เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 50 51 [52] 53 54 ... 60
  พิมพ์  
อ่าน: 142481 พระองค์เจ้าปฤษฎางค์-ชีวิตลับที่ทรงเผยไม่ตลอด
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 765  เมื่อ 24 ส.ค. 15, 20:44

มีอะไรอีกนิดหน่อยที่ชวนสะดุดใจ ในการออกจากราชการของท่าน  ท่านระบุว่า เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ให้ท่านออกอย่างเจาะจงตัวเลยเดียว     


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 766  เมื่อ 25 ส.ค. 15, 07:40

ต้องขอขอบคุณท่านอาจารย์เทาชมพูที่เข้ามาช่วยงง แต่ผมว่าเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศผู้ถูกท่านระบุว่าเป็นตัวการ มิน่าจะโชว์เดี่ยวเอาท่านออกโดดๆ เพียงเพื่อจะประหยัดพระราชทรัพย์ที่จ่ายเป็นเงินเดือนของท่านเพียงผู้เดียว

การ layoff ครั้งนี่คงต้องทำเป็นพวง ซึ่งมีท่านติดไปกับเขาด้วยเท่านั้น เสนาบดีคงกระทำแค่เซ็นผ่านขึ้นไปให้คณะองคมนตรีอีกทีตามที่ผมกล่าวไปแล้ว
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 767  เมื่อ 25 ส.ค. 15, 07:46

โปรดสังเกตุในข้อ ๔ ตรงวงเล็บว่า เพราะมีเงินไม่พอใช้ แล้วใส่เครื่องหมายคำถาม (?) ย่อมหมายถึงเงินหลวง ไม่ใช่เงินในกระเป๋าท่านไม่พอใช้จึงต้องทำหนังสือขอพระราชทานขึ้นไป

และท่านก็ดูเหมือนจะทรงเข้าใจที่ไม่ได้รับพระราชทานก็เพราะเหตุใด
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 768  เมื่อ 25 ส.ค. 15, 08:39

จากพระประวัติ  ทรงเล่าว่า รับราชการปีเศษ  เงินเดือนขึ้น ๔๐ เป็น ๓๔๐ บาท
เงินเดือน ๓๔๐ บาทในสมัยนั้น  ถ้าเป็นสามัญชนต้องมียศและบรรดาศักดิ์เป็น อำมาตย์โท พระ...  หรืออย่างน้อยก็เป็นอำมาตย์ตรี หลวง.... 
มีตำแหน่งเป็นเจ้ากรม (ต่อมาเรียกหัวหน้ากองหรือหัวหน้าแผนก) เลยทีเดียว
ข้อพิจารณาคือ ในสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น  ข้าราชการชั้นเจ้ากรมนั้นเงินเดือนย่อมผูกติดกับยศและตำแหน่ง 
ถ้าไม่ได้เลื่อนตำแหน่ง  เงินเดือนย่อมไม่ได้เลื่อนขึ้น  อาจะถึง ๔ หรือ ๕ ปีติดต่อกันก็ได้  แต่ในช่วงเวลานั้นอาจได้เลื่อนบรรดาศักดิ์หรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์แทน

แต่ตามพระประวัตินั้น  ทรงได้เลื่อนเงินเดือน  แล้วถูกปลดออกจากราชการ  ดูออกจะขัดกับข้อเท็จจริงในเวลานั้น  เพราะเมื่อยุบเลิกโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเชียงใหม่
แลพกองพันที่ ๓ กรมทหารรักษาวัง ว.ป.ร.ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช  แม้จะยุบส่วนราชการทั้งสองแต่ก็ไม่มีการดุลยภาพข้าราชการออก  เพียงแต่ย้าย
ครูและข้าราชการกับนายทหารกลับมารับราชการที่กรุงเทพฯ  ส่วนนักเรียนที่ไม่สมัครใจลงมาเรียนที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงกรุงเทพฯ  ก็แยกย้ายไปเรียนที่
โรงเรียนอื่นในจังหวัดเชียงใหม่  ส่วนกลังพลในระดับพลทหารที่เกณฑ์มารับราชการในกองพันที่ ๓ นั้นก็ปลดออกเป็นกองหนุน
บันทึกการเข้า
ning_vara
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 769  เมื่อ 25 ส.ค. 15, 15:36

