naitang
|
กระทู้นี้คงจะเป็นกระทู้สั้นๆ
ผมเพียงพยายามจะเล่าให้ภาพในอดีตของพื้นที่และสิงห์สาราสัตว์ในป่าที่เรียกว่าห้วยขาแข้ง ณ วันเวลาเมื่อกว่า 40 ปีที่แล้ว ซึ่งผมหวังว่าน่าจะเป็นข้อมูลเสริม เพิ่มเติมเล็กๆน้อยๆ ที่อาจจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่นิยมธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และผู้ที่เคยได้ไปเยี่ยมเยียนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง....ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 06 ส.ค. 15, 20:07
|
|
มานั่งแถวหน้า พร้อมด้วยภาพประกอบกระทู้ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 06 ส.ค. 15, 20:34
|
|
ปีงบประมาณ 2513 ผมเดินสำรวจอยู่ในพื้นที่ จ.สุโขทัย (แถว บ.หาดเสี้ยว บ.ห้วยแม่สิน) และพื้นที่ จ.อุตรดิตถ์ (แถว บ.ผาจุก บ.ผาเลือด)....ดงช้าง และหน่วยจรยุทธ
2514 ก็เดินอยู่ในพื้นที่น้ำตกลานสาง จ.ตาก และ น้ำตกคลองลาน เขามอโกจู จ.กำแพงเพชร....ดงปืนและ ผกค.
2515 ก็รับผิดชอบสำรวจพื้นที่ตลอดลำห้วยขาแข้ง...ดงสัตว์ และเส้นทางจรยุทธ
หลังจากนั้นต่อมา ก็ตลอดพื้นที่แควน้อย แควใหญ่ จรดชายแดน คร่ำหวอดอยู่ราวๆ 15+ ปี...ก็สรรพเรื่องเลยทีเดียว
ก็คิดว่าจะทะยอยบรรยายภาพในอดีตของพื้นที่เหล่านี้ ด้วยคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้คนรุ่นหลัง
ทั้งนี้ จะขอเริ่มด้วยเรื่องราวเกี่ยวกัยห้วยขาแข้งเสียก่อน..ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 06 ส.ค. 15, 20:55
|
|
อ.เทาชมพู มานั่งอยู่แถวหน้า ก็เลยเกิดอาการเกร็ง เลยต้องขยับถอยไปยืนอยู่ชิดผนังหน้าห้อง
เราย้ายวงเสวนาไปอยู่กลางแจ้ง ใต้ร่มไม้นะครับ ไปนั่งอยู่ใต้ร่มไทรไหญ่กัน อยู่ลึกเข้าไปจากปากลำห้วยไม่มากนัก ซึ่งเราอาจจะได้เห็นนกหลากหลายพันธุ์และสัตว์อีกหลายชนิด มาเกาะกินลูกไม้ในขณะที่กำลังคุยกัน..ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Jalito
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 06 ส.ค. 15, 21:49
|
|
ปีงบประมาณ 2513 ผมเดินสำรวจอยู่ในพื้นที่ จ.สุโขทัย (แถว บ.หาดเสี้ยว บ.ห้วยแม่สิน) และพื้นที่ จ.อุตรดิตถ์ (แถว บ.ผาจุก บ.ผาเลือด)....ดงช้าง และหน่วยจรยุทธ
2514 ก็เดินอยู่ในพื้นที่น้ำตกลานสาง จ.ตาก และ น้ำตกคลองลาน เขามอโกจู จ.กำแพงเพชร....ดงปืนและ ผกค.
