เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 36 37 [38] 39 40 ... 49
  พิมพ์  
อ่าน: 70735 ห้วยขาแข้ง เมื่อ '14 '15
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 555  เมื่อ 20 ก.พ. 16, 21:47

อย่างน้อยก็มีJalito คนหนึ่งละครับตามท่านnaitang เข้าป่าห้วยขาแข้งทุกค่ำ กระทู้จบเมื่อไหร่คงเหงา
บันทึกการเข้า
ninpaat
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167


ความคิดเห็นที่ 556  เมื่อ 21 ก.พ. 16, 07:09

ติดตามอ่านอยู่เป็นประจำครับ ท่านอาจารย์
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 557  เมื่อ 21 ก.พ. 16, 09:24

ผมก็มาเดินเป็นเพื่อนด้วยนะคุณนายตั้ง แม้ว่ารสนิยมการกินของท่านจะพัฒนาไปไกลกว่าว่าผมเสียเหลือเกิน ไม่สามารถจะไปล้อมวงเหล้ากับท่านได้
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 558  เมื่อ 21 ก.พ. 16, 17:07

ดิฉันเดินเข้าป่าตามหลังอาจารย์มาตั้งแต่ต้นเลยนะคะ แต่เดินเงียบๆไม่กล้ารบกวนสมาธิอาจารย์น่ะค่ะ
ถ้าวันหนึ่งเกิดเขียนนิยายที่ต้องบรรยายฉากชีวิตในป่า ต้องกลับมาเก็บความรู้ในกระทู้ของอาจารย์อีกแน่ๆ ขออนุญาตล่วงหน้า และขอกราบขอบพระคุณมา ณ ที่นี้เลยก็แล้วกันนะคะ ยิงฟันยิ้ม 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 559  เมื่อ 21 ก.พ. 16, 19:08

ขอบคุณท่านทั้งหลายที่ได้ติดตามอยู่เงียบๆครับ  เรื่องราวที่จะเล่ายังมีอีกครับ 

ใน คห.550 และ 552 นั้น ผมเพียงแต่ตั้งใจจะสรุปคั่นกลางเรื่องอย่างสั้นๆว่า ผมได้เล่าเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเภทและชนิดของสัตว์กับลักษณะผืนดินและผืนป่า และความต่างๆๆที่มากระจุกอยู่ร่วมกันในพื้นที่ของห้วยขาแข้งตอนล่าง รวมทั้งเรื่องของมนุษย์ที่เป็นส่วนหนึ่งในระบบนิเวศน์ของพื้นที่นั้น  ซึ่งเป็นภาพที่จะมีบางส่วนไม่ครบถ้วนดังที่ใจอยากจะบอกเล่า เพราะมีข้อจำกัด..   

ผมพยายามจะให้ข้อมูลที่ผมได้สัมผัสจริง เพื่อให้ผู้อ่านได้ภาพของธรรมชาติที่มีอยู่และที่ถูกต้องมากที่สุดในสมัยก่อนที่จะถูกวิถีของสังคมเมืองรุกประชิดพื้นที่อย่างรุนแรงในช่วงทศวรรษ 2520   และด้วยหวังว่าข้อมูลที่ได้เล่าสู่กันฟังนี้อาจจะถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 560  เมื่อ 21 ก.พ. 16, 19:25

ได้ให้ภาพของสัตว์อยู่ในดินกินรากไม้ สัตว์ขุดรากไม้กิน สัตว์ขุดแมลงกิน สัตว์กินพืชและแมลงบนผิวดิน สัตว์ปีนต้นไม้จับสัตว์สัตว์เล็กและแมลงกิน สัตว์กินใบไม้และลูกไม้ สัตว์กินสัตว์ สัตว์น้ำ สัตว์หากินกลางวันและกลางคืน...  ที่พบอยู่ในพื้นที่ห้วยขาแข้งตอนล่าง  นึกย้อนแล้วก็ยังมีที่ขาดอยู่บ้าง และที่จะต้องกล่าวต่อไป (พวกนก)   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 561  เมื่อ 21 ก.พ. 16, 20:31

