เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 38 39 [40] 41 42 ... 49
  พิมพ์  
อ่าน: 71090 ห้วยขาแข้ง เมื่อ '14 '15
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 585  เมื่อ 28 ก.พ. 16, 19:08

คิดไปคิดมา พื้นที่นี้อุดมไปด้วยปืน มีเรื่องของการแย่งชิงผลประโยชน์อยู่มากมายหลายเส้าเหลือเกิน ระหว่างชาวบ้านจากเมือง ชาวบ้านป่า นายทุนเหมืองแร่ นายทุนสัมปทานป่าไม้ จนท.ต่างๆ รวมทั้งเรื่องทางการเมือง (insurgency) ...ฯลฯ    เห็นท่าจะอันตรายเกินไปที่จะไปเดินท่อมๆอยู่ในระหว่างเขาสัตว์ ประกอบกับข้อมูลที่ได้จากการสำรวจก็ดูจะมีมากพอสมควรแล้ว จะใช้เวลาทำการสำรวจเก็บข้อมูลต่อไปก็เริ่มมีข้อจำกัดและไม่น่าจะคุ้มกับเวลาและเงินที่จะใช้ในการดำเนินการ  ก็เลยยุติการทำงานในพื้นที่

ในช่วงเวลานี้ มีการให้สัมปทานทำไม้ในพื้นที่   มีการตัดถนนสำหรับการชักลากไม้ เริ่มจากบ้านเขาเหล็ก เขาโจด (เขต อ.หนองรี อ.หนองปรือ จ.กาญจนบุรี) ไปผ่าน บ.กะเหรี่ยงน้ำพุ (?) บ.แม่พลู ไปตามห้วยแม่พลูไปจนถึง บ.ไก่เกียง ซึ่งตั้งอยู่ริมห้วยขาแข้ง 

ครับ ส่วนราชการเดียวกัน งานหนึ่ง reservation อีกงานหนึ่ง exploitation  มีเขตชนกัน ติดกัน ไม่มีพื้นที่กันชน    ก็คงนึกสภาพออกนะครับ ไม่ว่าจะเป็นขาแข้ง ทุ่งใหญ่ แม่วงก์ เขาเขียว เขาสก ฯลฯ       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 586  เมื่อ 28 ก.พ. 16, 20:32

ขอแทรกในเชิงวิชาการของคนนอกรีดแบบตัวผมเองนะครับ

conservation เราแปลเป็นไทยว่า การอนุรักษ์   และจำกัดอยู่ในความหมายว่า ปล่อยให้มันอยู่สภาพอย่างที่มันกำลังเป็นอยู่ (คือ ไม่แตะต้องมัน)

conservation ในความหมายที่เป็นสากลในหมู่นักอนุรักษ์นิยมทั้งหลายนั้น คือ การกระทำใดๆที่พยายามจะรักษาสมดุลย์ให้เกิดขึ้นระหว่างความคงอยู่ของความเป็นสภาพธรรมชาติดั้งเดิมกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นตามกาลเวลาและพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคม     

ทำให้มีกรอบของมาตรการพื้นฐาน (governing measures) อยู่ 7 เรื่อง คือ protection ส่วนที่ควรห้ามแตะต้อง,  restoration ส่วนที่ควรต้องมีการฟื้นฟูกลับมา,  re-utilization ใช้กลับไปมา,  maximization ให้เกิดประโยชน์ใดๆสูงสุด, minimization ให้เกิดผลกระทบใดๆน้อยที่สุด, substitution การใช้อื่นๆแทน, integrate usages การใช้ในทุกด้าน/ทุกเรื่อง       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 587  เมื่อ 28 ก.พ. 16, 20:56

ก่อนจะย้ายไปเดินเข้าห้วยขาแข้งด้วยเส้นทางอื่นที่มิใช่ตามลำน้ำแควใหญ่หรือตามทางชักลากไม้   ก็ยังมีเรื่องของนกที่ติดค้างไว้ว่าจะขยายความ ครับ

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 588  เมื่อ 29 ก.พ. 16, 18:44

เป็นเรื่องปรกติที่เราจะพบจำนวนนกของสายพันธุ์ต่างๆมากน้อยต่างกันไปในพื้นที่ๆต่างกันต่างๆ  ทั้งนี้ก็เพราะมันขึ้นอยู่กับวิถีการดำรงชีพของนกเหล่านั้น   

