เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 39 40 [41] 42 43 ... 49
  พิมพ์  
อ่าน: 70750 ห้วยขาแข้ง เมื่อ '14 '15
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 600  เมื่อ 03 มี.ค. 16, 19:38

คิดว่าพอสมควรกับเรื่องของห้วยขาแข้งช่วงล่างแล้วนะครับ  มีรายละเอียดและเรื่องที่ไม่พึงเล่าลึกลงไปกว่านี้อีกไม่น้อยที่ต้องขยักไว้

ผมออกพ้นจากพื้นที่ส่วนล่างนี้ ไปหาทางเข้าพื้นที่ส่วนที่เหนือขึ้นไป ซึ่งก็เข้าไปถึงห้วยได้ไม่กี่ครั้ง  มีแต่เหตุการณ์ระทึกและอันตรายใกล้ถึงชีวิตทั้งนั้น   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 601  เมื่อ 03 มี.ค. 16, 19:44

ยังมีเรื่องของการล่องเรือในแควใหญ่ที่น่าจะกล่าวถึงอีกเล็กน้อย  ที่ผมเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่จะต้องใช้เรือหางยาวในภาวะต่างๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 602  เมื่อ 04 มี.ค. 16, 19:06

เรือหางยาว เป็นเรือที่มีท้องแบน เป็นเรือที่มีอาการย้วยตัว(การบิดตัว)ค่อนข้างสูง และมีอาการสั่นกระพือค่อนขางสูงเมื่อปะทะกับคลื่น

เมื่อเราขึ้นเรือหางยาว คนขับเรือจะขอให้นั่งเป็นคู่ และจะขอให้นั่งในที่นั่งส่วนหลังถัดจากคนขับเรือเรียงลำดับขึ้นไปทางหัวเรือ  เหตุผลส่วนหนึ่งก็คือ ด้วยที่เป็นเรือท้องแบน ก็เลยต้องพยายามทำให้ท้องเรือเผินเหนือน้ำมากที่สุดในขณะแล่น เพื่อจะได้ลดแรงเสียดทาน จะได้ลดพลังที่ต้องใช้ในการขับเคลื่อนเรือ ซึ่งหมายถึงการลดความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง   แล้วก็จะเห็นว่า หากต้องมีการขนบรรดาสิ่งของสัมภาระ สิ่งของเหล่านั้นจะไปกองอยู่ในส่วนระหว่างผู้โดยสารกับคนขับเรือ  ก็เพราะ...
 
   การนั่งใกล้หัวเรือนั้นเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับหัวเรือ ซึ่งจะทำให้เกิดน้ำหนักเป็นแยกกันเป็นสองจุด (หัวเรือ-ท้ายเรือ) ทำให้เมื่อปะทะกับคลื่นก็จะเกิดสภาพคล้ายกับการหักแท่งไม้ด้วยเข่า
   การนั่งคู่นั้น ก็เพื่อเป็นการกระจายน้ำหนักลงให้เท่ากันทั้งสองข้างกราบเรือ ไม่ทำให้เรือเอียงไปทางใดทางหนึ่ง   การนั่งเดี่ยวตลอดความยาวเรือจะทำให้ผู้นั่งแต่ละคนขยับไปทางซ้ายทีไปทางขวาที (หนีแดดบ้าง ดูวิวบ้าง ฯลฯ) ซึ่งจะยังผลให้เรือโคลงไปเครงมาในขณะแล่น คนขับเรือบังคับเรือลำบากมาก   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 603  เมื่อ 04 มี.ค. 16, 19:34

   คนขับเรือจะขอให้ผู้โดยสารนั่งนิ่งๆเฉยๆ ไม่ต้องช่วยลุ้นในขณะที่เรือเข้าโค้ง    ก็ดังที่กล่าวมา เรือมันท้องแบน เรือมันมีการบิดตัวสูง   หากผู้โดยสารมีความสันทัดก็จะช่วยกันเอียงตัวเทไปทางด้านในของโค้ง ก็จะช่วยลดการบิดตัวของเรือ ทำให้เรือเกาะโค้งมากขึ้น ไม่แถออกนอกโค้งและเข้าโค้งด้วยความเร็วได้มากขึ้น       แต่หากผู้โดยสารพยายามขืนการเอียงของเรือ ไม่ว่าจะในขณะแล่นอยู่ในบริเวณที่มีคลื่นหรือในขณะเลี้ยว/การเข้าโค้ง   สภาพความรู้สึกของคนขับเรือก็ไม่ต่างไปจากคนขี่จักรยานหรือมอเตอร์ไซด์ที่มีคนซ้อนท้าย     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 604  เมื่อ 04 มี.ค. 16, 19:55

