เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 30
  พิมพ์  
อ่าน: 123527 สัตว์ประหลาด ๔
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 300  เมื่อ 15 มี.ค. 16, 14:25

รูปล่าง-ยังอยู่ในวัยอ่อน-ลักษณะต่างๆยังเจริญไม่เต็มที่

ซ้าย ปลาไคเมราจมูกยาวแปซิฟิก Rhinochimaera pacifica  ขวา เมื่อเทียบกับตัวที่อยู่ในวัยอ่อน  ยิงฟันยิ้ม

ภาพจาก radionz.co.nz


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 301  เมื่อ 15 มี.ค. 16, 14:36

รูปล่างนั้นมีเผยแพร่ให้เห็นมานานแล้ว  ด้วยรูปลักษณ์ที่แปลก  ลำตัวเป็นเมือกลื่น(เพราะยังเด็ก)  เรียกเสียงฮือได้โขอยู่

อยู่หน้าแรกของกระทู้สัตว์ประหลาดเชียว  ยิงฟันยิ้ม

ได้มาจากเวปนี้ครับ มันเป็นตัวอะไรครับ
http://www.sudipan.net/phpBB2/viewtopic.php?p=27304
long-nosed chimaera

ยังปรากฏใน Ripley's Believe It or Not! (2007)  บรรยายว่า Using its long snout like a metal detector, the pacific spookfish finds its prey hiding on the sea floor by sending its electrical field!

ภาพจาก http://jog.cocolog-nifty.com/english/2009/02/ripleys-belie-8.html


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 302  เมื่อ 15 มี.ค. 16, 15:15

Chimaera เป็นชื่อสัตว์ประหลาดในตำนานกรีกที่รวมอวัยวะของสัตว์หลายชนิดไว้ในตัวเดียวกัน
เหตุที่ปลาชนิดนี้ได้ชื่อว่า Chimaera ก็เพราะมันมีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างปลากระดูกอ่อนกับปลากระดูกแข็ง  แสดงถึงรอยต่อวิวัฒนาการจากปลากระดูกอ่อนมาเป็นปลากระดูกแข็ง  หรือจะว่ามันเป็น living fossil ก็พอไหว

เท่าที่ทราบ ไคเมราเป็น ปลากระดูกอ่อน (cartilaginous fish) ยังไม่เคยได้ยินว่ามันอยู่ก้ำกึ่งระหว่างปลากระดูกอ่อนกับกระดูกแข็ง รบกวนคุณธสาครช่วยขยายความตรงนี้ด้วย (พร้อมเว็บไซต์ที่กล่าวถึงเรื่องนี้) ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 303  เมื่อ 15 มี.ค. 16, 21:14

เจ้าตัวพวกนี้น่าจะเคยมาเยือนกระทู้แล้ว  แต่จำไม่ได้ว่าชื่ออะไร
เห็นปุ๊บ นึกถึงคุณเพ็ญชมพูปั๊บ  ว่าต้องรู้จักแน่นอน
เลยเก็บภาพเอามาฝากค่ะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 304  เมื่อ 15 มี.ค. 16, 22:15

เคยพามาหลายครั้งแล้วหนอ  ยิ้มเท่ห์

ไม่เคยเห็นสัตว์ชนิดนี้  มันคือตัวอะไรคะ



คุณเทาชมพูเคยพามาโชว์ตัวแล้ว

มีสัตว์ประหลาดตัวใหม่มาโชว์คุณเพ็ญชมพู  



รู้แต่ชื่อว่า  capybara   เป็น  the world's largest rodent     แต่เป็นตัวอะไรต้องขอถามในกระทู้นี้อีกที

คาปีบารา (capybara) สัตว์ประเภทหนูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ตัวขนาดเท่าหมู โตเต็มที่ยาวถึงเมตรกว่า และหนักเกือบ ๘๐ กิโลกรัม ชอบอยู่เป็นฝูงราว ๒๐ ตัว กินหญ้าและพืชนํ้าเป็นอาหาร



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 305  เมื่อ 17 มี.ค. 16, 11:31

