาแข้ง

ณ ช่วงเวลานั้น ผมมีความรู้เกี่ยวกับห้วยขาแข้งน้อยมาก  รู้แต่จากในแผนที่ว่ามีความยาวประมาณ 100 กม. เป็นห้วยที่มีบ้านคนอยู่เฉพาะใกล้พื้นที่ปากห้วย คือ บ.ไก่เกียง บ.กะได แล้วก็ บ.เกริงไกร  เหนือจากนั้นขึ้นไป ก็มีแต่ป่าอย่างเดียว

เนื่องจากในการทำงานของผมจะมีการใช้ภาพถ่ายทางอากาศ เพื่อแปลความหมายทางธรณีวิทยา (ชนิดหิน ขอบเขตของชุดหิน และโครงสร้างต่างๆ)   ก็เป็นภาพถ่ายทางอากาศมาตราส่วน 1:50,000 เมื่อแถวๆปี ค.ศ. 1953 ที่ใช้เป็นฐานข้อมูลเพื่อทำแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 series L 708 (ขนาดระวาง 10 x 15 ลิปดา) ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาใช้ series L 7017 (ขนาดระวาง 15 x 15 ลิปดา) ที่เห็นใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 04 ก.ย. 15, 21:47

จากภาพถ่ายทางอากาศ โดยใช้ Mirror Stereoscope เห็นห้วยขาแข้งอยู่ในหุบเขาที่กว้าง แต่ตัวห้วยน้ำมีขนาดเล็ก มีน้ำตลอดทั้งสาย แล้วก็มีส่วนที่มีลักษณะเป็นแอ่งอยู่พอสมควร  สภาพการถากถางพื้นที่เพื่อทำไร่มีน้อยมาก   ความสมบูรณ์ของพื้นที่พอจะแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน ส่วนล่างเป็นพื้นที่หินปูน มีสภาพป่าสมบูรณ์ดี ส่วนกลางเป็นพื้นที่กลุ่มหินอัคนี มีสภาพป่าออกไปทางแห้งและค่อนข้างจะโปร่ง ส่วนด้านบนจนเขตป่าแม่วงก์ มีสภาพเป็นป่าทึบ   รู้ทันทีเลย งานนี้หนักแน่  เข้ายากออกยาก แต่ก็น่าจะสนุก เพราะดูจะเป็นพื้นที่แบบ virgin ดี ซึ่งก็จะได้สัมผัสกับความท้าทายหลายๆอย่าง

พอถึงสบห้วยขาแข้งกับแควใหญ่ ก็ได้เห็นปากห้วยขาแข้ง   ตัวหุบเขาที่รองรับร่องน้ำ มีความกว้างประมาณ 50 เมตร แต่ตัวลำห้วยที่มีน้ำไหลกว้างเพียงประมาณ 10 เมตร  มีหาดทรายริมห้วยพอตั้งแคมพ์นอนได้สัก 10 คน แล้วก็มีที่ราบที่เป็นตะพักดินทรายอยู่สูงขึ้นไป ประมาณ 2 เมตร เนื้อที่ประมาณ 100 ตารางวา พอใช้ทำการเพาะปลูกได้   

ไม่ใหญ่อย่างที่คิดเลย แล้วน้ำห้วยก็ไม่แรงอย่างที่คิด  เห็นเศษกิ่งไม้ใบหญ้าแขวนสูงอยู่บนกิ่งไม้ริมตลิ่งอยู่เหนือน้ำประมาณ 2+ เมตร ก็พอทำให้รู้ว่า ห้วยนี้มีน้ำป่า ต้องระวังให้ดี
บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 04 ก.ย. 15, 22:09

ติดตามอยู่ครับ ขอภาพเก่าๆประกอบด้วยครับ ขอบคุณ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 05 ก.ย. 15, 18:49

เรื่องรูปประกอบนั้น ต้องขออภัยจริงๆครับ มีอยู่น้อยมาก เกือบทั้งหมดเป็นภาพของหินเพื่อประกอบรายงาน สำหรับรูปทิวทัศน์ สภาพพื้นที่และป่านั้นเกือบจะไม่มีเลย  ส่วนรูปตนเองนั้นพอมีอยู่บ้างนิดหน่อย ก็จะพยายามหาและลงให้นะครับ

