เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 30
  พิมพ์  
อ่าน: 123585 สัตว์ประหลาด ๔
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 03 ต.ค. 15, 16:47

สัตว์หน้าตาแบ๊วๆตัวนี้ ประหลาดตรงไหน
เชิญวิสัชนา


บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 04 ต.ค. 15, 02:22

ชื่อพระราชทานไพเราะเพราะพริ้ง ==> โรหิสรัตน์
ข่าวน่าสนใจ และละเอียดดีด้วยครับ
ป่านนี้โตเป็นสาวแล้ว
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 05 ต.ค. 15, 09:17

คุณเทาชมพูชวนขึ้นบกอีกแล้ว   ยิ้มเท่ห์

ส่งท้ายเรื่อง ฉนาก-กระเบน-ฉลาม ด้วยสัตว์ประหลาดตัวนี้

ตัวอะไรหนอ  ยิ้มเท่ห์


ก่อนจะขึ้นบก ขอเฉลยสัตว์ประหลาดหน้าที่แล้ว

มันคือปลากระเบนน้อย (baby stingray) นั่นแล  ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 05 ต.ค. 15, 14:07

เรื่องของ โรหิสรัตน์

ชื่อพระราชทานไพเราะเพราะพริ้ง ==> โรหิสรัตน์
ข่าวน่าสนใจ และละเอียดดีด้วยครับ
ป่านนี้โตเป็นสาวแล้ว


คุณดีดีขยายความไว้ว่า

ละมั่งตัวนี้ พิเศษตรงที่ เป็นละมั่งตัวแรกที่เกิดจากการวิจัยการขยายพันธุ์ด้วยเทคนิคหลอดแก้วหรือที่เรียกว่าละมั่งอุ้มบุญ
น้องละมั่งน้อย ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อให้ ว่า "โรหิสรัตน์"
มาจากคำ 2 คำ คือ "โรหิส" แปลว่า ละมั่ง และ "รัตน์" แปลว่า แก้ว "โรหิสรัตน์" จึงมีความหมายว่า "ละมั่งแก้ว"



บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 07 ต.ค. 15, 02:52

ละมั่งเป็นสัตว์ใหญ่  ข่าวคราวย่อมน่าสนใจมากกว่าสัตว์เล็กอย่างปลาหรือแมลง  ผมจึงติดตามอ่านข่าวเพิ่มเติมจากหลายแหล่งข่าว  เลยเก็บแง่มุมที่น่าสนใจมาเล่าต่อดังนี้

1) โรหิสรัตน์ เป็นละมั่งหลอดแก้วตัวแรก  แต่ไม่ใช่ละมั่งผสมเทียมตัวแรก  เพราะมี “อั่งเปา” ซึ่งเกิดก่อน 1 ปี  เป็นละมั่งที่เกิดจากการฉีดน้ำเชื้อเข้าไปในปีกมดลูก (ตัวเมียเป็นทั้งเจ้าของไข่ และอุ้มท้องเอง)  โดยอั่งเปาเป็นเจ้าของจารึกว่าเป็นละมั่งผสมเทียมตัวแรกของไทย (ตัวที่ 2 ของโลก  โดยตัวแรกเกิดที่อเมริกา  ย้อนหลังไปไกลถึงราวพ.ศ.2536)

2) การผสมพันธุ์ตามธรรมชาติในกรงเลี้ยง  ประสบผลสำเร็จดี  แต่เป็นทางตัน  เพราะแต่ละสวนสัตว์ครอบครองละมั่งคนละฝูง  ผสมไป-ผสมมาก็อยู่ภายในเครือญาติเดียวกัน  ทำให้สายพันธุ์ละมั่งอ่อนแอลง  บางตัวก็พิการ  จึงต้องใช้วิธีผสมเทียมเพื่อให้ได้อสุจิกับไข่จากละมั่งต่างฝูง (ต่างสวนสัตว์)

3) ถึงแม้กรณีอั่งเปาจะประสบผลสำเร็จดี  แต่ก็ยังมีข้อเสียคือ  หากเจ้าของไข่เป็นผู้อุ้มท้องเอง  จะได้ลูกเพียงครั้งละ 1 ตัว  คณะทำงานจึงได้พัฒนาขึ้นสู่วิธีปฏิสนธิในหลอดแก้ว

