naitang
|
ความคิดเห็นที่ 165 เมื่อ 22 ก.ย. 15, 18:11
|
|
ต่อเรื่องขาแข้ง
สรุปได้ว่า มีข้อมูลเพียงพอทึ่จะวางแผนการทำงานได้ว่า แต่ละครั้งที่เข้ามาทำงานเดินสำรวจอยู่ในพื้นที่รับน้ำของห้วยขาแข้ง (catchment area) นี้
- จะต้องเตรียมอะไรบ้าง -- วัสดุอุปกรณ์สำรวจ? เครื่องนอน? เครื่องกิน? อุปกรณ์สำหรับยังชีพ? คนงาน? การสื่อสารกับโลกภายนอก? การจัดการกับปัญหาอุบัติเหตุ? ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน? ฯลฯ วู้..วววว
สรุปง่ายๆว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้ได้งานมากที่สุด ใช้เวลาน้อย ใช้เงินน้อยและคุ้มค่าที่สุด และที่สำคัญคือจะต้องมีชีวิตรอดและปลอดภัย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 166 เมื่อ 22 ก.ย. 15, 19:05
|
|
- เตรียมอย่างไร -- หลักๆก็อยู่บนเรื่องของการ packing ฉายภาพให้เห็นง่ายๆว่า หากเป็นม้าต่าง จะต้องบรรทุกสัมภาระห้อยอยู่ด้านข้างของตัวม้า หากเป็นช้างก็บรรทุกของบนหลัง หากเป็นคนงานก็ได้ทั้งแบก หาบ และหาม รูปแบบของการจัดสิ่งของและปริมาณสิ่งของบรรทุกมีความแตกต่างกันมาก รวมไปถึงค่าใช่จ่ายที่แตกต่างกันด้วย
หากใช้ม้า packing ก็ควรจะมีลักษณะคล้ายกระเป๋าเสื้อผ้า ก็คงจะต้องมีจำนวนมากชิ้นและต้องใช้ม้าหลายตัว จะต้องมีทีมของผู้ควบคุมม้าอย่างน้อยก็สองคน (หัวขบวน-ท้ายขบวน) ม้ามีปัญหาเรื่องกิน จึงมีการใช้ในลักษณะของการขนของระหว่างจุดที่พักหนึ่งไปยังอีกจุดที่พักหนึ่ง ไม่เหมาะสำหรับใช้ในการเดินต่อเนื่องทุกๆวันเข้าไปในพื้นที่ป่าเขา
ข้อสำคัญ คือ ม้าเป็นสัตว์ขี้ตื่น ตกใจง่าย เตลิดเปิดเปิงง่าย กลัวงูและไม่ถูกกับช้าง
เสียงของสัมภาระที่บรรทุกที่กระทบกันเสียงดังในขณะเดิน ก็ทำให้ม้ากลายเป็นม้าเต้นได้ ยิ่งขยับมาก เสียงกระทบกันก็ยิ่งดัง ยิ่งกระโดดเตะ (พยศ) ก็ยิ่งมีเสียงดังมากขึ้น เพื่อนๆม้าด้วยกันก็เลยช่วยกันผสมโรง ช่วยกันกระโดดเตะ ผลก็คือสิ่งของที่บรรทุกมาทั้งหมดนั้นก็บรรลัยยับเยิน ให้ภาพทั้งขำและเซ็งไปพร้อมๆกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 167 เมื่อ 22 ก.ย. 15, 19:39
|
|
- เตรียมปริมาณเท่าใด --- หลักๆก็เป็นเรื่องของการกิน ก็จึงหนีไม่พ้นในเรื่องของข้าวสารอาหารแห้ง ในการเข้าพื้นที่สำรวจของผมแต่ละครั้งนั้น เป็นพฤติกรรมปรกติของผมที่จะซื้อวัตถุดิบ เป็นเนื้อหมู เนื้อวัว อย่างละ 1-2 กก. เป็นพวกผักที่ใช้ในแกงเผ็ดชนิดละ 1 กก. และอื่นๆที่ใช้ทำอารหารสำหรับสองวันแรกที่เข้าไปถึงพื้นที่สำรวจ จากนั้นก็หากินเองไปวันๆ สุดแท้แต่ว่าจะหาอะไรได้
