เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 29 30 [31] 32 33 ... 49
  พิมพ์  
อ่าน: 70737 ห้วยขาแข้ง เมื่อ '14 '15
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 450  เมื่อ 13 ม.ค. 16, 18:29

ลูกปืนลูกซองที่ชาวบ้านผู้นิยมเข้าป่าเลือกซื้อก็จะต้องเป็นชนิดที่ใช้ปลอกพลาสติก เพราะว่ามันสามารถเอามาใช้ใหม่ได้ โดยการเปลี่ยนแก๊ปจุดระเบิดที่ก้นลูกที่ใช้แล้ว (ก็คือการ rebuilt แบบทำเองน่ะครับ) สำหรับดินปืนที่ใช้ขับลูกปืนก็เป็นดินปืนของปืนแก็ปแบบชาวบ้านนั่นเอง

กรณีชาวบ้านที่นิยมจะดำรงตนเป็นพราน  นอกจากจะพกพาลูกปืน rebuilt ที่ทำเองนี้แล้ว ก็จะพกลูกปืนขนาด SG (ไม่นิยมลูก LG) ลูกเบอร์ 4 (ไม่นิยมลูกเบอร์ 3) และลูกโดด อย่างน้อยก็ชนิดละ 1 ลูก    ลูก SG นั้นใช้สำหรับสัตว์ตัวใหญ่ที่มีหนังบางและป้องกันตัว (โดยเฉพาะกับเสือ)  ลูกเบอร์ 4 ก็ใช้สำหรับพวกสัตว์ปีกที่บินได้ทั้งหลายและป้องกันตัวโดยทั่วๆไป (เช่น พวกงู )  และลูกโดดก็ใช้สำหรับสัตว์ที่มีหนังหนาทั้งหลาย (เช่น หมูป่า กระทิง...)

ครับ.. ก็ลงลึกไปอีกหน่อยก็เพื่อจะชี้ให้เห็นว่า  ภาพที่เราได้พบเห็นนั้นมันบอกเรื่องราวได้อย่างมากว่าอะไรเป็นอะไร ตั้งแต่ตัวชาวบ้านเองไปจนถึง connection ต่างๆที่เขามีกับคนภายนอก           
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 451  เมื่อ 13 ม.ค. 16, 19:08

ผมจะไม่ลงลึกลงไปในรายละเอียดมากกว่านี้นะครับ 

สำหรับตัวผมเองนั้นทำงานอยู่ในพื้นที่ๆมีอันตรายค่อนข้างจะสูงมากทั้งจากคนและสัตว์ ความอยู่รอดของผมจึงอยู่บนหลักที่ว่า "รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้ง"   ตัวผมจึงเก็บรายละเอียดลึกลงไปในทุกๆเรื่องอย่างค่อนข้างจะละเอียดยิบ เช่น กรณีของเรื่องปืนนี้ ผมจะดูไปถึงยี่ห้อและรุ่นของปืน ดูไปถึงบุคคลที่ถือปืน (เช่น เสื้อผ้า การแต่งกาย บุหรี่ การสูบบุหรี่ การทิ้งขี้บุหรี่ ภาษา สำเนียง รอยพื้นรองเท้า.....) ฯลฯ    ซึ่งก็ได้ใช้และเป็นผลทำให้ผมอยู่รอดจากสถานการณ์ปากเหยี่ยวปากกามาได้ตลอดมา     นึกย้อนกลับไปแล้วก็ให้รู้สึกเสียวใส้อยู่เหมือนกัน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 452  เมื่อ 13 ม.ค. 16, 19:33

กลับมาเรื่องของห้างต่ออีกสักนิดนึง

เล่าแต่ถึงเรื่องห้างที่ไปขัดอยู่บนต้นไม้ในพื้นที่โป่ง   ครับ..ก็ยังมีห้างที่ไปขัดเพื่อนั่งสัตว์อยู่ ณ ที่จุดอื่นๆอีกด้วย   ห้างพวกนี้ค่อนข้างจะพบได้บ่อยครั้ง  พบเห็นเมื่อใดก็ให้แหงนมองต้นไม้ที่มีห้างขัดอยู่นั้น หรือไม่ก็มองหาไปรอบๆใกล้ๆแถวๆนั้นว่า มีต้นไม้อะไรบ้างที่มีการออกดอกออกผล หรือไม่ก็มองลงดินว่ามีผลหรือเมล็ดของต้นอะไรตกอยู่บ้าง