แต่.. ก็อาจะแปลกๆอยู่บ้างที่เรากลับพบเห็นนกในพื้นที่ๆที่มีกิจกรรมของมนุษย์ มากกว่าที่จะพบเห็นนกในพื้นที่ๆเรียกว่าป่า   ฤๅ เป็นเพราะว่ามีอาหารอุดมสมบูรณ์ต่างกัน     

ในปัจจุบันนี้ นกที่เป็นนกป่า นกไร่ นกสวน ก็เข้ามาอยู่ในเมืองเต็มไปหมด แถมยังเป็นเมืองหลวงอีกด้วย  หากสังเกตดู เราจะพบว่านกที่เข้ามาอยู่เมืองเหล่านี้ เราไม่ค่อยจะพบว่ามีอยู่ในเมืองที่เป็นเมืองต่างจังหวัดอีกด้วย

นกพิลาบเป็นนกป่าที่เข้ามามาเจริญพันธุ์ในเมืองมากที่สุด     นกที่เราพบอยู่ในพื้นที่ป่าแต่ก่อน พวกนกเขา ทั้งเขาใหญ่ เขาไฟ เขาชวา ก็เข้ามาขยายพันธุ์อยู่ในเมือง    นกกระจาบ กระจิบ ที่หากินอยู่ตามทุ่งก็เข้าเมือง    นกกินปลี ที่กินน้ำหวานดอกไม้ ที่อยู่ตามสวนก็เข้าเมือง  นกเอี้ยงที่เห็นอยู่ในพื้นที่นาก็ตามเข้ามาแล้ว (แต่ยังไม่เห็นนกเอี้ยงโครง)     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 589  เมื่อ 29 ก.พ. 16, 19:25

ภาพที่ยังฝังอยู่ในความทรงจำของผมภาพหนึ่ง เป็นภาพของการพบนกหัวขวานจำนวนมาก  ซึ่งพบเห็นในพื้นที่รอยต่อระหว่างเมือง/เรือกสวนไร่นา กับพื้นที่ส่วนที่เป็นป่าละเมาะ (ที่เชื่อมต่อลึกเข้าไปเป็นผืนป่าใหญ่)    ครับ.. เป็นพื้นที่แถว บ.ท่ามะนาว อยู่ด้านเหนือของถนนสาย ต.ลาดหญ้า - เขื่อนท่าทุ่งนา - เขื่อนศรีนครินทร์    แล้วก็เกือบจะไม่พบเห็นมันอีกเลย ตั้งแต่แถวเขื่อนท่าทุ่งนาขึ้นไป (แม้กระทั่งในพื้นที่ของป่าห้วยแม่ละมุ่น)     

ผมไม่เคยเห็นนกหัวขวานในพื้นที่อีกฝั่งน้ำของเขื่อนท่าทุ่งนาเลย     สำหรับตัวผมเองก็พอมีคำอธิบายของตัวเองในเชิงของ Geoecology ว่า  พื้นที่ทางด้านตะวันออกแถบที่พบนกห้วขวานเป็นจำนวนมากนี้ เป็นพื้นที่ๆรองรับด้วยหิน 2 ชนิด คือ หินปูนที่เนื้อหินมีส่วนผสมของธาตุแมกนีเซียมในเกณฑ์สูงและดินโคลน  กับหินที่มีเนื้อหินอยู่ในกลุ่มหินแกรนิตประเภทที่มีธาตุโปแตสเซียมสูง  ส่งผลให้ดินมีความสมบูรณ์ค่อนข้างสูง    ครับ.. เรื่องของแย้ที่ได้เล่ามาว่ามีเยอะแยะก็อยู่แถวนี้ ก็หมายความว่าต้องมีแมลงที่มีอาหารเยอะ  นกหัวขวานซึ่งก็กินแมลงเป็นหลัก ก็จึงเลยมาใช้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยร่วมด้วย      ในขณะที่อีกฝั่งแม่น้ำ เป็นพื้นที่ๆรองรับด้วยหินปูน ผิวดินตื้น มีความแห้งแล้ง ไร้ร่มเงา มีแต่ไผ่รวกขึ้นห่างๆกระจัดกระจาย  ก็คือไม่อำนวยให้มีแมลงอยู่ชุกชุม           
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 590  เมื่อ 29 ก.พ. 16, 20:37

