เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 24 25 [26] 27 28 ... 49
  พิมพ์  
อ่าน: 71102 ห้วยขาแข้ง เมื่อ '14 '15
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 375  เมื่อ 19 ธ.ค. 15, 20:08

แทรกเรื่องนิดนึงครับ

ที่หาดปะนานี้ เป็นสถานที่ๆได้เห็นนกยูงเป็นฝูงเลยทีเดียว  ช่วงที่เห็นนั้นเป็นช่วงเวลาบ่ายแก่ๆแล้ว   

แล้วก็นึกขึ้นได้ว่า เคยมี จนท.ที่อยู่ที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ฯห้วยทับเสลา บอกว่าที่ห้วยทับเสลาก็มีนกยูง  ผมก็เป็นงง   

...ผมก็เดินอยู่ในห้วยทับเสลา ข้ามเขาสี่กั๊ก เดินต่อตามห้วยเข้าห้วยขาแข้ง แล้วก็ไปจ๊ะเอ๋กับหน่วยจรยุธแบบประจันหน้า เอาปืนประทับบ่าส่องหัวพวกผม ใกล้ตายมากที่สุดครั้งหนึ่งเลยทีเดียว  แล้วค่อยๆเล่าไปนะครับ...

นกยูงเป็นนกบินได้ขนาดใหญ่ แม้จะไม่นิยมการบินนัก แต่มันก็บินได้ดีทีเดียว ในความรู้ของผม เมื่อพวกนกใหญ่จะบินนั้น มันต้องการที่ราบสั้นๆเพื่อเป็น runway คือมันต้องการ glide plane ที่เอียงองศาหนึ่ง และพวกนกใหญ่ก็ไม่นิยมอยู่ในพื้นที่ๆรกทึบ   ซึ่งห้วยทับเสลาค่อนข้างจะรกมากนะครับ  จึงไม่น่าจะมีนกยูงอาศัยอยู่ที่นั่น แล้วก็ไม่เคยได้ยินชาวบ้านแถวนั้้นพูดถึงนกยูงเลยเช่นกัน     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 376  เมื่อ 19 ธ.ค. 15, 20:50

เมื่อเข้าเรื่องของสัตว์ใหญ่  ก็ต้องควบคู่ไปกับเรื่องของโป่ง  เพราะว่าโป่งนั้นเป็นเสมือนแหล่งยาอายุวัฒนะของสัตว์ใหญ่ทั้งหลาย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 377  เมื่อ 20 ธ.ค. 15, 18:47

มีผู้สนใจอ่านอยู่เงียบๆหลายคนทีเดียว คงจะเก็บเกี่ยวแปรเรื่องเล่าไปเป็นข้อมูลเก็บสะสมไว้ได้เยอะแล้ว  ตอนนี้ก็คงจะเอามาสังเคราะห์กันแล้วว่า จริงหรือเท็จ หรือคิดว่าจะเอาไปใช้ประโยชน์ใดๆบ้าง

เผื่อว่า ประสพการณ์ของผมอาจจะเป็นประโยชน์ในทางวิชาการสำหรับการทำวิจัยแบบ Basic research  โดยมุ่งหวังให้มีความแตกต่างไปจากระบบทำ research ด้วยแบบสอบถามแล้วใช้วิธีการทางวิชาการสถิติวิเคราะห์สรุปผล     ผมก็จะขอใช้เรื่อง โป่ง แง้มประตูเข้าไปสู่การวิจัยแบบ basic research ของผู้ที่สนใจ ดังต่อไปนะครับ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 378  เมื่อ 20 ธ.ค. 15, 19:10

โป่ง สื่อความหมายที่สำคัญอยู่ 2 เรื่อง คือ
   - เป็นสถานที่ๆสัตว์เข้ามาแทะดินกินเพื่อเพิ่มเติมเกลือแร่ที่ร่างกายต้องการ
   - เป็นสถานที่เล็กๆที่มีความโดดเด่น ที่มีความแตกต่างไปจากสภาพแวดล้อมที่เป็น norm ในท้องที่นั้นๆ