4) วิธีปฏิสนธิในหลอดแก้ว  จะคัดแม่พันธุ์ที่มีลักษณะแข็งแรง+สายเลือดห่างจากตัวผู้  นำมากระตุ้นให้ตกไข่  ซึ่งอาจได้มากถึง 20 ฟอง 
จากนั้นดูดไข่ทั้งหมดมาปฏิสนธิกับอสุจิภายในหลอดแก้ว 
จากนั้นนำไข่ที่ปฏิสนธิแล้วกลับไปฝังในมดลูกละมั่งตัวอื่นๆได้นับสิบตัว  โดยละมั่งอุ้มบุญทั้งหมดไม่จำเป็นต้องมีสายพันธุ์ดี
(มักเลือกพี่ๆน้องๆของเจ้าของไข่มารับหน้าที่อุ้มบุญ  คือในหมู่พี่น้องครอกเดียวกัน  จะเลือกตัวที่ดีที่สุดมาผลิตไข่  ส่วนตัวที่เหลือจะไม่เอาไข่อีก  เพื่อไม่ให้กรรมพันธุ์ใกล้เคียงกับตัวแรก) 
ดังนั้นวิธีหลอดแก้วอุ้มบุญจึงสามารถขยายพันธุ์ได้ครั้งละหลายสิบตัว

บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 07 ต.ค. 15, 03:07

ปัจจุบันอั่งเปากับแม่ อาศัยอยู่ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จ.กาญจนบุรี
พ.ศ.2555 อั่งเปาให้กำเนิดลูก..เป็นตัวผู้

อั่งเปา กับ แม่ (รูปภาพจากคณะสัตวแพทย์ ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 08 ต.ค. 15, 10:29

มี่คำเรียกละมั่งอย่างเต็มยศว่า ละองละมั่ง  โบราณท่านแยกไว้ ตัวผู้เรียกว่า ละอง ส่วนตัวเมียเรียกว่า ละมั่ง เดี๋ยวนี้ไม่ใคร่เคร่งครัดเรียกรวม ๆ กันไปหมดทั้งตัวผู้ตัวเมียว่า ละมั่ง

ละมั่งในบ้านเรามี ๒ ชนิดย่อยคือ ละมั่งพันธุ์พม่า Cervus eldii thamin อยู่ทางฝั่งตะวันตกของไทยและในพม่า อีกชนิดหนึ่งคือ ละมั่งพันธุ์ไทย Cervus eldii siamensis อยู่แถวภาคอีสาน รวมทั้งในเขมรและลาว พันธุ์ไทยในธรรมชาติมีจำนวนน้อยกว่าพันธุ์พม่ามาก ทั้ง โรหิสรัตน์ และ อั่งเปา เป็นละมั่งเหมือนกันแต่เป็นคนละเชื้อชาติ  โรหิสรัตน์เป็นพม่า ส่วนอั่งเปานั้นหนาเป็นเชื้อไทย  ยิงฟันยิ้ม

จะดูในออกว่าชัด ๆ ว่าเป็นพม่าหรือไทยต้องดูที่ละอง (ละมั่งตัวผู้) โดยดูที่เขา

ละมั่งพันธุ์พม่า (พันธุ์โรหิสรัตน์) - ซ้าย ปลายเขากลมและไม่ค่อยแตกแขนง ละมั่งพันธุ์ไทย (พันธุ์อั่งเปา) - ขวา ปลายเขาแบนและแตกแขนงเยอะกว่า

ภาพจาก siamensis.org


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 09 ต.ค. 15, 00:54

เรื่องสายพันธุ์ของอั่งเปา...บางแหล่งให้ข่าวว่าเป็นสายพันธุ์ไทย  บางแหล่งก็ว่าเป็นสายพันธุ์หม่อง  ผมเองก็สะดุดจุดนี้เหมือนกัน
เมื่อเปรียบเทียบแหล่งข่าวหลายที่แล้ว  ผมเชื่อว่าเป็นสายพันธุ์พม่า  โดยเฉพาะลิงค์นี้ http://www.raorakpar.org/raorakparboard/index.php?topic=1104.0 พรรณนาขั้นตอนการผสมเทียมไว้ละเอียดกว่าแหล่งข่าวอื่น
อั่งเปาถูกปล่อยคืนสู่ป่าที่สลักพระ กาญจนบุรี  ซึ่งเป็นถิ่นอาศัยของสายพันธุ์พม่าด้วยครับ

