เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 53 54 [55] 56 57 ... 60
  พิมพ์  
อ่าน: 141836 พระองค์เจ้าปฤษฎางค์-ชีวิตลับที่ทรงเผยไม่ตลอด
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 810  เมื่อ 16 ก.ย. 15, 08:12

เมื่อพระองค์เจ้าปฤษฎางค์สิ้นชีพิตักษัยแล้วนั้น สำนักพระราชวังได้จัดพระศพลงโกศทำด้วยไม้ทรงสีเหลี่ยม มีศัพท์เฉพาะเรียกว่าลุ้ง  หุ้มผ้าขาว ผมเพิ่งจะได้ภาพมาเมื่อไม่นานนี้ว่าโกศลักษณะนี้เป็นอย่างไร จึงอดไม่ได้ที่จะนำมาให้ดูกันเป็นความรู้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 811  เมื่อ 16 ก.ย. 15, 08:14

เรื่องการพระศพของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์นั้น คุณหมอเพ็ญได้เคยคัดมาลงไว้ในกระทู้ที่พันทิปคราวโน้น ผมขอนำมาลงอีกครั้งดังนี้ครับ

สาส์นสมเด็จฉบับลงวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๔๗๙

กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ กราบทูล กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

                            พระศพฝัง  ไม่มีวังจะตั้งทำบุญจึงไม่มีโอกาสที่จะใช้พระลองทอง  คงได้ใช้แต่พระโกศอันหุ้มผ้าขาวเท่านั้น  พระยาเทวาธิราชนึกถึงแบบซึ่งทำฝาเป็นฉัตร  เห็นว่าจะเป็นสง่างามกว่าฝาทรงมัณฑ์  จึงย้อนไปทำฝายอดฉัตรอย่างเก่าขึ้นด้วย จะคิดให้ดีนักไม่ได้ นึกลดยศถึงความผิดซึ่งมีล่วงมาแล้วนั้น เลยผู้ที่คิดถึงความผิดเก่านั้นมีต่างหาก  เขาเห็นว่าไม่ควรจะรับเข้าเมรุหลวงทีเดียว
สาส์นสมเด็จฉบับลงวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๔๗๙

กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทูล กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

                            เรื่องโกศพระศพพระองค์เจ้าปฤษฎางค์นั้น  ที่พระยาเทวาเขาทำควรสรรเสริญ  ที่จะไม่เผาในเมรุหลวงนั้นไม่ควร  เพราะเธอได้พระราชทานอภัยถึงเข้าเฝ้าแหนได้มาแต่ในรัชกาลที่ ๖ แล้ว
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 812  เมื่อ 16 ก.ย. 15, 09:25

ผมก็นำภาพที่ทรงประชวรยามชราหมดสภาพมาให้ดูแล้ว สุขภาพอย่างนี้ท่านจะไปไหนไกลๆได้อย่างไร ลุกขึ้นเข้าห้องสรงก็คงต้องใช้คนพยุงแล้ว
น่าจะเป็นอย่างนั้น

เรื่องการพระศพของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์นั้น คุณหมอเพ็ญได้เคยคัดมาลงไว้ในกระทู้ที่พันทิปคราวโน้น
ผู้ที่คัดคือ คุณกัมม์ (เจ้าเก่า) นั่นแล  ยิงฟันยิ้ม

ขออนุญาตลงเพิ่มเติม

สาส์นสมเด็จฉบับลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๙
กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ กราบทูล กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

                            เมื่อวันที่ ๘  มีการพระราชทานเพลิงพระศพพระองค์เจ้าปฤษฎางค์  จัดเป็นงานไม่เสด็จพระราชดำเนิน  พระราชทานเครื่องกัณฑ์เทศน์กับผ้าไตร ๑๐  พร้อมทั้งเครื่องทรงขมาศพและเพลิงไปให้เจ้าภาพ  ผู้ซึ่งไปส่งสักการพระศพน้อยเต็มที  มีแต่ญาติลางคน  เห็นว่าญาติที่ไปนั้นเป็นผู้ที่มีใจดีมากอยู่  พระยาสีหศักดิเป็นหัวหน้าเจ้าภาพ  สิ่งที่แปลกในงานนี้ที่ควรจะกราบทูล  คือเขาย้อนทำโกศราชวงศ์อย่างเก่าเป็นลุ้งยอดฉัตรขึ้นอีก  แต่ดูลุ้งกับยอดมันไม่กินกัน  น่าจะมีอะไรเคลื่อนคลาด  แต่ของเก่าท่านทำมาอย่างไรก็จำไม่ได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 813  เมื่อ 16 ก.ย. 15, 19:43