สวัสดีทุกท่านค่ะ ตามมาจาก Pantip หลังจากไม่ได้เข้ามาแอบอ่านเรือนไทยหลายปีมาก
อ่านกระทู้ทุกหน้าแล้ว ได้ทั้งความรู้และเรื่องราวที่น่าติดตามอย่างวางไม่ลงจริงๆ
กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ทั้งหลายอย่างยิ่งค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 770  เมื่อ 25 ส.ค. 15, 15:46

กระทู้ ณ พันทิป ก็เป็นกระทู้แนะนำเช่นกัน  ยิงฟันยิ้ม

http://pantip.com/topic/34078941

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 771  เมื่อ 25 ส.ค. 15, 17:12

สวัสดีทุกท่านค่ะ ตามมาจาก Pantip หลังจากไม่ได้เข้ามาแอบอ่านเรือนไทยหลายปีมาก
อ่านกระทู้ทุกหน้าแล้ว ได้ทั้งความรู้และเรื่องราวที่น่าติดตามอย่างวางไม่ลงจริงๆ
กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ทั้งหลายอย่างยิ่งค่ะ

สะดุดใจอยู่ตรงที่เดียวจริงๆครับ ทำไมต้องเข้ามาแอบอ่าน มันมีอะไรอย่างไรหรือครับนั่น หายไปหลายปี กลัวอะไรหรือ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 772  เมื่อ 25 ส.ค. 15, 20:39

จากพระประวัติ  ทรงเล่าว่า รับราชการปีเศษ  เงินเดือนขึ้น ๔๐ เป็น ๓๔๐ บาท
เงินเดือน ๓๔๐ บาทในสมัยนั้น  ถ้าเป็นสามัญชนต้องมียศและบรรดาศักดิ์เป็น อำมาตย์โท พระ...  หรืออย่างน้อยก็เป็นอำมาตย์ตรี หลวง....  
มีตำแหน่งเป็นเจ้ากรม (ต่อมาเรียกหัวหน้ากองหรือหัวหน้าแผนก) เลยทีเดียว



เงินเดือน 340 บาท น่าจะเป็นรายได้เลี้ยงตัวเองได้สบายทีเดียวสำหรับชายตัวคนเดียว ไม่มีภาระครอบครัว   เพราะคุณหลวงลูกเจ็ดแปดคน เงินเดือนแค่นี้ก็ยังพอเลี้ยงลูกเมียได้ในสมัยปลายรัชกาลที่ 6  
จริงอยู่ว่าอาจเป็นระดับไม่ใหญ่โตนัก สำหรับอดีตเอกอัครราชทูต     แต่เมื่อนึกว่าท่านมาสตาร์ทใหม่ในราชการ   ได้เงินเดือนระดับหัวหน้ากอง   ก็ต้องถือว่าเสนาบดีให้วุฒิท่านสูงเท่าที่จะให้ได้    

ในส่วนของโชคดี  พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ก็ได้โชคมาเต็มๆ    เพราะผู้ใหญ่ที่รับท่านเข้าสู่ราชการ หลังจากมีประวัติที่มีข้อเสียหลายอย่าง   แสดงว่าต้องเห็นคุณค่าของท่านมาก    ถ้าเป็นสมัยนี้ คนที่มีหนี้สินรุงรัง หรือเป็นผู้ต้องหาที่ทางการต้องการตัว  จะไม่สามารถเข้ารับราชการได้เลย

ดังนั้นจะว่าท่านอาภัพ มีแต่คนกลั่นแกล้งอย่างที่ท่านแสดงความน้อยเนื้อต่ำพระทัยอยู่หลายตอนด้วยกัน  ก็อาจจะเป็นการมองในแง่ร้ายฝ่ายเดียว      ผู้ใหญ่ที่ให้อภัยท่าน  ผู้ใหญ่ที่สนับสนุนท่าน ให้โอกาสท่าน  มีอยู่หลายคน ต่างกรรมต่างวาระ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 773  เมื่อ 25 ส.ค. 15, 20:42