คงจะได้เคยสังเกตนะครับว่า  เมื่อเรือหางยาวที่แล่นมาด้วยความเร็ว มาถึงท่าน้ำและจะจอดส่งผู้โดยสาร  ในช่วงจังหวะของการชะลอเรือนั้น เรือจะถูกกระชุ่นให้แล่นไปข้างหน้าเป็นระยะสั้นๆครั้งเดียวหรือหลายครั้ง ก่อนที่จะค่อยๆไหลเอื่อยๆเข้ามาที่ท่าน้ำ

ที่ต้องทำเช่นนั้นก็เพราะคลื่นน้ำท้ายเรือที่เรือทำขึ้นมานั้น มันยังมีความเร็วทันเรือ พอที่จะทะลักเข้าทางท้ายเรือ  การกระชุ่นเรือ ก็คือการเร่งเรือให้หนีคลื่นนั้นๆมิให้มันทะลักเข้ามาในเรือทางท้ายเรือ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 605  เมื่อ 05 มี.ค. 16, 18:54

เมื่อใช้เรือหางยาวขึ้น-ล่องในแม่น้ำที่มีเกาะแก่ง    ขาขึ้นทวนน้ำนั้นไม่น่ากลัวเท่ากับขาล่องตามน้ำ เพราะในเที่ยวขาขึ้นนั้นเราสามารถเร่งเครื่องเบาๆเพื่อเลี้ยงเรือให้หัวเรือและลำตัวเรืออยู่ในแนวที่จะเร่งเครื่องให้เรือวิ่งข้ามผ่านไปได้  แต่ขาล่องนั้นต้องล่องลงมาด้วยความแม่นยำตามช่องทางที่เกาะแก่งนั้นๆบังคับไว้ ด้วยความเร็วของเรือที่จะต้องมีมากกว่าความเร็วของกระแสน้ำ มิฉะนั้นก็จะไม่สามารถบังคับทิศทางของเรือได้ และแถมยังจะได้น้ำทะลักเข้าทางท้ายเรือจากคลื่นตบตูดอีกด้วย 

การนั่งเรือขึ้นล่องแก่งให้ปลอดภัย ก็คือการนั่งนิ่งๆ ลุ้นอยู่ในใจก็พอ ไม่ต้องออกอาการโยกตัวขืนการเอียงของเรือหรือโยกตัวเพื่อช่วยคนขับเรือ  คนชับเรือเขามีความชำนาญและรู้เกี่ยวกับสภาพของแก่งนั้นๆมากพอ มิฉะนั้นเขาก็คงไม่มาขับเรือหากินรับจ้างเรา   

คงพอจะเห็นภาพนะครับว่า ความอันตรายของการนั่งเรือขาขึ้นจะมีน้อยกว่าขาล่องมากเลยทีเดียว

ครับ... เรือขาขึ้นจึงแตกน้อยกว่าเรือขาล่อง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 606  เมื่อ 05 มี.ค. 16, 20:32