 น่าจะมีการแก้ไขพระประวัติในวิกิ นะคะ  ขอเสนอว่าถ้าใครแก้ไขได้ เก็บเนื้อหาและแหล่งอ้างอิงจากกระทู้นี้ไปลง ก็น่าจะเป็นประโยชน์ทางวิชาการแก่ผู้สนใจ
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 814  เมื่อ 16 ก.ย. 15, 20:33

เรื่องการพระศพของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์นั้น คุณหมอเพ็ญได้เคยคัดมาลงไว้ในกระทู้ที่พันทิปคราวโน้น ผมขอนำมาลงอีกครั้งดังนี้ครับ

สาส์นสมเด็จฉบับลงวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๔๗๙

กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ กราบทูล กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

                            พระศพฝัง  ไม่มีวังจะตั้งทำบุญจึงไม่มีโอกาสที่จะใช้พระลองทอง  คงได้ใช้แต่พระโกศอันหุ้มผ้าขาวเท่านั้น  พระยาเทวาธิราชนึกถึงแบบซึ่งทำฝาเป็นฉัตร  เห็นว่าจะเป็นสง่างามกว่าฝาทรงมัณฑ์  จึงย้อนไปทำฝายอดฉัตรอย่างเก่าขึ้นด้วย จะคิดให้ดีนักไม่ได้ นึกลดยศถึงความผิดซึ่งมีล่วงมาแล้วนั้น เลยผู้ที่คิดถึงความผิดเก่านั้นมีต่างหาก  เขาเห็นว่าไม่ควรจะรับเข้าเมรุหลวงทีเดียว
สาส์นสมเด็จฉบับลงวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๔๗๙

กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทูล กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

                            เรื่องโกศพระศพพระองค์เจ้าปฤษฎางค์นั้น  ที่พระยาเทวาเขาทำควรสรรเสริญ  ที่จะไม่เผาในเมรุหลวงนั้นไม่ควร  เพราะเธอได้พระราชทานอภัยถึงเข้าเฝ้าแหนได้มาแต่ในรัชกาลที่ ๖ แล้ว


อาจารย์คะ สงสัยสองเรื่องค่ะ
1. สาสน์สมเด็จฯฉบับนี้บอกว่าฝัง แต่ฉบับข้างล่าง ลงวันที่ 13 ก.พ.2479 เล่าถึงพิธีพระราชทานเพลิง ฮืม
2. พระศพเจ้านาย ตั้งทำบุญที่วัดไม่ได้หรือคะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 815  เมื่อ 17 ก.ย. 15, 07:09

สาสน์สมเด็จฯฉบับนี้บอกว่าฝัง แต่ฉบับข้างล่าง ลงวันที่ 13 ก.พ.2479 เล่าถึงพิธีพระราชทานเพลิง

คนสมัยก่อน เมื่อตายใหม่ๆจะรดน้ำศพแล้วสวดพระอภิธรรมสั้นๆ ก่อนจะรีบนำไปฝังก่อนที่กลิ่นจะออก รอเป็นปีจนศพเน่าเปื่อยแล้วแห้งสนิท จึงขุดขึ้นมาชำระ เพื่อที่จะทำพิธีฌาปนกิจ นอกจากศพในโกศที่ลองในเป็นภาชนะโลหะ จึงไม่ต้องฝัง แต่ผู้ที่ได้รับพระราชทานโกศส่วนใหญ่จะมีฐานะดีที่จะตั้งศพไว้ที่วัง หรือที่บ้านได้ ที่วัดก็มี แต่ก็จะเก็บไว้ร่วมปีจนศพแห้งแล้วจึงจะเผาเช่นกัน

พระศพของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์อยู่ในโกศไม้ ลักษณะเดียวกับโลงแต่วางทางตั้ง(บางครั้งเรียกว่าลุ้ง) ไม่น่าจะกันกลิ่นได้ ก็คงต้องนำไปผังเช่นเดียวกับศพที่อยู่ในโลง ครั้นถึงเวลาก็จะขุดขึ้นมาเปลี่ยนโกศ เพื่อพระราชทานเพลิง