ที่ไม่ลืมและต้องเตรียมทุกครั้งก็คือ เหล้าสี (แม่โขง 2-4 ขวด) บุหรี่ (กรุงทองหรือกรองทิพย์ 2 ห่อ, =20ซอง) เหล้ายาดองจีน 1 ขวด สำหรับพ่อครัวและลูกครัว ของพวกนี้เป็นสื่อกลางของความเคารพและการยื่นความเป็นมิตรไมตรีต่อเจ้าที่เจ้าทาง เจ้าป่าเจ้าเขา กำนันผู้ใหญ่บ้าน และผู้มีทรงอำนาจในพื้นที่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Anna
|
ความคิดเห็นที่ 168 เมื่อ 22 ก.ย. 15, 20:23
|
|
ต่อเรื่องขาแข้ง
สรุปได้ว่า มีข้อมูลเพียงพอทึ่จะวางแผนการทำงานได้ว่า แต่ละครั้งที่เข้ามาทำงานเดินสำรวจอยู่ในพื้นที่รับน้ำของห้วยขาแข้ง (catchment area) นี้
- จะต้องเตรียมอะไรบ้าง -- วัสดุอุปกรณ์สำรวจ? เครื่องนอน? เครื่องกิน? อุปกรณ์สำหรับยังชีพ? คนงาน? การสื่อสารกับโลกภายนอก? การจัดการกับปัญหาอุบัติเหตุ? ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน? ฯลฯ วู้..วววว
สรุปง่ายๆว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้ได้งานมากที่สุด ใช้เวลาน้อย ใช้เงินน้อยและคุ้มค่าที่สุด และที่สำคัญคือจะต้องมีชีวิตรอดและปลอดภัย
เข้าใจว่าไม่มีหมอร่วมเดินทางไปด้วยใช่ไหมคะ อาจารย์ต้องมีความรู้ทางการแพทย์ด้วยใช่ไหมคะ เวลาป่วยในป่าจะได้รักษาตัวเอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 169 เมื่อ 23 ก.ย. 15, 18:33
|
|
เรื่องเตรียมยานั้นมีแน่ๆครับ แต่จะขอต่ออีกหน่อยแล้วค่อยขยายเรื่องยา
รู้ว่าจะต้องเตรียมการยังไงแล้ว ก็มาถึงเรื่องการนัดแนะกันว่า เราจะเริ่มทำงานกันจริงๆเมื่อใด ซึ่งจะกำหนดๆได้ก็ต่อเมื่อได้เดินไปทำความรู้จักกับชาวบ้านในพื้นที่นั้น อธิบายความว่าเราจะมาทำอะไร จะมาในรูปแบบใหน ฯลฯ ก็เพื่อมิให้เกิดความเข้าใจผิดแบบที่เคยโดนมาแล้ว
(ผมเคยถูกชาวบ้านเอาปืนจี้จับส่งตำรวจขณะเดินทำงานอยู่ในแม่น้ำยม ใกล้ๆกับ อ.วังชิ้น จ.แพร่ ฤๅจะต้องแยกเป็นอีกกระทู้เรื่อง ทำงานอยู่ในพื้นที่สีชมพูแก่ ?)
นอกจากไปพูดคุลกับชาวบ้านแล้ว ก็ยังมีเรื่องของการจ้างคนงาน และการดูสภาพพื้นที่จริงว่ากันดารหรือสมบูรณ์ระดับใด
หลักๆในการเดินเข้าพื้นที่ครั้งแรกนี้ ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับด้านความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินทั้งสิ้น รู้จักคน รู้จักหน้าตา รู้จักสังคม/วิถีชีวิตประจำวัน อุปนิสัยใจคอ หลักนิยมพื้นฐานของความคิด/วิธีปฎิบัติต่างๆ ฯลฯ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 170 เมื่อ 23 ก.ย. 15, 19:18
|
|
เอาละครับ กลับมาขยายความเรื่องของยา การเจ็บป่วย และโรคภัยต่างๆ
แท้จริงแล้วผมตั้งใจจะเรียนแพทย์ เพราะคุณยายก็เป็นแพทย์แผนโบราณ พ่อเป็นหมอแม่เป็นพยาบาล น้าและน้าสะไภ้ก็เป็นหมอกับพยาบาล ป้าก็ทำร้านขายยาแผนโบราณ ผมสนุกกับชีวิตมากไปหน่อยเลยตกตั้งแต่วิชาพื้นฐานแรกๆเลย แต่ก็ยังมีความใฝ่รู้เรื่องทางแพทย์อยู่ลึกๆในใจ ครับ..ก็เลยพอจะมีอะไรติดไม้ติดมืออยู่บ้างสำหรับการรักษาชีวิตให้รอดหรือมิให้รุนแรงมากไปกว่าที่ควรจะเป็น
