เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 30 เมื่อ 06 ส.ค. 15, 20:09
|
|
หน้าตาแบบนี้ไม่ใช่แมงกะพรุนหรอกหรือคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 31 เมื่อ 06 ส.ค. 15, 20:37
|
|
ญาติของมันคือตัวนี้ (คุณเทาชมพูเคยนำมาแสดงเมื่อปีที่แล้ว) ซึ่งก็ไม่ใช่แมงกะพรุนอีกนั่นแหละ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ธสาคร
|
ความคิดเห็นที่ 32 เมื่อ 07 ส.ค. 15, 03:56
|
|
สมัยเรียน ไม่มีสื่ออินเตอร์เนตให้ค้นคว้า // มีแต่ภาพร่างขาวดำ เลือนๆ ผ่านเทคโนโลยีการโรเนียว // ท่องศัพท์ละตินกันเจื้อยแจ้ว หาเคยเห็นแม้แต่รูปถ่ายไม่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 33 เมื่อ 07 ส.ค. 15, 15:26
|
|
พระอินทร์ทรงทิ้งเครื่องใช้ไม้สอยของท่านไว้ในโลกมนุษย์หลายสิ่งด้วยกัน อย่างเช่น กระสุนพระอินทร์กระสุนพระอินทร์หลายหลากสีสัน หลายหลากสกุล ส่วนที่เห็นล่องลอยในน้ำนี้คือแว่นตาของท่าน ชื่อว่า แว่นตาพระอินทร์ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 34 เมื่อ 07 ส.ค. 15, 15:36
|
|
แว่นตาพระอินทร์ Porpita porpita บางคนก็เรียก กระดุมสีฟ้า และบางทีก็เรียก แมงกะพรุนเหรียญ ประกอบด้วย ๒ ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนที่ลอยน้ำอยู่และกลุ่ม Hydroids (สัตว์ตัวเล็ก ๆ) ส่วนที่ลอยน้ำ มีสีน้ำตาลทอง แข็งเกือบแบน มีแก๊สอยู่ตรงกลาง ขนาดกว้างประมาณ ๑ นิ้ว รอบ ๆ มีกลุ่ม Hydroids อยู่แบบเรียงแถวกันมีสีฟ้าน้ำเงินอมเขียวสว่างถึงเหลือง ลักษณะคล้ายกับหนวดของแมงกะพรุน แต่ละตัวประกอบด้วยกิ่งก้านมากมายและมีปุ่มเซลล์ที่ทำให้เกิดการเจ็บปวดที่เรียกว่า nematocysts การต่อยของกระดุมสีฟ้าไม่มีผลให้เกิดความเจ็บปวดแต่อาจทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคืองได้ ภาพถ่ายที่เกาะหลีเป๊ะโดย คุณอั้มแห่งพันทิป
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 35 เมื่อ 07 ส.ค. 15, 15:45
|
|
สองตัวนี้อยู่ในวงศ์ (family) เดียวกันคือ Porpitidae ตัวซ้ายคือ Velella velella ชื่อสามัญคือ แมงกะพรุนเรือใบ (แม้มันจะไม่ใช่แมงกะพรุน) 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ธสาคร
|
ความคิดเห็นที่ 36 เมื่อ 08 ส.ค. 15, 03:14
|
|
Porpita ตั้งชื่อว่า แว่นตาพระอินทร์ ไม่ค่อยสมชื่อ (สงสารพระอินทร์ด้วย คงเคืองตาแย่) ยังดีที่ Velella ไม่ได้ชื่อ เรือใบพระอินทร์ กล้วยไม้นี้ชื่อ แส้พระอินทร์ หรือ หวายตะมอย หรือ เอื้องมะลิ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 37 เมื่อ 08 ส.ค. 15, 07:29
|
|
ส่วนที่เห็นล่องลอยในน้ำนี้คือแว่นตาของท่าน ชื่อว่า แว่นตาพระอินทร์ นี่คืออุปกรณ์ที่คุณหมอเพ็ญชมพูใช้สวมทับอินทรเนตรหรือเปล่า จึงได้ค้นหาอะไรได้เร็ว ลึก กว้าง กว่าคนอื่น ?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 38 เมื่อ 08 ส.ค. 15, 16:55
|
|
มาจะกล่าวบทไป ถึงท้าวสหัสนัยน์ตรัยตรึงศา สอดส่องทิพยเนตรเพื่อตรวจตรา ใช้แว่นตาทำไมให้ป่วยการ พระอินทร์ท่านมีตาทิพย์ ไม่ใช้แว่นตาดอก มนุษย์เรามโนไปเอง 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 39 เมื่อ 08 ส.ค. 15, 21:10
|
|
มาจะกล่าวบทไป ถึงท้าวสหัสนัยน์ตรัยตรึงศา สอดส่องทิพยเนตรเพื่อตรวจตรา ใช้แว่นตาทำไมให้ป่วยการ ท้าวก็โยนทิ้งไปสู่โลกหล้า ตกตรงหน้าคลีนิกแถวอิสาน เลยมีคนเก็บไปไว้ใช้งาน จนชำนาญดังตาสหัสนัยน์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 40 เมื่อ 09 ส.ค. 15, 09:57
|
|
ใส่นานนานก็ให้คันระคายเนตร แว่นวิเศษไม่คิดพิสมัย วาสนาคงด้อยน้อยเกินไป คนบ้านไกลรับต่อหนาเหมาะกว่าเอย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 41 เมื่อ 09 ส.ค. 15, 13:05
|
|
ลงเอยซะแล้ว ผมเป็นอันไม่ต้องต่อ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Naris
|
ความคิดเห็นที่ 42 เมื่อ 11 ส.ค. 15, 09:23
|
|
จะว่าไป รูปร่างก็เหมือนคอนแทคเลนส์อยู่นะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 43 เมื่อ 13 ส.ค. 15, 09:20
|
|
ใน พ.ศ. ๒๔๘๑ Kikutaro Baba (馬場 菊太郎) นักสังขวิทยา (ผู้ศึกษาเรื่องหอย - malanologist) ชาวญี่ปุ่นค้นพบทากทะเลพันธุ์ใหม่ Jorunna parva มีลักษณะเด่นคือบริเวณส่วนหัวจะมีส่วนที่คล้ายหู (rhinophore - ทำหน้าที่รับรส กลิ่น และสภาวะของสารเคมีในน้ำ) ลำตัวสีเหลือง และขาวจุดดำ ลักษณะเหมือนมีขนปุกปุย และมีหางเป็นพวงคล้ายกระต่าย ทากทะเลตัวนี้อยู่ของมันเงียบ ๆ ตลอด ๗๐ ปี จนกระทั่งวันหนึ่งมีภาพน่ารัก ๆ ของมันจากนักดำน้ำชาวญี่ปุ่นปรากฏในโลกอินเตอร์เน็ต คราวนี้แหละด้วยอิทธิพลของการสื่อสารสมัยใหม่ Jorunna parva ก็โด่งดังและเป็นที่รักของคนทั่วโลกในนาม "Sea Bunny" (กระต่ายทะเล)
กระต่ายทะเลตัวนี้สามารถพบได้ตั้งแต่ฟิลิปปินส์จนถึงญี่ปุ่น เป็นที่น่าเสียใจว่าไม่พบในเมืองไทย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 44 เมื่อ 14 ส.ค. 15, 11:38
|
|
ในท้องทะเลไทยก็มีญาติของกระต่ายทะเลญี่ปุ่นอยู่เหมือนกันถึงแม้ว่าจะไม่คิกขุอะโนเนะเท่า Jorunna funebris บางคนเรียกว่า กระต่ายน้อย ทากกระต่าย อีกชื่อหนึ่งฟังแล้วน่ากิน วุ้นกะทิ เจ้าตัวนี้มีดีอีกอย่างตรงที่สามารภผลิตสารที่มีฤทธิ์ในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและมะเร็งบางชนิดได้ http://youtube.com/watch?v=E9BjDXXmZpc#ws
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|