ห้างแบบที่กล่าวถึงนี้ เกือบทั้งหมดจะเป็นห้างที่ขัดไว้ในบริเวณที่มีต้นมะกอกป่า และซึ่งก็จะมีจุดประสงค์เพื่อยิงเก้งและกวางเท่านั้น เพราะสัตว์ทั้งสองชนิดนี้ชอบกินมะกอก 

บางครั้งเราก็อาจจะเห็นมีห้างที่ขัดไว้บนตัวต้นมะกอกนั่นเอง  ซึ่งการนั่งห้างบนต้นมะกอกนี้มักจะไม่ประสบผลสำเร็จในการยิงเนื้อ เพราะว่ามันเป็นการยิงในท่ายิงที่ไม่มั่นคง (ลักษณะของยิงกดลงใต้โคนต้นไม้) และเป้าในการยิงเป็นลักษณะของเป้าแคบ ซึ่งยิงพลาดได้ง่าย       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 453  เมื่อ 13 ม.ค. 16, 20:02

ภาพของห้างและต้นมะกอกที่ยังติดตาผมอยู่ในพื้นที่ห้วยขาแข้ง ก็คือพื้นที่ๆเรียกว่าทุ่งมะกอก   อยู่ทางฝั่งตะวันตกของห้วยขาแข้งในพื้นที่ของบ้านหนองม้า ?? (จำไม่แม่นเสียแล้วครับ)      เดินสูงขึ้นไปจนถึงขอบของสันแบ่งเขตพื้นที่รับน้ำ (catchment area)ระหว่างห้วยขาแข้งกับห้วยองก์ทั่ง    เมื่อข้ามสันแบ่งตรงประตูหิน (เป็นช่องทางด่านสัตว์ที่เดินผ่านระหว่างโขดหินสองด้าน) ก็จะเข้าสู่ทุ่งที่มีต้นมะกอกป่าอยู่หลายต้น

ทุ่งมะกอกนี้ทำให้ผมและคณะได้ลุ้นกับการหนีรอดจากสภาพของคำว่า ไฟลามทุ่ง  (ไม่วิกฤติหนอกครับ แต่ก็ต้องลุ้นกันน่าดู)   
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 454  เมื่อ 13 ม.ค. 16, 20:58

เข้ามาอ่านทีไร ต้องไล่อ่านกระทู้นี้ครบทุกตอนทุกครั้งครับ ชอบมากครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 455  เมื่อ 14 ม.ค. 16, 18:40

ขอบคุณครับ

หากเป็นการนั่งสนทนากัน ผมคงเล่าในรายละเอียดแบบลงลึกได้มากกว่านี้อีก   ที่เขียนอยู่บนกระดานนี้ ผมต้องใช้ความระมัดระวังค่อนข้างมาก เพราะเรื่องราวที่กล่าวถึงมันเป็นข้อสนเทศแบบ +ve สำหรับเหรียญทั้งสองด้าน คือมันเป็นบวกให้กับทั้งด้าน constructive และ กับด้าน destructive 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 456  เมื่อ 14 ม.ค. 16, 19:56

ไฟลามทุ่งที่กล่าวถึงนั้น เกิดมาจากความหวังดีของชาวบ้านป่าในคณะของผมนั่นเอง   

ครับ...ช่วงเวลาประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงประมาณต้นเดือนเมษายน เป็นช่วงเวลาที่พื้นที่ในภาคเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือของไทยจะมีอากาศแห้งและปลอดฝน ชาวบ้านจะนิยมเผาหญ้าหรือเศษไม้ที่ถากถางในช่วงหนาวที่กองตากไว้จนแห้ง (ในพื้นที่ๆใช้สำหรับการเกษตร) ชาวบ้านเขาใช้ช่วงเวลานี้ก็เพราะว่า การเผานั้นจะต้องหมดเกลี้ยงไปในครั้งเดียว หากยังมีความชื้นหรือฝนตกลงมาจนทำให้การเผาได้ไม่เกลี้ยง กองเศษหญ้าเศษไม้นั้นก็จะตกค้างให้เห็นโทนโท่อยู่ข้ามปีไปเลย     

นี่แหละครับ คือต้นเหตุหนึ่งที่สำคัญของการเกิดสภาพท้องฟ้าครึ้ม ไม่มีแดดส่องทะลุ ที่เราเรียกกันว่า ฟ้าหลัว หมอกควัน หมอกแดด หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Haze   