ป่าใหญ่มีนกอยู่หลากหลายชนิด หลากหลายสายพันธุ์แน่นอน แต๋มิได้หมายความว่าแต่ละสายพันธุ์จะมีปริมาณนกชุกชุมอยู่เป็นจำนวนมาก   

นกที่พบบ่อยครั้งมากๆก็จะมี นกแก้ว ที่บินเกาะกันเป็นกลุ่มทุกเช้าทุกเย็น ส่งเสียงร้องกอกแกกดังอีกต่างหาก    นกเขาเปล้า ที่นิยมเรียงแถวเกาะกิ่งต้นไทร      นกเขาใหญ่ ที่มักจะพบอยู่ลงมายืนเป็นคู่อยู่ในที่ราบบนผืนดิน      นกเขาไฟก็เช่นกัน แต่มักจะพบในพื้นที่ของชายป่าผืนใหญ่    นกกุลุมพู ที่นิยมเกาะอยู่บนส่วนที่เป็นยอดต้นไม้สูง  นกกะปูด (ตาแดงน้ำแห้งก็ตาย) ที่นิยมเกาะกิ่งไม้ระดับ 1+ ม. เหนือผิวดิน    นกกะรางหัวหงอก ที่นิยมลงมาละเลงกลุ่มเห็ดโคน    นกกระทาดง อยู่ตามทุ่ง ที่มักจะทำให้เราตกใจ   นกคุ่ม ตัวน้อยๆอยู่ตามทุ่ง วิ่งดุ๊ดๆๆๆน่ารัก ฯลฯ     แล้วก็นกขนาดใหญ่ ซึ่งได้แก่ นกกก (นกกาฮัง)  นกเงือก  นกแกง (นกแก๊ก) เหยี่ยวอีรุ้ง  เหยี่ยวนกเขา นกถึดทือ ...ฯลฯ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 591  เมื่อ 01 มี.ค. 16, 19:18

ห้วยขาแข้งช่วงล่างนั้น แม้ว่าจะอยู่ในภูมิประเทศที่เป็นหุบเขากว้าง (ซึ่งเป็นไปตามลักษณะปรกติของห้วยใหญ่ที่มีน้ำไหลตลอกปีก็ตาม) แต่ก็เป็นพื้นที่ราบ (ตะพักลำน้ำ) ที่มีต้นไม้ขึ้นอยู่หนาแน่น  จึงไม่ค่อยจะพบเห็นนกที่ลงมาเดินดิน จะมีพบอยู่บ้างก็ที่ลงมาเดินกินน้ำอยู่ตามหาดทรายของห้วย      ต่างกันกับในพื้นที่ช่วงกลางของห้วยขาแข้งที่เป็นหุบกว้างเช่นกัน แต่ไม่มีพื้นที่ตะพักลำน้ำ เป็นป่าค่อนข้างโปร่ง จะพบนกหลากหลายสายพันธุ์ หลากหลายชนิด เหมาะสำหรับเหล่านักปักษีวิทยา       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 592  เมื่อ 01 มี.ค. 16, 19:53

เกิดอาการเงิบไปเงิบมา  กินยาแก้แพ้มาครับ   อักสักพักหรือพรุ่งนี้ค่อยว่ากันใหม่นะครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 593  เมื่อ 02 มี.ค. 16, 18:23

เริ่มจากนนกที่ไม่นิยมบิน นิยมที่จะเดินท่อมๆมุดไปมาอยู่ในดงหญ้า มีอยู่สองชนิดที่พบบ่อย ได้แก่ นกคุ่ม และ นกกระทาดง ส่วนนกกวักที่พบกันทั่วไปในพื้นที่ชุ่มน้ำของที่ราบภาคกลางนั้น ผมจำไม่ว่าได้เคยพบเห็นในพื้นที่ห้วยขาแข้งหรือไม่ครับ