พระศพเจ้านาย ตั้งทำบุญที่วัดไม่ได้หรือคะ

ได้ครับ ส่วนใหญ่เป็นที่ศาลาพิเศษสำหรับบุคคลระดับVIP ที่วัดเบญจมบพิตร เช่น พระที่นั่งทรงธรรม และศาลาบัณณรสภาค
แต่พระศพของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์น่าจะปลงที่วัดเทพศิรินทร์ เพราะเห็นว่ามีพระราชทานเพลิงที่เมรุหลวงน่ะครับ
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 816  เมื่อ 21 ก.ย. 15, 09:13

สาสน์สมเด็จฯฉบับนี้บอกว่าฝัง แต่ฉบับข้างล่าง ลงวันที่ 13 ก.พ.2479 เล่าถึงพิธีพระราชทานเพลิง

คนสมัยก่อน เมื่อตายใหม่ๆจะรดน้ำศพแล้วสวดพระอภิธรรมสั้นๆ ก่อนจะรีบนำไปฝังก่อนที่กลิ่นจะออก รอเป็นปีจนศพเน่าเปื่อยแล้วแห้งสนิท จึงขุดขึ้นมาชำระ เพื่อที่จะทำพิธีฌาปนกิจ นอกจากศพในโกศที่ลองในเป็นภาชนะโลหะ จึงไม่ต้องฝัง แต่ผู้ที่ได้รับพระราชทานโกศส่วนใหญ่จะมีฐานะดีที่จะตั้งศพไว้ที่วัง หรือที่บ้านได้ ที่วัดก็มี แต่ก็จะเก็บไว้ร่วมปีจนศพแห้งแล้วจึงจะเผาเช่นกัน
พระศพของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์อยู่ในโกศไม้ ลักษณะเดียวกับโลงแต่วางทางตั้ง(บางครั้งเรียกว่าลุ้ง) ไม่น่าจะกันกลิ่นได้ ก็คงต้องนำไปผังเช่นเดียวกับศพที่อยู่ในโลง ครั้นถึงเวลาก็จะขุดขึ้นมาเปลี่ยนโกศ เพื่อพระราชทานเพลิง

[/u][/b]พระศพเจ้านาย ตั้งทำบุญที่วัดไม่ได้หรือคะ

ได้ครับ ส่วนใหญ่เป็นที่ศาลาพิเศษสำหรับบุคคลระดับVIP ที่วัดเบญจมบพิตร เช่น พระที่นั่งทรงธรรม และศาลาบัณณรสภาค
แต่พระศพของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์น่าจะปลงที่วัดเทพศิรินทร์ เพราะเห็นว่ามีพระราชทานเพลิงที่เมรุหลวงน่ะครับ

ขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ สำหรับคำอธิบายข้างบน

ขอเรียนถามเพิ่มอีกนิดนะคะ
ศพชาวบ้าน ก่อนเผา สัปเหร่อจะเปิดโลง ให้ญาติล้างหน้าศพด้วยน้ำมะพร้าว(ได้ยินคนเค้าเล่าน่ะค่ะ เพราะพยายามเลี่ยงสุดชีวิตที่จะต้องเข้าไปร่วมในเหตุการณ์จริง)
พระศพเจ้านาย ทำแบบนี้หรือเปล่าคะ ?

บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 817  เมื่อ 21 ก.ย. 15, 12:47

เคยเห็นงานศพที่ต่างจังหวัดครับ  นานแล้วเกิน ๔๐ ปี ตอนนั้นยังเด็กมาก  หลังจากเวียนรอบเมรุแล้ว ก่อนศพเข้าเตา สัปเหร่อเปิดฝาโลงบนเมรุ แล้วสัปเหร่อน่ะแหละต่อยมะพร้าวล้างหน้าศพ ญาติดูเฉยๆไม่ได้เอาน้ำมะพร้าวไปล้างเอง  ก็หลบเลี่ยงลงจากเมรุเหมือนคุณแอนนา เพราะเป็นอะไรที่ระทึกขวัญสำหรับเด็ก ไม่ได้อยากรู้อยากเห็นกะเค้า บ้านนอกจะจุดพลุกันตึงตัง ต้องคอยระวังเศษพลุหล่นโดนหัวอีกต่างหาก
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 818  เมื่อ 21 ก.ย. 15, 14:39