ในช่วงเวลาที่ผมทำงานอยู่นั้น ตนเองยังไม่กำลังเงินพอเพียงที่จะหาซื้อกล้องถ่ายรูปเป็นของตนเอง จึงต้องใช้กล้องของทางราชการ ซึ่งก็มีจำนวนจำกัด ไม่พอเพียงสำหรับหน่วยสำรวจแต่ละหน่วย ต้องขอยืมมาและผลัดกันใช้ ขอยืมมาแล้วก็ต้องซื้อฟิลม์ ถ่ายรูปเสร็จแล้วก็ต้องล้างฟิล์มและอัดรูป หลวงท่านก็ให้เบิกได้นะครับ แต่ก็ต้องชี้แจงเหตุผลทุกครั้งและทุกใบเสร็จรับเงิน จะจ่ายซื้อฟิล์มเองล้างเองก็ได้ ก็หลายเงินอยู่และยังรู้สึกละอายใจที่จะใช้อย่างเลยเถิดนอกงานราชการ   ภาพที่ผมมีทั้งหมดที่พอจะเอามาแสดงได้จึงเป็นภาพเฟรมแรกหรือเฟรมที่สองเมื่อทดสอบการใสฟิล์มม้วนใหม่ หรือไม่ก็เป็นภาพเฟรมท้ายๆก่อนหมดม้วนฟิล์ม   

ท้ายที่สุดก็ไม่ค่อยประสงค์จะพกพากล้องถ่ายรูปเข้าป่า มันเป็นทรัพย์สินมีค่ามีที่ทำให้เกิดอันตรายแก่ตนเอง หรือไม่ก็ต้องชดใช้เมื่อเกิดความเสียหายหรือหายไป (ถูกขโมย) 

เรื่องเล่าของผมก็เลยมีภาพประกอบน้อยมาก ดั่งนี้แล
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 05 ก.ย. 15, 19:29

แอบตามอ่านกระทู้นี้ด้วยความอิจฉาครับ เมื่อก่อนผมชอบเดินป่า มีโอกาสได้เดินบ้าง แต่ไม่ได้มีโอกาสดีๆขนาดนี้เลยครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 05 ก.ย. 15, 20:05

....เมื่อก่อนผมชอบเดินป่า มีโอกาสได้เดินบ้าง แต่ไม่ได้มีโอกาสดีๆขนาดนี้เลยครับ

โอกาสดีๆยังมีครับ แล้วก็ไม่จำเป็นต้องเป็นที่ห้วยขาแข้งอีกด้วย  ยังมีโอกาสที่จะได้เดินตามรอยเสือ ได้ยินเสียงเก้งเห่า ได้เห็นไก่ฟ้า ไก่ป่า อาจจะได้เห็นฝูงกระทิง และงูทางมะพร้าวสีสรรสดใสสุดสวย ฯลฯ

ครับ หาเช่าเรือหางยาวในอ่างเก็บน้ำเขื่อนเจ้าเณร  ให้เขาวิ่งขึ้นเหนือไปจนถึงแคมป์สำรวจ (ฐานสำรวจเขื่อนน้ำโจน) และสถานีวัดระดับน้ำของ กฟผ. ซึ่งในปัจจุบันนี้น่าจะกลายเป็นแคมป์ร้างไปแล้ว 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 06 ก.ย. 15, 18:48

ถึงแคมป์แล้วก็ลงเดินไปทางตะวันตกด้านหลังแคมป์ ก็จะเห็นทางรถ เดินตามทางรถขึ้นไป ก็วิเวกวังเวงดีทีเดียว แล้วก็จะพบทางรถเส้นหลักอีกเส้นหนึ่ง หากเลี้ยวขวาก็จะไปทุ่งใหญ่ หากเลี้ยวซ้ายลงใต้ก็จะไปถึงด่านเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งที่ห้วยซงไท่ และหากเกิดหลุดเส้นทางหลักก็หาทางเดินลงใต้ตามเส้นทางรถลากไม้เก่าๆ ก็น่าจะโผล่ทางด้านเหนือใกล้ๆ บ.คลิตี้

ในพื้นที่ของเส้นทางที่ผมกล่าวถึงนี้ ในสมัยที่ผมทำงานนั้นอุดมไปด้วยไก่ป่า ไก่ฟ้า เก้งหม้อ (ตัวใหญ่ ก้นดำ) กระทิง (ห้วยซงไท่ โป่งยิบซั่ม) หมีควาย ชะนี ค่าง หมูป่า ฯลฯ แต่ไม่เคยเห็นกวาง ส่วนสำหรับเสือนั้นเห็นแต่รอย

แล้วค่อยหาช่องเล่าต่อนะครับ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 06 ก.ย. 15, 19:47