Amazing story of Dindim

          ดินดิม(Dindim) เพนกวินซึ่งมีถิ่นแพร่พันธุ์อยู่ที่ปลายทวีปอเมริกาใต้(Magellanic penguin)
ว่ายทวนขึ้นเหนือมาบราซิลทุกๆ ปีเพื่อมาเยี่ยมเยียนและอาศัยอยู่ด้วย(ตั้งแต่เดือนมิย.-กพ.) กับคุณปู่
วัย 71 ปี (Joao Pereira de Souza) ผู้ซึ่งเคยช่วยชีวิตดินดิมไว้ในปี 2011
         ตอนนั้นคุณปู่พบดินดิมซึ่งอพยพมาหากินที่เกาะแถบชายฝั่งกรุง Rio de Janeiro ในสภาพอดอยาก
เจียนตาย, เนื้อตัวชุ่มคราบน้ำมัน คุณปู่ดูแลจนดินดิมแข็งแรงแล้วจึงนำส่งทะเลแต่ดินดิมไม่ยอมจากไปคงอาศัย
อยู่ด้วยนานถึง 11 เดือนจนเมื่อดินดิมผลัดขนใหม่แล้วจึงได้หายตัวไป...แล้วจึงกลับมาใหม่  



ภาพ youtube


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 306  เมื่อ 17 มี.ค. 16, 11:52

รักกันอยู่ขอบฟ้า         เขาเขียว
เสมออยู่หอแห่งเดียว    ร่วมห้อง




ภาพจาก เดลิเมล
 


บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 307  เมื่อ 19 มี.ค. 16, 00:45

Chimaera เป็นชื่อสัตว์ประหลาดในตำนานกรีกที่รวมอวัยวะของสัตว์หลายชนิดไว้ในตัวเดียวกัน
เหตุที่ปลาชนิดนี้ได้ชื่อว่า Chimaera ก็เพราะมันมีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างปลากระดูกอ่อนกับปลากระดูกแข็ง  แสดงถึงรอยต่อวิวัฒนาการจากปลากระดูกอ่อนมาเป็นปลากระดูกแข็ง  หรือจะว่ามันเป็น living fossil ก็พอไหว

เท่าที่ทราบ ไคเมราเป็น ปลากระดูกอ่อน (cartilaginous fish) ยังไม่เคยได้ยินว่ามันอยู่ก้ำกึ่งระหว่างปลากระดูกอ่อนกับกระดูกแข็ง รบกวนคุณธสาครช่วยขยายความตรงนี้ด้วย (พร้อมเว็บไซต์ที่กล่าวถึงเรื่องนี้) ยิงฟันยิ้ม
คุณเพ็ญชมพูท้วงได้ถูกต้อง  องค์ความรู้ในปัจจุบันชี้ตำแหน่งของ chimaera ลงไปที่ Class Chondrichthyes (คลาสของปลากระดูกอ่อน)
ที่ผมโพสต์ไปนั้น  เป็นการบรรยายแบบสบายๆ  ไม่ได้เคร่งครัดตามหลักอนุกรมวิธาน
ที่ถูกต้องผมควรบรรยายว่า chimaera เป็นปลากระดูกอ่อน  ที่ปรากฏลักษณะบางประการของปลากระดูกแข็ง  อันแสดงถึงรอยต่อทางวิวัฒนาการ....."

ลองดู "การ์ดความรู้" ใบนี้  ซึ่งบรรยายเกร็ดความรู้พื้นๆ เหมาะแก่ประชาชนทั่วไป
การ์ดนี้เล่าความว่า chimaera มีลักษณะบางประการของปลากระดูกแข็ง เช่น ตาโต กับ ช่องเหงือกรูเดียว  โดยเลี่ยงการใช้ศัพท์ทางอนุกรมวิธาน
ผมก็มาแนวๆ การ์ดใบนี้แหละครับ

บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 308  เมื่อ 19 มี.ค. 16, 01:01