ตรงจุดที่เรียกว่าแก่งนั้น  ในประสพการณ์ของผม ผมขอจำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
   แก่งที่มีพื้นท้องน้ำเป็นกรวดเป็นหินทรงมน ตั้งแต่ขนาดกำปั้นมือไปจนถึงขนาดลูกฟุตบอลล์ (cobbles and boulders) แก่งลักษณะนี้มีน้ำตื้น    ในช่วงฤดูน้ำน้อย บางแก่งก็จะมีการเซาะร่องในบางจุดเพื่อช่วยให้เรือเล็กพอที่จะสามารถผ่านขึ้นล่องได้    แก่งลักษณะนี้พบอยู่ในแควใหญ่เป็นส่วนมาก พบตลอดตั้งแต่ บ.ลาดหญ้า ขึ้นไปจนถึงถึงแถว บ.นาสวน
   แก่งที่มีหินเป็นโหนกเป็นปมซ่อนอยู่ใต้ผิวน้ำ พวกนี้จะมีน้ำลึก (ระดับถึงประมาณ 1 ม.) พบอยู่ในบริเวณที่เป็นช่วงแคบของลำน้ำ แก่งพวกนี้อันตรายมาก ซึ่งระดับมากน้อยของความอันตรายขึ้นอยู่กับฤดูกาลน้ำมาก-น้ำน้อย   เรือที่ขึ้นล่องผ่านแก่งพวกนี้ ขอบท้องเรือด้านข้างจะเฉียดโขดหินใต้น้ำในระยะประมาณ 30-50 ซม. แต่เมื่อเข้าหน้าแล้ง น้ำน้อย ก็อาจห่างจากโขดหินเพียงไม่เกิน 10 ซม. เช่น แก่งปะลอม ใต้ปากแม่น้ำน้อย (ใต้ ตัว อ.ไทรโยค ลงมา)    แก่งประเภทมีหินอยู่ใต้น้ำนี้พบอยู่ในแม่น้ำแควน้อยทั้งนั้น ตลอดไปจนถึงวัดวังก์วิเวการาม (เก่า) ที่จมน้ำเขื่อนเขาแหลมไปแล้ว

   แล้วก็มีแก่งทั้งสองลักษณะนี้ผสมผสานกัน เช่น ที่พบตั้งแต่แก่งยาว ใต้ปากลำขาแข้งมาเล็กน้อย พบขึ้นไปจนถึงจุดที่เรียกว่าน้ำโจน (ที่เคยคิดจะสร้างเขื่อนน้ำโจน)   และที่พบในห้วยขาแข้งช่วงปลาย   ในห้วยแม่ละเมา อ.แม่สอด   ในห้วยน้ำพ้า ห้วยน้ำกร อ.แม่จริม จ.น่าน ฯลฯ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 607  เมื่อ 07 มี.ค. 16, 18:47

ในปัจจุบันนี้ การใช้เรือหางท่องไปในแม่น้ำที่มีเกาะแก่งทั้งหลาย ไม่น่าจะมีอีกแล้ว แต่ถ้าหากอยากสัมผัสรสชาติก็ยังพอหาได้อยู่นะครับ ซึ่งก็จะเป็นประเภทแก่งที่มีโขดหินกระหนาบอยู่ซ้ายขวาและอยู่ใต้น้ำ

ที่พอนึกออกในทันใดก็น้ำแม่กก จะเป็นขาขึ้นหรือขาล่องก็ได้ระหว่าง อ.ฝาง กับ ตัว จ.เชียงราย   

อีกแห่งหนึ่งก็นั่งเรือชมอ่างน้ำเขื่อนเจ้าเณร (เขื่อนศรีนครินทร์) ขึ้นไปทางต้นน้ำแควใหญ่ พอเลยตำแหน่งของปากลำขาแข้งไปใม่เท่าไร ก็จะเริ่มได้ลุ้นกับจุดต่างๆที่มีตอไม้ (ต้นไม้ที่ถูกน้ำท่วม) เข้าลึกเข้าไปก็จะเจอกับจุดที่มีโขดหิน ลึกเข้าไปอีกก็จะพบกับแก่งดั้งเดิม ซึ่งจะขึ้นอยู่กับระดับการกักเก็บน้ำ ซึ่งหากระดับน้ำในเขื่อนต่ำก็พอจะได้สัมผัสกับแก่งดั้งเดิม แต่ก็อีกแหละครับมันก็ยังขาดสภาพการไหลของน้ำที่ไม่แรงเท่ากับดั้งเดิมของเขา เรือหางลำสั้นหน่อยจะไปได้ถึงสถานีวัดน้ำของ กฟผ.  แต่หากประสงค์จะลองผจญกับวิถีเดิม ก็ใช้เรือหางขนาดเล็ก (นั่งประมาณ 3-4 คน) ต่อเข้าไปได้ถึงจุดที่เรียกว่าน้ำโจน ตำแหน่งที่เคยคิดว่าจะสร้างเขื่อนน้ำโจน   ถึงจุดนั้นก็รู้เองว่า ด้วยเหตุใดถึงเรียกว่าน้ำโจน ก็น้ำตกน้อยๆนั่นเองแหละ

และอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งที่นี้เป็นแบบเสี่ยง ให้ทั้งความแปลกใหม่ ทั้งอันตราย ก็จะมีทั้งน้ำไหลเชี่ยว เกาะแก่ง ปืน และอาจจะมีการปล้น การถูกจับ การเอาตัวรอดหากเกิดเรื่องที่ไม่คาดฝัน  ครับ.. แม่น้ำสาละวิน ครับ   แถวที่ใีอันตรายน้อยหน่อยก็แถว บ.แม่สามแลบ แถวที่มีอันตรายมากหน่อยก็แถว บ.เสาหิน อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน    อันตรายพื้นฐานของพื้นที่ทั้งสองนี้ก็คือ มันเป็นชายแดนตรงแนวเส้นเขตแดน   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 608  เมื่อ 07 มี.ค. 16, 19:07

ความอันตรายนั้นผมคงจะไม่ขยายความนะครับ  ก็พอจะบอกกล่าวได้ประการหนึ่งว่ามันเป็นพื้นที่ๆมีความเกี่ยวพันกับหลายเรื่องราวในอดีตและในปัจจุบัน 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 609  เมื่อ 07 มี.ค. 16, 20:05

จะขอขยายความอีกเล็กน้อยนะครับ 

คำว่าแก่งหรือล่องแก่ง  เป็นคำที่ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความอยากจะได้สัมผัส  มโนภาพก็จะเป็นภาพของการนั่งอยู่บนแพไม้ไผ่ที่มีคนถ่ออยู่ที่หัวแพและท้ายแพ     

ในประสพการณ์ของผมนั้น ชาวบ้านจะทำและใช้แพไม้ไผ่อย่างมีประโยชน์สูงสุด     แพไม้ไผ่ของชาวบ้านมีวัตถุประสงค์หลักเป็นเรื่องของการขนของล่องตามน้ำลงไปจนถึงจุดที่ง่ายต่อการขนย้ายไปยังที่อยู่อาศัย  เมื่อถึงจุดสุดท้ายแล้ว ไม้ไผ่ที่ทำแพนั้นก็จะนำมาใช้ประโยชน์อื่นๆต่อไป ใช้ตั้งแต่ซ่อมบ้านไปจนถึงใช้ทำเครื่องมือและในการจักสานทำภาชนะใช้สอยต่างๆ     แพไม้ไผ่ที่เราอาจจะเห็นว่าชาวบ้านเขาละทิ้งปล่อยให้แช่อยู่ในน้ำอยู่นั้น แท้จริงแล้วเป็นการจงใจปล่อยให้แช่น้ำไว้เพื่อกำจัดจุลชีพทั้งหลาย โดยเฉพาะตัวมอด           
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 610  เมื่อ 07 มี.ค. 16, 20:31

หากสังเกตนะครับ จะเห็นว่าลำไม้ไผ่ที่เอามผูกกันเป็นแพนั้น จะถูกริดกิ่งและเกลาจนเรียบเกลี้ยงไปทั้งลำ   หากจะใช้เพียงครั้งเดียวก็คงจะไม่ทำให้มันดูดีถึงขนาดนั้น