ถึงปากลำขาแข้งก็เอาหัวเรือเกยหาดทรายปากสบห้วย  แล้วก็เร่งขนของลงจากเรือเพื่อตั้งแคมป์ให้พอดูได้ (ที่หลับนอน ฟืนสำหรับเตาไฟให้พอทำอาหารได้) และรื้ออุปกรณ์ (gear) สำคัญๆออกมาเตรียมให้พอพร้อมใช้ก่อนที่ตะวันจะตกดินมืดสนิท (ไฟฉาย ถุงนอน ตะเกียง ฯลฯ)   คืนแรกก็ต้องขลุกขลักเป็นธรรมดา

บนตะพัก (terrace) ระดับสูงที่ปากห้วยนั้น มีบ้านชาวบ้านอยู่หลังหนึ่ง ที่เราพึงจะต้องไปแสดงตนว่ามาดี เราเป็นใคร มาจากใหน มาทำอะไร ฯลฯ     หัวหน้าใหญ่ของทีมสำรวจ 4 ทีมย่อย (ผมเป็นหนึ่งในหัวหน้าทีมย่อย) ที่รับผิดชอบสำรวจทำแผนที่ธรณีวิทยาพื้นฐานมาตราส่วน 1:250,000 ระวางนครสวรรค์ จึงชวนผมและคนเรือขึ้นไปพูดคุยด้วย  ก็คงอยู่ในสถานะที่ทั้งฝ่ายผมและฝ่ายเจ้าบ้าน ต่างคนต่างก็คงไม่สามารถจะปฏิเสธหรือทำอะไรได้ดีมากไปกว่าการยื่นความเป็นมิตรให้แก่กัน  ซึ่งก็คงเป็นธรรมชาติตามปรกติของคนที่ต่างคนต่างก็คงไม่ใว้ใจกันมากนัก  คืนแรกก็นอนหลับไม่สนิททั้งสองฝ่าย ต่างคนต่างก็ต้องระวังตัวกัน   

สมัยนั้น (หรือแม้กระทั่งในสมัยนี้ก็ตาม) มันไม่มีช่องทางการสื่อสารที่จะติดต่อบอกกล่าวกันได้ล่วงหน้าเลย   ด้วยสภาพดังที่เล่ามา สิ่งที่เป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างไว้ใจกันได้ 100% และต่อๆไป ก็คือจิตใจ การแสดงออก และการกระทำบริบทของคำว่า ลูกผู้ชายและนักเลง 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 07 ก.ย. 15, 18:58

บ้านหลังเดียวนี้ อยู่กันเป็นครอบครัวอบอุ่นเล็กๆ มีลูกอยู่สามคน ซึ่งมารู้ในภายหลังว่า จริงๆแล้วมีลูกทั้งหมด 8 คน  ลูกสามคนที่อยู่บ้านนั้นคนเล็กเพิ่งมีอายูประมาณ 6-7 ขวบเท่านั้น  อายุไล่เรียงกันเกือบจะปีต่อปีเลย

ก็ตามธรรมเนียมปฎิบัติของชาวถิ่น ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้านคนไทยหรือชาวเขา มาถึงเรือนชานก็ต้องต้อนรับ    เขาก็ชวนเรากินข้าวด้วยกัน แต่คณะของเรามีหลายคน เราก็ต้องเป็นฝ่ายเชิญเขามาร่วมวง  สุดท้ายก็ต่างคนต่างกิน เพราะยังไม่พร้อมทั้งสองฝ่ายและประกอบกับเป็นเวลาโพล้เพล้มากแล้วด้วย   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 07 ก.ย. 15, 19:28

กลับลงมาที่พื้นที่ตั้งแคมป์   ต่างคนก็ไปสาละวนอยู่กับการกางเต็นท์ของตนเอง จัดถุงนอน ผ้าห่ม ฯลฯ จัดให้พอนอนข้ามคืนแรกไปได้   สำหรับพื้นที่ส่วนกลางก็ใช้วิธีเอาผ้าใบปูเพื่อใช้วางสิ่งของ นั่งล้อมวงกินข้าว และนั่งพูดคุยหารือกัน    หาขอนไม้แห้งแล้วจุดให้เป็นกองไฟสำหรับความอบอุ่นในยามค่ำคืนและหุงหาอาหาร    จุดตะเกียงเจ้าพายุ   จุดตะเกียงรั้ว (เอาไปแขวนที่ชายเขตบริเวณที่ตั้งแคมป์) 

ดูวุ่นวายดีนะครับ   สาละวนช่วยกันในเรื่องส่วนรวม เจียดเวลาเท่าที่จะพอมีไปจัดการเรื่องส่วนตน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 49
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.039 วินาที กับ 20 คำสั่ง