อ้างถึง
แต่ตามพระประวัตินั้น  ทรงได้เลื่อนเงินเดือน  แล้วถูกปลดออกจากราชการ  ดูออกจะขัดกับข้อเท็จจริงในเวลานั้น  เพราะเมื่อยุบเลิกโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเชียงใหม่
แลพกองพันที่ ๓ กรมทหารรักษาวัง ว.ป.ร.ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช  แม้จะยุบส่วนราชการทั้งสองแต่ก็ไม่มีการดุลยภาพข้าราชการออก  เพียงแต่ย้าย
ครูและข้าราชการกับนายทหารกลับมารับราชการที่กรุงเทพฯ  ส่วนนักเรียนที่ไม่สมัครใจลงมาเรียนที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงกรุงเทพฯ  ก็แยกย้ายไปเรียนที่
โรงเรียนอื่นในจังหวัดเชียงใหม่  ส่วนกลังพลในระดับพลทหารที่เกณฑ์มารับราชการในกองพันที่ ๓ นั้นก็ปลดออกเป็นกองหนุน

ยังไม่ค่อยเข้าใจเหตุผลของคุณ V_Mee ค่ะ 
เพราะการยุบส่วนราชการบางหน่วยแต่ไม่ได้ดุลยภาพข้าราชการออก   ไม่ได้หมายความว่าหน่วยราชการอื่นๆจะต้องเป็นแบบเดียวกัน    ที่ไม่ได้ยุบหน่วยแต่ตัดทอนงบประมาณ ทำให้ต้องดุลย์ข้าราชการออกไปเพื่อให้งบลงตัว ก็มีเหมือนกันนี่คะ
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์น่าจะอยู่ในประการนี้
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 774  เมื่อ 26 ส.ค. 15, 07:14

ความเห็นผมคือ ใน พ.ศ. ๒๔๖๗ แม้จะมีการปรับลดงบประมาณของแต่ละกระทรวง  แต่ไม่พบหลักฐานว่ามีการดุลยภาพข้าราชการเลยครับ  อีกประการในเมื่อพระองค์ปฆษฎางค์ได้เลื่อนเงินเดือนขึ้นถึง ๔๐ บาท  แสดงว่าเป็นผู้มีผลงานดีจึงไม่น่าจะเป็นเหตุให้ถูกดุลยภาพ  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 775  เมื่อ 26 ส.ค. 15, 08:45

อ๋อ เข้าใจละค่ะ ขอบคุณคุณ V_Mee มาก  ช่างสังเกตจริงๆ
งั้นก็ต้องมางงงวยกับพระประวัติส่วนนี้อีกแล้ว   

1  ท่านบันทึกว่าท่านถูกดุลยภาพในปลายรัชกาลที่ 6   ตามคำขอของเสนาบดี  เพื่อประหยัดพระราชทรัพย์   
แม้จะทูลขอพระกรุณากลับเข้ารับราชการใหม่ ก็ไม่ได้โปรดเกล้าลงมา 
2  คุณ V_Mee แย้งว่า ในปลายรัชกาลที่ 6  ไม่มีการบันทึกว่ามีดุลยภาพ    แม้มีการปรับลดงบประมาณของแต่ละกระทรวง
แต่ใช้วิธีอื่น ไม่เอาข้าราชการออก   
ยิ่งเป็นข้าราชการที่มีผลงานดี ได้เงินเดือนขึ้น   ยิ่งไม่มีเหตุผลที่จะเอาออก   
3   เอาข้อ 1 กับ 2 มารวมกัน   มีความเป็นไปได้ตามนี้
    3.1  พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ถูกออกจากกระทรวงการต่างประเทศ  ด้วยเหตุผลอื่นที่ไม่ใช่ดุลยภาพ  แต่ท่านเข้าพระทัยว่าเป็นดุลยภาพเพื่อประหยัดงบประมาณ
    หรือ
    3.2  พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ถูกดุลยภาพออกจากกระทรวงการต่างประเทศ  จริงๆ   เป็นกรณีที่เกิดขึ้นน้อยมากในปลายรัชกาลที่ 6  จนไม่มีการบันทึกเอาไว้
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 776  เมื่อ 26 ส.ค. 15, 09:14