ตัวผมนั้นคิดว่าในกรณีของการเดินทางไปต่างถิ่นใดๆนั้น ความเจ็บป่วยที่ค่อนข้างจะเป็นธรรมดาสำหรับคนทั่วๆไปนั้นมีอยู่ใน 3 เรื่อง คือ เกี่ยวกับท้อง ซึ่งหลักๆก็คือ ท้องเสีย กับ ปวดท้อง เกี่ยวกับความเจ็บ ซึ่งหลักๆก็คือ ปวดหัว กับ ปวดเมื่อย เกี่ยวกับไข้ ซึ่งสำหรับกรณีการเข้าป่าก็คือ ไข้มาลาเรีย และไข้อื่นๆ
ผมใช้แนวคิดที่กล่าวมานั้นในการวินิจฉัยว่า serious หรือไม่ จะต้องถึงมือหมออย่างเร็วหรือไม่ ซึ่งก็จะต้องดูแบบ holistic ด้วย และซึ่งผมก็ใช้หลักนี้สำหรับการวางแผนเส้นทางการเดินสำรวจในป่าลึกทุกๆครั้ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 171 เมื่อ 23 ก.ย. 15, 19:46
|
|
ยาที่ผมจะเตรียมไปจึงประกอบไปด้วย - ยาแก้ปวด APC (สมัยนั้น APC เป็นยาแก้ปวดหลักที่มีขายโดยทั่วไป) ซึ่งอนุโลมใช้สำหรับกรณีมีอาการปวดต่างๆ เท่าที่มีความรู้ในขณะนั้นคือ ยานี้กัดกระเพาะอาหาร ขับออกโดยไต จึงต้องกินในขณะที่ท้องไม่ว่างและให้ดื่มน้ำเยอะๆตาม - ยาเกี่ยวกับท้อง ได้แก่ ยาธาตุน้ำขาว แก้ท้องเสียและอาการปวดถ่าย ยาถ่านกัมมันต์ ดูดพิษในลำใส้ และยาลดกรดในกระเพาะแบบเม็ด - ยา Qualaquin สำหรับกันไข้มาลาเรีย ทานครั้งละ 2 เม็ด สัปดาห์ละครั้ง
นอกจากยาเหล่านี้ ก็มีพวกยาสำหรับการทำแผลทั้งหลาย ก็มี ยาแดง ยาเหลือง ผ้า gauze และผ้าพันแผล แล้วก็ยาแก้ปวดเมื่อกล้ามเนื้อ
ผมเห็นว่า ยาไม่กี่ชนิดดังกล่าวนี้แหละ คือ แก่นแท้ของยาสามัญประจำบ้านป่าตัวจริง เดินป่ามาหลายปีก็ไม่หนียาเหล่านี้แหละครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 172 เมื่อ 24 ก.ย. 15, 18:29
|
|
ผู้คนตั้งแต่ยุคแรกเริ่มคอมพิวเตอร์ใช้ CPU 8086 คงเกือบจะไม่เคยได้ยินยาแก้ปวด APC เลย ในปัจจุบันนี้ ยานี้ได้ลดส่วนผสมลงเหลือเพียง Aspirin ตัวเดียว และใช้เป็นยาหลักเกี่ยวกับเรื่องของลิ่มเลือดในหลอดเลือด แต่ในอดีตนั้นมันเป็นยาแก้ปวดแก้ไข้ที่ชะงัดนักซึ่งมีการผลิตจำหน่ายในท้องตลาดใน 2 รูปแบบ คือแบบเม็ด และแบบผงอยู่ในซอง
ผมต้องซื้อทั้งสองแบบ แบบเม็ดนั้นไว้ใช้เอง ส่วนแบบผงนั้นจะซื้อแบบยกกล่อง ซื้อครั้งแรกก็เพียงครึ่งกล่อง ต่อมาต้องซื้อเป็นกล่อง จากหนึ่ง ก็เป็นกล่องครึ่งหรือสองกล่อง จำไม่ได้แล้วครับว่ากล่องหนึ่งมีกี่ซอง จำได้แต่ว่าร้านขายยาขายขายปลีกซองละ 25 สตางค์ ที่จริงแล้วยาทั้งสองลักษณะนี้ดูเหมือนจะมีส่วนผสมที่ต่างกัน ยาแบบซองนั้นไม่มีส่วนผสมของ P มีแต่ A (Aspirin) กับ C (Caffeine)