แต่ถ้าจะวิจารณ์กันจริงจัง  เป็นเรื่องเป็นราว  ก็ต้องปูเสื่อ จิบน้ำเย็น กับพัดลมอีกตัวครับ
ก) chimaera นอกจากมีลักษณะบางประการของปลากระดูกแข็ง  ยังเป็นปลากระดูกอ่อนที่มีลักษณะห่างเหินจากปลากระดูกอ่อนชนิดอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ
ข) อนุกรมวิธาน คือ ศาสตร์ว่าด้วยการจำแนกสิ่งมีชีวิตเป็นหมวดหมู่  โดยสังเกตจากลักษณะภายนอกและอวัยวะภายใน 
แต่สัตว์มีวิวัฒนาการมาหลายร้อยล้านปี  มีกิ่งแขนงมากมาย  มีลักษณะปรากฏที่เหลื่อมล้ำและซับซ้อน  ไม่ใช่รถยนต์ที่จะสามารถจำแนกได้อย่างเด็ดขาด  ว่าเป็นยี่ห้อใด รุ่นใด ไมเนอร์เชนจ์หรือไม่
ในกรณีที่เกิดความอึมครึม  นักอนุกรมวิธานย่อมเห็นแตกต่างกันไป  จึงเกิดเป็นอนุกรมวิธานสูตรใครสูตรมัน  สร้างความเวียนหัวให้แก่นักศึกษา 
โดยมากมักเกิดกับระดับ Family , Genus , species ที่สถานภาพยังไม่นิ่ง (ส่วนระดับ Order , Class , Phylum จะเสถียรกว่า  ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง)

สมัยเรียน..เข้าห้องสมุด  เพื่อศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม  แทนที่จะได้ความกระจ่าง  กลับสับสนเพิ่มขึ้น  เพราะตำราเทศเขียนไว้ต่างจากที่อาจารย์สอน
หรือแบบว่า..เรียนจบมาแค่ปีเดียว  กลับมาเจอรุ่นน้อง  รุ่นน้องบอกว่า  ปลาตัวนี้แยกออกเป็น 2 สปีชีส์แล้วนะพี่  ส่วนปลาตัวนั้นถูกแยกออกไปอยู่อีกสกุลหนึ่งแล้วนะพี่  โอย..ตูจะเรียนไปทำไมเนี่ย
แล้วยังมี..พี่ปริญญาเอกบางคน  กำลังเอาเรื่อง DNA เข้ามาช่วยจับ  ปลาสปีชีส์เดียวที่เคยรู้จัก  กำลังจะแตกออกเป็นนับสิบสปีชีส์ เศร้า

สำหรับผู้เรียนสายศิลป์  ผมยกตัวอย่างเปรียบเทียบ  อนุกรมวิธานเหมือนกับการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุด
หนังสือบางเล่มมีเนื้อหาคาบเกี่ยว  เป็นประวัติศาสตร์ก็ได้  เป็นเทคโนโลยีก็ได้  บรรณารักษ์ห้องสมุดหนึ่งอาจจัดไว้ในตู้ประวัติศาสตร์  แต่บรรณารักษ์อีกที่หนึ่งอาจจัดไว้ในตู้เทคโนโลยี
นั่นคือสัตว์ชนิดเดียวกัน  แต่อาจถูกจัดหมวดหมู่ไว้ต่างที่กัน  ตามแต่ทัศนะของนักอนุกรมวิธาน

https://en.wikipedia.org/wiki/Chimaera
In some classifications, the chimaeras are included in class Chondrichthyes of cartilaginous fishes; in other systems, this distinction may be raised to the level of class.
อนุกรมวิธานบางตำรา  chimaera ถูกจัดอยู่ใน คลาสของปลากระดูกอ่อน,  หากจัดโดยระบบอื่น  ความโดดเด่นของ chimaera อาจถูกยกขึ้นสู่ระดับ class แยกต่างหากก็เป็นได้

"ระบบอื่น" ที่พูดถึงนั้น  อาจใช้เกณฑ์อย่างอื่นมาพิจารณาควบคู่ไปกับการพิจารณาสสารของกระดูก  แทนการมองเพียงด้านเดียวว่ากระดูกอ่อนหรือกระดูกแข็ง  หรือบางทีอาจพลิกโฉมไปเลย  โดยใช้ DNA แทนลักษณะปรากฏภายนอก

https://en.wikipedia.org/wiki/Chimaera
The evolution of these species has been problematic given the paucity of good fossils. DNA sequences have become the preferred approach to understanding speciation.
การศึกษาวิวัฒนาการของ chimaera ยังเป็นปัญหา  เพราะขาดฟอสซิลที่มีสภาพสมบูรณ์พอ, การศึกษาจากลำดับเบสของ DNA ดูจะเป็นหนทางที่น่านำมาใช้
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 309  เมื่อ 19 มี.ค. 16, 01:11