คณะวิจัยมีความรอบคอบ  ที่เริ่มทดลองจากสายพันธุ์พม่าก่อน  เมื่อประสบผลดีจึงค่อยขยายผลไปสู่สายพันธุ์ไทย (หายากกว่าหลายสิบเท่า)
คงเพราะกลัวพลาด  ทำละมั่งสายพันธุ์ไทยตายคาเตียงผ่าตัด  และย่อมไม่ใช่ตายแค่ 1-2 ตัว  เพราะตลอดโครงการใช้ละมั่งหลายสิบตัว..อย่างเช่น
1) ผสมเทียม เมื่อ 19-6-2552  ใช้แม่ละมั่ง 4 ตัว (ได้อั่งเปา)
2) ทำหลอดแก้ว เมื่อ 30-3-2553  ใช้แม่ละมั่ง 3 ตัว (ล้มเหลว  ลูกละมั่งตายในท้อง)
3) ทำหลอดแก้ว เมื่อ กุมภาพันธ์ 2554  ใช้แม่ละมั่ง 8 ตัว (ได้โรหิสรัตน์) นึกถึงภาพตอนที่มีละมั่งนอนขึ้นเขียงพร้อมกัน 8 ตัว  คณะทำงานคงวุ่นพิลึก
4) ยังไม่นับรวมช่วงทดลองซ้อมมือ  ซึ่งผมคิดว่าต้องเอาละมั่งขึ้นเขียงกันอีกหลายตัว  กว่าจะบรรลุภารกิจ 

ถ้าเกิดละมั่งสายพันธุ์ไทยซึ่งเหลืออยู่แค่ 50 ตัว  มาพลีชีพไปซัก 5 ตัว  ก็นับว่าโครงการนี้ขาดทุนจนน่าหวั่นใจว่าจะไปรอดหรือไม่

ผ่านมา 4 ปีแล้ว  นับจากโรหิสรัตน์  ทำไมข่าวคราวหายไปนะ?
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 09 ต.ค. 15, 08:59


^ผสมเทียม กับ หลอดแก้ว
  ตัวแม่ที่รับเชื้อ รับไข่ ไม่ต้องผ่าตัดหรือเปล่าครับ
  ไม่น่าจะมีตายคาเขียง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 09 ต.ค. 15, 10:16

เรื่องสายพันธุ์ของอั่งเปา...บางแหล่งให้ข่าวว่าเป็นสายพันธุ์ไทย  บางแหล่งก็ว่าเป็นสายพันธุ์หม่อง  ผมเองก็สะดุดจุดนี้เหมือนกัน
เมื่อเปรียบเทียบแหล่งข่าวหลายที่แล้ว  ผมเชื่อว่าเป็นสายพันธุ์พม่า  โดยเฉพาะลิงค์นี้ http://www.raorakpar.org/raorakparboard/index.php?topic=1104.0 พรรณนาขั้นตอนการผสมเทียมไว้ละเอียดกว่าแหล่งข่าวอื่น
อั่งเปาถูกปล่อยคืนสู่ป่าที่สลักพระ กาญจนบุรี  ซึ่งเป็นถิ่นอาศัยของสายพันธุ์พม่าด้วยครับ

ตรวจสอบแล้ว ข้อเท็จจริงเป็นดังที่คุณธสาครค้นคว้ามา ทั้งโรหิสรัตน์และอั่งเปาเป็นละมั่งสายพันธุ์พม่าทั้งคู่ ต้องขอบพระคุณคุณธสาครที่กรุณาให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ยิงฟันยิ้ม


^ผสมเทียม กับ หลอดแก้ว
  ตัวแม่ที่รับเชื้อ รับไข่ ไม่ต้องผ่าตัดหรือเปล่าครับ
  ไม่น่าจะมีตายคาเขียง


๑. การผสมเทียม เป็นการผสมพันธุ์โดยเลียนแบบธรรมชาติ มีการผสมระหว่างไข่และเชื้อตัวผู้ในร่างกายสัตว์ วิธีที่ใช้ในโคโดยปรกติจะไม่มีการผ่าตัดใด ๆ ทั้งสิ้น แต่การผสมเทียมในละมั่งครั้งนี้มีขั้นตอนที่จะต้องส่องกล้องเข้าไปในช่องท้องเพื่อตรวจดูว่ามีการตกไข่พร้อมที่จะผสมหรือไม่ (ขั้นตอนนี้ในโคตรวจสอบได้โดยการล้วงเข้าไปในทวารหนักและคลำสัมผัสรังไข่ผ่านผนังลำไส้) เมื่อละมั่งพร้อมที่จะผสมก็จะฉีดน้ำเชื้อเข้าไปเพื่อผสมกับไข่ในร่างกายตัวเมีย

๒. การผสมในหลอดแก้ว เป็นการผสมพันธุ์นอกตัวสัตว์ ไข่จากตัวเมียก็เก็บโดยการส่องกล้องเข้าไปเก็บ เมื่อไข่กับเชื้อตัวผู้ผสมกันแล้วเกิดเป็นตัวอ่อน ก็ต้องผ่าตัดเพื่อนำตัวอ่อนเข้าไปฝังตัวในมดลูกโดยผ่านท่อนำไข่



ดังนั้นตัวเมียที่รับเชื้อในการผสมเทียม และรับตัวอ่อนในการผสมในหลอดแก้ว ก็ต้องขึ้นเขียงทั้ง ๒ กรณี  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 10 ต.ค. 15, 05:00

อู้ฮู...คณะทำงานอายุน้อยกว่าที่ผมนึกวาดภาพไว้เยอะเลย  น่าชื่นชมในความสามารถ  อย่างนี้..วิจัยกันได้อีกหลายสิบปี  ละมั่งเต็มแผ่นดิน อิ อิ

2) ทำหลอดแก้ว เมื่อ 30-3-2553  ใช้แม่ละมั่ง 3 ตัว (ล้มเหลว  ลูกละมั่งตายในท้อง)
3) ทำหลอดแก้ว เมื่อกุมภาพันธ์ 2554 ใช้แม่ละมั่ง 8 ตัว (ได้โรหิสรัตน์) นึกถึงภาพตอนที่มีละมั่งนอนขึ้นเขียงพร้อมกัน 8 ตัว  คณะทำงานคงวุ่นพิลึก
ขอแก้ไขให้ชัดเจนขึ้น
2) ทำหลอดแก้ว เมื่อ 30-3-2553  ใช้แม่ละมั่งอุทิศไข่ 1 ตัว + ใช้แม่ละมั่งอุ้มบุญ 3 ตัว (ล้มเหลว  ลูกละมั่งตายในท้อง)
3) ทำหลอดแก้ว เมื่อกุมภาพันธ์ 2554 ใช้แม่ละมั่งอุทิศไข่ 1 ตัว + ใช้แม่ละมั่งอุ้มบุญ 8 ตัว (ได้โรหิสรัตน์)



ผมเข้าใจว่าแต่ละครั้งใช้แม่อุ้มบุญไม่เท่ากัน  คงจะเป็นเพราะ..แล้วแต่ว่าการปฏิสนธิในหลอดแก้ว  สัมฤทธิผลได้ตัวอ่อนกี่ตัว
สมมติว่าคราวหน้า  เกิดได้ตัวอ่อนขึ้นมา 12 ตัว  คงปั่นป่วนไปทั้งศูนย์วิจัย

แต่ที่ผมยังตีข่าวไม่แตก  ก็คือเรื่องที่ว่า  ใช้แม่อุ้มบุญ 8 ตัว
1) แหล่งข่าว เดลินิวส์ กล่าวว่า ได้ย้ายตัวอ่อนเข้าสู่ท่อนำไข่ของละมั่งอุ้มบุญ  แบ่งเป็นตัวอ่อนระยะ 2 เซล แก่แม่ 2 ตัว (แม่ละ 1 ตัวอ่อน)  และตัวอ่อนระยะ 4 เซล แก่แม่อีก 2 ตัว (แม่ละ 1 ตัวอ่อน)
แล้วแม่อุ้มบุญอีก 4 ตัวไปอยู่ตรงไหน?

