เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 42 43 [44] 45 46 ... 49
  พิมพ์  
อ่าน: 70999 ห้วยขาแข้ง เมื่อ '14 '15
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 645  เมื่อ 17 มี.ค. 16, 19:06

ย้อนอ่านที่เขียนไปเมื่อวาน ก็ไปเจอคำที่เขียนว่า ขวั้น  เกิดความไม่แน่ใจขึ้นมาว่าเขียนถูกใหม หรือต้องเขียนว่า ควั่น 

ไม่ทราบว่า คำที่หมายถึงการทำให้เป็นเกลียวนั้นสะกดอย่างไร และคำที่หมายถึงการตัดสิ่งของโดยการหมุนไปรอบๆนั้นสะกดอย่างไร ครับ

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2542
ใช้ ขวั้นเชือก และ ควั่นอ้อย ครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 646  เมื่อ 17 มี.ค. 16, 19:24

เดินเลาะริมน้ำด้วยความเพลิดเพลินไปกับความสงบ กับความสวยงามของธรรมชาติ อากาศที่กำลังสบาย   ผมเองก็กำลังมีความเพลิดเพลินกับการสังเกตกรวดหินในลำห้วย    ครับ..กรวดหินต่างๆในห้วยนั้น  การที่มันถูกพัดพามาตกรวมอยู่ในบริเวณเดียวกัน ณ จุดต่างๆนั้น  ความสัมพันธ์ระหว่างขนาด ทรง รูปร่างของมัน เล่าเรื่องในอดีตของมันได้เป็นอย่างดี ตั้งแต่มันเกิดจนถึงมันถูกพัดพามา รวมทั้งสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมของห้วยนั้นๆในอดีตที่ผ่านมาเช่นกัน

เดินเลาะไปตามริมน้ำจนจะถึงกอต้นไคร้น้ำ ก็จะต้องหลบลงไปลุยน้ำ   จะเอ๋เลยครับ      
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 647  เมื่อ 17 มี.ค. 16, 20:04

คุณ CrazyHOrse ครับ ขอบคุณครับ

ยังมีอีกคำหนึ่ง คือ ปกติ กับ ปรกติ   

ผมใช้ ปรกติ ในเกือบจะทุกครั้ง   ซึ่งเลือกใช้การสะกดแบบนี้ในความรู้สึกว่า เพื่อแสดงถึงสภาพว่ามันเป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา (ในเชิง active)     ในขณะที่จะใช้ ปกติ  ในสภาพว่ามันเป็นเรื่องที่ได้เกิดแล้วต่อๆกันมาเป็นอย่างนั้น (ในเชิง passive) 

ผมคงจะคิดมากไปเอง  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 648  เมื่อ 17 มี.ค. 16, 20:23

จะเอ๋ !

ครับ จะเอ๋กับ M1 Garand Cabine   4 กระบอก พรึ่บขึ้นประทับบ่าพร้อมยิง
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 649  เมื่อ 17 มี.ค. 16, 21:03

คุณ CrazyHOrse ครับ ขอบคุณครับ

ยังมีอีกคำหนึ่ง คือ ปกติ กับ ปรกติ   

ผมใช้ ปรกติ ในเกือบจะทุกครั้ง   ซึ่งเลือกใช้การสะกดแบบนี้ในความรู้สึกว่า เพื่อแสดงถึงสภาพว่ามันเป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา (ในเชิง active)     ในขณะที่จะใช้ ปกติ  ในสภาพว่ามันเป็นเรื่องที่ได้เกิดแล้วต่อๆกันมาเป็นอย่างนั้น (ในเชิง passive) 

ผมคงจะคิดมากไปเอง  ยิงฟันยิ้ม

ใช้ได้ทั้ง ปกติ และ ปรกติ ครับ

ปกติเป็นภาษาบาลี ถ้าปรกติจะมาจากคำสันสกฤตว่า ปรกฤติ ครับ

บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 650  เมื่อ 18 มี.ค. 16, 09:32

ปรกติก็ใช้คำว่า "ปรกติ" อยู่ ขออนุญาตร่วมวงถกคำว่า "ปรกติ" ด้วยคน

ใน พจนานุกรมสันสกฤต-อังกฤษ ให้ความหมายของคำว่า "ปฺรกฺฤติ"  प्रकृति prakRti ไว้ ๓ หน้า ความหมายแรกของคำนี้คือ "ธรรมชาติ"  ความหมายที่เราคุ้นเคยอยู่ในลำดับที่ ๗

