เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 25 26 [27] 28 29 ... 49
  พิมพ์  
อ่าน: 70988 ห้วยขาแข้ง เมื่อ '14 '15
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 390  เมื่อ 28 ธ.ค. 15, 20:00

คราวนี้ก็คงมาถึงประเด็นที่คงพอจะมีคำตอบได้แล้วว่า ด้วยเหตุใดแต่ละโป่งจึงมีชนิดของสัตว์มาลงไม่เหมือนกัน หรือไม่ก็เป็นโป่งที่เกือบจะเป็นเฉพาะของสัตว์ (หรือกลุ่มของสัตว์ )บางชนิด
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 391  เมื่อ 29 ธ.ค. 15, 18:38

พื้นที่ของโป่งหนึ่งๆ อาจจะกว้างหรือเล็กก็ได้  แต่ที่สัตว์มากัดแทะกินนั้น จะเป็นเพียงจุดๆหนึ่งในบริเวณนั้น ซึ่งจะเป็นดินที่มีเนื้อละเอียดมาก (ในระดับไม่ถึง 10 ไมครอน) จนพอจะกล่าวได้ว่า กัดกินแล้วไม่รู้สึกว่าเคี้ยวทรายกรอบแกรบ    ก็ขนาดคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังกัดกินได้อย่างอร่อยก็แล้วกัน 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 392  เมื่อ 29 ธ.ค. 15, 19:00

ครับ...คนก็กินโป่งเหมือนกัน  เขาอาจจะไม่รู้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ แต่เขารู้ว่ามันช่วยทำให้เขาหายจากอาการบางอาการ และทำให้รู้สึกว่าร่างกายสบายขึ้น  
 
สำหรับผมแล้ว การกินดินของชาวบ้านในอิสาน มิใช่เรื่องของความยากจนจนต้องกินดิน เขากินก็เพราะมันเป็นแร่ธาตุเสริมสำหรับความสมบูรณ์ของร่างกาย (เมื่อร่างกายขาดและเรียกร้อง) มันเป็นเหมือนกับ vitamin & mineral ที่เราคนกรุงกินประจำวัน ต่างกันก็แต่เพียงว่าของเขาเป็นของที่ธรรมชาติสร้างให้มา  

ดังที่เล่ามาแล้วว่า ดินโป่งมีธาตุหลักๆคือ แคลเซียม โปแตสเซียม และโซเดียม ผนวกด้วยธาตุอื่นๆส่วนน้อย (เช่น เหล็ก_Fe, แมงกานีส_Mn, แมกนีเซียม_Mg) และที่เป็น trace elements (เช่น สังกะสี_Zn, ทองแดง_Cu)

แล้วแร่ธาตุที่ได้กล่าวถึงมาเหล่านี้ ร่างกายของเรามีความต้องการตามที่ได้มีการศึกษาวิจัยกันในวงการสาธารณสุขหรือไม่ ??

ทั้งหมดที่เล่ามานี้เป็นความเห็นในทางวิชาการของตัวผมนะครับ    
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 393  เมื่อ 29 ธ.ค. 15, 19:27

ไม่รู้ว่า มีการศึกษาเรื่องของโป่งในแนวที่ผมกล่าวถึบ้างหรือไม่  หรือว่ามีแล้ว (ผมเคยแนะให้ นศ.ท่านหนึ่งในสายงานที่เกี่ยวข้องทำวิทยานิพนธ์ ป.โท  แต่จะด้วยว่ามันเป็นสหวิชามากไป ยากไป หรือเคยมีการวิจัยกันแล้วก็ไม่รู้ได้ เขาจึงไม่ให้ความสนใจ) 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 394  เมื่อ 29 ธ.ค. 15, 19:29

กลับมาต่อเรื่องสัตว์ลงโป่งในห้วยขาแข้งดีกว่านะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 395  เมื่อ 29 ธ.ค. 15, 22:16

ดินที่มีแร่ธาตุ กินได้ทั้งสัตว์และมนุษย์ อย่างที่คุณตั้งอธิบาย ทำให้นึกถึง "ดินถนัน" หรือ "นมพระธรณี" ใน พระอภัยมณี  ที่นางละเวงได้กินเป็นยาอายุวัฒนะ
ตอนนั้นนางละเวงหนีพระอภัย เตลิดเปิดเปิงเข้าไปในป่า  ไปเจอเข้าโดยบังเอิญ   สุนทรภู่บรรยายไว้ ลักษณะเหมือนผลไม้ผุดขึ้นมาจากดิน

พอได้ยินดินลั่นเสียงครั่นครื้น                  สะเทือนพื้นภูผาป่าระหง
ประเดี๋ยวหนึ่งตึงสะดุ้งดังผลุงลง              กลิ้งอยู่ตรงหน้าเท่าน้ำเต้าทอง
เหลืองอร่ามงามงอมหอมระรื่น                ดูสดชื่นชูสีไม่มีสอง
สงสัยนักชักมีดออกกรีดลอง                  ขาดเป็นสองซีกไส้ข้างในแดง
นางชิมดูรู้ว่าโอชารส                          เหลือกำหนดในมนุษย์สุดแสวง
ทั้งหอมหวานซ่านเสียวมีเรี่ยวแรง             ที่ศอแห้งหิวหายสบายบาน