สถานที่ๆเป็นโป่งที่มีสัตว์ลง ทั้งหมดจะเป็นจุดที่เป็นแอ่ง หรือเป็นเป็นหุบ หรือเป็นผนังห้วย  หรือเป็นหลุมยุบขนาดเล็กๆ    แต่ก็มีการใช้คำว่าโป่งที่หมายถึงสถานที่ๆเป็นจุดเปิดโล่งหรือมีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าที่มีสัตว์ลงมาหากินในเวลากลางวัน    ซึ่งหากเป็นพื้นที่ๆอยู่บนเนิน ชาวบ้านก็จะใช้คำว่า ที่เป่ง   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 379  เมื่อ 20 ธ.ค. 15, 19:55

โป่งของไทยเรามีอยู่ 2 ประเภท คือ โป่งดิน และ โป่งน้ำ (หรือโป่งน้ำซับ)

ฝรั่งใช้คำว่า salt lick ที่หมายถึงโป่งดิน และใช้คำว่า spring หรือ seepage ที่หมายถึงโป่งน้ำหรือโป่งน้ำซับ

เนื่องจากจุดที่เป็นโป่งตั้งอยู่กระจัดกระจาย  โป่งต่างๆของไทยจึงมักจะมีชื่อประจำตน เป็นชื่อที่บอกลักษณะนาม เช่น โป่งหอม (ริมฝั่งแควใหญ่ตอนบน)   โป่งเหม็น (ริมฝั่งแควใหญ่ตอนบนเช่นกัน)   โป่งสอ (ดินสีขาว ในห้วยขาแข้ง  ) โป่งน้ำซับ โป่งกระทิง (ราชบุรี)  โป่งยิบซั่ม (ใกล้ที่ทำการด่านซงไท้ เส้นทางเข้าทุ่งใหญ่ฯ)  โป่งสะเหวะ (เกริงกราเวีย อ.ทองผาภูมิ) ฯลฯ

ฝรั่งใช้คำว่า salt lick เป็นการบ่งบอกว่า เป็นสถานที่ๆสัตว์มาเลียกินดินที่มีสภาพเป็นเกลือ   

เป็นที่น่าสังเกตบางประเด็น  อาทิ โป่งแต่ละแห่งดูคล้ายกับจะมีเฉพาะสัตว์บางกลุ่มลงมากิน  บางโป่งก็มีสัตว์หลากหลายชนิดลงมากินมากเป็นพิเศษ รวมทั้งนกด้วย จนเรียกกันว่า โป่งใหญ่     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 380  เมื่อ 21 ธ.ค. 15, 19:56

ผมทิ้งท้ายข้อปุจฉาไว้สองสามเรื่อง เพื่อนำพาไปสู่เรื่องราวของโป่งในมุมทางวิชาการ   ครับ..โป่งมันก็มีอัตลักษณ์ของมันมากกว่าที่เราจะเรียกมันแต่เพียงว่าโป่งในความหมายที่หมายถึงสถานที่ๆสัตว์ลงมากินดิน
 
ในทางวิชาการสำหรับคนที่ไม่ได้เรียนมาทาง Med. หรือ Vet. อย่างผม    ผมเห็นว่ามีธาตุอยู่ไม่กี่ชนิดที่เป็น essential elements ที่ร่างกายของพวก mammals ต้องการใช้สำหรับการสร้างความแข็งแรง/ความแข็งแกร่งให้กับร่างกาย   และก็มีธาตุหลายชนิดที่ร่างกายต้องการสำหรับกระบวนการสร้างสรรและรักษาความสมบูรณ์ของร่างกาย ซึ่งเป็นธาตุในปริมาณเพียงน้อยนิดจนเกือบจะวัดหาปริมาณไม่ได้ในระดับที่เรียกว่า trace elements 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 381  เมื่อ 21 ธ.ค. 15, 21:07

essential elements ที่สำคัญที่ร่างกายใช้สำหรับโครงสร้างและกลไกของร่างกายได้แก่ ธาตุโซเดียม (Na) ธาตุโปแตสเซียม (K) และธาตุแคลเซียม (Ca) ซึ่ง Ca นี้จะปรากฎตัวอยู่ร่วมกับธาตุแมกนีเซียม (Mg)      ธาตุเหล่านี้ ในทางอนินทรีย์เคมี อยู่ร่วมกันได้และสลับที่นั่งในสารประกอบต่างๆกันได้ในอัตราส่วนต่างๆกัน ขึ้นอยู่กับ Eh, pH, Temp., Press.  เรียกว่า Solid Solution และเป็นไปตาม Goldschmidt Rules