หากจะพูดว่า "ธรรมชาติ" เป็น "ปรกติ" ของโลก ก็น่าจะดูเป็นปรัชญาดี  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 651  เมื่อ 18 มี.ค. 16, 09:47

ครั้งหนึ่ง จำไม่ได้ว่าที่ใหนครับ ชาวบ้านมีการฆ่าหมูเพื่อฉลองเรื่องอะไรสักเรื่องหนึ่ง  ซึ่งเป็นจังหวะพอดีที่ผมเข้าไปตั้งที่พักค้างแรม   พอรุ่งเช้าก็มีงาน ก็เห็นมีกลุ่มชายวัยกำลังก้าวเข้าสู่วัยโก๋แก่ กำลังง่วนกับกะละมังใส่หลู้  พวกเขาเชิญผมเข้าไปร่วมวงด้วย   ผมกินได้แต่ไม่ถนัดและก็ไม่นิยมอีกด้วย  ก่อนจะลงมือก็ได้รับเหล้าให้จัดการ 1 โบก   ว้าว..ท้องว่าง ตอนเช้า กับเหล้าโรง ยังกะถูกหมัดน๊อค เล่นเอาหูหนาตาเล่อไปเลย   แล้วก็ลงมือจ้วง 1 ช้อน

อ่านปุ๊บนึกถึงโรคสัตว์ติดคนโรคหนึ่งปั๊บ เกิดขึ้นบ่อย ๆ ในเมืองไทย  เรียกกันว่า "ไข้หูดับ" ร้ายแรงถึงตาย ถึงแม้รับประทานเพียง ๑ ช้อน ถ้ามีเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรค (Streptococus suis) ก็ไม่รอด (จากการเป็นโรค)

ของดิบ ๆ หากไกลไว้น่าจะปลอดภัยกว่า

อ่านรายละเอียดของโรคนี้ได้ที่  http://www.hiso.or.th/hiso/tonkit/tonkits_67.php
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 652  เมื่อ 18 มี.ค. 16, 19:23

ครับ เมื่อใช้ได้ทั้งคำว่า ปกติ และ ปรกติ  ผมก็จะขอใช้ทั้งสองคำตามความรู้สึกในขณะที่เขียนว่า คำใดที่รู้สึกว่าเหมาะสมและสื่อความความหมายได้ดังที่ใจคิด
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 653  เมื่อ 18 มี.ค. 16, 20:00

เรื่องเชื้อ Strep. นั้น ทำให้ผมนึกถึงเรื่องโรคไข้สมองอักเสบ (Encephalitis ?) ขึั้นมาในทันใด   ซึ่งหนึ่งในสาเหตุก็เข้าใจว่ายุงเป็นพาหะ ไปกัดหมูที่มีเชื้อแล้วเอามาติดคน  เป็นโรคที่รุนแรงถึงพิการและตายได้ แต่ก็รักษาได้อยู่

แล้วก็ขอเลยไปถึงข้อควรระวัง ก็ขอให้ผู้ที่รักธรรมชาติ ที่นิยมเดินหรือนั่งเล่นอยู่กับพื้นในป่าผืนสวยๆทั้งหลายได้ทราบ     

ในผืนป่าที่มีความชื้นสูงนั้นมักจะมีทาก พวกมันเป็นสัตว์ตีนเบา เข้าถึงทุกส่วนของร่างกายเราได้โดยที่เราไม่รู้ตัวเลย   ผมไม่ทราบว่าอาการเป็นพิษหรือการป่วยรุนแรงจากการถูกทากดูดกินเลือดนั้นเป็นอย่างไร  รู้แต่ว่าหากจับตัวมันดึงออก ก็จะเกิดเลือดไหลเป็นทางสักพักหนึ่ง เพราะมันใช้สาระลายลิ่มเลือดในขณะที่ดูดกินเลือดของเรา   วิธีการแก้ที่ดีที่สุด ก็คือการทำให้มันคายปากแล้วหลุดออกไปเอง จะด้วยการใช้ยาฉุน (บุหรี่) ยาหม่องน้ำ ฯลฯ    หรือใช้มีดขูดออกไป เพื่อขูดเอาสารเคมีที่ติดอยู่ออกไป ไม่หมดก็เหลือน้อยเต็มที แทนที่จะใช้วิธีการดึงตัวให้มันหลุดออกไป ครับ     หากเป็นแผลก็จะตกสะเก็ดหลายรอบ (นับเป็น 10++ ครั้ง)  อาการคงเหลือที่อาจจะติดอยู่กับตัวไปอีกหลายๆๆปี ก็คืออาการคัน ผมยังคันไม่หายจนวันนี้ ต้องมีไม้เกาหลังติดตัวตลอด 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 654  เมื่อ 18 มี.ค. 16, 20:12