แล้ว chimaera มีความอึมครึมอย่างไร  ถึงทำให้เราต้องมาปูเสื่อกัน
ดังที่กล่าวไปแล้วว่า chimaera นอกจากมีลักษณะบางประการของปลากระดูกแข็ง  ยังเป็นปลากระดูกอ่อนที่มีลักษณะห่างเหินจากปลากระดูกอ่อนชนิดอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ
ลักษณะของปลากระดูกแข็ง คือ
(1) chimaera มีรูปทรงตัวแบนตั้งฉากกับพื้นเช่นเดียวกับปลากระดูกแข็งส่วนมาก  ขณะที่ปลากระดูกอ่อนชนิดอื่นจะมีรูปทรงตัวแบบจรวด(เช่นฉลาม) หรือไม่ก็แบนราบติดพื้น(เช่นกระเบน)
(2) chimaera มีช่องเหงือกข้างแก้ม 1 ช่องเช่นเดียวกับปลากระดูกแข็งทั้งหมด  ขณะที่ปลากระดูกอ่อนชนิดอื่นจะมีช่องเหงือก 5-7 ช่อง
** ปลาหายใจเข้าทางปาก  น้ำไหลผ่านซี่เหงือก  ซี่เหงือกจับออกซิเจนไว้  แล้วปล่อยน้ำออกทางช่องเหงือกที่อยู่ข้างแก้ม **

ลักษณะอันห่างเหินจากปลากระดูกอ่อนชนิดอื่น คือ
http://www.csun.edu/~msteele/classes/Ich530/lectures/3_Chondrichthyes.pdf (ไฟล์ pdf หน้าที่ 2)
Characteristics that separate them from Elasmobranchs:
• upper jaws attached to braincase (autostylic suspension)
• single opercular opening, covering 4 gill openings
• separate anal and urogenital opening - no cloaca
chimaera มีลักษณะแตกต่างจากปลากระดูกอ่อนชนิดอื่น เช่น
(3) ขากรรไกรบนเชื่อมติดกับกะโหลก
(4) มีเหงือก 4 คู่  แต่ปลากระดูกอ่อนชนิดอื่นมีเหงือก 5-7 คู่ (และหายากมาก ที่มีเหงือก 6-7 คู่)
(5) ช่องอุจจาระกับช่องปัสสาวะแยกช่องกัน

http://www.fao.org/3/a-i3178e/i3178e06.pdf (ไฟล์pdf หน้าแรก)
Claspers may be slender and rod–like in some, bifurcate in others, or with some being tripartite.
(6.1) clasper ของ chimaera มีลักษณะเป็นแท่งโดดๆ  หรือเป็น2แฉก  หรือเป็น3แฉก (clasper=อวัยวะช่วยในการสืบพันธุ์)  ส่วนฉลามจะเป็นแท่งโดดๆเท่านั้น


http://scicurious.scientopia.org/2009/10/02/friday-weird-science-the-shark-with-two-heads/
But this is where chimaeras and sharks differ. While sharks just have the two claspers, right near the penis, the chimaera has...a few more. Up to FOUR MORE.
(6.2) ฉลามมี clasper 2 อัน (นับรวมข้างซ้ายกับข้างขวา) , chimaera มี clasper มากถึง 4 อัน (ที่จริง 6 อัน) (นับรวมข้างซ้ายกับข้างขวา)


(7) ข้อนี้ผมเพิ่มเอง  chimaera มีเส้นประสาทรับความรู้สึก  เห็นเป็นเส้นปูดโปนเหมือนลายแทงปรากฏอยู่ทั่วตัว  ปลากระดูกอ่อนชนิดอื่นไม่มีเส้นอย่างนี้เลย
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 310  เมื่อ 19 มี.ค. 16, 01:30

ปิดท้ายม้วนเสื่อด้วยประเด็นความเป็น living fossil
https://www.sciencedaily.com/releases/2009/09/090922095816.htm
their evolutionary lineage branched off from sharks nearly 400 million years ago, and they have remained an isolated group ever since.
chimaera ได้วิวัฒน์ตัวเองเป็นผลสำเร็จ  แยกตัวออกจากฉลาม เมื่อราว400ล้านปีก่อน  และดำรงกลุ่มอยู่อย่างเป็นเอกเทศมานับแต่บัดนั้น
(คงหมายถึงว่า "มันเป็นมัน" มาตลอด400ล้านปี  โดยไม่พบฟอสซิลใดมีลักษณะใกล้เคียงพวกมัน)

Chimaeras were once a very diverse and abundant group, as illustrated by their global presence in the fossil record.
They survived through the age of dinosaurs mostly unchanged, but today these fishes are relatively scarce and are usually confined to deep ocean waters
ในยุคโบราณ chimaera เคยมีอยู่ชุกชุม และหลากหลายชนิด ดังปรากฏหลักฐานฟอสซิลจากทั่วโลก  พวกมันดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงยุคไดโนเสาร์ครองโลกโดยแทบไม่เปลี่ยนรูปโฉม 
ในปัจจุบัน..พวกมันเป็นสัตว์หายาก  และมักอาศัยจำกัดบริเวณอยู่ในเขตน้ำลึก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 311  เมื่อ 21 มี.ค. 16, 11:54

ขอบพระคุณคุณธสาครสำหรับเลคเชอร์เรื่องปลาไคเมรา

ขึ้นบกมาพบสัตว์ประหลาดบนบกต่อ  

เหตุเกิดที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในมณฑลเจ้อเจียงของจีน นักศึกษาแตกตื่นกันยกใหญ่เมื่อเห็นสัตว์ที่คล้ายกับหนูยักษ์ตัวยาวกว่า ๑ เมตร วิ่งไปมาในบริเวณมหาวิทยาลัย บางคนคิดว่ามันเป็นหนูที่หลุดมาจากห้องทดลอง แต่กลายพันธุ์จนเป็นหนูยักษ์

ข่าวจาก เดลิเมล

ความจริงมันคือสัตว์ฟันแทะ (rodent) ชนิดหนึ่งเป็นสัตว์พื้นเมืองของอเมริกาใต้ คนไทยคุ้นแคยในชื่อ นากหญ้า ขื่อวิทยาศาสตร์คือ Myocastor coypus  เจ้านากหญ้าตัวนี้โด่งดังมาเมื่อ ๒๐ ปีก่อน เมื่อชาวไต้หวันนำมาให้คนไทยเลี้ยงบอกว่าจะรับซื้อคืนในราคาสูง แต่ในที่สุดคนไทยก็ถูกหลอกไม่มีการรับซื้อคืน บางรายจึงปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ ทำความเดือนร้อนในชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ เป็นอย่างยิ่ง เพราะว่ามันกิน กิน กินอย่างเดียวไม่หยุด  ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 312  เมื่อ 21 มี.ค. 16, 22:46

เคยกลัวว่านากหญ้าจะก่อปัญหาในวงกว้างแบบผักตบชวา  แต่ก็ไม่เห็นมี(ในวงกว้างนะครับ)  แสดงว่ามันคงไม่ชอบภูมิอากาศแบบไทยหรือเปล่า?
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 313  เมื่อ 22 มี.ค. 16, 14:31

วิธีแก้ไขปัญหาการระบาดของปลาเอเลี่ยนพวกนี้ วิธีที่ยั่งยืนและน่าจะได้ผลมากที่สุดเห็นจะเป็นการจับมารับประทาน


ชาวบ้านคงกำจัด alien species อย่างนากหญ้า โดยวิธีที่เคยแนะนำสำหรับปลาซัคเกอร์คือนำมารับประทาน ซึ่งได้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง สมควรนำมาเป็นกรณีศึกษา  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 314  เมื่อ 31 มี.ค. 16, 09:31

ทั้งคาปีบาราและนากหญ้าต่างก็เป็นสัตว์ประเภทหนู (rodent - สัตว์ฟันแทะ) ที่เป็น alien species ด้วยกันทั้งคู่ แต่มีสัตว์ประหลาดที่หน้าตาคล้ายหนูตัวหนึ่งซึ่งเป็นสัตว์พื้นบ้านของเรา แต่ไม่ค่อยเผยโฉมให้เห็นบ่อยนัก

ตัวอะไรเอ่ย


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 20 คำสั่ง