เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 49
  พิมพ์  
อ่าน: 70746 ห้วยขาแข้ง เมื่อ '14 '15
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 270  เมื่อ 14 พ.ย. 15, 20:03

ต่อครับ

ตกใกล้สว่าง ความตึงเครียดก็หมดไป สุนัขนอนนิ่ง วัวหยุดกระสับกระส่าย ก็น่าจะเป็นสัญญาณบอกได้ว่าเสือลำบากจากไปแล้ว แต่เราก็ยังคงเกรงอยู่   รอจนฟ้าสว่างแจ้ง พอมองเห็นได้ในระยะไกลแล้ว เราจึงเริ่มกิจกรรมประจำวัน คือเริ่มกระวนการหุงหาอาหาร เดินข้ามแคมป์ไปพูดคุยสอบถามกัน  ด้วยความไม่ค่อยจะมั่นใจของทั้งเราและชาวบ้าน ก็เลยตกลงจะเดินเข้าป่าด้วยกันเป็นกลุ่มใหญ่ แล้วจึงค่อยแยกย้ายกันไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 271  เมื่อ 14 พ.ย. 15, 20:23

นึกภาพออกถึงอารมณ์เครียด     ถ่างตาอยู่ทั้งคืน เฝ้าระวังว่าเสือจะเยี่ยมกรายเข้ามาในนาทีไหน    แถมยังรู้ด้วยว่า ถ้าเสือมาจริงๆ อาวุธที่มี  ก็อาจจะไม่พอจัดการกับเสือ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 272  เมื่อ 15 พ.ย. 15, 18:53

ใช่เลยครับ

หลักการป้องกันอันตรายเมื่อตั้งแคมป์ในป่าใหญ่ คือ
   หลักแรก ไม่ตั้งทับบนทางเดินของสัตว์ (ด่านสัตว์) เหตุผลสำคัญก็คือ ด่านสัตว์มักมีบริเวณที่ราบและกว้างพอจะตั้งเต็นท์หรือแคมป์ได้ และซึ่งก็มักจะเป็นด่านของสัตว์ใหญ่ ซึ่งก็มักจะเป็นด่านช้างเสียอีกด้วย  ช้างนั้นเป็นทั้งนักสร้างและนักทำลาย สัตว์ป่าทั้งหลายใช้ infrastructures ที่ช้างได้สร้างขึ้นมาทั้งนั้น    เราเองก็เช่นกัน พื้นที่ๆน่าจะตั้งเต็นท์หรือแคมป์เหล่านั้น (ที่ราบ มีน้ำไหล โปร่ง สวยงาม) แท้จริงแล้วจะมีด่านช้างอยู่ใกล้ๆเสมอ เพราะเป็นพื้นที่ๆช้างใช้เดินข้ามห้วย แวะชำระร่างกายในแอ่งน้ำ แล้วขึ้นจากน้ำมาประฝุ่นทรายก่อนที่จะเดินทางต่อไป ช้างก็รักสวยรักงามเหมือนกัน         
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 273  เมื่อ 15 พ.ย. 15, 19:14

หลักที่สอง คือ หาขอนไม้แห้งขนาดประมาณหมอนข้าง ยาวประมาณหนึ่งวา 1-2 ท่อน ลากเอามาแล้วสุมไฟให้ติดไฟแบบกรุ่นๆ มิใช่ให้โชติช่วงแบบแคมป์ไฟของลูกเสือ  แล้วก็ไปหาเศษกิ่งไม้ขนาดประมาณท่อนแขนของเรา เอามาตัดเป็นท่อนๆยาวประมาณไม้บรรทัด รวมทั้งกิ่งไม้แห้งประมาณขนาดนิ้วมือ และใบไม้แห้งพอประมาณ

ทั้งหมดนี้ก็เพื่อหลายเพื่อเลยทีเดียว  เพื่อใช้ทำอาหารนั้นแน่นอน เพื่อให้ความอบอุ่นก็ใช่ เพื่อไล่ยุงและแมลงก็ใช่ (โดยใช้ใบกึ่งสด ก็จะได้ควัน) เพื่อให้แสงสว่างหรือใช้เป็น flare ไล่สัตว์ช่วงกลางคืนที่มืดสนิท  เป็นเชื้อไฟสำหรับการใช้ไฟที่รวดเร็วในครั้งต่อๆไป ........ คงนึกออกนะครับว่าทำอะไรได้อีกสารพัด

ที่อาจจะนึกกันไม่ออก ก็คือ ไม้ท่อนขนาดประมาณศอกของเรานั้น จะต้องไปหามาและเสียเวลาตัดให้มันสั้นขนากประมาณศอกของเราเอาไว้ทำไม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 274  เมื่อ 15 พ.ย. 15, 19:34