ขอเรียนถามเพิ่มอีกนิดนะคะ
ศพชาวบ้าน ก่อนเผา สัปเหร่อจะเปิดโลง ให้ญาติล้างหน้าศพด้วยน้ำมะพร้าว(ได้ยินคนเค้าเล่าน่ะค่ะ เพราะพยายามเลี่ยงสุดชีวิตที่จะต้องเข้าไปร่วมในเหตุการณ์จริง)
พระศพเจ้านาย ทำแบบนี้หรือเปล่าคะ ?

เหมือนกันหมดทุกระดับน่ะครับ แต่จริงๆแล้วไม่ได้จะล้างหน้าศพกันเป็นกิจลักษณะอะไร เพียงแต่ทุบมะพร้าวให้แตกแล้วเทน้ำลงไปเป็นพิธีเท่านั้น ดังเช่นในภาพ เป็นศพพระเถระชั้นผู้ใหญ่ครับ


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 819  เมื่อ 23 ก.ย. 15, 19:35

ภาพข้างบนน่าจะเป็นพระโกศพระศพสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสนมหาเถระ) สมเด็จพระสังฆราช  ซึ่งสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑
พระเถระที่ถวายน้ำมะพร้าวนั้น คือ พระสิริรัตนสุธี (มนตรี คณิสสโร) วัดราชบพิธ  ผู้เป็นศิษย์ที่ถวายการรับใช้ใกล้ชิดจนวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ
ปัจจุบันพระเถระรูปนี้ดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพรหมวิสุทธาจารย์ กรรมการมหาเถรสสมาคม และเจ้าอาวาสวัดเครือวัลย์
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 820  เมื่อ 23 ก.ย. 15, 20:56

ใช่ครับ อาจารย์วรชาติ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 821  เมื่อ 03 ต.ค. 15, 14:32

อ้างถึง
ผู้ซึ่งไปส่งสักการพระศพน้อยเต็มที  มีแต่ญาติลางคน  เห็นว่าญาติที่ไปนั้นเป็นผู้ที่มีใจดีมากอยู่

ในที่สุดเราก็มองเห็นวาระสุดท้ายในพระชนม์ชีพ    พระองค์เจ้าปฤษฎางค์มิได้ทรงจากไปอย่างสาบสูญไร้คนรู้จัก   พระศพก็ได้รับการปฏิบัติตามราชประเพณี สมควรตามพระเกียรติ   พระญาติก็ยังมีอยู่ มาร่วมงานแสดงคารวะและอโหสิกรรมแก่กัน 

ชีวิตของท่านคงจะเป็นบทเรียนสอนใจพวกเราได้อีกหลายอย่าง ถึงความไม่ประมาท  และการดำเนินชีวิตด้วยสติ  นอกเหนือไปจากปัญญา   เพราะปัญญานั้นบางครั้งก็พ่ายแพ้แก่อารมณ์    แต่สติจะอยู่เหนืออารมณ์เสมอ

ถ้าเทียบกับหม่อมเจ้าอากาศดำเกิง   ดิฉันคิดว่าท่านอากาศดำเกิงทรงอาภัพกว่า  เพราะสิ้นชีพิตักษัยในต่างแดน  และตั้งแต่พระชันษายังหนุ่มแน่นมาก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 822  เมื่อ 22 ต.ค. 15, 13:31

หวังว่าอีกไม่ช้าเรื่องของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์คงออกมาในรูปของหนังสือ   ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 823  เมื่อ 22 ต.ค. 15, 14:30

"คุณเพ็ญชมพู ผู้หยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทร"

(ช่วยออกแบบปกให้ด้วยครับ กรุณาเอาแบบหน้าใสๆ ไม่ใส่หน้ากาก)
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 824  เมื่อ 22 ต.ค. 15, 14:57

ออกเมื่อไหร่ ต้องมีรายการไถหนังสือกันฟรีๆ พร้อมลายเซ็นผู้แต่ง จากสมาชิกหน้าหนาผู้ไม่ประสงค์จะออกนามแน่ๆ  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
หน้า: 1 ... 53 54 [55] 56 57 ... 60
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 20 คำสั่ง