มีปลาที่ยังไม่ได้เล่าถึง ก็คือ ปลากา

ปลากา ชื่อของมันก็บ่งบอกว่ามีตัวสีดำ เป็นปลาเกล็ด กินพืช รูปทรงคล้ายพวกกลุ่มปลาตะเพียน แต่มีลำตัวยาวไปทางปลาตะโกก มีส่วนหลังหนากว่าปลาตะเพียนและปลาตะโกก  เป็นปลาที่จำได้ง่ายเพราะมันมีสีดำ

ปลากานี้ไม่อยู่เป็นกลุ่ม ผมไม่มีความรู้กับปลากานัก เคยเห็นแต่มันว่ายไปมา แต่ก็ไม่เคยจับมันได้สักครั้ง  ช่วงที่จะเห็นมันบ่อยครั้งมากที่สุดก็คือช่วงน้ำป่าไหลเอ่ออยู่ในห้วยหลักและห้วยสาขาที่มีน้ำไหลเกือบตลอดปี  เป็นช่วงฝนเริ่มชุก น้ำจะขุ่น และก็เป็นช่วงที่ลูกไม้ ใบไม้ กิ่งไม้ ใบหญ้าถูกน้ำฝนชะล้าง กวาดลงมารวมกันในห้วย  ในฤดูกาลนี้ชาวบ้านจะไม่จับปลาการมากิน เพราะอาจจะเมาได้    เขาบอกว่าที่เรากินมันแล้วเมานั้นก็เพราะมันไปกินลูกกะบ้า (ลูกสะบ้า)   ผมรู้แต่ว่าลูกสะบ้านั้น มีความเป็นพิษอยู่ แต่ไม่รู้ว่ามันกินเข้าไปได้อย่างไร ก็ทั้งเปลือกแข็งและลูกใหญ่กว่าปากของมัน  ผมคิดว่าอาจจะเป็นส่วนอื่นของเถาสะบ้า หรือไม่ก็เนื้อในของลูกของมันที่หลุดออกมา (เนื่องจากปริแตกเมื่อกระทบกับน้ำ)
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 562  เมื่อ 21 ก.พ. 16, 21:04

ขออนุญาตขัดจังหวะนิดนะคะ นอกจากเรื่องสัตว์ป่าแล้ว เรื่องราวชีวิตชาวบ้านป่าที่อาจารย์เคยเล่าให้ฟังมาบ้างแล้วก็น่าสนใจค่ะหากอาจารย์นึกอะไรได้อีก ถ้ากรุณาเล่าต่อก็จะเป็นพระคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 563  เมื่อ 21 ก.พ. 16, 21:07

ปลากานิยมที่จะอยู่ในที่น้ำไหลเอื่อยๆและมีความลึก (ลึกประมาณ 1.50 ม.ขึ้นไป) มักจะพบว่ายไปมาในบริเวณที่มีร่มไม้   ซึ่งหากน้ำ ณ จุดนั้นค่อนข้างนิ่งจะนิ่งมาก เราก็อาจจะได้เห็นปลาแมลงภู่ (ปลาชะโดห้วย??) นอนลอยห้วอยู่นิ่งๆอีกด้วย  

ปลาทั้งสองชนิดนี้ พบอยู่ในห้วยขาแข้งเฉพาะในพื้นที่ส่วนใกล้ปากห้วย เพราะเป็นบริเวณที่มีน้ำไหลและมีแอ่งน้ำตลอดปี    แต่ผมไม่เคยเห็นชาวบ้านในพื้นที่ดังกล่าวพยายามจะจับมากินกัน  คิดว่าส่วนหนึ่งก็มาจากเครื่องมือที่ใช้ในการจับ    สำหรับปลากา ต้องใช้ตาข่าย แต่ด้วยน้ำลึกก็น่ากลัวอยู่เหมือนกัน (กะเหรี่ยงเขาว่าตกต้นไม้ดีกว่าตกน้ำ เพราะตกต้นไม้ยังพอมีกิ่งไม้ให้ไขว่คว้าได้ แต่ตกน้ำนั้นไม่มีอะไรไห้จับเลย  ยิงฟันยิ้ม)    