limit claim แปลว่าอะไรก็ไม่ทราบเหมือนกัน   ถ้าเป็น limited claim  ก็คือการเรียกร้องสิทธิ์ภายในขอบเขตจำกัดเท่าที่ทำได้  เช่นเจ้าของบ้านเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้เช่าบ้านได้ไม่เกินจำนวนเงินที่ตกลงกันไว้ในสัญญา
เดี๋ยวตามดร.จากอังกฤษมาตอบ  น่าจะได้คำตอบกว้างกว่านี้  เห็นบ่นใน FB ว่าในชั้นเรียนของท่านเหลือนศ.เรียนอยู่คนเดียว    คงพอจะแวบมาได้ค่ะ

ช่วงนี้ได้แต่แวบไปแวบมา กระทู้นี้ต้องค่อยๆ ไล่ตามอ่าน เพิ่งเห็นว่ามีการบ้านยากก็ผ่านไปหลายวันแล้ว แต่คิดว่า ดร. อะไรคนนั้นคงไม่มาตอบมั๊งครับ แล้วก็เป็น ดร. จริงรึเปล่าก็ไม่รู้  วันนี้ดูข่าวพลตำรวจโทปลอมหลอกภรรยาที่อยู่กินมายี่สิบกว่าปีแล้ว ก็สงสัยว่าตา ดร. อะไรนั่นอาจจะเก๊รึเปล่า  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม

ผมในฐานะแท็กซี่เก่าอาศัยว่าเคยไปเดินเลาะๆ สนามบินมาบ้างเลยมาตอบแทน แต่เจอคำถามแล้วก็ต้องบอกว่าไม่แน่ใจว่าท่านหมายถึงอะไรเหมือนกัน limit claim ดูจากบริบทเดาว่าน่าจะใช้ไปในความหมายพวกการอ้างผลงาน หรืออ้างความดีความชอบกระมังครับ รูดซิบปาก
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 777  เมื่อ 28 ส.ค. 15, 07:14

ไม่ว่าท่านจะถูกเลิกจ้างจากทางราชการไม่ว่าจะโดยเหตุใด ชีวิตของท่านหลังจากนั้นก็เข้าสู่ช่วงแห่งความลำบากโดยแท้จริง ชายชราที่โดดเดี่ยว โรครุมเร้าและเจ้าโทษะ จะมีความทุกข์ขนาดไหน ท่านคงหลับตานึกภาพออก

พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงเป็นบุคคลที่น่าสงสารมากกว่าจะถูกสมน้ำหน้า คนฉลาดระดับนี้ ถ้าไม่ป่วยทางจิตเสียก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อแผ่นดินมากกว่าที่ท่านทรงได้กระทำมาแล้วยามมีโอกาส


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 778  เมื่อ 28 ส.ค. 15, 07:17

ในชีวะประวัติทรงนิพนธ์ ท่านจบท่อนสุดท้ายไว้สองสำนวน ในบทความต่างกัน ในสำนวนหนึ่ง ท่านทรงเขียนไว้ดังนี้ครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 779  เมื่อ 28 ส.ค. 15, 07:26

อ่านความได้ว่าท่านเขียนประวัติของท่านเพื่อตีพิมพ์ขายในจำนวนจำกัด หนังสือของท่านนี้ต้องบอกว่าราคาแพงมาก คือ ๒๐ บาท ในยามที่ก๋วยเตี๋ยวประมาณชามละ ๕ สตางค์กระมัง แต่พอจะเข้าใจได้ว่าท่านต้องการความอนุเคราะห์จากผู้ที่ยังเห็นใจท่าน เพื่อหารายได้เอาไปทำฟันปลอม(ตามที่ท่านแถลง) และในการดำรงชีวิตยามชรา


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 50 51 [52] 53 54 ... 60
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 20 คำสั่ง