เล่าเลยไปถึงเรื่องทาก

เมื่อเราเดินอยู่บนที่แห้ง ที่มีตอไม้ผุๆ เราก็จะพบกับตัวเห็บป่า (ซึ่งเคยเล่าไว้ในกระทู้ใด จำไม่ได้แล้วครับ)     เห็บป่านี้ ผมคิดว่ามีอยู่ทั่วโลกนะครับ บางตัวมันมีเชื้อไข้สมองอักเสบ (??) ด้วย     ซึ่งมันก็มีวัคซีนฉีดกันอยู่เหมือนกัน คุมได้สามปี จำไม่ได้แล้วว่า ต้องฉีดครั้งแรกกี่เข็ม เว้นระยะฉีดเป็นสัปดาห์ๆ

ผมไม่ทราบว่า ในไทยเรา เรื่องไข้สมองอักเสบจากเห็บและวัคซีนเป็นอย่างไรบ้าง (??)   
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 655  เมื่อ 19 มี.ค. 16, 12:45

เรื่อง "ไข้สมองอักเสบ" เชื้อที่เป็นสาเหตุคือเชื้อไวรัส หากคิดในทางบวก ก็ต้องว่านับเป็นโชคดีที่เมืองไทยไม่มีไข้สมองอักเสบชนิดที่มีเห็บเป็นพาหะ แต่มีชนิดที่มียุงเป็นพาหะ พบมากในภาคเหนือและอีสาน โรคนี้รู้จักกันในนาม "Japanese Encephalitis" (เพราะมีรายงานครั้งแรกที่ญี่ปุ่น) เรียกย่อ ๆว่า เจอี  ป้องกันโดยการฉีดวัคซีนตั้งแต่เด็ก
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 656  เมื่อ 19 มี.ค. 16, 18:44

ได้รับความกระจ่างแล้ว ขอบคุณครับ

ก็ยังมีอีกโรคหนึ่งซึ่งผมไม่ทราบว่ามันพบแพร่กระจายอยู่ในพื้นที่ป่าเขามากน้อบเพียงใด ...โรคเท้าช้างครับ

โรคนี้มีพาหะเป็นยุงเช่นกัน แต่จะเป็นยุงพันธุ์ใหนก็มิทราบ ผมรู้จักแต่โรคเท้าช้างแบบขาเท้าบวมโตเป็นแท่ง ก็มารู้เพิ่มเติมจากหน่วยควบคุมโรคติดต่อ เมื่อครั้งไปทำงานอยู่ในพื้นที่แควน้อยใกล้ชายแดน ด้วยมีเจ้าหน้าที่เข้ามานัดชาวบ้านเพื่อทำการเจาะเลือดในช่วงเวลามืดค่ำ ประมาณ 2 ทุ่ม  บังเอิญผมไปอยู่ในพื้นที่ของจุดนัดเจาะเลือดพอดี  จึงได้มีโอกาสได้ถามข้อสงสัยและได้เรียนรู้เรื่องต่างๆจากจนท.ซึ่งได้ความว่า โรคเท้าช้างในพื้นที่แถบนี้หัวสูง คือเป็นชนิดลงอัณฑะ ทำให้อัณฑะขยายใหญ่ขนาดขันตักน้ำเลยทีเดียว  แถมมันยังมีระยะฟักตัวเป็น 10 ปี  การเจาะเลือดเพื่อนไปตรวจหาเชื้อก็จะต้องเจาะในช่วงเวลาค่ำคืน