ก็เอาไว้จุดไฟคล้ายคบเพลิง แล้วเขวี้ยงไล่สัตว์ป่าที่มารบกวน (จะเข้ามาลุยแคมป์) ให้ถอยออกไป 

วิธีนี้ก็เป็นหนึ่งในการเตรียมการรับเสือลำบากที่ได้เล่ามา แต่จะไล่เสือได้สำเร็จหรือไม่นั้นไม่รู้ครับ    ก็เป็นวิธีการที่เอามาจากประสบการณ์ไล่ช้างหลายตัวที่พยายามจะเข้ามาลุยแคมป์ ก็เกือบทั้งคืนเช่นกัน ตั้งแต่ประมาณสองทุ่มไปจนประมาณตีสามเห็นจะได้ ในป่าห้วยแม่สิน เขตต่อสามอำเภอระหว่าง อ.เด่นชัย จ.แพร่ อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย และ อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์  เรียกว่าผืนป่าแม่คะมึงครับ

อาวุธสำคัญก็มีเพียงไม้ท่อนที่จุดในลักษณะคบเพลิง กับไฟฉายคนละกระบอก สู้รบปรบมือกันได้สองสามคืน ก็ต้องยอมแพ้ครับ อดหลับอดนอนมากเกินไปที่จะมีแรงเดินทำงานในช่วงกลางวัน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 275  เมื่อ 17 พ.ย. 15, 19:01

เมื่อวานนี้ไปหาหมอครับ กลับมาค่ำแล้วก็เลยไม่ได้เขียนอะไร ถือโอกาสพักไปด้วยครับ

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 276  เมื่อ 17 พ.ย. 15, 19:38

หลักที่สาม คือ ตามไฟไว้ตลอดทั้งคืนด้วยตะเกียงรั้ว แต่มิใช่เอาตะเกียงแขวนไว้ที่หัวเสาเต็นท์นอนนะครับ อันตรายครับ  ให้แขวนไว้ในด้านที่ค่อนข้างเปิด ห่างจากด้านปลายเท้าตัวเราประมาณ 4-5 เมตร  ไม่จำเป็นต้องตั้งไฟให้สว่างโร่ ให้สว่างพอมองเห็นได้รอบๆก็พอ

ตามไฟแบบนี้ อะไรเข้ามาก็เห็น แถมเมื่อมีกองไฟที่ติดไฟกรุ่นอยู่ตลอดเวลา สัตว์ใดๆก็ไม่อยากเข้ามาหรอกครับ  มันเป็นธรรมชาติพื้นฐานของสรรพสัตว์ทั้งหลายที่จะพยายามอยู่ห่างจากไฟ (และควันไฟ)  ก็ไฟป่านั้นไม่เข้าใครออกใครเลยทีเดียวใช่ใหมครับ   

สัตว์ที่ผมเห็นรีบโฉบเข้ามาในเขตไฟป่า ก็เห็นจะมีแต่นกเท่านั้น บินโฉบเฉี่ยวจับแมลงที่บินหนีไฟกันว่อนเลย นกมันเก่งนะครับ มันแยกออกระหว่างแมลงกับเถ้าถ่านที่ปลิวว่อน

สัตว์ที่น่าสงสารซึ่งหนีไฟได้ช้าที่สุด ก็เห็นจะเป็นเต่า  ผมเคยช่วยมันอยู่สองสามตัวเหมือนกัน คลานอยู่ในขี้เถาจากไบไม้ ต้วมเตี้ยมๆ ก็เอาเขาไปปล่อยริมห้วยจุดที่มีน้ำ เห็นท่าทางความดีใจของมันแล้วก็ชื่นใจ เอาห้วจุ่มน้ำ แล้วก็ชูคอสูงขึ้นมา แบบมีความสุขว่ารอดตาย    ที่จริงแล้วมันคงจะหนีไฟป่าได้ทันทุกตัว เพราะไม่เคยเห็นซากของมันในลักษณะที่ถูกไฟเผาเลย  เต่าที่ว่านี้มีอยู่สองพันธ์ุ คือเต่าหก กับอีกพันธุ์หนึ่ง นึกชื่อไม่ออกครับ     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 277  เมื่อ 17 พ.ย. 15, 20:08

ขอต่อเรื่องเสือลำบากตัวนี้ให้จบเรื่องเสียก่อน แล้วจะขอย้อนกลับไปเรื่องของไก่ให้จบเรื่อง แล้วคงย้อนกลับมากับเรื่องของเสืออีกครั้งนะครับ