นกคุ่มและนกกระทา มีลำตัวป้อมๆ เกือบจะไม่เห็นหางของมัน   นกคุ่มมีขนาดลำตัวเล็กกว่านกระทาดง   ทั้งคู่พบเห็นได้ในพื้นที่เดียวกัน มีนิสัยคล้ายๆกัน คือ แอบนิ่งเงียบเมื่อเราเดินผ่าน จวบจนเมื่อเห็นจวนตัวจึงจะออกบินสูงเหนือผิวดินเล็กน้อย เป็นระยะทางสั้นๆแล้วก็ลงดินวิ่งหนีไปแอบต่อ  และต่างก็มีนิสัยที่ทำให้มันถูกดักจับได้ค่อนข้างง่าย คือ นิยมเดินบนพื้นที่ราบๆ และถูกนกต่อเรียกมาให้ติดกับได้   เท่าที่ประสบมา ผมเห็นมีการต่อนกพวกนี้ในเกือบจะทุกพื้นที่ทั่วประเทศ บางแห่งถึงขนาดมีการทำเครื่องเป่าที่ทำมาจากโลหะ ใช้เลียนเสียงสำหรับเรียกนก แถมยังขายอยู่ในตลาดสดของตัวจังหวัดอีกด้วย หากไปเที่ยวทางภาคเหนือ ลองถามพ่อค้าแม่ค้าในตลาดดูนะครับ อาจจะได้ซื้อติดไม้ติดมือเป็นของแปลก 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 594  เมื่อ 02 มี.ค. 16, 18:45

นกที่บินหากินแมลงอยู่ในระดับยอดหญ้า ที่เห็นชุกชุมมากที่สุดก็คือ นกกะปูด เสียงร้อง อู๊ดๆๆๆ ที่เราได้ยินอยู่ตามทุ่ง ตามชายป่าทั้งหลายนั้นแหละครับ คือเสียงของนกกะปูด   

ในเนื้อเพลงที่ว่า นกกะปูดตาแดงน้ำแห้งก็ตายนั้น  จะจริงเท็จเช่นใดผมไม่ทราบ  ที่เป็นจริงอยู่เรื่องเดียวก็คือ ตาของมันแดง   

นกกะปูดมีลำตัวค่อนข้างใหญ่ มีขนตามตัวสีดำ มีขนปีกสีแดง และมีขนหางยาว  เป็นพวกนกกินแมลง   หากไม่สังเกตดูดีๆ บางครั้งก็อาจจะทำให้นึกว่าเป็นไก่ป่า

นกกะปูดเป็นนกที่ไม่มีผู้ใดเอามาทำอาหาร (ยกเว้นจะอดอยากจริงๆ)  เราจึงพบมันในที่ต่างๆได้ไม่ยากนัก  เป็นนกที่บ่งบอกว่า พื้นที่แถวนั้นอุดมไปด้วยแมลงทั้งหลาย  ก็จึงเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้วละครับที่ไม่เอามันมาทำเป็นอาหาร เพราะว่ามันช่วยกำจัดแมลงที่มากัดกินพืชไร่อยู่ในไร่ของเรา   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 595  เมื่อ 02 มี.ค. 16, 19:36

ได้กล่าวถึงเรื่องนกกะปูดตาแดง  ทำให้นึกถึงเรื่องของสัตว์ตาสีแดง เมื่อถูกไฟส่องในระหว่างการส่องสัตว์ในเวลากลางคืน

เป็นข้อสังเกตของชาวบ้านทั่วไปว่า เมื่อออกไปส่องสัตว์ (ออกไปล่าสัตว์ในเวลากลางคืนโดยใช้ไฟส่อง) หากเห็นตาเป็นสีแดงก็จะเป็นสัตว์กินเนื้อ หากเห็นตาเป็นสีเขียวนวลก็จะเป็นพวกสัตว์กินพืช  ทั้งนี้จะต้องพิจารณาระยะห่างของตาคู่นั้นและระดับความสูงจากผืนดินควบคู่กันไปด้วย   