ฟังเรื่องราวดูแล้ว ก็น่ากลัวดีเหมือนกันนะครับ  ผมได้ทำการเจาะเอาเลือดไปตรวจแล้วในครั้งนั้น ไม่กี่วันต่อมาก็ได้รับแจ้งว่าผมปลอดภัยดี  แต่ด้วยที่ผมยังต้องทำงานอยู่ในพื้นที่นั้นอีกหลายปี  จึงมีความกังวลต่อมาอีกหลายปีจนกระทั่งลืมไปเอง
 
ตอนนี้ปลอดภัยแล้วครับ ออกมาอยู่นอกพื้นที่ป่านานเกินกว่า 10 ปีแล้ว

นักนิยมท่องธรรมชาติทั้งหลายก็นึกถึงเรื่องนี้ไว้กันบ้างนะครับ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 657  เมื่อ 19 มี.ค. 16, 19:23

ต่อครับ

เดินเลาะริมน้ำจนถึงระยะประมาณ 3 ม. จะถึงกอต้นไคร้น้ำ   ป่าเงียบ มีแต่เสียงน้ำไหล อากาศเย็นสบาย เดินเรียงกันเงียบๆ ผมเองเดินเรียงอยู่เป็นคนที่สอง กำลังใช้สมองบันทึกข้อมูลต่างๆที่ได้พบเห็น คนอื่นๆก็เดินเงียบๆกำลังเพลินกับธรรมชาติที่บริสุทธิ์  ซึ่งทุกคนต่างก็เป็นครั้งแรกที่ได้เข้ามาเห็นป่าและห้วยที่มีการกล่าวถึงของพรานไพรรุ่นเก่าๆ

จะเอ๋.. พริบตาเดียวเท่านั้นเอง ก็มีคน 4 คนโผล่พ้นกอต้นไคร้น้ำ ออกมาแทบจะพร้อมๆกัน พร้อมปืนยาวกำลังจะประทับเข้าที่บนบ่าในท่าพร้อมยิง ในเสี้ยววินาทีนั้น ก็มีคนที่ 5 โผล่ออกมาพร้อมยกยกมือให้สัญาณห้าม 4 คนนั้น แต่ตนเองก็มีปืนยาวอยู่ที่ระดับเอวในท่าพร้อมใช้เหมือนกัน   

ต่างฝ่ายต่างก็ตกใจ แต่ต่างก็ไม่แสดงอาการกลัว และต่างก็อยู่ในอาการ ณ จังงัง พอๆกันในช่วงเสี้ยววินาทีนั้น 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 658  เมื่อ 19 มี.ค. 16, 20:04

ให้บังเอิญว่า คนในคณะและตัวผม 3 คนเคยผ่านเหตุการณ์กับปืนมาหลายครั้งในพื้นที่ปากลำขาแข้งพร้อมๆกับผม ความเชื่อมันในกันและกันในการตอบสนองต่อเหตุการณ์วิกฤติต่างๆ ได้ช่วยทำให้ไม่เกิดสภาพระส่ำ ประกอบกับทุกคนมีใบหน้าเรียบและยิ้มแย้ม ทำให้สภาพของความเครียดอันพึงจะเกิดก็กลายเป็นสภาพของเหตุการณ์ปรกติ

จะด้วยอะไรก็ไม่รู้   สมองของผมกระตุ้นให้ผมคิดแว็บขึ้นมาในทันใดว่า ข้าวของเครื่องใช้ของคณะที่เอามามันเป็นสีเขียวทหารอยู่หลายชิ้น  (อาทิ ผ้าใบผืนเล็ก เป้สะพายหลังของคนในคณะบางคน กระติกน้ำสนาม เป็นต้น)   ปากของผมก็ได้โพร่งออกไปในทั้นใดว่า แถวใหนมีช้างบ้าง    ฝ่ายเขาก็ตอบสนองด้วยดีในทันใดว่า มาล่าสัตว์เหรอ  ผมก็ตอบและสนทนาไปในเรื่องราวนั้นในทันใด  ครับ.. ความเป็นมิตรเริ่มเข้ามาในสถานะการณ์นั้น  ปืนที่ประทับอยู่บนบ่าก็ลดลงมาอยู่ที่ระดับเอวของทุกคน   

ในลักษณะและสภาพเช่นนี้ เหตุการณ์จะไม่เกิดรุนแรงต่อไป  ก็เป็นไปตามคำของนักเลงโบราณที่ว่า มีปืนติดตัวไว้ ไม่ใช้ก็อย่าไปชัก หากชักแล้วก็ต้องยิง   ครับ..ถ้าชักแล้วไม่ยิง ก็หมายความว่ายังคุยกันได้ แต่ก็ต้องรักษาไม่ให้เกิดสภาวะน้ำขุ่นขึ้นมา         
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 659  เมื่อ 20 มี.ค. 16, 15:21