เรื่องของเสือลำบากนี้ เป็นข่าวที่กระจายอย่างรวดเร็วและไกล  ก็มีทั้งคนที่กลัวซึ่งก็จะยังไม่เข้าไปหาของป่า ต้องรอจนกว่าจะรู้ว่าเสือได้ตายไปแล้วแน่ๆ  แล้วก็มีคนที่กล้า ขมีขมันที่จะเข้าป่าตามไปหามัน แต่ก็กล้าแบบต้องเข้าไปเป็นกลุ่มสามสี่คน   มิใช่เรื่องอะไรหรอก ไปเอาซากมาขาย ก็มันขายได้ทั้งตัวเลยนี่ ราคาออกสูงลิ่ว   ส่วนเนื้อและตับไตใส้พุงทั้งหลายนั้นก็ทิ้งไป   เนื้อเสีอเป็นหนึ่งในมังสา 10 อย่างที่มีพุทธบัญญัติห้ามบริโภคไว้

ที่ชาวบ้านเขาตามเข้าไปนั้น มิใช่ไปยิงซ้ำนะครับ เพียงแกะรอยตามไปหาจุดที่มันตาย   เขาว่าเสือที่มีแผลบาดเจ็บมันหรือเสือลำบากนั้นจะตายเองในระยะเวลาประมาณ 7 วัน  เพราะว่าเสือนั้นเป็นสัตว์ที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร เรียกว่าใหญ่สุด มีอำนาจและความดุร้ายมากสุด แล้วก็ขี้รำคาญที่สุดเหมือนกัน   เมื่อมีแผลระดับแผลฉกรรจ์ เลือดออกแห้งเกรอะกรังเลอะเทอะ แมลงต่างๆก็มาตอมแผล เกิดความรำคาญก็งับแมลงบ้าง เกาที่แผลบ้าง แผลก็เลยเหวอะหวะมากขี้น จากนั้นก็ติดเชื้อ เน่าและถึงตายในที่สุด   ผมไม่เคยเห็นกับตานะครับ  แต่ในเหตุการณ์ครั้งนั้น อีกสองสามวันต่อมา ชาวบ้านก็นมาบอกว่าเสือลำบากตัวนั้นมันตายแล้ว มีคนไปพบซากมันแล้ว ทุกคนก็เลยเดินป่าด้วยสบายใจ 
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 278  เมื่อ 17 พ.ย. 15, 20:25

เฮ้อออ....โล่งอกไปด้วย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 279  เมื่อ 18 พ.ย. 15, 17:44

ครับ ก็โล่งอกไปเรื่องหนึ่ง แต่ก็ยังอยู่ในพื้นที่เสือชุกชุมครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 280  เมื่อ 18 พ.ย. 15, 18:14

กลับมาต่อเรื่องไก่ป่านะครับ

โดยทั่วๆไปไก่ป่าที่เราพบมักจะเป็นตัวผู้  แต่ผมได้มีโอกาสอยู่กับฝูงตัวเมีย 4 ตัวที่มีลูกเจี๊ยบประมาณ 5-6 ตัว  คงพอจัดได้ว่าเป็นฝูงใหญ่  (ฝูงตัวเมียเท่าที่ผมเคยเห็นมา ตามปรกติจะมีเพียงสองสามตัวเท่านั้น)

วันนั้นคงจะเป็นเพราะต่างคนต่างไม่เห็น และต่างก็ไม่ระแวงภัย ก็เลยจะเอ๋กัน เราเห็นมีลูกเจี๊ยบก็สนใจที่จะเข้าไปจับดูเล่น ตัวลายๆน่ารักมากๆ ก็เดินเข้าไปประชิดกลุ่มไก่ แม่ไก่ก็ไม่เอะอะตกใจ แต่พอเราเริ่มย่อตัวลง แม่ไก่ทั้งหลายก็รีบเดินหนีไปแบบกึ่งวิ่ง ทิ้งลูกเจี๊ยบไว้ให้ดูต่างหน้า

พอแม่ไก่จากไป ลูกเจี๊ยบทุกตัวก็ทำการหมกซ่อนตัวอยู่ใต้ใบไม้แห้ง ก็เห็นๆอยู่นะครับว่าตำแหน่งของลูกเจี๊ยบแต่ละตัวอยู่ที่จุดใหน แต่เอามือคลำหาเพียงใดก็ไม่พบ ในที่สุดก็ลุกขึ้นยืนแล้วใช้เท้ากวาดเขี่ยไปมา ก็ยังไม่เห็น ไม่มีเสียงร้องจากมันเลย จนถูกเหยียบตายไปตัวหนึ่ง ก็เลยเลิก   