สำหรับปลาแมลงภู่นั้น ใช้วิธียิงเอาครับ    ดังที่เล่าว่า มันชอบไปนอนลอยหัวหลบอยู่ใต้ร่มไม้  แล้วก็มักจะต้องเป็นไม้ใหญ่ที่มีกิ่งก้านยื่นไปในห้วยอีกด้วย คนก็จะไปนั่งรอนอนรอแอบอยู่บนกิ่งไม้ที่คิดว่ามันจะมานั่นแหละ  ที่จะยุ่งยากหน่อยก็ตรงที่ พอยิงถูกมันแล้ว มันก็จะจมลงไปนิดนึงแล้วทะลึ่งพรวดขึ้นมาเหนือน้ำ แล้วก็จะลอยอีกนิดหน่อยแล้วก็ค่อยๆจมลง  เราต้องจำให้ดีว่าจุดใหน รีบลงจากต้นไม้ แล้วก็รีบลงน้ำไปยังจุดที่มันกำลังจม เพื่อไปคว้าตัวมันขึ้นมา  คนกลัวน้ำคงไม่นิยมหาปลานี้มาทำอาหารแน่ๆ    แถมหากเป็นปืนแก็ป ก็จะต้องบรรจุลูกและอุดให้แน่นพอดีๆ  ปีนป่ายต้นไม้ ปืนกระแทกไปมา ที่ว่าอุดแน่นแล้วก็อาจจะหลวมหรือหลุดไป คราวนี้ก็จะเป็นการยิงแบบเป้าสะอาดเลยทีเดียว      
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 564  เมื่อ 22 ก.พ. 16, 18:24

วันนี้เป็นวันพระใหญ่  ขอเว้นวรรคหนึ่งวันครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 565  เมื่อ 22 ก.พ. 16, 18:44

สาธุ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 566  เมื่อ 23 ก.พ. 16, 19:14

ปลาที่จัดว่าอร่อยมากๆของห้วยขาแข้ง สำหรับผมก็คือปลาตะโกก   

เมื่อถึงเวาลาหยุดพัก 1 วัน เพื่ออาบน้ำชำระร่างกาย ซักผ้า รวบรวมตัวอย่างหินและลงทะเบียนมัน (ก้อนขนาดประมาณกำปั้น) ประมวลข้อมูลต่างๆเพื่อวางแผนว่าจะต้องเดินไปทางใหน ที่ใหน และกำหนดแผนการสำรวจครั้งต่อไป    วันนั้นก็จะเป็นวันที่มีความสุขมาก

สภาพอากาศในระหว่างวันในหุบห้วยขาแข้งมีความต่างกันมาก  อุณหภูมิในตอนกลางวันจะอยู่ระหว่าง 17-25 องศา (เดือนเมษาฯอาจจะสูงถึงประมาณ 30 องศา)  อุณหภูมิในตอนเช้ามืดในช่วงมกราฯ-กุมภาฯลงถึงประมาณ 4 องศา ในช่วงเดือนเมษาฯก็อยู่แถวๆ 12-14 องศา   เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบเขา (ประมาณบ่าย 3 โมง) อุณหภูมิก็จะค่อยๆลดลงอย่างต่อเนื่องอย่างเร็ว   ครับเดินทำงานมาเหนื่อยๆแล้วเริ่มกางเต็นท์ทำที่พักแรมตอนประมาณบ่ายสามโมง ตกเย็นลงอาบน้ำก็มีหวังไม่สบายแน่ๆ  ก็เลยรวบยอดกันเข้าทำนองว่า 7 วันอาบน้ำหนเดียว

ก็จึงจำเป็นต้องหยุดพักอาบน้ำซักผ้ากัน เริ่มลงน้ำก็เมื่อดวงอาทิตย์เริ่มโผล่พ้นขอบเขา (ก็ประมาณ 9 โมงเช้า) เราจะรู้สึกว่าน้ำมันอุ่นอาบได้สบายๆ  แล้วก็ลงไปพร้อมกับตะครัด (ตาข่าย หรือ อวน) ขึงขวางแม่น้ำเพื่อจับปลามาตากแห้งตุนเอาไว้เป็นสะเบียง   ไม่ถึงเที่ยงก็ปากเขียวหนาวสั่นกันแล้ว   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 567  เมื่อ 23 ก.พ. 16, 19:41