ยังมีอีกโรคหนึ่งซึ่งผมไม่ทราบว่ามันพบแพร่กระจายอยู่ในพื้นที่ป่าเขามากน้อบเพียงใด ...โรคเท้าช้างครับ

โรคนี้มีพาหะเป็นยุงเช่นกัน แต่จะเป็นยุงพันธุ์ใหนก็มิทราบ ผมรู้จักแต่โรคเท้าช้างแบบขาเท้าบวมโตเป็นแท่ง ก็มารู้เพิ่มเติมจากหน่วยควบคุมโรคติดต่อ เมื่อครั้งไปทำงานอยู่ในพื้นที่แควน้อยใกล้ชายแดน ด้วยมีเจ้าหน้าที่เข้ามานัดชาวบ้านเพื่อทำการเจาะเลือดในช่วงเวลามืดค่ำ ประมาณ 2 ทุ่ม  บังเอิญผมไปอยู่ในพื้นที่ของจุดนัดเจาะเลือดพอดี  จึงได้มีโอกาสได้ถามข้อสงสัยและได้เรียนรู้เรื่องต่างๆจากจนท.ซึ่งได้ความว่า โรคเท้าช้างในพื้นที่แถบนี้หัวสูง คือเป็นชนิดลงอัณฑะ ทำให้อัณฑะขยายใหญ่ขนาดขันตักน้ำเลยทีเดียว  แถมมันยังมีระยะฟักตัวเป็น 10 ปี  การเจาะเลือดเพื่อนไปตรวจหาเชื้อก็จะต้องเจาะในช่วงเวลาค่ำคืน

ยุงนี่เป็นพาหะของโรคเมืองร้อนหลายชนิด ที่ดัง ๆ ตอนนี้เห็นจะเป็น "ไข้เลือดออก" สาเหตุจากเชื้อไวรัส นำโรคโดยยุงลาย  "ไข้ป่าหรือมาลาเรีย" สาเหตุจากเชื้อโปรโตซัว มียุงก้นปล่องเป็นพาหะ "ไข้สมองอักเสบ เจอี" โรคจากไวรัส มียุงรำคาญเป็นพาหะ

ส่วน "โรคเท้าช้าง" นี้ เกิดจากหนอนพยาธิ (helminth) ๒ ชนิด ชนิดแรกที่คุณตั้งรู้จักดีทำให้ขาบวมใหญ่ระบาดแถวภาคใต้ตั้งแต่ชุมพรลงมา ส่วนอีกชนิดหนึ่งที่ทำให้อัณฑะใหญ่ระบาดแถวพื้นที่ติดต่อกับพม่าเช่นเมืองกาญจน์ ตาก และแม่ฮ่องสอน ยุงที่เป็นพาหะมีหลายหลากแล้วแต่ชนิดของพยาธิ ตั้งแต่ยุงลาย ยุงก้นปล่อง และยุงรำคาญ

ที่เจ้าหน้าที่ต้องเจาะเลือดตรวจตอนกลางคืนเพราะจะพบตัวอ่อนในกระแสเลือดมากในเวลานั้น  ตัวแก่ของพยาธิจะอยู่ในท่อน้ำเหลืองทำให้ท่อน้ำเหลืองอุดตัน ทำให้อวัยวะบริเวณที่มันอยู่บวมโตขึ้น

ชนิดที่สองที่ทำให้อัณฑะบวมนอกจากมียุงเป็นตัวนำโรคแล้ว ผู้อพยพหรือชาวพม่าซึ่งอยู่แถวชายแดนก็ยังเป็นผู้นำเชื้อพยาธิตัวนี้อย่างสำคัญ ฉะนั้นจึงมีโอกาสที่โรคจะระบาดในกรุงเทพฯหรือเมืองใหญ่ ๆ ของเรา จากเชื้อในแรงงานต่างด้าวที่รับเข้ามาทำงานตามบ้านหรือในโรงงาน หากมีมาตรการตรวจสอบและป้องกันไม่รัดกุมพอ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 42 43 [44] 45 46 ... 49
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง