เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 43 44 [45] 46 47 ... 60
  พิมพ์  
อ่าน: 141880 พระองค์เจ้าปฤษฎางค์-ชีวิตลับที่ทรงเผยไม่ตลอด
พีรศรี
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 660  เมื่อ 10 ส.ค. 15, 17:41

ผมเองเขียนบทความเรื่อง อุบัติเหตุของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ เมื่อปีกลาย เพราะได้พบข้อมูลเรื่องความเจ้าปาน
ซึ่งชี้ให้เห็นว่า การที่พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ถูกลงทัณฑ์ทางสังคมโดยราชสำนักในครั้งนั้น
ก็เพราะความประพฤติส่วนพระองค์เอง มิใช่แนวความคิดทางการเมือง ที่เป็นความขึ้นก่อนนานแล้ว
เอกสารที่คุณ Navarat.c เอามาให้อ่านกัน หรือบันทึกความทรงจำของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์เอง
มันน่าสนใจตรงที่ความเว้าแหว่ง  หน้าที่ถูกเซ็นเซอร์  มุมมองที่หลากหลาย
เปิดช่องให้คิดไปได้ต่างๆ นานา ว่าจริงๆ แล้วเกิดอะไรขึ้นกันแน่
เอกสารใดๆ มันก็เป็น representation of fact มิใช่ fact ใช่ไหมครับ
ความ “เพี้ยน” ส่วนหนึ่งอาจจะเกิดในองค์เอง  แต่ส่วนหนึ่ง สังคมอาจจะ “จัดให้” ก็ได้นะครับ
ทั้งเมื่อร้อยปีล่วงมาแล้ว และในปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 661  เมื่อ 10 ส.ค. 15, 18:41


เอกสารใดๆ มันก็เป็น representation of fact มิใช่ fact ใช่ไหมครับ
ความ “เพี้ยน” ส่วนหนึ่งอาจจะเกิดในองค์เอง  แต่ส่วนหนึ่ง สังคมอาจจะ “จัดให้” ก็ได้นะครับ
ทั้งเมื่อร้อยปีล่วงมาแล้ว และในปัจจุบัน

มิใช่ค่ะ  เอกสารที่เป็น fact ก็มี   เช่นข่าวที่รายงานตามข้อเท็จจริง   หรือข้อเท็จจริงที่พิสูจน์แล้ว บันทึกในเอกสาร

ส่วนเรื่องเพี้ยนนั้น   พูดแบบนี้มันก็ถูกแบบกำปั้นทุบดิน   แม้แต่คนป่วยที่ป่วยเป็นโรคจิตจริงๆ หมอวินิจฉัยแล้วว่าป่วย   ถ้าจะเชื่อแบบนี้ก็บอกว่าหมอนั่นแหละคือสังคมที่จัดให้เขา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 662  เมื่อ 10 ส.ค. 15, 19:03

      ประเด็นในเรื่องนี้ คือมีช่องโหว่อยู่ในชีวิตของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์หลายตอนด้วยกัน     ทำให้ชีวิตของเจ้านายซึ่งนับว่าเป็นคนสำคัญคนหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๕  เป็นที่เข้าใจไม่ครบถ้วน
     ผู้ศึกษาต้องมาสร้างสะพานเชื่อมส่วนที่หายไปด้วยตัวเอง  ปะติดปะต่อกันว่าเกิดอะไรขึ้น    ผลคือผิดบ้างถูกบ้าง    เพราะส่วนที่หายไปไม่ใช่ส่วนเล็กน้อย  หากเป็นส่วนที่ชี้ให้เห็นว่าชะตาของท่านเป็นไปเช่นนี้เพราะอะไรบ้าง  วิธีคิดและการตัดสินใจของท่าน มีส่วนประมาณกี่ %  และปัจจัยสภาพแวดล้อมประมาณกี่ %
    อย่างไรก็ตาม คำตอบในกระทู้นี้ก็ไม่ได้ผูกขาดว่าถูกต้องแน่นอน    ต้องเผื่อไว้ว่าการวิเคราะห์วิจารณ์ใดๆ ก็คือคำตอบหนึ่งเท่านั้น  ต่อไปอาจมีตัวแปร เช่นข้อมูลใหม่โผล่เข้ามา ทำให้ข้อมูลเก่าถูกลบล้าง หรือหันเหไปอีกทิศทางก็ได้
   ถึงกระนั้น  การศึกษาก็ต้องดำเนินต่อไป จะหยุดรอรวบรวมข้อมูล 100% เสียก่อน  อาจจะไม่มีวันนั้นมาถึงเลยก็ได้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 663  เมื่อ 10 ส.ค. 15, 19:15