2) แหล่งข่าว นิตยสารสารคดี กล่าวว่า เมื่อเติบโตถึงระยะ 8 เซล จึงย้ายตัวอ่อนไปไว้ในท่อนำไข่ของละมั่งอุ้มบุญ

3) แหล่งข่าว นสพ.ผู้จัดการ กล่าวว่า  ดร.อัมพิกา ทองภักดี ทีมสวนสัตว์เขาเขียว ผู้มีประสบการณ์โคลนนิ่งแมวลายหินอ่อน แมวป่าหัวแบน โดยการผลิตละมั่งหลอดแก้วนี้เธอมีส่วนในการผลิตตัวอ่อนละมั่งระยะ7วัน หรือระยะ blastocyst

คือผมงงว่า  ระยะที่เหมาะสมในการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่แม่อุ้มบุญคือระยะใดแน่


ระยะ2เซล หน้าตาเหมือนข้าวต้มมัด // ระยะ blastocyst หน้าตายังกะลูกลิ้นจี่ มี coelom แล้วด้วย
ตำแหน่งที่จะฉีดตัวอ่อนเข้าสู่แม่อุ้มบุญ  ก็แตกต่างกันด้วย  ระยะ2เซล-ฉีดเข้าตอนต้นของท่อนำไข่ // ระยะ blastocyst ฉีดเข้าที่ผนังมดลูก
ไฉนข่าวรายงานไปคนละทิศละทางอย่างนี้ (ซึ่งเป็นศัพท์วิชาการที่นักข่าว ไปมั่วเอาเองไม่ได้แน่)

คือแบบว่า... ผมไม่ได้จริงจังมากไปใช่ไหมเนี่ย 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 12 ต.ค. 15, 10:07

 
แต่ที่ผมยังตีข่าวไม่แตก  ก็คือเรื่องที่ว่า  ใช้แม่อุ้มบุญ 8 ตัว
1) แหล่งข่าว เดลินิวส์ กล่าวว่า ได้ย้ายตัวอ่อนเข้าสู่ท่อนำไข่ของละมั่งอุ้มบุญ  แบ่งเป็นตัวอ่อนระยะ 2 เซล แก่แม่ 2 ตัว (แม่ละ 1 ตัวอ่อน)  และตัวอ่อนระยะ 4 เซล แก่แม่อีก 2 ตัว (แม่ละ 1 ตัวอ่อน)
แล้วแม่อุ้มบุญอีก 4 ตัวไปอยู่ตรงไหน?

2) แหล่งข่าว นิตยสารสารคดี กล่าวว่า เมื่อเติบโตถึงระยะ 8 เซล จึงย้ายตัวอ่อนไปไว้ในท่อนำไข่ของละมั่งอุ้มบุญ

3) แหล่งข่าว นสพ.ผู้จัดการ กล่าวว่า  ดร.อัมพิกา ทองภักดี ทีมสวนสัตว์เขาเขียว ผู้มีประสบการณ์โคลนนิ่งแมวลายหินอ่อน แมวป่าหัวแบน โดยการผลิตละมั่งหลอดแก้วนี้เธอมีส่วนในการผลิตตัวอ่อนละมั่งระยะ7วัน หรือระยะ blastocyst

คือผมงงว่า  ระยะที่เหมาะสมในการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่แม่อุ้มบุญคือระยะใดแน่
 

ดูจากโปสเตอร์สรุปผลงานของคณะวิจัย ในหัวข้อ ๔ การย้ายฝากตัวอ่อน ใช้ตัวอ่อนที่ระยะ ๒-๔ เซลล์ (หลังจากเพาะเลี้ยง ๒๔ ชั่วโมง)