สรรพคุณของดินถนัน หรือนมพระธรณี คล้ายวิตามินแร่ธาตุผสมกับฮอโมนส์   ทำให้สุขภาพแข็งแรงไม่มีโรค  บำรุงร่างกายผิวพรรณให้เป็นน้ำเป็นนวลคือ

ฝูงสัตว์ไพรได้ยินทั้งกลิ่นหอม                มาพรั่งพร้อมหมายจะกินถวิลหวัง
ด้วยหวานเย็นเห็นประเสริฐเลิศกำลัง         กำจัดทั้งโรคาไม่ราคี
อายุยืนชื่นชุ่มเป็นหนุ่มสาว                    ผิวนั้นราวกับทองละอองศรี
ถึงแก่เฒ่าเข้าเรือนสามร้อยปี                  ก็ไม่มีมัวหมองละอองนวล

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 396  เมื่อ 30 ธ.ค. 15, 18:07

ขอบคุณครับ 

ดีใจมากที่อาจารย์เทาชมพูได้ไปพบบันทึกในบทกวีว่ามีการกินดินและดินที่กินนั้นเป็นยา     เป็นการช่วยยืนยันนะครับว่า ในดินที่คนเลือกนำมากินนั้นมีบรรดาแร่ธาตุที่ผมได้กล่าวถึงซึ่งเป็นที่ต้องการของร่างกายเรา เช่น แคลเซียมในเรื่องของกระดูก โปแตสเซียมในเรื่องของกล้ามเนื้อและสร้างสมดุลย์ (กับโซเดียม) ให้กับเซลล์ต่างๆของร่างกาย เหล็กในเรื่องของความแข็งแรงเม็ดเลือด...ฯลฯ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 397  เมื่อ 30 ธ.ค. 15, 18:46

การกินดินของคนในสมัยก่อนๆนั้นคงจะไม่มีปัญหาในเรื่องของสุขภาพใดๆตามมา  ต่างกับในปัจจุบันที่มีโอกาสจะเกิดผลร้ายแรงตามมาเนื่องจากการปนเปื้อนของแร่ธาตุที่ไม่พึงปราถนา ทั้งในรูปของการมีปริมาณสูงเกินความต้องการมากๆหรือความเป็นพิษของธาตุุนั้นๆ

จะว่าไปแล้ว คนสมัยก่อนนั้นมีความละเอียดมากในการเลือกสรรสิ่งที่จะกลือนกินลงไป  อาทิ ดินที่จะกินก็จะต้องมีความละเอียด สะอาดขาวนวล ซึ่งลักษณะเช่นนี้ดูจะบ่งบอกถึงลักษณะของดินที่มีธาตุโปแตสเซียมสูง ต่างไปจากขาวด้าน_dull_และออกไปทางร่วน ซึ่งดูจะบ่งชี้ว่าเป็นดินที่มีโซเดียมสูง
     
สีของดินก็บ่งชี้ถึงธาตุที่เข้ามาปนเปื้อน อาทิ สีแดงจะส่อว่ามีเหล็ก+2 (ferrous)  หรือสีเขียวส่อว่ามีเหล็ก+3 (ferric) หรือสนิมทองแดง, สีส้มหรือแสดส่อว่ามีสนิมเหล็ก  หรือสีคล้ำออกไปทางดำก็ส่อว่าน่าจะมีแมงกานีสสูงหรือไม่ก็มีซากพืชปนเปื้อน...เป็นต้น 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 398  เมื่อ 30 ธ.ค. 15, 19:23

สัตว์จะลงมากินดินโป่งในเวลากลางคืน โดยเฉพาะในช่วงดึกที่มีแสงสว่างจากดวงจันทร์พอที่จะมองเห็นได้ซึ่งกันและกัน    แต่ก็มีข้อมูลหรือความรู้ที่ทำให้ผมงงอยู่เหมือนกัน   

ครับ..ครั้งหนึ่ง ก็มีทั้งเซียนแห่งพรานไพรและ จนท. ก็รีบพาคนไปดูสัตว์ลงโป่งช่วงเวลาประมาณบ่าย 3 โมง และจะส่องสัตว์ในช่วงเดือนหงายเกือบเต็มดวงในวันนั้น...ในป่าทุ่งใหญ่ครับ  คิดในแง่ดีก็คงเป็นการทำ PR (ที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 399  เมื่อ 30 ธ.ค. 15, 19:38