ผมกลับไปค้น archive ของ นสพ.ในอังกฤษตามลิงก์เดิมที่เคยลงไว้ คราวนี้ระบุวันที่ 7 July 1876 ค้นหาชื่อ Gladstone ได้ข้อมูลเพิ่มเติมมาอย่างวับๆแวมๆเพราะเขาให้ดูผลการค้นหาเป็นตัวอย่างพอน้ำลายหกเพียงเล็กน้อย ถ้าอยากอ่านทั้งหมดต้องเสียสตางค์ค่าแก้ความสงสัย

สิ่งที่ได้มาเป็นอย่างนี้ครับ
1. Gladstone ไปแจกรางวัลที่ King's College ในวันนั้นจริง นสพ.ออกข่าวกันแทบทุกฉบับ
2. มีชื่อพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ปรากฎในข่าวจริง อย่างน้อยก็ใน นสพ. หลายฉบับ แต่ที่ผมหาไม่พบในตอนแรกเพราะชื่อที่ปรากฎใน Archive นั้นสะกดผิด น่าจะเป็นเพราะ นสพ.ลงข่าวผิดหรือ/และระบบ OCR ใน archive ทำงานผิดพลาด ชื่อที่ปรากฏในข่าวส่วนมากจะเป็น Mr. Prisiding Chomsai, Prididony Chomsai บางฉบับ (London Daily News) ปรากฏในชื่อ Mr. Frisidang Chomnsai
3. ท่านได้รับรางวัล Freake Prize จริง (บางฉบับเขียนว่า Freaks)
4. Northern Echo กล่าวว่า (ผมแก้ไขที่พิมพ์ผิดแล้ว) "Among the recipients of prizes, Prisdang Choomsai, a native of Siam occupied a prominent position.

พอจะยืนยันได้ว่าที่ท่านทรงเขียนไว้ อย่างน้อยต้องมีพื้นฐานความจริงอยู่บ้าง เพียงแต่จะเสริมเติมให้เกินเลยอย่างไรหรือไม่นั้น คงต้องพิสูจน์กันต่อไปครับ

ขอขอบคุณคุณม้ามากครับที่นำความตอนนี้มาบอก สำหรับผมคิดว่าปิดประเด็นเรื่องข้อสงสัยที่ว่าท่านทรงปลอมแปลงเอกสารไปเลย เรื่องรางวัลที่ได้รับวันนั้นมากถึงขนาดสื่อหลายฉบับกล่าวขวัญถึง เพียงพอแล้วที่จะยืนยันว่าท่านทรงเป็นคนเรียนเก่งจริง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 664  เมื่อ 10 ส.ค. 15, 19:25

ผมเองเขียนบทความเรื่อง อุบัติเหตุของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ เมื่อปีกลาย เพราะได้พบข้อมูลเรื่องความเจ้าปาน
ซึ่งชี้ให้เห็นว่า การที่พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ถูกลงทัณฑ์ทางสังคมโดยราชสำนักในครั้งนั้น
ก็เพราะความประพฤติส่วนพระองค์เอง มิใช่แนวความคิดทางการเมือง ที่เป็นความขึ้นก่อนนานแล้ว
เอกสารที่คุณ Navarat.c เอามาให้อ่านกัน หรือบันทึกความทรงจำของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์เอง
มันน่าสนใจตรงที่ความเว้าแหว่ง  หน้าที่ถูกเซ็นเซอร์
มุมมองที่หลากหลาย
เปิดช่องให้คิดไปได้ต่างๆ นานา ว่าจริงๆ แล้วเกิดอะไรขึ้นกันแน่
เอกสารใดๆ มันก็เป็น representation of fact มิใช่ fact ใช่ไหมครับ
ความ “เพี้ยน” ส่วนหนึ่งอาจจะเกิดในองค์เอง  แต่ส่วนหนึ่ง สังคมอาจจะ “จัดให้” ก็ได้นะครับ
ทั้งเมื่อร้อยปีล่วงมาแล้ว และในปัจจุบัน

ผมได้นำเสนอเรื่องของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ในครั้งนี้ด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่งยวด โดยยอมเสนอเอกสารชั้น primary โดยมิได้ตัดทอนตรงไหน แทนการย่อยความเอามาเขียนตามวิธีการปกติของผม เพราะกลัวข้อกล่าวหาเรื่องจัดให้นี่แหละครับ
ดังนั้นจะเป็นความกรุณามากหากคุณพีรศรีจะระบุให้ชัดๆ ว่ามีตอนใดที่น่าสงสัย ว่าเรื่องราวชีวประวัติของท่านจะถูกผู้ใดผู้หนึ่งบิดเบือน หรือปกปิดความจริง เราจะได้มาวิเคราะห์กันต่อไป
บันทึกการเข้า
พีรศรี
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 665  เมื่อ 11 ส.ค. 15, 06:43

