เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 49 50 [51] 52 53 ... 60
  พิมพ์  
อ่าน: 141881 พระองค์เจ้าปฤษฎางค์-ชีวิตลับที่ทรงเผยไม่ตลอด
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 750  เมื่อ 24 ส.ค. 15, 10:05

ยังมีความทรงจำที่เลือนรางว่าเคยเดินเข้าไปในโรงแรมราชธานี ตอนเด็กๆ     บรรยากาศทึมๆ เป็นสีเทา  ทรุดโทรม แต่ยังมีคนทำงานอยู่ค่ะ 
การก่อสร้างและตกแต่งยังมีเค้าความโอ่อ่า เหมือนโรงแรมเก่าๆในลอนดอน

ย้อนกลับมาถึงชีวิตพระองค์เจ้าปฤษฎางค์   เมื่อกี้ลองไปค้นกูเกิ้ลดูในเว็บต่างๆ  ก็พบว่าบางแห่งระบายสีท่านไว้เป็นภาพเจ้านายคนเก่ง ฉลาดปราดเปรื่องที่หัวคิดประชาธิปไตยมาก  จึงถูกกีดกันและกลั่นแกล้งจากเจ้านายหลายองค์ เป็นระยะเวลายาวนานต่อเนื่อง
อ่านแล้ว  ภาพของตัวท่านเองเหมือนตัวเอกในนิยายเรื่อง Les Miserables ของ Victor Hugo ที่ถูกชะตากรรมเล่นงานซ้ำซากมาตลอดชีวิต  ทั้งที่เป็นผู้บริสุทธิ์     เป็นการวาดภาพที่ให้สีขาวและดำตัดกันล้วนๆ
ส่วนกระทู้นี้ก็คงจะให้อีกภาพหนึ่ง ว่าโลกมีสีเทา ซึ่งเกิดจากรวมสีผสมต่างๆไว้ในนั้น       ท่านผู้อ่านเรือนไทยคงได้คำตอบชัดเจนจากข้อมูลในกระทู้นี้ ว่าพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ท่านประสบชะตากรรมอย่างที่เป็นอยู่ เพราะเหตุใดบ้าง

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 751  เมื่อ 24 ส.ค. 15, 11:12

ย้อนกลับมาถึงชีวิตพระองค์เจ้าปฤษฎางค์   เมื่อกี้ลองไปค้นกูเกิ้ลดูในเว็บต่างๆ  ก็พบว่าบางแห่งระบายสีท่านไว้เป็นภาพเจ้านายคนเก่ง ฉลาดปราดเปรื่องที่หัวคิดประชาธิปไตยมาก  จึงถูกกีดกันและกลั่นแกล้งจากเจ้านายหลายองค์ เป็นระยะเวลายาวนานต่อเนื่อง
อ่านแล้ว  ภาพของตัวท่านเองเหมือนตัวเอกในนิยายเรื่อง Les Miserables ของ Victor Hugo ที่ถูกชะตากรรมเล่นงานซ้ำซากมาตลอดชีวิต  ทั้งที่เป็นผู้บริสุทธิ์     เป็นการวาดภาพที่ให้สีขาวและดำตัดกันล้วนๆ

ลักษณะการบรรยายอย่างนี้ในทางการเขียนนวนิยายเขาเรียกว่าเป็นการสร้างตัวละครแบบ "ตัวแบน" (Flat Character) คือตัวละครแสดงนิสัยเพียงด้านเดียวไม่ว่าดีหรือร้าย ส่วนชีวิตจริงของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์เป็นแบบ "ตัวกลม" (round chacacter) คือมีทั้งดีและไม่ดีปนเปกันไป ซึ่งเป็นลักษณะมนุษย์ทุกคนในสังคม  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 752  เมื่อ 24 ส.ค. 15, 11:28

ว้าย   วันนี้คุณหมอเพ็ญชมพูเลคเชอร์หลักวรรณคดี   ตกใจ ตกใจ ตกใจ
ไม่ได้การ ต้องเปิดกระทู้ใหม่ให้แสดงฝีมือ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 753  เมื่อ 24 ส.ค. 15, 11:35

ฝีมือสู้มืออาชีพไม่ได้ดอก  ยิงฟันยิ้ม  ยิ้มเท่ห์  ยิงฟันยิ้ม  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
สาคร
อสุรผัด
*
ตอบ: 18