ในทางปฏิบัติ การเดินเพื่อไปดูโป่งใหญ่นั้นไม่ยากนัก  ก็เพียงแต่เดินไปตามทางด่านสัตว์ที่เรียบและค่อนข้างกว้าง (ประมาณ 1 เมตร) หรือที่เห็นเป็นทางชัดแจ้ง  แต่ต้องอาศัยตรรกะเล็กน้อยว่าจะตัดสินใจเดินไปในทางทิศใดดี คือหากตัดสินใจไม่ถูกก็จะเดินห่างออกไป หากถูกก็จะเดินเข้าหาโป่ง ก็เท่านั้นเอง

แต่หากจะบวกกับความเฮงหรือความซวย (ขออภัยที่ใช้คำไม่สุภาพในภาษาเขียนครับ) ก็มีโอกาสจะได้พบกับผู้ยิ่งใหญ่ (ช้าง) ที่ไม่รู้จักคำว่าถอย หรือได้พบกับลูกบ้านขี้อายทั้งหลาย (เก้ง กวาง เป็นต้น)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 400  เมื่อ 01 ม.ค. 16, 06:36

สวัสดีปีใหม่ พ.ศ. 2559

   ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและอำนาจของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ได้โปรดยังความสุขสวัสดีมีชัยในการดำเนินชีวิต ในหน้าที่การงาน ในความมั่งมีศรีสุข และสุขพลานามัย มาบังเกิดยังทุกท่านสมาชิกและทุกท่านที่เข้ามาแวะเวียนอ่านกระทู้ต่างๆในเรือนไทย ตลอดปี พ.ศ.ใหม่นี้และตลอดๆไป ครับ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 401  เมื่อ 01 ม.ค. 16, 10:18

ขอบคุณในนามชาวเรือนไทยค่ะ คุณตั้ง
ขอให้คุณตั้งได้รับพรอันประเสริฐนี้เช่นกันค่ะ
อยู่เล่าเรื่องห้วยขาแข้งและเรื่องอื่นๆ ให้พวกเราได้ฟังกันตลอดไป


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 402  เมื่อ 01 ม.ค. 16, 17:40

สวัสดีปีใหม่ครับ อ.เทาชมพู

สวัสดีปีใหม่ครับ อ.ทั้งหลาย ผู้ทรงซึ่งความรู้แห่งบ้านเรือนไทยหลังนี้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 403  เมื่อ 01 ม.ค. 16, 18:09

ชาวบ้าน (กะเหรี่ยง) ในห้วยขาแข้งก็มีงานปีใหม่เหมือนกัน ผมไม่เคยไปร่วมงานกับเขา เพราะกลับมาอยู่บ้าน    อย่างไรก็ตาม ที่ บ.ไก่เกียง ชาวบ้านได้เคยจัดฟ้อนรำแสดงให้คณะของผมได้ชม เพื่อแสดงการต้อนรับอย่างเป็นมิตร (และเป็นการซ้อมไปด้วยในตัว)  ซึ่งก็เป็นการแสดงที่เป็นลักษณะ highlight ของงานรื่นเริงในวันปีใหม่

วันปีใหม่ของกะเหรี่ยงนั้น เท่าที่ผมรู้ก็คือ ไม่ตรงกับปฎิทินสากล แต่ก็เป็นเวลาใกล้ๆกัน เพราะอยู่ในช่วงเดือนมกราคมเช่นกัน  เป็นลักษณะของงานรื่นเริงในวาระเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางเกษตรประจำปี

รูปแบบและกระบวนพิธีของงานวันปีใหม่นั้นก็เหมือนๆกับงานของพิธีกรรมต่างๆ เพียงแต่เพิ่มเรื่องการฟ้อนรำเข้ามา       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 404  เมื่อ 01 ม.ค. 16, 18:34

ผมเคยได้รับการฟ้อนต้อนรับของกะเหรี่ยงหลายครั้ง ทั้งหมดเป็นการฟ้อนเป็นหมู่คณะ ไม่เคยเห็นการฟ้อนแบบเดี่ยวหรือเป็นคู่ ผู้ฟ้อนก็มีแต่สาววัยรุ่น มีกี่คนในหมูบ้านก็เท่านั้นแหละ ผมเข้าใจว่าจะต้องเป็นสาวที่ยังไม่มีคู่ครองเรือนเท่านั้นเสียอีกด้วย

ลักษณะการฟ้อนและการแต่งกายก็มีลักษณะออกไปทางพม่า ส่วนท่วงทำนองเพลงนั้นก็มาจากปากของเหล่าผู้เฒ่าทั้งหลายทั้งชายและหญิงที่ช่วยกันเปล่งเสียงออกมา   

ในบรรยากาศของแสงสว่างจากกองไฟ คบไฟ และฝุ่น  มันก็ให้ความสุนทรีย์ทางจิตใจและอารมณ์ดีนะครับ และอีกหนึ่งอย่างที่ดูจะเป็นเรื่องของการให้เกียรติกันอย่างมาก ก็คือ แขก (เกียรติยศ) จะนั่งดูอยู่บนชานเรือน แถวๆตรงห้วบันใดทางขึ้นบ้านที่พาดขอบชานเรือน     
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 25 26 [27] 28 29 ... 49
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 19 คำสั่ง