ความสนุกของเรื่องนี้ผมว่าเริ่มตั้งแต่พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ท่านพิมพ์ ประวัติย่อ ของท่าน
แล้ว “ดึง” บางหน้าออกไป  คงไว้แต่สารบัญ
(อันนี้คือที่ผมว่าเป็นหน้าที่ถูกเซ็นเซอร์  ซึ่งจริงๆ แล้วคือการ self-censor)
นักวิชาการสมัยหนึ่งก็ตีความว่า การทำหนังสือกราบบังคมทูลความเห็นทางการเมืองของท่าน
ทำให้รัชกาลที่ ๕ ไม่โปรด  ถูกเรียกตัวกลับ และถูกกลั่นแกล้งต่างๆ นานา จนอยู่เมืองไทยไม่ได้ ฯลฯ
มาในบัดนี้ เอกสารจดหมายเหตุมีให้อ่านมากขึ้น เข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น
แต่การวิเคราะห์และตีความ ก็ยังคงต้องทำอย่างระมัดวังเหมือนเดิม ใช่ไหมครับ
ผมแอบ “ระแวง” เอกสารชุดนี้ บางชิ้น โดยเฉพาะพวกรายงานข่าวความเคลื่อนไหวของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์
ซึ่งมีลักษณะของเรื่องที่เล่าต่อๆ กันมาน่ะครับ
เป็นแค่ความรู้สึกนะครับ จะให้ไปชี้ว่าย่อหน้าไหนคงไม่มีเวลา
เป็นไปได้ไหมครับว่า พระองค์ปฤษฎางค์ท่านมีศัตรูมาก และศัตรูท่านช่วยกันปล่อยข่าวออกมา
ภาษาฝรั่งเรียก rumour mill  จริงบ้างเท็จบ้าง ระคนกันไป
จะจริงหรือเท็จ ถ้าบันทึกบนกระดาษ ทุกวันนี้ยังอยู่ มันก็เป็นเอกสารจดหมายเหตุน่ะครับ
นี่คือที่ผมคิดว่า เป็น representation of fact ครับ
เอกสารจดหมายเหตุอีกชุดหนึ่ง ยืดยาวกว่านี้ และมีลักษณะของการ “สหบาทา” มากกว่ามาก
คือเรื่องของคดีพระปรีชากลการครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 666  เมื่อ 11 ส.ค. 15, 07:25

ผมเห็นด้วยกับคุณพีรศรีอย่างหนึ่งก็คือ มันมีหลักฐานของการรุม เอาว่า ผมขอเปลี่ยนไปใช้คำว่าสหวาทีก็แล้วกัน ชนิดที่โบราณเรียกว่า ผู้ดีว่า-ขี้ข้าพลอย พอสมควรทีเดียวในหลายๆเรื่องของประวัติศาสตร์ คือมีคนใกล้ชิดพระเจ้าอยู่หัวจะคอยเพ็ดทูลเรื่องราวต่างๆของบุคคลที่ไม่ค่อยจะทรงโปรดอยู่แล้ว ให้ไม่โปรดอยู่อย่างนั้นหรือไม่โปรดยิ่งขึ้น โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นเรื่องเท็จหรือจริง อย่างไรก็ดี หากเป็นเรื่องเท็จ ภายหลังก็จะปรากฏความจริงโผล่ให้เห็นเสมอๆ

แต่คดีพระปรีชาก็ดี หรือโดยเฉพาะ เรื่องราวของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ตามเอกสารที่ผมนำมาเสนอนี้ ผมยังมองไม่เห็นว่ามีใครใส่ไข่ให้ท่านในเอกสารที่ถวายรายงานเข้ามาเลย ส่วนความเห็นส่วนพระองค์ของเจ้านายก็ตรงไปตรงมาตามเนื้อผ้า ไม่เห็นว่าจะเกินจริงตรงไหน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 667  เมื่อ 11 ส.ค. 15, 07:28

อ้างถึง
เป็นแค่ความรู้สึกนะครับ จะให้ไปชี้ว่าย่อหน้าไหนคงไม่มีเวลา

ไม่ต้องถึงกับบอกย่อหน้าก็ได้ครับ เอาที่ติดความรู้สึกอยู่ก็พอว่าเรื่องไหนที่น่าระแวงว่าจะไม่จริงตามนั้น
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 668  เมื่อ 11 ส.ค. 15, 10:27

แว่บมารายงานตัวครับว่ากลับมาเมืองไทยแล้นครับ ตอนนี้หลังจากอ้างว่าได้เป็นด๊อกอะไรกับเค้าบ้างก็เลยปลอมตัวเป็นครูมหา'ลัยแถวต่างจังหวัด  ปรากฏว่าโดนจัดสรรงานหน้ามืดเลย  บ้านช่องก็ยังไม่เสร็จ เตรียมงานอะไรต่างๆ ก็ไม่ทัน  taxi ก็ยังไม่ได้ซื้อ  รักแท้ยังไม่มีเวลาตามหา  เรียกว่าไม่ได้พักหายใจหายคอกันเลย ลังเล  ร้องไห้  ร้องไห้   