2515 ก็รับผิดชอบสำรวจพื้นที่ตลอดลำห้วยขาแข้ง...ดงสัตว์ และเส้นทางจรยุทธ
หลังจากนั้นต่อมา ก็ตลอดพื้นที่แควน้อย แควใหญ่ จรดชายแดน คร่ำหวอดอยู่ราวๆ 15+ ปี...ก็สรรพเรื่องเลยทีเดียว
ก็คิดว่าจะทะยอยบรรยายภาพในอดีตของพื้นที่เหล่านี้ ด้วยคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้คนรุ่นหลัง
ทั้งนี้ จะขอเริ่มด้วยเรื่องราวเกี่ยวกัยห้วยขาแข้งเสียก่อน..ครับ
...คร่ำหวอดอยู่ราวๆ15+ปี.... ตัวจริงเสียงจริงเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
puyum
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 06 ส.ค. 15, 21:55
|
|
มารอฟังครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 07 ส.ค. 15, 07:19
|
|
อ.เทาชมพู มานั่งอยู่แถวหน้า ก็เลยเกิดอาการเกร็ง เลยต้องขยับถอยไปยืนอยู่ชิดผนังหน้าห้อง
เราย้ายวงเสวนาไปอยู่กลางแจ้ง ใต้ร่มไม้นะครับ ไปนั่งอยู่ใต้ร่มไทรไหญ่กัน อยู่ลึกเข้าไปจากปากลำห้วยไม่มากนัก ซึ่งเราอาจจะได้เห็นนกหลากหลายพันธุ์และสัตว์อีกหลายชนิด มาเกาะกินลูกไม้ในขณะที่กำลังคุยกัน..ครับ
สงสัยว่าท่านนายตั้ง ขยับถอยหนีท่านอาจารย์เทาชมพูลึกเข้าไปในป่าห้วยขาแข้งมากไปหน่อย ป่านนี้ยังไม่สุดผนังห้อง ต้องกู่ให้กลับมาสักหน่อย ววววววววววววววววววววู้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 07 ส.ค. 15, 07:53
|
|
คุณตั้ง ถอยหลังไปถึงเชียงรายอีกแล้วละมังคะเนี่ย ระดมกำลังชาวเรือนไทยมาช่วยกู่ด้วยค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Anna
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 07 ส.ค. 15, 08:16
|
|
โหนกิ่งไทรใกล้ลำธาร เตรียมพร้อมรอฟังอยู่แล้วค่ะ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 07 ส.ค. 15, 18:55
|
|
คุณตั้ง ถอยหลังไปถึงเชียงรายอีกแล้วละมังคะเนี่ย ระดมกำลังชาวเรือนไทยมาช่วยกู่ด้วยค่ะ
ได้ยินเสียงกู่แล้วครับ ก็เพียงจะถอยไปแถวๆป่าแม่วงก์ จ.นครสวรรค์ ซึ่งเป็นพื้นที่ผืนป่าทางด้านเหนือของต้นน้ำห้วยขาแข้งเท่านั้นเองครับ.. 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 07 ส.ค. 15, 19:28
|
|
ห้วยขาแข้ง เป็นห้วยที่ไหลอยู่ในร่องเขาที่ทอดตัวอยู่ในแนวทิศเหนือ - ใต้ มีความยาวแถวๆหลัก 100 +/- กม.
โดยทั่วๆไป คนชาวถิ่นที่เป็นนักท่องป่าหรือพรานไพรเขาจะแบ่งห้วยนี้ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนตอนบน จากแถบพื้นที่ย่านสบห้วยทับเสลา เหนือขึ้นไปทางทิศเหนือ จะรู้จักและเรียกขานกันว่า ขาแข้งแห้ง สำหรับส่วนตอนล่างของห้วย ก็เรียกกันว่า ห้วยขาแข้ง ตามปรกติ
ห้วยขาแข้งยังมีการเรียกขานกันในอีกชื่อหนึ่ง คือ ลำขาแข้ง ชื่อนี้จะพบว่ามีการเรียกขานกันในเฉพาะย่านพื้นที่ อ.บ่อพลอย อ.หนองรี อ.หนองปรือ (ของ จ.กาญจนบุรี) และชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนและหากินอยู่ตามลำน้ำแควใหญ่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 07 ส.ค. 15, 19:57
|
|
ด้วยคำว่า "ลำ" นำหน้าแทนที่จะใช้คำว่า "ห้วย" นำหน้า
ผมก็เกิดความสนใจขึ้นมาว่า คำว่า "ลำ" นั้น ใช้กันในผู้คนที่อยู่ในพื้นที่อิสานเป็นหลัก ส่วนคำว่า "ห้วย" นั้นก็ใช้กันในภาคเหนือและภาคกลางเป็นหลัก ส่วนภาคใต้ก็ใช้คำว่า "คลอง"