คงคลายความสงสัยของคุณธสาครลงได้บ้าง   ยิงฟันยิ้ม





บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 12 ต.ค. 15, 15:28

รายงานสรุป โดยคณะวิจัย มีน้ำหนักน่าเชื่อถือกว่าข่าวที่รายงานโดยสื่อมวลชน
รายงานโดยคณะวิจัย  กล่าวว่าปฏิบัติการย้ายตัวอ่อน  กระทำที่ระยะ 2-4 เซลล์  แต่อย่างไรก็ดีรายงานนี้เป็นการทำหลอดแก้วในคราวแรก (ที่ไม่ใช่คราวโรหิสรัตน์)

คอลัมน์ขวาของโปสเตอร์งานวิจัย  แสดงพัฒนาการของตัวอ่อนที่ระยะ 3วัน  6วัน  8วัน 
ผมเข้าใจว่า  หลังจากที่ย้ายฝากตัวอ่อนเสร็จแล้ว  ตัวอ่อนบางส่วนได้ทำการทดลองคู่ขนานต่อไปในหลอดแก้ว  เพื่อสำรวจพัฒนาการของตัวอ่อน  ดังจะเห็นว่ามีรูปหนึ่งย้อมเซลล์ตัวอ่อนเป็นสีน้ำเงินด้วย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 14 ต.ค. 15, 13:53

ละมั่งมีญาติอยู่ตัวหนึ่งอยู่ในสกุล Rucervus เหมือนกัน เป็นกวางที่มีเขาสวยงามมากแต่เป็นที่น่าเสียดายว่าสูญพันธุ์ไปแล้วเมื่อ ๗๐ ปีมานี้เอง กวางตัวนั้นคือ สมัน หรืออีกชื่อหนึ่งคือ กวางเขาสุ่ม Rucervus schomburgki

เหลือแต่เพียงความทรงจำ  อนุสาวรีย์ สมัน ไปดูได้ที่เขาดินวนา ค่ะ


เขาสมันจากที่นี่อาจนำสมันตัวเป็น ๆ กลับมาได้โดยวิธี Cloning  ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 15 ต.ค. 15, 03:21

โคลนนิ่งจากซากสัตว์ที่ตายนานแล้ว  เป็นเรื่องยาก  ยากจนไม่กล้าหวัง
ออสเตรเลียพยามยามชุบชีวิตหมาทัสมาเนีย  ทำกันมาตั้งแต่10ปีก่อน  ตอนนี้ยังไม่เห็นวี่แววเลย

การชุบชีวิตสัตว์ขึ้นมาจากdna  จำเป็นต้องได้dnaครบถ้วนสมบูรณ์  หากขาดหรือแหว่ง(เนื่องจากสัตว์นั้นตายมานานแล้ว)  ต้องหาdnaมาเติมให้ครบ  และห้ามเรียงลำดับผิด
(ในมนุษย์ 3พันล้านโมเลกุลเอง หุ หุ // ในสมัน หรือหมาทัสมาเนีย  ไม่ทราบเท่าไร  แต่ก็น่าจะหลายร้อยล้านโมเลกุล // ต้องครบ+ต้องเรียงให้ถูก // ถ้าดูดdnaจากสัตว์ที่ยังมีชีวิต..เรื่องครบ เรื่องเรียง ไม่มีปัญหา)

แตกต่างจากกรณีสืบจากศพ  ที่เก็บdnaได้เป็นบางส่วนก็พอ  พอที่จะพิสูจน์ได้ว่า "ท่อนdna" ที่ได้จากศพนั้น  มีตำหนิเหมือน "ท่อนdna" ที่เก็บได้จากบ้านผู้ตาย  หรือตรงกับ "ท่อนdna" ของพ่อแม่ของผู้ตาย

การชุบชีวิตสัตว์ขึ้นมาจากdna  เหมือนกับการแต่งตำราดีๆ ซักเล่มหนึ่ง 
การสืบจากศพ  เหมือนกับการจับผิดข้อความบนตำรา
ความยากง่ายแตกต่างกันมากมาย

* ประมวลจากความรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐานนะครับ+หาข้อมูลเพิ่มอีกนิดหน่อย  ผมไม่ใช่นักพันธุศาสตร์
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.126 วินาที กับ 20 คำสั่ง