ความคิดเห็นที่ 754  เมื่อ 24 ส.ค. 15, 13:04

สวัสดีครับท่านอาจารย์ทุกท่าน
เมนูจานหนึ่งของ "กุ๊กคนใหม่" ที่มาปรุงอาหารก่อนมีเมนูจานทอง "ดุลย์" คือการตัดลดเงินปีของเจ้านายต่างๆ
ไม่ทราบว่าพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ถูกตัดเหลือเท่าไร คงสามารถเทียบเคียงได้จากท่านอื่นๆ
อยู่ในหนังสือ "สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น" ของ มจ.หญิงพูนพิศมัย ดิสกุล ท่านที่มีหนังสือใกล้มือโปรดนำมาแสดงด้วยครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 755  เมื่อ 24 ส.ค. 15, 13:58

ถูกดุลย์หรือดุลในที่นี้หมายถึงถูกเลิกจ้าง ให้ออกจากงาน หรือ Layoff น่ะคับ ไม่ใชลดเบี้ยหวัดเจ้านาย นั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 756  เมื่อ 24 ส.ค. 15, 14:33

เงินที่พระเจ้าอยู่หัวทรงจ่ายให้เจ้านายมากน้อยตามลำดับพระยศนี้ เมื่อก่อนเรียกเบี้ยหวัด แต่ภายหลังดูเหมือนจะเรียกว่าเงินเลี้ยงชีพ ทรงบันทึกเรื่องนี้ไว้ตามนี้ครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 757  เมื่อ 24 ส.ค. 15, 14:37

ท่านถูกออกจากราชการเมื่อพ.ศ. 2467  งั้นก็ตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 6   
ดุลยภาพมีในรัชกาลที่ 7 ไม่ใช่หรือคะ
บันทึกการเข้า
สาคร
อสุรผัด
*
ตอบ: 18


ความคิดเห็นที่ 758  เมื่อ 24 ส.ค. 15, 15:23

ถ้าอย่างนั้นพระองค์ท่านก็ไม่ได้ถูกดุลย์ออกสิครับ
ต้องเดาใหม่ว่า "กุ๊ก" ที่มาปรุงอาหารจนกลืนไม่เข้า ไม่น่าใช่เจ้านายที่มีบทบาทมากในสมัยรัชกาลที่ ๗ อย่างที่สงสัยตอนแรก
หรือจะเป็นเจ้านายองค์ใหม่ที่มาแทนสมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 759  เมื่อ 24 ส.ค. 15, 17:12

คือท่านทรงเขียนไว้ในตอนแรกว่าท่านถูกดุล เราก็เลยเขวตามท่านไปว่าท่านถูกดุลย์ในสมัยรัชกาลที่ ๗

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ.  ๒๔๖๘ ในยามที่สยามกำลังประสบภาวะทรุดโทรมอย่างยิ่ง  โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจที่ระบาดมาจากโลกตะวันตก  รัฐบาลได้ตัดทอนรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปอย่างมากมาย และในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ พระเจ้าอยู่หัวทรงตัดทอนรายจ่ายในราชสำนัก เพื่อเป็นตัวอย่างแก่กระทรวงต่าง ๆ จนในที่สุดต้องปลดข้าราชการออกจากตำแหน่งเป็นจำนวนมาก  เพื่อรักษาดุลยภาพทางการเงินของประเทศ ซึ่งเวลานั้นรายรับของแผ่นดินไม่พอกับรายจ่ายประจำปี

ข้าราชการที่ต้องออกจากงานในเวลานั้น เรียกว่าถูกดุลย์ ครั้งแรกที่มีการดุลย์เป็นจำนวนมากคือเมื่อสิ้นปี พ.ศ. ๒๔๖๘ (สมัยนี้นับเป็น พ.ศ. ๒๔๖๙ แล้ว) โดยหลังถวายพระเพลิงพระบรมศพล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๖  เมื่อวันที่ ๒๔  มีนาคม ๒๔๖๘ เสร็จสรรพ  พอวันที่  ๓๑  มีนาคม  ท่านที่ทำงานในพระราชสำนักหลายคนก็ถูกดุลย์ก็ต้องเก็บของกลับบ้านเป็นตัวอย่าง

น่าเชื่อว่าพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ท่านจะทรงถูกดุลย์ในช่วงปลายปีนั้นเอง และการที่ท่านถูกออกจากงานครั้งนี้ก็คงจะไม่มีใครกลั่นแกล้งท่านเป็นพิเศษ หน้าที่การงานและสถานภาพข้าราชการของท่านยังไงๆก็อยู่ในข่ายที่ตัดออกได้โดยงานของกระทรวงไม่สะดุดอยู่แล้ว
และคงไม่น่าจะเกี่ยวถึงขนาดเจ้านายพระองค์ใดจะมาทรงชี้นิ้วกำกับให้เอาท่านออก “กุ๊ก”ในความหมายของท่านอาจจะเป็นคณะผู้บริหารชุดเล็กๆของกระทรวงที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาเงื่อนไขว่าใครอยู่ในข่ายที่ปลดไปแล้วกระทรวงยังจะคงทำงานต่อไปได้โดยปกติเท่านั้น สำหรับกระทรวงต่างประเทศแม้เป็นองค์กรเล็กๆ แต่ก็ยังน่าจะมีอยู่ด้วยกันร่วมร้อยที่ถูกดุลย์

