เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 46 47 [48] 49 50 ... 60
  พิมพ์  
อ่าน: 141848 พระองค์เจ้าปฤษฎางค์-ชีวิตลับที่ทรงเผยไม่ตลอด
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 705  เมื่อ 17 ส.ค. 15, 16:35

เรื่องเงินระหว่างพระยาพิพัฒน์โกษากับพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ มีแต่คำพูดของทั้งสองฝ่ายที่ตรงกันข้ามกัน พอสรุปได้ดังนี้
ทางฝ่ายพระยาพิพัฒน์โกษา
1  พระยาพิพัฒน์โกษา ไปพบพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ขณะยังอยู่ในเพศบรรพชิต    ตกลงกันว่าจะไปเรี่ยไรเงินญาติมิตรมาให้ท่านมาเป็นค่าเดินทางกลับสยาม
2  ต่อมาเรี่ยไรเงินได้มาแล้ว  พระยาพิพัฒน์ส่งมาให้  พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทราบว่าถ้ากลับสยามก็ต้องสึก เลยไม่กลับ  เอาเงินนั้นเป็นค่าเดินทางไปเมืองอื่นๆในอินเดีย
3  พระยาพิพัฒน์ได้ทูลให้เสนาบดี (สมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์ฯ) (?) ทราบตามข้อ 2 นี้

ทางฝ่ายพระองค์เจ้าปฤษฎางค์
1  พระยาพิพัฒน์ฯเป็นฝ่ายอาสาเรี่ยไรหาเงินค่าเดินทางให้ท่าน
2  พระยาพิพัฒน์ฯเที่ยวไปเรี่ยไรได้เงินมาแล้ว    พอทราบว่าพระองค์เจ้าปฤษฎางค์จะไม่กลับสยาม   เพราะถ้ากลับก็ต้องถูกจับสึก
ก็เลยงุบงิบเอาเงินนั้นไว้เสีย
3  พระยาพิพัฒน์ฯทำเช่นนี้เพราะแน่ใจว่า พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ไม่มีปากเสียงจะมาบอกใครได้  จึงกล้าฉ้อโกงเงินจำนวนนี้
4  พระยาพิพัฒน์ฯไปฟ้องเสด็จเสนาบดีว่า ส่งเงินให้ไปแล้ว   พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ไม่กลับ  แต่กลับเอาเงินไปเที่ยวเมืองต่างๆในอินเดียเสียหมด
5  วันหนึ่งพระองค์เจ้าปฤษฎางค์เดินทางกลับมาสยาม   สมเด็จเสนาบดีก็ทรงต่อว่าท่านตามที่พระยาพิพัฒน์โกษาฟ้องมา    
6  พระองค์เจ้าปฤษฎางค์เห็นว่าต่อให้ท่านอ้างหลักฐานอย่างใดว่าไม่ได้ทำตามที่ถูกกล่าวหา ก็ป่วยการ  เพราะสมเด็จเสนาบดีถือว่าพระยาพิพัฒน์เป็นคนของท่าน   ถึงทำผิด สมเด็จท่านก็จะไม่เขียนด้วยมือแล้วลบด้วยเท้ากับคนของท่าน  (แปลว่าเชิดชูอุปถัมภ์ แล้วย่อมไม่ทำลาย)

ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงบันทึกถึงความเคราะห์ร้ายของท่านที่ถูกศัตรูกลั่นแกล้งใส่ร้าย   โดยท่านไม่อาจจะแก้ไขให้ผู้ใหญ่เข้าใจได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 706  เมื่อ 17 ส.ค. 15, 16:37

ส่วนน้ำหนักฝ่ายไหนจะมากกว่ากันนั้นต้องดูบริบท หรือไม่ก็มีหลักฐานมากกว่านี้     ดิฉันก็ไม่ทราบเหมือนกันค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 707  เมื่อ 17 ส.ค. 15, 17:00

เพิ่งจะกลับเข้าบ้าน เอาคำบอกเล่าของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์มาเพิ่มน้ำหนักให้ท่านหน่อยครับ ความข้างล่างท่านว่าท่านได้ทุนทรัพย์ก้อนใหญ่ที่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังสีพระราชทานมาถึง ๑๐๐๐ รูปี นับว่ามากโข