เรื่องที่กล่าวมานี้ สำหรับคนที่จบมาทางเคมีคงจะเข้าใจได้ง่าย และคงจะได้เรียนผ่านมาแล้วกันทั้งนั้น   สำหรับผู้อื่น อย่าเพิ่งท้อนะครับ ผมเล่ามาเพื่อปูทางไปสู่เรี่อง โป่งกับสัตว์ต่างๆ   และต้องขออภัยที่จะต้องลงไปในอีกพื้นฐานหนึ่ง ในเรื่องของแร่ประกอบหิน

ก็เพราะ...เรื่องของโป่งกับสัตว์ต่างๆนั้น เกี่ยวกับเรื่องของดิน (clay minerals)   หิน (feldspathic rocks)  และเรื่องทางเคมี (ทั้ง physical-chem. และ bio-chem.) 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 382  เมื่อ 21 ธ.ค. 15, 21:10

พักไว้ตรงนี้ 1 อาทิตย์นะครับ  ผมมีความจำเป็นต้องไป ตจว.ครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 383  เมื่อ 27 ธ.ค. 15, 18:48

กลับมาแล้วครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 384  เมื่อ 27 ธ.ค. 15, 19:47

ทิ้งท้ายไว้ให้ดูน่ากลัว  แต่ผมคงไม่ลงไปลึกขนาดนั้น (และก็คงลงไปลึกๆไม่ได้)    นักวิชาการที่เรียนมาสายตรงทางเคมีและแร่ธาตุ และที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องของสัตว์ป่า  เขาเหล่านั้นมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องของโป่งลึกซึ้งมากกว่าผมเยอะแยะ      ผมเพียงแต่จะพยายามเล่าว่า ดินโป่งนั้นมันเป็นอย่างไร

ก็จะขอเริ่มต้นแบบสรุปง่ายๆว่า     ผลึกของแร่ชนิดต่างๆที่เราพบในหินต่างๆ(ที่เรียกกันว่าแร่ประกอบหิน)นั้น มีแร่อยู่ 2 ชนิดที่เราพบอยู่เป็นปรกติ ได้แก่ แร่ Quartz (ควอร์ทซ) ที่เราเรียกง่ายๆกันว่า ซิลิก้า (Silica) หรือในอีกชื่อหนึ่งที่เรียกว่า เขี้ยวหนุมาณ    และแร่ feldspars (เฟลด์สปาร์) ที่เรียกกันว่าแร่ฟันม้า ที่หากเป็นชนิดที่สวยๆ ก็เอามาทำเป็นอัญมณีที่เรียกกันว่า มุกดาหาร (Moonstone)   

Quartz มีสูตรทางเคมีว่า SiO2  ซึ่งเป็นสารประกอบพื้นฐานของแร่เกือบทุกชนิดที่เป็นองค์ประกอบของหินชนิดต่างๆ และซึ่งตัว SiO2 เองก็สามารถอยู่อย่างเป็นอิสระ เกือบจะไม่ถูกทำลายให้หายไปจากการกระทำใดๆ เช่นที่เราพบพวกมันเป็นทรายที่อยู่ในเนื้อดิน และเป็นหาดทรายที่อยู่ตามชายหาดทั้งหลาย

Feldspars เป็นแร่ที่มีสารประกอบทางเคมีที่มีส่วนผสมผสานกันในอัตราส่วนต่างๆกันระหว่างธาตุ Sodium (Na), Calcium (Ca), และ Potassium (K), Alluminium (Al), Silicon (Si), และ Oxygen (O)  เช่น Potassium feldspar (K,Al, Al2Si3O8) (ที่เราเอามาทำน้ำยาเคลือบเงาเซรามิกส์ทั้งหลาย) หรือหากเปลี่ยนจาก K เป็น Na ก็อาจจะเหมาะสำหรับการปั้นขึ้นรูป
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 385  เมื่อ 27 ธ.ค. 15, 20:40