ถ้านับเวลางานในครั้งนี้ ท่านก็อยู่มาได้สักสองปีครึ่งก่อนถูกดุลย์

แต่พอมาถึงปรวัติสังเขปที่ท่านแถมในตอนท้ายๆของหนังสือ ท่านระบุพ.ศ.ที่ท่านทรงถูกเลิกจ้างจากกระทรวงการต่างประเทศว่าเป็น ๒๔๖๗ แสดงว่ายังเป็นรัชกาลที่ ๖ ซึ่งตอนนั้นรัฐเริ่มรัดเข็มขัดแล้ว ท่านจึงถูกกุ๊กเฉือนไขมันส่วนเกินทิ้งไปด้วย
สงสัยท่านจะเบลอๆเพราะทรงชราภาพ จึงเอาคำว่าถูกดุลมาใช้ในบริบทนี้ ผมก็พลอยเบลอไปกับท่านด้วย




บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 760  เมื่อ 24 ส.ค. 15, 18:16

แต่หากข้อความตรงนี้ถูกต้อง ท่านก็ถูก "ดุลย์" ในรัชกาลที่ ๗ 


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 761  เมื่อ 24 ส.ค. 15, 18:40

ครับ เป็นดังนั้นแล

ถ้าอ่านประวัติของท่านแบบอ่านเอาความ ก็คงไม่สะดุดตาอะไร แต่พอจะอ่านเอารายละเอียดมาเขียนต่ออย่างถูกต้อง จำเป็นต้องเอามาลงในกระทู้เช่นนี้เพื่อจะได้ช่วยกันดูครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 762  เมื่อ 24 ส.ค. 15, 18:58

ช่วง พ.ศ. ๒๔๖๗ มีองคมนตรีตรวจตัดรายจ่ายที่ถวายตำแนะนำให้ตัดรายจ่ายในพระราชสำนัก  ส่วนในกระทรวงอื่นๆ ก็มีกรรมการองคมนตรีตรวจจัดงบประมาณการรับจ่ายเงินแผ่นดิน  กรรมการประกอบด้วยสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาพาณุพันธุวงศ์วรเดช สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  รายละเอียดตามลิงค์ข้างล่างนี้ครับ

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2466/A/247.PDF

ลองพิจารณากันดูครับ  "กุ๊ก" ที่ว่านั้นจะเป็นพระองค์ใด
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 763  เมื่อ 24 ส.ค. 15, 19:46

องคมนตรีทั้งสามพระองค์คงมิได้ลงรายละเอียดถึงตัวบุคคลนาย ก นาย ข นะครับ น่าจะให้เป้าหมายว่า กระทรวงนี้ต้องลดรายจ่ายด้านบุคคลากรลงไปเท่าไหร่ต่อเดือน ให้เสนาบดีกระทรวงไปตั้งคณะทำงานพิจารณา สรุปแล้วจึงส่งให้คณะองคมนตรีทูลเกล้าถวายให้ทรงมีพระบรมราชานุญาตต่อไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 764  เมื่อ 24 ส.ค. 15, 20:42

ย้อนกลับไปนับปีพ.ศ. จนตาลายอีกครั้ง  ได้ความชนิดทำให้สับสนขึ้นอีก ว่า

๑  พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงเข้าทำงานในกระทรวงการต่างประเทศเมื่อ ๖ มิถุนายน ๒๔๖๖   
๒  ท่านบันทึกว่าปี ๒๔๖๕
๓  ท่านรับราชการสิ้นปีที่ ๒ ก็ถูกออก  ท่านบันทึกว่าปี ๒๔๖๗ 
๔  ความจริงท่านน่าจะออกจากราชการในปี ๒๔๖๘ 
๔  ท่านทูลขอกลับเข้ารับราชการ แต่จนสิ้นรัชกาลก็มิได้โปรดเกล้าฯลงมา
ถ้าเชื่อตามบันทึก  ท่านก็ออกจากราชการในปลายรัชกาลที่ ๖    แต่พ.ศ.ถูกนับอย่างนี้ขึ้นกับปีใหม่ตรงกับ ๑ เมษายนหรืออย่างไร ก็ไม่ทราบ
ขอตีความว่า เป็นเหตุการณ์คาบเกี่ยวระหว่างปลายรัชกาลที่ ๖ กับต้นรัชกาลที่ ๗ 


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 49 50 [51] 52 53 ... 60
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 20 คำสั่ง