การส่องสัตว์ของชาวบ้านแต่เดิมนั้นใช้ไฟจากแกส (acetylene)   มีส่วนโคมที่มีเล็นซ์รวมแสงเป็นเล็นซ์นูนคาดไว้ที่หัว มีสายยางต่อลงมาที่กระป๋องสองชั้น ชั้นล่างใส่ถ่านแกส (calcium carbide) ชั้นบนใส่น้ำธรรมดา  เมื่อเปิดน้ำให้หยดลงมาถูกถ่านแกส ก็จะเกิดปฏิกริยาเกิดเป็นแกสที่จุดไฟติด    ครับ..โคมส่องกบ ไฟที่ให้ความสว่างของรถสามล้อขายขนมหวานในตอนกลางคืนใน ตจว.  และไฟที่ใช้ในการกรีดยาง ฯลฯ แต่เดิมก็ใช้ความสว่างจากไฟแกสนี้แหละครับ 

เล่าแทรกขึ้นมาก็เพียงเพื่อจะบอกว่า ไฟส่องสัตวในสมัยก่อนนั้น มันไม่สว่างพอที่จะเห็นตัวสัตว์ เห็นแต่เพียงแสงวาวจากตาของสัตว์    กระทั้งไฟฉายถ่านสองก้อนก็ไม่ต่างไปจากความสว่างจากไฟแกสมากนัก     นี่ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่เป็นเหตุให้ชาวบ้านจึงอยากจะมีไฟฉายสามท่อน(ใช้ถ่านสามก้อน)มากกว่าแบบสองท่อน  ยิ่งได้หัวไฟที่ปรับ(โฟกัส)ได้ ก็จะยิ่งสุดยอด     

ครับ... ก็จึงเป็นเรื่องไม่ค่อยจะแปลกนัก ที่หากเราเห็นไฟฉายสามท่อนแบบปรับโฟกัสได้ในบ้านชาวบ้านใดๆ  เราก็จะเห็นว่าเขามีปืนยาวค่อนข้างดีอยู่ด้วย ซึ่งก็มักจะเป็นปืนลูกซองเดี่ยวแถมตราเสืออีกด้วย
     
รู้ขนาดนี้แล้ว หากเรายังไม่สามารถใช้จิตวิทยาเพื่อประโยชน์และเอาตัวรอดได้ในสภาพการต่างๆ ก็แย่แล้วเนาะ       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 596  เมื่อ 02 มี.ค. 16, 20:32

นกกะปูดนั้น หากจะเอามาทำอาหารก็จะต้องถลกหนังทิ้งไป   เนื้อของมันแดงก่ำไม่น่ากินเอาเลยทีเดียว

นกที่ตัวใหญ่กว่านกกะปูดขึ้นไปเกือบทุกชนิด ชาวบ้านจะไม่นำมาทำอาหารกัน ด้วยมีความเชื่อกันว่า ฆ่านกใหญ่มาทำอาหารกินกัน คนที่ร่วมวงกินด้วยกันนั้นก็จะแตกแยกกัน ความเชื่อนี้รวมทั้งไปถึงห่านและเป็ดด้วย   

ตัวผมเองเห็นว่า นกใหญ่ที่ชาวบ้านเขาหมายถึงนั้น อาทิ นกแกง นกเงือก นกกก ห่าน เป็ดเทศ นกกระสา นกกระทุง นกกระยาง (ขาว/แดง) นกยางกรอก เหยี่ยว ... ฯลฯ  เป็นพวกนกผัวเดียวเมียเดียวเกือบทั้งนั้น  (จริง??...ผมไม่มีความรู้มากพอ)   

ความเชื่อแบบนี้เป็นเรื่องที่ดีนะครับ ทำให้นกพวกนี้ก็เลยไม่ถูกล่า แต่กลับได้รับการอนุรักษ์ไปในตัว    แต่ชาวบ้านก็อาจจะถูกเหมารวมไปเรียบร้อยแล้วว่าเป็นผู้ล่าจนทำให้เกือบสูญพันธุ์       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 597  เมื่อ 03 มี.ค. 16, 18:16

ได้กล่าวถึงมาแล้วว่า  ในป่าใหญ่เราจะได้พบเห็นปริมาณนกน้อยกว่าในพื้นที่ราบที่มีการทำเกษตรกรรม แต่เราก็จะได้เห็นนกหายากทั้งหลายแทน