ส่วนท่านพระยาพิพัฒน์นั้นเล่า ก็ออกจากเศรษฐีถึงระดับนั้น จะไปยักยอกเงินเรี่ยรายค่าเดินทางกลับของพระ ก็ยากที่จะเชื่อ

ดังนั้นเรื่องจริงๆจะจบลงประการใด ก็คงจะไม่มีที่จะให้ค้นแล้ว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 708  เมื่อ 17 ส.ค. 15, 17:10

ตอนนั้นสมเด็จวังบูรพาอยู่ในอินเดียหรือคะ   ท่านถึงไปเข้าเฝ้าได้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 709  เมื่อ 17 ส.ค. 15, 17:39

ทำหนังสือเข้าไปครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 710  เมื่อ 18 ส.ค. 15, 14:47

ขอเรียงลำดับใหม่
1   พระองค์เจ้าปฤษฎางค์เดินทางจากศรีลังกาไปอินเดีย
2   ระหว่างอยู่อินเดียท่านพบโบราณวัตถุมากมาย  ท่านก็ซื้อบ้าง ได้รับฟรีๆ(คนแบ่งปันมาให้) บ้าง
3   ท่านทำหนังสือกราบทูลสมเด็จวังบูรพา เพื่อจะมีทุนซื้อวัตถุงามๆพวกนี้ต่อไปอีกมาก
4   ท่านได้เงินก้อนใหญ่จากสมเด็จ
ทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นเมื่อท่านอยู่ในอินเดียแล้ว    

ส่วนเรื่องเงินเรี่ยไรของพระยาพิพัฒน์โกษานั้น เป็นเหตุการณ์สมัยท่านอยู่ศรีลังกา   ก่อนจะเดินทางมาอินเดีย
ท่านไม่ได้รับเงินจากพระยาพิพัฒน์ฯ เพราะท่านบอกว่าเที่ยวเรี่ยไรแล้วไม่ได้ส่งมาให้ท่าน

ถ้าอย่างนั้น  ก็อยากทราบข้อมูล   ว่าท่านเอาเงินที่ไหนเดินทางไปตั้งหลายเมืองในอินเดีย  ได้เยี่ยมชมสถานที่สำคัญต่างๆ ซึ่งก็ล้วนแต่มีรายจ่าย  
และมีเงินที่ไหนไปซื้อโบราณวัตถุ   ก่อนท่านจะได้รับ 1000 รูปีจากสมเด็จวังบูรพา
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 711  เมื่อ 18 ส.ค. 15, 15:08

ถ้าอย่างนั้น  ก็อยากทราบข้อมูล   ว่าท่านเอาเงินที่ไหนเดินทางไปตั้งหลายเมืองในอินเดีย  ได้เยี่ยมชมสถานที่สำคัญต่างๆ ซึ่งก็ล้วนแต่มีรายจ่าย 
และมีเงินที่ไหนไปซื้อโบราณวัตถุ   ก่อนท่านจะได้รับ 1000 รูปีจากสมเด็จวังบูรพา

ถ้าคิดในแง่ดี ขณะนั้นท่านอยู่ในเพศบรรพชิต แถมยังมีชื่อเสียงในหมู่ชาวพุทธอย่างน้อยก็ในศรีลังกา อาจจะมีผู้ศรัทธาที่นั่นเป็นเจ้าภาพถวายปัจจัยในการเดินทางและใช้จ่ายสิ่งของให้ท่านก็ได้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 712  เมื่อ 18 ส.ค. 15, 15:11

ถ้าท่านมีผู้ศรัทธามากขนาดนั้น  จะเดินทางมาสยาม   ก็คงไม่ต้องขอให้ขุนนางทางสยามเรี่ยไรเงินเป็นค่าโดยสาร
ท่านคงมีปัจจัยสะสมอยู่มากพอสมควร เพราะผนวชมานานแล้ว  หรือถ้าไม่มี ก็ต้องมีผู้อุปถัมภ์ถวายให้ได้

อีกอย่าง ชาวบ้านเขาศรัทธาท่านในจริยวัตรอันถูกต้องดีงามในสายตาพวกเขา    ถ้าเขาถวายปัจจัย  ก็คงไม่ใช่เพื่อให้ท่านเดินทางท่องเที่ยวไปซื้อสะสมโบราณวัตถุแน่ๆ
ซื้อเก็บเอาไว้เองก็ไม่สมควร   ยิ่งแนะนำให้เจ้านายไทยสะสมวัตถุทางโลกต่อ  ยิ่งไม่เหมาะกับผู้สละทางโลกเพื่อหวังหลุดพ้น
หรือคุณหมอเพ็ญชมพูเห็นอย่างไรคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 713  เมื่อ 18 ส.ค. 15, 15:25