แพไม้ไผ่ขนของที่ดูจะเป็นมาตรฐานทั่วไปของชาวบ้านป่า จะใช้ต้นไผ่ (ขนาดประมาณน่องขาของเรา) จำนวน 15 ต้น  เฉาะรูสองข้างที่ด้านโคน 10 ลำ แล้วใช้ไผ่รวกลำขนาดประมาณข้อมือผู้หญิงสอดทะลุ เว้นระยะระหว่างแต่ละลำเท่าๆกับลำไม้ไผ่ที่จะนำมาใช้เป็นแพ แล้วผูกยึด      ประมาณเมตรครึ่งถึงสองเมตรจากห้วแพ ก็เอาไม้ไผ่ขนาดยาวเท่ากับความกว้างของแพมาวางขวาง ผูกให้แน่น จากนั้นก็เอาไม้ไผ่ขนาดยาวประมาณสองเมตรถึงสองเมตรครึ่งห้าท่อนมาวางทับ ยกเป็นแคร่สำหรับบรรทุกของหรือนั่ง   ส่วนหางของแพนั้นก็ปล่อยยาวไปตามลำไม้ไผ่ที่ตัดมาทำแพ       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 611  เมื่อ 08 มี.ค. 16, 18:13

แพไม้ไผ่ขนาด 15 ต้นนี้ ขึ้นได้เต็มระวาง (เท้าแช่น้ำ นั่งแคร่ก้นเปียก) ประมาณ 5 คน รวมทั้งคนคัดหัวและคัดหางแพ   ถ้าจะให้เหมาะก็รวมกันทั้งหมด 3 หรือ 4 คน

การล่องแพด้วยไม้ไผ่นี้สนุกดีนะครับ  เป็นการได้ชื่นชมธรรมชาติแบบเคลื่อนที่เรื่อยๆตามความเร็วของน้ำไหลและไปแบบเงียบๆ ไม่มีโอกาศเจอกับแพล่ม มีแต่โอกาสเจอกับการเปียกปอนและการตกน้ำ  มีโอกาสได้เห็นสัตว์ลงมากินน้ำ ส่วนสำหรับนกนั้นจะได้เห็นตัวและได้ยินเสียงร้องขับขานของเขาแน่นอน ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับการล่องแพในช่วงเวลาที่เหมาะสมด้วย 

การล่องแพนี้ ก็มีสิ่งที่ควรจะต้องคำนึงถึงอยู่สองสามประการ คือ เรื่องแรก หากเป็นการล่องแพเพื่อเพลิดเพลินกับธรรมชาติ เราก็ควรจะทำตนเป็นผู้โดยสารนั่งอยู่บนแคร่ นั่งนะครับ อย่ายืน เพราะอาจจะหัวทิ่มหรือตกน้ำได้เนื่องจากแพมันไปชนเข้ากับหินหรือสะดุดหินก้อนโต    เรื่องที่สอง หากเป็นการล่องแพเพื่อความสนุก อยากจะมีประสพการณ์ในการผจญภัย ก็โดยการเลือกไปยืนอยู่ที่หัวแพพร้อมด้วยไม้ค้ำถ่อ ทำหน้าที่เป็นคนนำร่องแทนชาวบ้าน ช่วยค้ำยันไม่ให้หัวแพทั้งซ้ายและขวาชนกับโขดหิน หากค้ำยันไม่ดี ชนปึ้งเข้าไป ตนเองก็อาจจะตกน้ำ แต่กระนั้นเอง แม้จะเป็นการกระแทกเบาๆแต่ไม่สามารถยันให้หัวแพหลุดจากโขดหินได้ เราก็จะต้องกระโดดลงน้ำกลางแก่งนั่นแหละ ลงไปผลักให้หัวแพมันหลุดออกไป แล้วรีบกระโจนขึ้นแพเพี่อไปทำหน้าที่ต่อไป         
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 612  เมื่อ 08 มี.ค. 16, 18:56

ก็เนื่องจากว่า ที่แก่งนั้นน้ำมันไหลเร็ว หากห้วแพยังชนกับหินอยู่ หางแพก็จะค่อยๆกวาดออกไปทางข้าง แล้วในที่สุดก็ขวางลำ คราวนี้ก็ยากเลยที่จะแก้ปัญหา ถึงวาระของการสละแพเอาเลยทีเดียว 