นกในป่าใหญ่นั้น เราจะพบได้ในพื้นที่ๆมีต้นไทร ต้นกร่าง และที่มีเรือนยอดเป็นทรงพุ่ม (มีใบมาก)   ต้นไทรและต้นกร่างมีลูก จึงเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของนกทั้งหลาย ผลัดกันมาเกาะกันเป็นแต่ละช่วงเวลาต่อเนื่องตลอดทั้งวัน จะเรียกว่าเป็นปักษีสโมสรของนกทั้งหลายในป่าดงก็น่าจะพอได้   ดังนั้น เมื่อใดที่เราเห็นต้นไม้ทั้งสองชนิดดังกล่าวอยู่ในป่า เราก็มีโอกาสได้เห็นนกต่างๆในรัศมีรอบๆต้นไม้ทั้งสองนี้ได้ง่าย   แต่ก็ใช่ว่าเราจะได้เห็นต้นไทรได้ง่ายๆในป่า มันมีขึ้นอยู่ห่างกันประปราย ไม่มากต้นดั่งที่เราอาจจะคิด

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 598  เมื่อ 03 มี.ค. 16, 19:02

ผมคิดว่าต้นไทรนั้นขึ้นได้ในทุกสภาพป่าใหญ่    แต่หากขึ้นอยู่ในป่าที่มีผืนดินค่อนข้างจะมีความชื้น ซึ่งอาจจะสังเกตได้จากการมีพวกพืชมีเง่า เช่น กระชาย ข่าลิง หรือค้างคาวดำ ฯลฯ มีขึ้นอยู่เป็นดง    ป่าลักษณะนี้แหละที่เรามีโอกาสจะได้พบนกใหญ่ทั้งหลาย ก็คือ นกแกง นกเงือก และนกกก   นกพวกนี้บินเสียงดัง (ยังกับงับบานประตูฝืด) เสียงที่มันบินข้ามหัวเราอาจจะทำให้ตกใจได้เหมือนกัน

ป่าแม่วงก์เป็นป่าอนุรักษ์ เป็นที่ๆผมได้พบเห็นนกพวกนี้มากที่สุด  เข้าใจว่าในปัจจุบันนี้คงเหลือนกพวกนี้อยู่น้อยคู่เต็มที  ก็จะไปเหลืออะไรเล่าครับ ป่าที่เคยชุมชื้นนี้กลายเป็นป่าแดงหรือป่าแพะที่แห้งและดูแล้งไปเลยในความต่างของช่วงเวลาประมาณสองสามเดือนเท่านั้น  เดิมนั้น เป็นป่าที่แดดส่องไม่ถึงพื้น หนาแน่นไปด้วยพวกต้นยางและไม้มะค่า (ผู้สูงวัยทั้งหลายอาจจะพอจำได้ว่า ครั้งหนึ่งมีเรื่อง Hit เกี่ยวกับเฟอร์นิเจอร์ทำด้วยปมไม้มะค่า ผมว่าก็มาจากป่าผืนนี้เป็นหลัก) ผืนดินชุ่มชื้นเฉอะแฉะไปหมด เข้าไปอีกครั้ง โอ..โล่งเตียนเลย แดดส่องถึงพื้น ...ก็เรื่องของงาน conservation กับงาน exploitation ของสังกัดเดียวกัน...       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 599  เมื่อ 03 มี.ค. 16, 19:21

นกที่นิยมเกาะอยู่ที่สูงตามยอดต้นไม้สูงเสียดฟ้า ก็คือ นกกุลุมพู เป็นนกที่มีลักษณะคล้ายกับนกพิลาบ แต่มีลำตัวขนาดใหญ่กว่า ก็ขนาดประมาณไก่กระทง หรือไก่แจ้

แล้วก็มาถึงนกที่นิยมบินร่อนอยู่ในท้องฟ้า ก็คือ เหยี่ยงอีรุ้ง บินวนไปเวียนมาแบบเนิบๆ ใม่รวดเร็ว     แต่หากเห็นตัวขนาดย่อมลงมาและบินในระดับสูงกว่ายอดไม้ไม่มากนัก ก็จะเป็นเหยี่ยวนกเขา บินเร็วและค่อนข้างจะว่องไว

ผมไม่เคยเห็นพวกนกเป็ดน้ำและนกย้ายถิ่นตามฤดูกาลในพื้นที่ห้วยขาแข้งเลย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 38 39 [40] 41 42 ... 49
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 19 คำสั่ง