อีกอย่าง ชาวบ้านเขาศรัทธาท่านในจริยวัตรอันถูกต้องดีงามในสายตาพวกเขา    ถ้าเขาถวายปัจจัย  ก็คงไม่ใช่เพื่อให้ท่านเดินทางท่องเที่ยวไปซื้อสะสมโบราณวัตถุแน่ๆ
ซื้อเก็บเอาไว้เองก็ไม่สมควร   ยิ่งแนะนำให้เจ้านายไทยสะสมวัตถุทางโลกต่อ  ยิ่งไม่เหมาะกับผู้สละทางโลกเพื่อหวังหลุดพ้น
หรือคุณหมอเพ็ญชมพูเห็นอย่างไรคะ


เรื่องนี้เทียบได้กับชาวพุทธในบ้านเรา พระรูปไหนมีชื่อเสียง ก็มีลูกศิษย์ฐานะดีเป็นโยมอุปฐากคอยเกี้อหนุนปัจจัยเป็นแสนเป็นล้าน เขาเหล่านั้นน้อยคนจะติดตามว่าท่านเอาเงินไปใช้จ่ายอะไรบ้าง ตัวอย่างที่เห็นอยู่ก็หลายรูป บางรายก็ถูกให้สึกไปแล้ว ห่มเขียวอยู่เมืองนอกก็มี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 714  เมื่อ 18 ส.ค. 15, 16:19

เท่าที่เคยอ่านมา  อุบาสกอุบาสิกาที่ศรีลังกาเขาเคร่งกว่าของเรานะคะ   

เรื่องในกระทู้นี้เกิดเมื่อ 100 ปีมาแล้ว     แม้แต่ในสยาม คติผิดๆเรื่อง "ชั่วช่างดี ดีช่างสงฆ์" ก็ยังไม่เกิดในบ้านเมือง     ตรงกันข้าม มีการชำระอธิกรณ์เกิดขึ้นเป็นระยะ
อย่าเอาปัจจุบันไปเป็นมาตรฐานเลย   
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 715  เมื่อ 18 ส.ค. 15, 19:57

เอกสารหลักฐานทางประวัติสาสตร์ ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติแสดงให้เห็นว่า ในกระบวนการวินิจฉัยของราชสำนักสยามนั้น ไม่เพียงแต่จะเป็นการพิจารณาจากหลักฐานเอกสารที่รัฐบาลอินเดียทำสำเนาส่งมา ซึ่งทางอินเดียและอังกฤษเองก็มีกระบวนการพิสูจน์ที่ละเอียดยิ่ง แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีพระชินวรวงศ์ ภิกษุ (อดีตพระองค์เจ้าปฤษฎางค์) ซึ่งจาริกแสวงบุญอยู่แถบประเทศศรีลังกาและอินเดียในขณะนั้น เดินทางไปตรวจสอบหลักฐานถึงถิ่นที่ค้นพบ โดยเฉพาะจารึกโบราณ อันเป็นหลักฐานสำคัญที่ระบุว่า พระอัฐิธาตุที่พบเป็นของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

หลักฐานทุกอย่างที่ได้รับจากรัฐบาลอินเดีย และจากพระชินวรวงษ์ ถูกนำสู่ที่ประชุมเสนาบดี ซึ่งหลายท่านเชี่ยวชาญทั้งทางพุทธประวัติ ภาษาอังกฤษ ภาษาบาลี รวมไปถึงความสามารถในการวิเคราะห์อักษรพราหมี ซึ่งเป็นอักษรโบราณสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช นำโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งขณะนั้นดำรงพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เพื่อถกเถียง แลกเปลี่ยนความเห็น และตรวจสอบหลักฐานร่วมกันอย่างละเอียด
ขอเรียงลำดับใหม่
1   พระองค์เจ้าปฤษฎางค์เดินทางจากศรีลังกาไปอินเดีย
2   ระหว่างอยู่อินเดียท่านพบโบราณวัตถุมากมาย  ท่านก็ซื้อบ้าง ได้รับฟรีๆ(คนแบ่งปันมาให้) บ้าง
3   ท่านทำหนังสือกราบทูลสมเด็จวังบูรพา เพื่อจะมีทุนซื้อวัตถุงามๆพวกนี้ต่อไปอีกมาก
4   ท่านได้เงินก้อนใหญ่จากสมเด็จ
ทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นเมื่อท่านอยู่ในอินเดียแล้ว
   