ฤๅ จะบ่งบอกว่า ผู้คนทั้งหลายที่ตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ในพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอ่างทอง-อยุธยานั้น จะมีพื้นเพเทือกเถาเหล่ากอและญาติโยมโยงใยกับผู้คนในพื้นที่อิสานตอนบน
ไม่ต่อเรื่องต่อไปนะครับ คงเป็นเพียงมโนของผมเท่านั้นเอง สำหรับตัวผมที่ลงไปคลุกอยู่กับผู้คนชาวถิ่น ก็เพียงได้รับรู้สัมผัสสิ่งที่คล้ายกันในด้านความนึกคิด ด้านสำเนียง ศัพท์ เสียงภาษา อาหารการกิน ฯลฯ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 07 ส.ค. 15, 20:40
|
|
ประตูทางเข้าไปสู่ตัวลำห้วยขาแข้งนั้น มีอยู่สองบริเวณหรือสองพื้นที่เท่านั้น
ได้แก่พื้นที่ส่วนปลาย คือ ปากลำห้วขาแข้ง กับพื้นที่ส่วนกลาง คือ แถบพื้นที่ตั้งที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ฯ
แต่เดิมนั้น เกือบจะกล่าวได้ว่าต้องเข้าทางปากลำห้วยเป็นหลัก เพราะว่าเส้นทางอื่นๆล้วนแต่เป็นการต้องเดินด้วยเท้าที่ทรหดจริงๆ กระนั้นก็ตาม แม้จะเป็นการเพียงเดินทางไปให้ถึงปากลำห้วย หรือไปให้ถึงตีนเทือกเขาที่จะต้องเดินฝ่าเข้าไป ก็ลำบากเอาการอยู่ทีเดียว แถมทั้งสองเส้นทางนี้ก็ยังมีค่าใช้จ่ายที่สูงอีกโขเอาการเลยทีเดียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 08 ส.ค. 15, 18:51
|
|
การเดินทางไปปากลำขาแข้งแต่ดั้งเดิมจริงๆนั้น เป็นการเดินทางด้วยเรือ จุดเริ่มต้นของการเดินทางจะอยู่ที่บ้านลาดหญ้า (ต.ลาดหญ้า อยู่ห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรีประมาณ 17 กม.) ท่าเรือก็อยู่ที่ตัวหมู่บ้านทางใต้ของวัดลาดหญ้าลงมาเล็กน้อย
ท่าเรือลาดหญ้านี้เป็นท่าเรือสำหรับการเดินทางไปยังหมู่บ้านและสถานที่ต่างๆในแม่น้ำแควใหญ่ เป็นเส้นทางคมนาคมหลักสำหรับชาวบ้านที่ใช้สัญจรไปมาระหว่างตัวจังหวัด กับ อ.ศรีสวัสดิ์_ท่าสนุ่น ส่วนท่าเรือที่หน้าตัวเมือง จ.กาญจนบุรีนั้น เป็นท่าเรือสำหรับการสัญจรในแม่น้ำแควน้อยระหว่างตัวจังหวัดกับ อ.ทองผาภูมิ_ท่าขนุน
เราสามารถเดินทางจากตัวเมืองไปยังทั้งสองอำเภอนี้ได้ด้วยทางรถเหมือนกัน ไป อ.ศรีสวัสดิ์ ก็หนึ่งวันเต็มๆ แล้วก็ต้องไปข้ามน้ำแควใหญ่ที่ตัวอำเภอ (ซึ่งต้องใช้เรือหรือแพ) ผนวกด้วยการหลงทางบ้าง ผิดทางบ้างเล็กๆน้อยๆ เป็นเส้นทางที่ขึ้นเขาสูงและชันในช่วงแรกๆ แล้วก็เป็นป่าโปร่งๆ ร้อนระอุและดูแห้งแล้งมาก ฝุ่นตลบอบอวนไปหมด ผู้ที่มีรถจึงนิยมเดินทางกันในช่วงกลางคืนที่จะมีอากาศเย็นสบายหน่อย ก็จึงเป็นเหตุที่ทำให้ผิดทางบ้าง หลงทางบ้าง บรรดาสี หรือบาก หรือเครื่องหมายที่ทำใว้กับต้นไม้เพื่อการบอกทางนั้นไม่ได้ช่วยอะไรเลย เพราะเปรอะไปหมด มีทั้งที่ถูกและที่ผิด (ที่คิดว่าถูกเมื่อแรกทำ) คนนำทางหรือผู้ชำนาญเส้นทางก็ยังหลงได้เป็นปรกติ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 08 ส.ค. 15, 19:07
|
|
ส่วนการเดินทางด้วยรถจากตัวเมืองไป อ.ทองผาภูมินั้น ใช้เวลาอย่างน้อย 2 วัน วันแรกเป็นการเอาตัวรอดให้ได้เสียก่อนบนเส้นทางในระยะทางประมาณ 60 กม. ใช้เวลา ความมานะ และความอึดเพื่อข้ามเขาสามชั้น เริ่มต้้งแต่แถวบ้านลุ่มสุ่มไปยังบ้านวังโพธิ์ (ที่ตั้งตัว อ.ไทรโยคในปัจจุบัน) ผมเคยเริ่มเดินทางจากตัวเมืองเมื่อเวลาประมาณ 8 โมงเช้า ไปถึงท่าเสา (สถานีน้ำตก) เกือบ 5 ทุ่มโน่นนะครับ
แล้วค่อยเล่าภาพเก่าๆสู่กันฟัง รวมทั้งความน่ารักของคนชาวรถไฟ (จักรไอน้ำ) ที่เดินจักรอยู่บนเส้นทางสายมรณะระหว่างสถานีกาญจนบุรีกับสถายนีน้ำตก (บ.ท่าเสา) นี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|