ภาพโดยรวมของช่วงเวลาดังกล่าวนี้เป็นดังนี้ครับ  มันเป็นช่วงเวลาของสภาพอากาศในพื้นที่ๆยังคงมีความเย็น (ช่วงเช้าและเย็น)  ซึ่งหมายความว่ายังมีมวลของอากาศเย็นครอบคลุมอยู่      เมื่อมวลของอากาศเย็นซึ่งมีความหนาแน่นสูง(มากกว่ามวลของอากาศที่อุ่นกว่า)ยังคลุมอยู่ในพื้นที่  ก็หมายความว่าบรรดาฝุ่นควันที่ฟุ้งลอยอยู่นั้นไม่สามารถลอยทะลุขึ้นไปในชั้นอากาศที่สูงได้ ก็เลยคลุ้งอยู่อย่างที่เราเห็นเป็นหมอกควันนั้นแล   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 457  เมื่อ 14 ม.ค. 16, 20:34

ในปัจจุบันนี้ เรามักจะได้รับข่าวสาร(ในช่วงเดือนดังกล่าว)ว่า หมอกควันที่เกิดหนาแน่นในภาคเหนืออยู่นั้น เกิดมาจากการเผาป่า (รวมการเผาในไร่) และการเผาหญ้าและเศษไม้จากการถากถางทำไร่เลื่อนลอยเพิ่มเติม       

ในประสบการณ์ในการเข้าป่าเข้าดงในหลากหลายพื้นที่ของผม   เท่าที่ได้พบเห็นมา ผมเห็นว่า ในอดีตสมัยที่ผมยังต้องเดินป่าเดินดงอยู่นั้น เหตุดังกล่าวที่อ้างถึงนั้นนั้นเป็นเรื่องหลักและเป็นเรื่องจริง  แต่ในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยจะแน่ใจนัก      ครับ...ก็ในเมื่อพื้นที่ป่าทั้งหมดที่มีอยู่ทั้งหลายนั้น มันเป็นพื้นที่ป่าในเขตหวงห้ามของรัฐที่มีส่วนราชการเฉพาะทางเขาดูแลอยู่ มีทั้งหน่วยที่ตั้งอยู่ในพื้นทื่คอยดูแล  มีทั้ง จนท.ที่มีอาวุธทันสมัยคอยเดินตรวจตรา มีทั้งกฎหมาย(หลายฉบับ)ที่มีบทลงโทษทั้งทางแพ่งและอาญาบังคับใช้ มีนักวิชาการที่ร่ำเรียนมาเฉพาะทางมากมาย  จะกระไรอยู่ที่จะปล่อยให้เกิดต้นเหตุแห่งหมอกควันดังที่ได้กล่าวอ้างถึงอยู่เสมอๆได้หรือ ??       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 458  เมื่อ 15 ม.ค. 16, 19:06

ที่ทุ่งมะกอกนั้น  เมื่อได้เห็นรอยเก้งเต็มไปหมดที่ใต้ต้นมะกอกต้นหนึ่ง ทุกคนในคณะก็นึกถึงเรื่องเดียวกันหมด คือ คงจะต้องจุดไฟเผาหญ้าที่สูงรกอยู่นั้นให้เตียน เพื่อเปิดโอกาสให้หญ้าระบัดแตกใบออกมาเมื่อมีฝนแรกโปรยลงมา เพื่อเก้งและสัตว์อื่นในพื้นที่แถวนั้นจะได้มีหญ้าอ่อนแทะเล็มกินกัน   

ก็รอจนกระทั่งช้างสองตัวที่บรรทุกของเดินข้ามทุ่งไปไกลจนใกล้จะถึงห้วยที่จะตั้งแคมป์นอนสำหรับคืนนั้น   ยังไงๆเสียไฟก็จะไม่ลามข้ามฟากห้วยแน่ๆ  พอได้เวลาที่พอเหมาะก็เริ่มจุดไฟเผาหญ้า แล้วก็รีบเดินตามช้างไป   

(ในความเห็นและสภาพจากสายตาของผมนะครับ)    อะฮ้า...ลืมนึกถึงภาษิตของชาวบ้านที่ว่า "ใกล้ตาแต่ไกลตีน"   ไอ้ร่องห้วยที่เห็นว่าไม่ไกลนักนั้น แท้จริงแล้วมันก็ไม่ใช่ ที่กะว่าช้างจะเดินไปถึงห้วยก่อนที่ไฟจะลามไปทันก็ดูท่าทางจะไม่เป็นจริงเสียแล้ว เราเดินหนีไฟตามไปจนทันช้างแล้วก็ยังไม่ถึงห้วย (แต่ก็ใกล้เต็มทีแล้ว) ไฟก็ใหม้ลามตามมาอย่างกระชั้นชิด เข้าสู่สภาพใกล้วิกฤติ   