ต่อ ๕ นะครับ ผลงานของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ดังกล่าว เป็นที่พอพระราชหฤทัย จนโปรดเกล้าให้กลับมาช่วยสมณกิจสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส

๖ ต้น ค.ศ. ๑๙๐๐ ได้กลับมาลังกา แล้วเตรียมตัวจะกลับกรุงเทพ แต่ได้รับโทรเลขจากเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศผ่านกงสุลสยามในโคลัมโบว่า จะเข้าไปแบบเป็นพระไม่ได้ เพราะต้องปาราชิกแล้ว จึงยกเลิกแผนที่จะกลับ

ฉะนั้น การเรี่ยไรของเจ้าพระยาพิพัฒน์และการรอคอยเงินค่าเดินทาง คงอยู่ในระหว่างข้อ ๖ นี้
บันทึกการเข้า
สาคร
อสุรผัด
*
ตอบ: 18


ความคิดเห็นที่ 716  เมื่อ 19 ส.ค. 15, 13:40

ซื้อเก็บเอาไว้เองก็ไม่สมควร   ยิ่งแนะนำให้เจ้านายไทยสะสมวัตถุทางโลกต่อ  ยิ่งไม่เหมาะกับผู้สละทางโลกเพื่อหวังหลุดพ้น

สำหรับท่านอื่นอาจคิดได้ในข้อนี้
แต่ถ้าเป็นพระองค์ท่าน จะเลือกไปอีกทางเสมอครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 717  เมื่อ 20 ส.ค. 15, 15:21

คุณสาครก็คงเห็นด้วย ว่าการตัดสินพระทัยผิดหลายครั้งของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ นำผลเสียมาสู่ท่าน
แต่บุญท่านก็มีมาก   ความฉลาดปราดเปรื่องของท่านนั่นแหละทำให้ท่านเป็นที่ยอมรับนับถือของคนหมู่มาก   ไม่ว่าจะสมัยเรียน  สมัยทำงานใหม่ๆ    และเมื่อไปผนวชก็เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้านที่ต่างเชื้อชาติสัญชาติ

สังเกตว่า ท่านดวงดีตอนอยู่กับคนมากๆ   แต่พออยู่กับคนระดับเดียวกัน เช่นบรรดาขุนนางหรือเจ้านายชั้นพระอนุวงศ์    มักจะไม่ค่อยเป็นที่นิยม     ยิ่งถ้าเกี่ยวกับเจ้านายที่มีพระราชอำนาจด้วยแล้ว   ท่านทำอะไรหลายอย่างที่ไม่ควรทำ  ทำให้เจ้านายที่พร้อมจะทรงให้อภัย หรือช่วยเหลือท่าน  ทรงทำไม่ได้ตลอดรอดฝั่ง

ในบั้นปลาย  เมื่อสิ้นเจ้านายที่ทรงพระเมตตา   ผู้ใหญ่ระดับเดียวกันก็อาจจะล่วงลับหรือไม่ก็ไม่เอาธุระด้วยอีก    ท่านจึงต้องอยู่โดดเดี่ยวตลอดพระชนม์ชีพที่ยาวนานกว่าคนรุ่นเดียวกัน
บันทึกการเข้า
kui045
มัจฉานุ
**
ตอบ: 94


ความคิดเห็นที่ 718  เมื่อ 20 ส.ค. 15, 16:30

เพิ่งได้เข้าอ่าน หลังจากไม่ได้ log in มาเป็นปี ยังดี ที่จำ login กับ passwordได้

ตามอ่านตั้งแต่บ่าย จนเย็น เพิ่งถึงหน้าที่ 25-26
อ่านแล้วสนุกมาก เพิ่งได้รับรับรู้เรื่องราวอีกแง่มุมของตัวท่าน ที่ท่านได้เขียนเอง

ขอบคุณมากครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 719  เมื่อ 20 ส.ค. 15, 16:39

ต้อนรับคุณ kui045 เจ้าเก่าค่ะ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 46 47 [48] 49 50 ... 60
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 20 คำสั่ง