ที่เอาเรื่องยานี้มาขยายความก็เพราะว่า มันมีความสำคัญในเชิงของการเป็นปัจจัยหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านป่า มันออกฤทธิที่ทำให้เขาเหล่านั้นมีความสุขในวันที่ได้รับยานี้ โดยเฉพาะในหมู่คนที่เสพฝิ่นและมีอาการแบบกึ่งติด และซึ่งผมพบว่า มีการใช้ยานี้ในหมู่ชาวบ้านในเขตพื้นที่ป่าเขาด้านตะวันตกของไทยมากกว่าในพื้นที่ป่าเขาอื่นๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 173 เมื่อ 24 ก.ย. 15, 18:51
|
|
รู้มาแต่แรกๆเริ่มทำงานเมื่อปี 12 แล้วว่า ชาวบ้านในป่าดงชอบใช้ยานี้แก้อาการปวดเมื่อยต่างๆตามร่างกาย ชาวบ้านในห้วยขาแข้งก็เช่นกัน มีแต่ถามถึงและขอยานี้ ผมก็ว่ามีแล้วก็ให้ไปสองสามซอง เจอะเจอกันเมื่อใดก็ขอ แล้วก็เห็นวิธีเขากินกัน อย่างน้อยก็วันละซองในตอนเช้า หรืออีกซองหนึ่งในตอนเย็น กินง่ายๆมากครับ ฉีกซองแล้วเทใส่ปากเลย แล้วตามด้วยน้ำ มีทั้งกินตอนท้องว่างและไม่ว่าง (ผมก็เคยกินแบบเขาเพื่อแก้อาการปวดหัวอันสืบเนื่องมาจากการดื่มเหล้า มีรสเปรี้ยวๆ กินไปสองสามครั้งก็รู้สึกชินกับรสชาตินั้น)
คนงานของผมก็กินแบบนี้ ซึ่งผมก็ได้เห็นเขามีความสุข มีความกระชุ่มกระชวยไปตลอดทั้งวันจนจรดเย็น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 174 เมื่อ 24 ก.ย. 15, 19:16
|
|
อย่าไปคิดว่า aspirin เป็นยากล่อมประสาท หรือยาคลายเครียดใดๆนะครับ
ความจริงที่ผมได้พบเห็นก็คือ ในการเสพฝิ่นนั้น ไม่ว่าจะเป็นแบบใด จะมีการผสมผงยานี้ลงไปด้วยเสมอ และซึ่งเมื่ออาการขาดยาก็คืออาการปวด ยานี้จึงไปช่วยบรรเทา มิน่าเล่า...เข้าใจนะครับ
ซึ่ง..ผลของการกินยานี้ และกินแบบผิดวิธี ผลสุดท้ายก็คือที่เรียกว่า ลงแดงตาย ซึ่งโดยทั่วๆไปหมายถึงอาการขาดยาจนเกิดอาการช็อคตาย แต่สำหรับผม ก็คือ เลือดออกในกระเพาะเพราะว่ากระพาะเป็นแผล หรือกระเพาะทะลุ (คนที่ผมรู้จักหลายคนตายด้วยเหตุนี้)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 175 เมื่อ 24 ก.ย. 15, 19:20
|
|
ยาเม็ด APC มีอีกชื่อหนึ่งคือ ยาเม็ดสีชมพู ตามสีของเม็ดยา ที่เอาเรื่องยานี้มาขยายความก็เพราะว่า มันมีความสำคัญในเชิงของการเป็นปัจจัยหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านป่า มันออกฤทธิที่ทำให้เขาเหล่านั้นมีความสุขในวันที่ได้รับยานี้ โดยเฉพาะในหมู่คนที่เสพฝิ่นและมีอาการแบบกึ่งติด
แล้วก็เห็นวิธีเขากินกัน อย่างน้อยก็วันละซองในตอนเช้า หรืออีกซองหนึ่งในตอนเย็น
ที่ทำให้ชาวบ้านติดยาก็เพราะ C - คาเฟอีน นั่นแล 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 176 เมื่อ 24 ก.ย. 15, 19:57
|
|
ห้วยขาแข้งถูกประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
ด้วยชื่อก็เลยทำให้เราเห็นภาพแต่เพียงว่า มันก็เป็นพื้นที่ปิดเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับสัตว์ป่า แต่สำหรับผมแล้ว พื้นที่นี้มันมีเรื่องราวลึกๆภายในตัวของมันที่มีประโยชน์ในด้านการเรียนรู้ในด้านอื่นๆ แม้กระทั่งในเชิงของสังคมและมานุษยวิทยา น่าเสียดายที่พื้นที่นี้มันมีสภาพของ prejudice และ discrimination