แต่ชาวบ้านและควาญช้างก็ดูจะไม่รู้สึกทุกข์ร้อน  เขาก็ทำเพียงไสช้างให้มันเดินเร็วขึ้นอีกนิดนึง ไม่ให้มันโอ้เอ้ใช้งวงสำรวจตรวจสอบอะไรมากนัก
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 459  เมื่อ 15 ม.ค. 16, 19:45

จะว่าไปว่าดูเขาไม่ทุกข์ร้อนก็ไม่ได้เสียทีเดียว  เขาก็ลุ้นกันอยู่เหมือนกันว่าจะข้ามไปยังอีกฝั่งห้วยทันไฟที่จะลามมาหรือไม่

ผมเองซึ่งพอจะมีประสบการณ์และพอจะรู้จักกับภูมิปัญญาของชาวบ้านเป็นพื้นเดิมบ้างอยู่แล้ว  ก็ได้เรียนรู้จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ว่า ที่ว่าชาวบ้านเขาทำการจุดไฟเผาป่านั้น เขามีการประเมินความเร็วของการลุกลามของไฟรวมทั้งพื้นที่ๆมันจะลุกลามไปถึงอีกด้วย  หรือในอีกนัยหนึ่ง คือ เขาจะมีการประเมินและจะจำกัดความรุนแรงและความเสียหายมิให้เกินขอบเขตจนเป็นอันตรายย้อนกลับมาถึงตัวเขาและทรัพย์สินของเขา

ลองพิจารณาดูนะครับ ทุ่งโล่งที่มีหญ้ายืนต้นตายกับทุ่งที่มีแต่หญ้าใบแห้ง , หรือพื้นที่ของดงไผ่รวก , ดงไผ่หนาม , ดงไผ่ผาก , ดงไผ่ข้าวหลาม , ดงไม้ไร่ ,  ดงไผ่เพ็ก ,  ดงที่ไผ่กำลังออกดอกออกขุย ,  พื้นที่ป่าไม้เหียง ไม้พลวง , ...ฯลฯ    เหล่านี้..จะให้ลักษณะของการลุกลามและความกว้างของพื้นที่แตกต่างกันไปอย่างใดบ้าง                       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 460  เมื่อ 15 ม.ค. 16, 20:31

ในอีกมุมหนึ่งการจุดไฟเผาป่าของชาวบ้านนั้น  เขากระทำแบบมีการเลือกจะกระทำ (selective) นะครับ  คือกระทำตามลักษณะจำเพาะ (criteria) ที่ถูกถ่ายทอดต่อๆมา (โดยไม่รู้ถึงเหตุผลทางวิทยาศาสตร์)   

พื้นที่ป่าที่มีการเผาเป็นประจำ(เกือบจะ)ทุกปี เกือบจะทุกแห่งจะเป็นผืนดินที่ดินมีสภาพเป็นกรด   เถ้าถ่านจากการเผาทั้งหมดมีความเป็นด่าง  ดังนั้น เมื่อฝนตกโปรยลงมาก็จะทำให้เกิดการผสมระหว่างกรดกับด่าง ทำให้ผืนดินในองค์รวมเกิดสภาพใกล้เป็นกลาง  จึงเหมาะกับพืชไร่ที่ชาวบ้านในแถบละติจูดของเราปลูกเพื่อใช้เป็นอาหารและเพื่อขายหารายได้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 461  เมื่อ 16 ม.ค. 16, 18:45

ด้วยวันนี้เป็นวันครู   วันนี้ผมจึงจะขอเว้นเรื่องราวของกระทู้นี้ไปหนึ่งวันนะครับ 

ผมจะขอไปเปิดกระทู้สั้นๆเพื้่อฉายภาพในอดีต (และที่ใกล้กับปัจจุบัน) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของครู และการศึกษาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ไกลปืนเที่ยง(หลายพื้นที่)เท่าที่ผมเคยประสบพบเห็นมา

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 462  เมื่อ 17 ม.ค. 16, 19:15

อาจจะสงสัยว่า แล้วรู้ได้อย่างไรว่าดินมีสภาพเป็นกรด    ก็จะขออธิบายอย่างง่ายนะครับ

ตัวเนื้อดินที่เราเหยียบย่ำกันนั้น ผสมผสานคละเคล้าไปด้วย_สารประกอบที่เป็นอนินทรีย์เคมี ที่มาจากหินและแร่ธาตุที่ถูกย่อยลงมาจนเป็นเม็ดเล็กๆ   และ_สารประกอบที่เป็นอินทรีย์เคมี ที่มาจากเศษซากของสิ่งมีชีวิต