เล่ามาเพื่อให้เห็นภาพการพรางตัวด้วยสีขนของมัน วิธีการหลบภัยด้วยการทำตัวเป็นหนึ่งเดียวกับใบไม้ การพลิกไปพลิกมาตามใบไม้ และการไม่ส่งเสียงร้องใดๆ   ต่างกับกรณีไก่เลี้ยง เมื่อจะไปจับลูกเจี๊ยบของมัน แม่ไก่มันมักจะกางปีกไล่ ปกป้องลูกของมัน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 281  เมื่อ 18 พ.ย. 15, 18:55

เขียนถึงลูกเจี๊ยบ ก็ต้องพูดถึงไข่ของมันด้วย    แม่ไก่ป่าจะเลือกสถานที่วางไข่ตรงจุดที่มีลักษณะเป็นแอ่ง ซึ่งมีทั้งที่เกิดจากกิ่งไม้ตวัดพันกันไปมา และตามขอนไม้ที่ผุ   เห็นไข่แล้วก็อย่าไปจับไข่ของมัน ว่ากันว่ามันจะไม่กลับมากกไข่อีกเลย  ดังนั้น หากพลั้งเผลอไปหยิบขึ้นมา  ก็ให้เก็บเอามาทั้งหมดเอามาทำอาหารเสียเลยจะดีกว่า

ผมเคยเห็นทั้งที่มีแต่รังไข่ ไม่มีตัวแม่ไก่ และทั้งที่มีแม่ไก่กำลังกกอยู่ แล้วทำให้มันตกใจบินหนีก็มี    ก็ไม่รู้ว่าที่มันทิ้งกองไข่ไว้นั้น หรือที่บินหนีไปนั้น มันจะกลับมากกต่อหรือไม่    แต่เมื่อใดที่มีไฟป่ากำลังลามแล้วไปพบไข่มันเข้า ก็จะเก็บเอามากินอย่างเดียวเลยครับ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 282  เมื่อ 18 พ.ย. 15, 19:15

จากเรื่องไก่ป่าก็ไปเรื่องไก่ฟ้า

ไก่ฟ้าหากินอยู่ในบริเวณที่มีพื้นดินค่อนข้างชื้นและบริเวณรอยต่อกับพื้นดินแห้งที่ไก่ป่าหากิน  ไก่ฟ้าคุ้ยเขี่ยหาแมลงกินเป็นหลัก ต่างจากไก่ป่าที่คุ้ยหาเมล็ดพืชกินเป็นหลัก

ไก่ฟ้าในห้วยขาแข้งพบได้ไม่บ่อยครั้งเท่ากับไก่ป่า ไม่เชื่องเท่ากับไก่ป่า แต่ก็ไม่หนีเมื่อเห็นคน และไม่สามารถเข้าใกล้ได้ 
นึกออกแต่ว่าเคยพบรังไข่ไก่ฟ้าอยู่ครั้งเดียว แต่จำเรื่องราวรายละเอียดไม่ได้แล้ว 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 283  เมื่อ 18 พ.ย. 15, 19:40

ไก่ฟ้าเป็นสัตว์ที่ไม่มีคนยิงเอามาทำอาหาร  มีแต่ใช้วิธีการดักจับด้วยแล้วที่ทำขึ้นมาอย่างง่ายๆจากกิ่งไม้และบ่วงเชือก หรือใช้การขโมยไข่ของมันมาฟักเอง 

ที่จริงแล้ว ผมไม่เคยเห็นชาวบ้านพยายามหาไก่ฟ้ามาทำอาหารเลย  หากมันจะสูญพันธุ์จริงๆก็น่าจะเป็นเพราะคนกรุงเสียมากกว่า คือ ล่าดะด้วยความคะนองมือเท่านั้น

ชาวบ้านป่าและพรานไพรมีความเชื่อกันว่า หากเอาเนื้อนก (สัตว์ปีก) ขนาดใหญ่มากินกัน ก็จะแตกแยกกันในที่สุด มีแต่เรื่องอัปมงคลเกิดขึ้นในชีวิต ซึ่งก็พอจะมีเหตุผลอยู่ว่า บรรดานกขนาดใหญ่นั้น มักจะเป็นพวก monogamy (ผัวเดียวเมียเดียวทั้งชีวิต)      แล้วก็เชื่อกันว่าพวกนกกินเนื้อ/แมลง จะมีเนื้อสีแดง มีกลิ่นสาบ ไม่น่ากินเลย  ซึ่งก็พอมีเหตุผลอยู่บ้างที่ทำให้ไก่ฟ้าไม่ถูกล่า 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 284  เมื่อ 18 พ.ย. 15, 20:42

กูเกิ้ลโชว์ไก่ฟ้าไว้หลายสายพันธุ์    ดิฉันเลือกมาตัวหนึ่ง สวยกว่าเพื่อน
ไม่ทราบว่าเป็นไก่ฟ้าอย่างที่คุณตั้งเจอหรือเปล่า


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 49
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 19 คำสั่ง