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 177 เมื่อ 24 ก.ย. 15, 20:11
|
|
ยาเม็ด APC มีอีกชื่อหนึ่งคือ ยาเม็ดสีชมพู ตามสีของเม็ดยา ที่เอาเรื่องยานี้มาขยายความก็เพราะว่า มันมีความสำคัญในเชิงของการเป็นปัจจัยหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านป่า มันออกฤทธิที่ทำให้เขาเหล่านั้นมีความสุขในวันที่ได้รับยานี้ โดยเฉพาะในหมู่คนที่เสพฝิ่นและมีอาการแบบกึ่งติด
แล้วก็เห็นวิธีเขากินกัน อย่างน้อยก็วันละซองในตอนเช้า หรืออีกซองหนึ่งในตอนเย็น
ที่ทำให้ชาวบ้านติดยาก็เพราะ C - คาเฟอีน นั่นแล  ใช่เลยครับ ก็ไม่ต่างไปจากคนติดกัญชาที่ไม่รู้ว่าติดยาเส้น (tobacco) หรือติดกัญชา (cannabis) ที่ซอยผสมกันอยู่บนเขียงไม้ข่อย พญามือเหล็ก กำแพงเจ็ดชั้น ฯลฯ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 178 เมื่อ 24 ก.ย. 15, 20:32
|
|
ก็มาขยายความต่อเรื่องของยากันไข้มาลาเรีย
ขอเริ่มด้วยความน่ากลัวว่า ยาป้องกันไข้มาลาเรียนั้นไม่มี มีแต่ยาฆ่าเชื้อมาลาเรีย ซึ่งก็คือฆ่ามันให้ตายเพื่อไม่ให้มันขยายกระจายพันธุ์ต่อไป
เชื้อมาลาเรียเป็นพวกเชื้อกาฝาก (parasite) ใช้เวลาประมาณ 14 วันในการฟักตัวอยู่ในเม็ดเลือดแดง (หลังจากที่ยุงก้นปล่องกัดและถ่ายเชื้อเข้าสู้ระบบไหลเวียนโลหิตของเรา) พอเชื้อจุลชีพตัวนี้ (Plasmodium) โตเต็มที่ เม็ดเลือดแดงก็จะแตก มันก็จะไปวิ่งอาศัยอยู่ในอีกเม็ดเลือดแดงหนึ่ง ขยายต่อเนื่องไป อาการหนาวสั่นของไข้มาลาเรียก็เกิดจากเม็ดเลือดแดงแตกไปมากๆนี้เอง ??
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
PATAMA.M
อสุรผัด

ตอบ: 11
|
ความคิดเห็นที่ 179 เมื่อ 25 ก.ย. 15, 09:35
|
|
ผมต้องซื้อทั้งสองแบบ แบบเม็ดนั้นไว้ใช้เอง ส่วนแบบผงนั้นจะซื้อแบบยกกล่อง ซื้อครั้งแรกก็เพียงครึ่งกล่อง ต่อมาต้องซื้อเป็นกล่อง จากหนึ่ง ก็เป็นกล่องครึ่งหรือสองกล่อง จำไม่ได้แล้วครับว่ากล่องหนึ่งมีกี่ซอง จำได้แต่ว่าร้านขายยาขายขายปลีกซองละ 25 สตางค์ ที่จริงแล้วยาทั้งสองลักษณะนี้ดูเหมือนจะมีส่วนผสมที่ต่างกัน ยาแบบซองนั้นไม่มีส่วนผสมของ P มีแต่ A (Aspirin) กับ C (Caffeine)
ที่เอาเรื่องยานี้มาขยายความก็เพราะว่า มันมีความสำคัญในเชิงของการเป็นปัจจัยหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านป่า มันออกฤทธิที่ทำให้เขาเหล่านั้นมีความสุขในวันที่ได้รับยานี้ โดยเฉพาะในหมู่คนที่เสพฝิ่นและมีอาการแบบกึ่งติด และซึ่งผมพบว่า มีการใช้ยานี้ในหมู่ชาวบ้านในเขตพื้นที่ป่าเขาด้านตะวันตกของไทยมากกว่าในพื้นที่ป่าเขาอื่นๆ
แบบซองเป็นแบบนี้มั้ยคะ.. (แก้ไขขนาดรูปภาพค่ะ)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|