หากเลือกว่าจะไปทำหน้าที่เป็นผู้คัดท้าย ก็จะต้องไปยืนอยู่บนไม้ไผ่ส่วนที่อ่อน (เพราะเป็นส่วนทางปลายของต้นไผ่) แกว่งได้ทั้งซ้ายทั้งขวา แถมยวบยาบขึ้นลงได้เล็กน้อยอีกด้วย  ผมบอกไม่ได้ว่าทำหน้าที่ส่วนหัวหรือหางแพจะดีที่สุด ก็สนุกทั้งสองด้าน เจ็บตัวได้ทั้งสองด้าน  ด้านหางแพนั้น หน้าที่สำคัญก็คือจะต้องค้ำยันซ้ายขวาปรับให้แพมัน align ไปกับกระแสน้ำและให้สอดคล้องกับทิศทางที่หัวแพกำลังต้องการจะไป ก็เป็นความยากในระดับหนึ่งเหมือนกัน ก็ต้องคอยมองไปข้างหน้าและเดาว่าเราควรจะทำอย่างไรในสภาพต่างๆ 

ความสนุกแบบอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับคนคัดท้ายแพก็คือ เมื่อแพเข้าโค้ง หางแพมันจะถูกผลักให้เข้าหาตลิ่งเสมอ ซึ่งก็จะเป็นตลิ่งฝั่งที่ชัน เป็นด้านที่ถูกกัดเซาะ (erode) ซึ่งก็หมายความว่าจะมีไม้ล้มมาขวางบ้าง มีกอไผ่ล้มลงมาขวางทั้งกอบ้าง ความอันตรายจริงๆก็มาจากกอไผ่ที่ล้มและโดยเฉพาะกับกอไผ่ที่ชาวบ้านเขาตัดส่วนต้นทิ้งไปเหลือแต่ส่วนโคนที่เป็นปากฉลามทั้งกอ จะแทงไม้ค้ำยันเข้าไปในกอไผ่เพื่อดันหางให้พ้นก็แทงเข้าไปไม่ถึงจุดที่จะยันได้   ไม่ปะทะก็ต้องโดดหนีลงน้ำละครับ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 613  เมื่อ 08 มี.ค. 16, 19:24

ผมเคยไปทำหน้าที่คัดท้ายหางแพ ยันหางแพให้พ้นจากกอไผ่ปากฉลามไม่ได้ จะสละเรือลงน้ำก็ทำไม่ได้ ทำไม่ทัน ตัดสินใจช้าไปหน่อย จะลงน้ำก็อาจเจอกิ้งก้านสาขาของกอไผ่ที่อยู่ใต้น้ำ หากขากางเกงไปเกี่ยวหนามของมันเข้า ตั้งตัวยืนไม่ได้ก็อาจจะตายน้ำตื้นก็ได้  ตัดสินใจเสี่ยงให้หางแพมันพัดเข้าไปหากอไผ่ ดูจังหวะเหมาะก็คว้ากิ่งก้าน ห้อยต่องแต่ง ปล่อยให้แพมันเคลื่อนไปตามกระแสน้ำ  โชคดีที่คนหัวแพเขามีประสพการณ์มากพอที่จะคาดเดาเรื่องต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เขาเอาหัวแพฝั่งไว้เดินมาทางหางแพแล้วยันให้หางมาอยู่ในตำแหน่งที่ผมจะปล่อยมือให้ตัวลงมายืนอยู่บนปลายหางแพได้

ผมเคยทำหน้าที่ด้านหัวแพ แล้วก็เคยต้องโดดลงน้ำเพื่อผลักหัวแพให้พ้นหิน ก็เสี่ยงอยู่ไม่ต่างกัน เพราะว่าเราก็ไม่รู้ว่าใต้น้ำและพื้นท้องน้ำที่จะต้องรีบลงไปเะหยียบนั้นเป็นอย่างไร   

ทั้งสองประสพการณนี้ก็ในห้วยขาแข้งนี่แหละครับ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 614  เมื่อ 08 มี.ค. 16, 20:27

เมื่อมีข้อจำกัดและอันตรายมากขึ้นจากการทำงานในพื้นที่ส่วนใกล้ปากลำขาแข้ง ผมก็ย้ายไปเข้าห้วยขาแข้งทางด้านข้าง ซึ่งจะใช้คำว่าไม่ประสบผลสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้ก็ได้ 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 39 40 [41] 42 43 ... 49
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.667 วินาที กับ 19 คำสั่ง