เห็นกระทู้นี้วิ่งไปไกลเกือบเลยดาวพลูโตแล้วยังไม่มีเวลาไล่ตามอ่าน  เลยมาแจ้งข่าวก่อนเพราะมีพรายกระซิบบอกว่าท่านอาจารย์ใหญ่ที่รอจะเลี้ยงปูโตๆ  กับท่านอาจารย์ใหญ่กว่าที่รอจะเกทับด้วยกุ้งแม่น้ำมันเยิ้มที่ใหญ่กว่านั้นไปอีกถามถึงอยู่


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 669  เมื่อ 11 ส.ค. 15, 10:31

ถึงเวลารับใช้ชาติแล้ว ดร.ประกอบ  ยิ้มเท่ห์

2. ผมค้นข่าวใน archive ของหนังสือพิมพ์ในอังกฤษจาก http://www.britishnewspaperarchive.co.uk/search
ผมกลับไปค้น archive ของ นสพ.ในอังกฤษตามลิงก์เดิมที่เคยลงไว้ คราวนี้ระบุวันที่ 7 July 1876 ค้นหาชื่อ Gladstone ได้ข้อมูลเพิ่มเติมมาอย่างวับๆแวมๆเพราะเขาให้ดูผลการค้นหาเป็นตัวอย่างพอน้ำลายหกเพียงเล็กน้อย ถ้าอยากอ่านทั้งหมดต้องเสียสตางค์ค่าแก้ความสงสัย

ถ้าได้อ่านจากต้นฉบับในหนังสือพิมพ์น่าจะดี  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 670  เมื่อ 11 ส.ค. 15, 10:43

ดูจากดวงว่าดร.ประกอบเทพ สอนอยู่มหา'ลัยไหน    ได้คำตอบมาว่าอยู่แถวชานเมืองถิ่นเก่าของดิฉัน    ดวงบอกว่าขับรถห่างไปประมาณ 20 นาทีมีร้านขายปูหลนอร่อยมาก   ขนาดตั้งอยู่ในดงที่เข้ายากกว่ามรกตนคร    ลูกค้ายังดั้นด้นไปกินกันเต็มร้าน
เคยตั้งใจจะพาท่านอาจารย์ใหญ่กว่า และครอบครัวท่าน  ไปชิมกุ้งแม่น้ำที่ร้านนี้ แต่พอดีเขาปิดปรับปรุง ท่านเลยอด 

ส่วนตัวท่านอาจารย์ใหญ่กว่ามีร้านกุ้งแม่น้ำ ประจำของท่าน อยู่ที่อยุธยา     ถ้าท่านหลวมตัวพาเจ้าชายปางฟ้าไปชิมก็คงจะไปร้านนั้นค่ะ 
เลยไปไม่ไกลก็ถึงปากช่อง  คุณหมอเพ็ญชมพูอาจใจดีพาไปหาของอร่อยแถวนั้นก็ได้  ต้องปะเหลาะเอาเอง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 671  เมื่อ 11 ส.ค. 15, 15:14

เจอน้ำพริกปูหลนเข้าให้ ด๊อกเตอร์ประกอบก็หายจ้อยไปเลย ได้กินรึยังล่ะพ่อเจ้าประคุณ จะให้จุดธูปมั้ย เอากี่ดอก บอกด้วย
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 672  เมื่อ 12 ส.ค. 15, 14:48

นักเรียนใหม่ เพิ่งลงทะเบียนครับ มาเรียนตอนใกล้ปิดคอร์สครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 673  เมื่อ 13 ส.ค. 15, 17:58

^
สงสัยจะทนความยั่วน้ำลายของน้ำพริกปูหลนไม่ได้ เชิญเลยครับ กันเอง ๆ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 674  เมื่อ 13 ส.ค. 15, 17:59

นอกจากพระองค์เจ้าปฤษฎางค์จะทรงนิพนธ์เป็นร้อยแก้วได้อย่างไหลลื่นไม่หยุดแล้ว ท่านยังนิพนธ์ร้อยกรองไว้ด้วย และทรงนำมาพิมพ์ในหนังสือพระประวัติเล่มหนึ่ง ก็หลายบทอยู่ ล้วนแต่ประชดประชันคนรอบข้าง ทั้งเพื่อนและฝูง ผมได้คัดเอาที่สั้นที่สุดแล้วมาให้คุณๆอ่านดูเป็นตัวอย่าง เป็นสำนวนที่ท่านทรงโฆษณาพระประวัติเล่ม ๒ ของท่าน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 43 44 [45] 46 47 ... 60
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.248 วินาที กับ 19 คำสั่ง