ดินที่มีสภาพเป็นกรดนั้น โดยหลักก็คือดินทรายที่เกือบจะไม่ปรากฎเศษซากของสิ่งมีชีวิตปนอยู่ในเนื้อดิน  ดินพวกนี้มักจะมีความพรุน (porosity)สูง เทน้ำลงไปก็จะซึมผ่านหายไปอย่างรวดเร็ว (ดังเช่นดินในหลายพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเรา)   ไม้ยืนต้นที่ขึ้นอยู่ในพื้นที่ลักษณะนี้จะเป็นพวกไม้มีเปลือก (bark) หนา      การดูดินว่ามีสภาพเป็นกรดหรือไม่ในเบื้องแรก จึงอาศัยการดูจากตัวเนื้อดินและลักษณะของต้นไม้ครับ     

ผมจะขอไม่เข้าไปในรายละเอียดในเรื่องของดินนะครับ  เพราะน่าจะมีข้อสงสัยตามมาเยอะเลยทีเดียว เช่น ในเรื่องสีต่างๆของดิน เรื่องของดินดีหรือไม่ดี ฯลฯ   ซึ่งทั้งหมดเป็นเรื่องที่ต้องอธิบายด้วยวิชาการทาง Geochemistry ที่อยู่บนพื้นฐานของกระบวนการทางเคมี 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 463  เมื่อ 19 ม.ค. 16, 19:01

กลับมาเรื่องโป่งอีกสักนิดนึงครับ 

โป่งเทียม  คิดว่าคงจะเคยได้ยินชื่อนี้กันนะครับ     ก็มีหลายคนคิดว่าทำง่ายๆด้วยการเอาเกลือไปโรยไว้บนดิน  นัยว่าเป็นการชักชวนให้สัตว์เข้ามากิน เพื่อจะได้เห็นตัวมันในเวลาค่ำคืน  หรือไม่ก็เป็นการสัพยอกกันในกลุ่มคนที่เดินป่าไปด้วยกัน คือไปฉี่ครับ

โป่งเทียมนั้น  ผมรู้แต่เพียงว่าในต่างประเทศเขาใช้แท่งเกลือวางไว้เพื่อให้สัตว์ได้เข้ามาแทะเล็ม โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวที่มีหิมะปกคลุมผืนดิน แต่ไม่รู้ว่าเขานิยมหรือเลือกใช้แท่งเกลือที่ทำขึ้นมา (artificial salt bar) หรือใช้แท่งเกลือหินที่ได้มาจากการทำเหมืองเกลือ (rock salt)     

แท่งเกลือทั้งสองชนิดนี้จะมีความแตกต่างกันอย่างมากเลยทีเดียว   ชนิดที่ทำขึ้นมานั้นจะอุดมไปด้วยแร่ธาตุมากมายนอกเหนือไปจากเกลือ (NaCl) ที่ให้แต่ธาตุโซเดียมและมีรสเค็มเพียงอย่างเดียว         
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 464  เมื่อ 19 ม.ค. 16, 19:30

โป่งเทียมที่เราทำขึ้นนั้น มิใช่ว่าสัตว์จะลงมากินในคืนนั้นอย่างทันใด หรือต่อจากนั้นไปอีกนานเพียงใดที่มันจะมากิน   
มันมีองค์ประกอบหลายๆอย่างที่สัตว์จะแวะมาเลียกิน อาทิ สภาพป่า มีพืชหรือไม้มีผลในพื้นที่หรือไม่  ใกล้หรือไกลจากแหล่งน้ำ ใกล้หรือไกลจากทางด่านและทางด่านนั้นเป็นทางด่านหลักหรือทางด่านรองหรือของสัตว์พวกใหน ?? ...

ผมเองก็ทำไว้หลายแห่งในพื้นที่ๆเดินสำรวจ  มิได้หวังผลอะไรมากนัก  ก็เพียงหวังว่าจะมีสัตว์บางชนิดลงมาใช้ประโยชน์บ้างในภายหลัง ผมใช้เกลือทะเลแต่ละแห่งประมาณหนึ่งถึงสองกำมือเท่านั้น   

เกลือทะเลที่ผมขนเข้าไปในป่าด้วยนั้น เป็นปริมาณประมาณครึ่งกระสอบปุ๋ยเท่านั้น  ก็เอาไว้แบ่งปันให้ชาวบ้านที่เจอะเจอในระหว่างเดินในเส้นทางการสำรวจ   สมัยนั้น เกลือทะเลของ จ.สมุทรสงคราม ราคากระสอบ (ปุ๋ย) ละประมาณ 11 บาท  เพียงกำมือสองกำมือก็ใช้สร้างมิตรภาพได้แบบถึงรากถึงโคนอย่างมหาศาลเลยทีเดียวครับ     
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 29 30 [31] 32 33 ... 49
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง