เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 54 55 [56] 57 58 ... 60
  พิมพ์  
อ่าน: 142757 พระองค์เจ้าปฤษฎางค์-ชีวิตลับที่ทรงเผยไม่ตลอด
Danxiote
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 825  เมื่อ 04 พ.ย. 15, 02:15

กระทู้นี้สนุกมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก  อ่านคืนเดียว ตาแฉะเลย


 ถือโอกาสนี้ กราบสวัสดี คุณครูและคุณๆทั้งหลายที่ให้ความรู้นะครับ คือผมเขามาแอบอ่านนานมร้ากกกกกกกก รู้สึกเหมือนได้ฟังญาติผู้ใหญ่พูดคุย


 ขออ่านอย่างเดียวเพราะว่าความรู้ผมน้อยมากกกกกกกก ขออ่านเงียบๆและกินขนมเงียบนะครับ

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 826  เมื่อ 16 พ.ย. 15, 10:04

ไม่มีค.ห.ใหม่บ้างหรือคะ  พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ท่านค้างเติ่งอยู่นานแล้ว
เรื่องของผมตรงนั้นน่าจะจบแล้วนี่ครับ ไม่มีใครมีความเห็นหรือมีคำถามอะไร กระทู้ก็ควรจะลาโรงได้แล้วนะครับ
ลาแล้วไม่ลาลับ     คงจะกลับมาพบใหม่
รูปแบบที่ไฉไล      นานเท่าใดก็จะรอ  
     

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 827  เมื่อ 16 พ.ย. 15, 11:03

^
เหวอออออออออออ!
มาจากไหนล่ะเนี่ย ? ? ?  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 828  เมื่อ 16 พ.ย. 15, 19:58

น่าจะเป็นเพ็ญชมพูพับลิชชิ่ง ค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 829  เมื่อ 25 ธ.ค. 15, 09:22

กระทู้เรื่องนี้ได้ถูกปักหมุดไว้นานโดยไม่มีการเคลื่อนไหว ผมต้องขออภัย เมื่อมีเวลาได้เข้ามาอ่านอีกครั้งก็อยากจะสรุปพระประวัติโดยย่อให้ชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ง่ายต่อการอ้างอิงต่อไปในภายหลัง เพราะหากอ่านประวัติศาสตร์ไปเรื่อยๆโดยไม่เทียบวันเดือนปีที่เกิดแต่ละเหตุการณ์แล้ว จะหลงทางได้ง่าย ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ควรยึด TIMELINE ให้สำคัญ เพราะจะให้ข้อเท็จจริงทุกอย่างที่เกิดขึ้น

ตามนี้

พ.ศ.๒๔๒๗   พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทูลเกล้าถวายข้อเสนอ รศ. ๑๐๓
พ.ศ.๒๔๒๘   พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ถูกเรียกกลับ
พ.ศ.๒๔๒๙   พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงกลับถึงกรุงเทพ ได้เป็นจางวางกรมโทรเลขและไปรษณีย์
                จมื่นไวยวรนารถ ยกทัพขึ้นไปปราบฮ่อครั้งแรก
พ.ศ.๒๔๒๙     วันที่ ๒๔ พฤษภาคม เกิดอุบัติเหตุเรื่องเจ้าปาน  ๒๕ พฤษภาคม. ถูกยึดบ้านหลวงคืน
             วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน จมื่นไวยวรนารถ ยกทัพขึ้นไปปราบฮ่อครั้งสอง พระองค์เจ้าปฤษฎางค์กับหม่อมตลับ ตามส่งถึงวัดเกษไชโย อ่างทอง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 830  เมื่อ 25 ธ.ค. 15, 09:25

พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ท่านนิพนธ์อัตตะชีวประวัติไว้ หวังพระทัยให้สังคมเชื่อในสิ่งที่ท่านนำเสนอ  ซึ่งคนส่วนใหญ่อ่านแล้วก็ไม่ได้นึกอะไรมากไปกว่าความเวทนาต่อเรื่องราวที่ท่านรำพัน  หากความที่ท่านทิ้งไว้นั้นไม่ไปกระทบกระเทือนผู้หนึ่งผู้ใดแล้ว เรื่องก็คงจะจบอย่างเงียบเชียบเรียบร้อย  แต่พระประวัติของท่านได้ฝากข้อกังขาให้มีต่อพระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐ  ความลับที่ถูกท่านเองตัดตอนออกไปจึงถูกขุดคุ้ยขึ้น  ตัวตนทุกด้านของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ก็เลยปรากฏ รวมทั้งที่ทรงมีอาการของผู้ป่วยDelusion Disorder ด้วย

สรุปว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงขัดเคืองพระทัยพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ในเรื่องที่ท่านนำเรื่องที่ทรงปรึกษาเป็นการส่วนพระองค์ไปตีแผ่กับคนหมู่มากก็จริงอยู่ แต่ก็มิได้ทรงลงทัณฑ์ด้วยการเรียกตัวท่านกลับจากการเป็นทูตยุโรปดังที่คนทั้งหลายเข้าใจ แต่เป็นเพราะพระองค์เจ้าปฤษฎางค์เองทรงไปติดพันนางละครฝรั่ง ทั้งที่ท่านเองก็มีภรรยาไปอยู่ด้วยแล้ว พระเจ้าอยู่หัวจึงทรงเอากลับ เพราะเกรงว่าอาจจะนำความความเสื่อมเสียมาสู่ชาติได้
   
เรื่องผู้หญิงต่างชาตินี้ พระเจ้าอยู่หัวทรงเคร่งครัดมาก แม้พระองค์เองยังทรงประกาศพระราชปณิธานว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้หญิงฝรั่งคนใด ตลอดระยะเวลาที่เสด็จประพาสยุโรป กับทั้งทรงย้ำกับพระราชโอรสที่เดินทางไปศึกษาที่นั่นทุกพระองค์ เพราะทรงเกรงผลกระทบที่จะติดตามมา
 
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ยังทรงยืนกระต่ายขาเดียวว่าท่านไม่ผิด  เพราะทูตคนอื่นๆที่ไปทีหลังท่านก็มีพฤติกรรมคล้ายกัน ท่านผิดที่กล้าทูลเสนอความคิดเห็นในเรื่องอันไม่เป็นที่สบพระราชหฤทัยเท่านั้นเอง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 831  เมื่อ 25 ธ.ค. 15, 09:26

ท่านกลับมากรุงเทพคราวนั้น ท่านบ่นว่าบ้านก็ไม่มีจะให้อยู่อาศัย ต้องไปขอยืมเรือยืมแพเขาอยู่ เพราะบ้านที่เคยอยู่มาแต่เดิมภรรยาก็ถวายคืนหลวงไปแล้ว ความจริงพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานตึกให้ใหม่ ให้สมพระเกียรติยศพระองค์เจ้า แต่ท่านก็ว่ามันเล็กเกินไป จึงต้องต่อเติมจากสองชั้นเป็นสามชั้นจนแทบจะเป็นการสร้างใหม่ จึงไม่มีโอกาสได้เข้าอยู่สักที จนกระทั่งถูกยึดคืนเพราะนำงบประมาณของกรมโทรเลขและไปรษณีย์ที่โปรดเกล้าให้ท่านเป็นอธิบดีมาใช้แบบผิดประเภท บางส่วนก็คงจะกู้หนี้ยืมสินมาใช้จ่ายมือเติบด้วย จนเป็นลูกหนี้เขาไปทั่วทั้งคนไทยและเทศ

ระยะนี้เองที่ท่านมีภรรยาเด็กๆอีกสามคน ซึ่งให้กำเนิดบุตรธิดาแก่ท่านด้วย แต่ท่านไม่เคยให้รายละเอียด

การเป็นหนี้เขาไปทั่วนี้ รวมถึงที่ท่านทรงไปยืมเงินพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ ซึ่งประทานให้ท่านยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย ท่านจึงคิดตอบแทนโดยการจะรับเจ้าปาน พระอนุชาให้เข้าทำราชการ แต่เกรงว่าคนจะสืบรู้เหตุผลลับๆว่าทำไมท่านจึงรับเจ้าปาน จึงทำอุบายให้พระอัครชายาเธอกราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงสั่งลงมา เพื่อท่านจะได้พ้นความเสี่ยงตรงนี้ แต่พระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าเรื่องดูไม่ชอบมาพากล จึงทรงสอบถามกลับลงไป พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงทำหนังสือกราบบังคมทูลถวาย  ความสำคัญเรื่องเจ้าปาน ขัดแย้งกับที่ท่านเคยทำหนังสือไปทูลกรมพระสวัสดิโสภณ เมื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงนำความมาเทียบกันดูเลยทรงพระพิโรธ เห็นว่าท่านคิดอุบายหลายชั้นมาหลอกใช้พระองค์ จึงมีรับสั่งให้งดเงินเดือนข้าหลวงเดิมที่พระราชทานให้เป็นการส่วนพระองค์เพื่อสั่งสอน

พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ไม่เข้าใจ ทำหนังสือกราบบังคมทูลแก้ตัว และขอเงินพระราชทานนั้นต่อไปตามเดิม คราวนี้ทรงมีพระราชหัตถเลขาบริภาษ กล่าวหาพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ว่าเห็นพระองค์โง่ เลยทรงให้เวนคืนบ้านหลวงที่พระราชทานให้อยู่นั้นเสียด้วย โดยรับสั่งว่าไม่เหมาะสมที่จะได้รับอีกต่อไป เพราะเบียดบังเงินหลวงไปใช้ในเรื่องส่วนตัว แต่ในส่วนของเงินเดือนในหน้าที่ราชการนั้น พระเจ้าอยู่หัวยังทรงมีพระมหากรุณาอยู่มิได้แตะต้อง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 832  เมื่อ 25 ธ.ค. 15, 09:29

 พ.ศ.๒๔๓๒   พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ และเหรียญดุษฎีมาลา ศิลปวิทยา เป็นความดีความชอบ
พ.ศ.๒๔๓๓   มีคำสั่งให้เลิกทัพจากลาวกลับกรุงเทพ
พ.ศ.๒๔๓๔   มีนาคม โปรดเกล้าฯให้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์คุมเรือหลวงชนิดต่างๆหลายสิบลำขึ้นไปรับกองทัพจมื่นไวยวรนารถถึงเมืองสระบุรี ลำเลียงลงมากรุงเทพ หลังจากนั้นโปรดเกล้าฯให้จมื่นไวยวรนารถ ได้เป็นพระยาสุรศักดิ์มนตรี
                วันที่๑๖ สิงหาคม พระองค์เจ้าปฤษฎางค์หนีไปอยู่ต่างประเทศพร้อมกับพี่ศรี
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 833  เมื่อ 25 ธ.ค. 15, 09:36

เรื่องเจ้าปานจบไปแล้วถึง ๓ ปี ท่านถึงจะทรงคิดฆ่าตัวตาย ไม่ใช่จะกระทำหลังจากเกิดอุบัติเหตุเรื่องเจ้าปาน นั่นเพราะความในพระประวัติที่ทำให้คนหลงเชื่อไปอย่างนั้น ถ้าไม่ตรวจTIMELINE นี่คือจุดที่จะหลง

แต่การที่จะทรงคิดฆ่าตัวตายเกิดเมื่อหลังพระยาสุรศักดิ์มนตรีกลับจากราชการศึกสงครามแล้ว และมารู้เรื่องไม่ชอบพามากลระหว่างท่านกับพี่ศรีเข้า จึงเกิดประสาทหลอน กลัวพระยาสุรศักด์จะทำร้าย ดีแต่พี่ศรีขู่ไว้ว่า ถ้าทรงทำอย่างนั้น พี่ศรีก็จะทำร้ายตนเองให้ตายตามไปด้วย ท่านเลยไม่กล้าตาย เอาปืนที่ซื้อมาโยนทิ้งน้ำไป ในพระประวัติท่านไพล่ไปเขียนว่าภรรยาและพี่สาวช่วยกันห้ามไว้  ไม่ตรงกันกับความในหนังสือกราบทูลลาออก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 834  เมื่อ 25 ธ.ค. 15, 18:22

รอคอยเธอมาแสนนานนนนน...

เจ้าปาน ในกระทู้นี้ น่าจะเป็นหม่อมเจ้าชาย ปาน ลดาวัลย์  โอรสในกรมหมื่นภูมินทรภักดี(พระองค์เจ้าลดาวัลย์) พระราชโอรสในสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ครูกู๊กบอกประวัติสั้นๆเพียงวันปีประสูติและสิ้นชีพิตักษัย  ว่า ต.ค. 2399 -23 มี.ค. 2433
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 835  เมื่อ 25 ธ.ค. 15, 19:46

ใช่ครับ หม่อมเจ้าปาน ลดาวัลย์ ไม่มีประวัติอะไรนอกจากนั้น
แต่ ที่เราทราบกันแค่นี้ก็นับว่าเยอะแล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 836  เมื่อ 25 ธ.ค. 15, 20:24

ในพระประวัติท่านไพล่ไปเขียนว่าภรรยาและพี่สาวช่วยกันห้ามไว้  ไม่ตรงกันกับความในหนังสือกราบทูลลาออก

คุณ NAVARAT.C  คิดว่า ภรรยาและพี่สาว ที่ท่านเอ่ยถึงหมายถึงใครคะ
๑   ภรรยา (หม่อมตลับ หรือหม่อมน้อยๆ ๓ คน) + พี่สาว (คุณหญิงศรี)
หรือ
๒  ภรรยา( คุณหญิงศรี) และพี่สาว (หม่อมเจ้าหญิงองค์ใดองค์หนึ่งในราชสกุลชุมสาย)
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 837  เมื่อ 25 ธ.ค. 15, 20:33

ในหนังสือพระประวัติมิได้ทรงเปิดเผยว่าทรงมีนังเล็กๆอีกถึงสามคน ดังนั้นคนอ่านคิดได้อย่างเดียวก็คือท่านหมายถึงหม่อมตลับ ส่วนพี่สาวท่านก็ไม่ได้เอ่ยอีกนั่นแหละว่าคนไหน คนอ่านก็ขี้เกียจจะเดาเหมือนกัน

ท่านมิได้เอ่ยถึงพี่ศรีแม้แต่น้อย มีหลุดมานิดเดียวในสารบรรณของหนังสือพระประวัติเล่ม ๒ มีตอนหนึ่งจะกล่าวถึง เรื่องจริงของคุณหญิงศรี แต่สุดท้ายท่านก็ไม่ออกเล่ม ๒ และ ๓ ตามโฆษณาจนแล้วจนรอด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 838  เมื่อ 25 ธ.ค. 15, 20:44

มิวายมีชีวิตลับที่ทรงเปิดเผยไม่ตลอด หลงเหลืออยู่จนได้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 839  เมื่อ 26 ธ.ค. 15, 06:39