Feldspars   เป็นแร่ที่ตกผลึกได้โดยตรงจากหินหลอมละลาย ทั้งในอุณหภูมิสูงและอุณหภูมิต่ำ  แถมผลึกของตนยังสามารถขยายขนาดเพิ่มเติมขนาดผลึกให้ใหญ่ขึ้นได้ในอัตราต่างๆในสภาพแวดล้อมต่างๆ   ปริมาณการผสมผสานของธาตุ K, Na, Ca โดยพื้นๆง่ายๆจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ  (อาทิ K มีมากหากตอนเกิดเป็นอุณหภูมิสูง ส่วน Na บ่งชี้ว่าเป็นเรื่องของอุณหภูมิต่ำ)   นั่นเป็นในด้านการกำเนิด   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 386  เมื่อ 28 ธ.ค. 15, 19:06

Feldspar และแร่อีกหลายชนิดเหล่านั้น (อาทิ Mica ที่เห็นสะท้อนแสงว๊อบแว๊บในพื้นที่ทรายต่างๆ) เมื่อสภาพแวดล้อม (pH, Eh, P, T) ได้เปลี่ยนแปลงมากไปจากสภาพที่มันถือกำเนิดมามากๆ สารประกอบทางเคมีที่ประกอบกันเป็นแร่นั้น มันก็ขยับปรับต้ว เปลี่ยนแปลง (alteration) ไปเป็น Clay minerals (แร่ดิน)ได้

clay minerals มีอยู่หลากหลายแร่เช่นกัน แต่ผมจะขอแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ พวกที่ไม่อมน้ำ เช่น Kaolinite ที่เราเรียกว่าดินขาว ที่เราเอามาทำเครื่องเซรามิกส์ชั้นดีทั้งหลาย   และพวกที่อมน้ำ แล้วขยายตัวได้หลายเท่า เช่น กลุ่มแร่ Smectite ที่มีอยู่ในผืนดินที่มีการแตกระแหงมากๆในฤดูแล้ง

แล้วก็จะขอขยายความอีกนิดนึงว่า แร่ดินทั้งหลายนั้น มีโครงสร้างทางเคมีที่มีปลายเปิดพอที่จะจับกับธาตุต่างๆได้หลากหลายธาตุเลยทีเดียว   ครับ..ดินจึงมีสีได้ต่างๆ เช่น เหลือง แดง ดำ แถมยังจับเอาโลหะหนักมาเก็บไว้ในตัวได้ด้วย   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 387  เมื่อ 28 ธ.ค. 15, 19:15

ไม่ลงลึกไปกว่านี้แล้วครับ เดี๋ยวจะหลงป่าไปด้วยกัน 

ที่เล่ามา ก็คงเพียงพอที่จะทำให้เห็นภาพได้แล้วว่า ดินโป่ง หรือ salt lick นั้นอุดมไปด้วยแร่ธาตุได้อย่างใร และด้วยเหตุใดจึงทำให้สัตว์เลือกที่จะมากินกัน ณ จุดใดจุดหนึ่ง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 388  เมื่อ 28 ธ.ค. 15, 19:36

ก็คงจะพอเห็นภาพได้อีกว่า โป่งแต่ละโป่งจะมีความต่างกันได้อย่างไรบ้าง

ก็ด้วยการที่มีคุณสมบัติค่อนข้างจะจำเพาะ (ของแต่ละโป่งหรือไม่ก็ไม่รู้..เนาะ ?) จึงทำให้พบว่าโป่งมีได้ในป่าทุกประเภท   มีระยะทางของด่านสัตว์ (ทางเดิน) ที่มาลงโป่งต่างกัน (เป็นโรงหมอระดับเยี่ยม ?)   มีความกว้างของทางด่านและความไม่รกต่างกัน (เป็นด่านไหญ่ มีสัตว์หลากหลายชนิดมาลงเป็นประจำ)  ...เป็นต้น   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 389  เมื่อ 28 ธ.ค. 15, 19:48

ก็มีข้อเท็จจริงอยู่ว่า สัตว์ทั้งหลายที่เป็นแฟนประจำที่จะต้องเข้ามากินดินโป่ง ล้วนแต่เป็นสัตว์ประเภทกินพืช (herbivorous animals)   ก็จึงพอจะกล่าวได้ว่า  ดินโป่งเป็นอาหารเสริม (supplementary diet) ของสรรพสัตว์ทั้งหลาย  ...คงไม่ผิดเนาะ...
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 24 25 [26] 27 28 ... 49
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 19 คำสั่ง