ผมคิดว่าหากผู้ใดได้เห็นปลาต่างชนิดกัน อยู่กันเป็นกลุ่ม ว่ายสวนกันไปมา 4 ระดับ ในน้ำใสๆของห้วยขาแข้ง ก็คงจะอดที่ลงไปร่วมจับปลากับพรรคพวกไม่ได้  เป็นปลาเกล็ดคล้ายปลาตะเพียนทั้งนั้น ก็มีปลาใบไม้ ปลาตะเพียน ปลาตะโกก และอีกชนิดหนึ่งจำไม่ได้ครับ เป็นพวกกลุ่มปลากินพืชทั้งนั้น  ลงตะครัดกันสองครั้งเท่านั้น ก็ได้ปลามาประมาณ 100+/- ตัว

ปลาใบไม้ก็เอามาแล่ทำปลาตากแห้งและทำลาบปลา ปลาตะเพียน แล่ตากแดดอย่างเดียว ส่วนปลาตะโกกนั้น ตัวมันจะยาวกว่าชนิดอื่นๆสักหน่อย ตัวก็ขนาดฝ่ามือเท่านั้น ไม่ใหญ่เหมือนกับที่เขาเอามาทอดกรอบขายกันในร้านอาหาร เอามาเสียบไม้แล้วปักไว้รอบกองไฟหรือขอนไม้ที่จุดให้ความอบอุ่นในเวลากลางคืน เรียกกันว่า ย่างมอญ  แกะกินเปล่าๆหรือจะจิ้มน้ำปลาพริกทานกับข้าวสวยร้อนๆก็อร่อยเหลือหลายแล้ว

สมัยนั้น ผมเล่าให้คนเมืองกาญจน์ฟังว่าปลาตะโกกมันอร่อยมากนะ ก็มีคนแย้งว่าก้างมันเยอะมาก (ก้างตัว Y แซมอยู่ในเนื้อ)   แรกๆนั้นก็เป็นปลาที่ยังไม่มีคนนิยมกินกัน   แต่สำหรับผมนั้น เจอในตลาดเมื่อใดจะต้องซื้อมาทันที แม่ค้าก็ถามว่าเอาไปทำอะไร ซึ่งส่วนมากก็จะนึกว่าเอาไปทำต้มยำ  ผมก็บอกว่าผมเอาไปบั้งให้ถี่หน่อยแล้วทอดให้กรอบ จิ้มกับน้ำปลาใส่หอมแดงซอยบางๆ ใส่พริกขี้หนูสวนหั่นละเอียด ใส่มะนาว เท่านั้นเองที่เป็นความอร่อยจริงๆ           
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 568  เมื่อ 23 ก.พ. 16, 20:48

ไม่นานต่อมา อยู่ดีๆปลาตะโกกทอดกรอบก็เข้าไปเป็นเมนูอยู่ร้านอาหารทั่วไปในตัวเมือง จ.กาญจนบุรี

ปลาตะโกกมีก้างคล้ายก้างปลาตะเพียน แต่เป็นก้างที่มีขนาดใหญ่กว่าและห่างกว่า ไม่เป็นฝอยดังของปลาตะเพียน  เนื้อปลาตะโกกมีความแน่น ไม่ออกไปทางยุ่ยฟูแบบปลาตะเพียน

ทำให้นึกถึงปลาอาหยุ และ ปลาอิวาหนะ ปลาแม่น้ำที่อร่อยๆของญี่ปุ่น    ท่านที่ไปเที่ยวญี่ปุ่น หากเห็นปลาเสียบไม้ย่างอังไฟอยู่ก็ลองซื้อกินดูนะครับ  ปลาอาหยุมีกระจายอยู่ทั่วไปในแม่น้ำต่างๆ แต่ปลาอิวาหนะอาจจะมีเฉพาะในห้วยที่มีน้ำเย็นในพื้นที่ๆเป็นป่าเขา
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 569  เมื่อ 24 ก.พ. 16, 17:57

ก่อนจะไปเรื่องนก จะขอแว๊บเข้าไปในเรื่องวิถีชิวิตของคนกะเหรี่ยงที่อยู่ในพื้นที่ห้วยขาแข้งตอนล่างสักหน่อยนะครับ แต่แรกก็ว่าจะเอาไว้ในตอนท้าย  แต่ก็เห็นด้วยตามคำปรารภของคุณ Anna ครับ     
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 36 37 [38] 39 40 ... 49
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 19 คำสั่ง