พ.ศ.๒๔๓๔      วันที่ ๑๖ สิงหาคม พระองค์เจ้าปฤษฎางค์หนีไปอยู่ต่างประเทศพร้อมกับพี่ศรี
                   วันที่ ๔ พฤศจิกายน ทางกรุงเทพมีใบบอกไปยังเจ้าเมืองทางอีสานที่มีชายแดนติดต่อกับลาวและเขมรว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสงว่างวงษ์ กราบถวายบังคมลาไปประพาศเมืองญี่ปุ่น พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้ตามเสด็จไปด้วย แต่หาตามเสด็จกลับมาไม่ หลบหนีอยู่ในเมืองฮ่องกง ฝ่ายศรีนั้นก็เก็บเอาทรัพย์สมบัติของพระยาสุรศักดิ์มนตรีผู้น้องพระยาสุพรรณ ที่ให้เก็บรักษาไว้หนีออกไปอยู่เมืองฮ่องกง ครั้นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอกลับเข้ามาถึงจึงทราบว่า พระองค์เจ้าปฤษฎางค์กับศรีคิดอ่านพากันหนีไปอยู่ด้วยกัน ครั้นได้ตรวจดูราชการในกรมไปรษณีย์ก็ไม่มีเหตุผิดร้ายฉกรรจ์อันใด นอกจากพระองค์เจ้าปฤษฎางค์เอาเงินหลวงในกรมไปรษณีย์แลโทรเลขไปใช้เองประมาณร้อยชั่งเศษ กับพระองค์เจ้าปฤษฎางค์แลศรีเป็นหนี้ไทยแลฝรั่งในกรุงเทพมหานครรุงรังอยู่หลายราย เห็นจะเป็นเพราะเหล่านี้ จึงพากันหลบหลีกหนีหายออกไปอยู่นอกพระราชอาณาเขต
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้รับราชการเป็นทูตอยู่ในประเทศยุโรปหลายปีมี  ภายหลังฟั่นเฟือนหลงไหลผู้หญิงละครฝรั่ง ความทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ทรงพระราชวิตกจะทำให้เป็นทีขึ้นชื่อขายหน้าราชทูตฝ่ายสยาม จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เรียกกลับ ครั้นเข้ามาถึงกรุงเทพมหานครก็ยังทรงพระมหากรุณาชุบเลี้ยงให้มีตำแหน่งรับราชการฉลองพระเดชพระคุณ และมีเบี้ยหวัด เงินเดือนเป็นผลประโยชน์อยู่ถึงปีละแปดสิบชั่งเศษ ยังไม่มีความกตัญญูคิดถึงพระเดชพระคุณ กลับกลายเป็นไปตามจริตเดิมที่ฟั่นเฟือนหลงไหล
เห็นว่า พระองค์เจ้าปฤษฎางค์อาจจะหลบเหลื่อมเข้ามาหัวเมืองไกลๆ ที่ไม่ทราบความแล้ว ก็จะอวดลวงล่อเอาเงินทอง หรืออ้างเอาพระนามไปกระทำอย่างใดให้เป็นที่เสียราชการ จึ่งแจ้งความมาให้เจ้าเมืองทั้งหลายทราบไว้ เพื่อว่าจะได้ข่าวคราว หรือจะมีเหตุอย่างไร จะได้คิดอ่านแก้ไขจัดการไม่ให้เป็นที่เสื่อมเสียเพระเกียรติยศได้ตลอด

พ.ศ.๒๔๓๕      วันที่ ๓๑ พฤษภาคม มีรายงานมายังกรุงเทพว่า พระนโรดมเตรียมบ้านให้พระองค์เจ้าปฤษฏางค์พำนักในกรุงพนมเปญ
พ.ศ.๒๔๓๕      วันที่ ๑๖ สิงหาคม ปรากฏหนังสือของกรมหลวงเทววงศ์ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ กราบบังคมทูลตอบพระราชหัตถเลขา เรื่องอังกฤษได้จ้างพระองค์เจ้าปฤษฏางค์ที่เมืองเประ ในมลายู
พ.ศ. ๒๔๓๘      วันที่ ๑ กรกฎาคม พระองค์เจ้าปฤษฎางค์จะไปภูเก็ตแล้วไม่ได้ไป ให้พี่ศรี ภรรยาไปแทน เจ้าเมืองจะจับแต่ทางกรุงเทพไม่เห็นด้วย
พ.ศ. ๒๔๓๙      วันที่ ๕ พฤศจิกายน พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ออกบวชที่ลังกา

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 54 55 [56] 57 58 ... 60
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 20 คำสั่ง