เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 30
  พิมพ์  
อ่าน: 123054 สัตว์ประหลาด ๔
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 30 พ.ย. 15, 09:32

วันเสาร์ที่ผ่านมา มีสัตว์ประหลาดสัญจรที่คุณเทาชมพูและคุณธสาครพามาเยี่ยม ๓ ตัว คือ Cadborosaurus แห่งอลาสกา Thylacine แห่งทัสมาเนีย และ Chupacabra แห่งเปอร์โตริโก มีเจ้า Thylacine ตัวเดียวเท่านั้นที่เคยเป็นตัวจริงเสียงจริง ส่วนอีกสองตัวที่เหลือยังถกเถียงกันอยู่ว่ามีตัวจริงหรือไม่

Cadborosaurus ของคุณเทาชมพู ดูจากคลิปแล้วคล้ายพญานาคแห่งเกาะปันหยี  ยิงฟันยิ้ม



ลองดูคลิปนี้

ที่เกาะปันหยีก็มีสัตว์ประหลาดเหมือนกัน (ดูที่นาที ๒.๑๗)



สัตว์ประหลาดที่เกาะปันหยี

ตัวอะไรหนอ



ผศ.ดร.เจษฎาได้ยกตัวอย่างโฆษณาของธนาคารแห่งหนึ่งที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับทีมฟุตบอลเยาวชนที่อาศัยอยู่บนเรือนแพ และไม่มีสนามหญ้าให้ซ้อมฟุตบอล และในจังหวะที่ภาพนำเสนอกลุ่มเด็ก ๆ กำลังเตะฟุตบอลนั้น ได้เกิดคลื่นน้ำลักษณะเดียวกับที่เกิดขึ้นในบึงโขงหลงปรากฏขึ้น เขาจึงตั้งข้อสังเกตว่า จริง ๆ แล้วปรากฏการณ์พญานาคอาจจะโผล่ไปทุกที เพียงแต่เราไม่ได้สังเกตเท่านั้น และเมื่อไม่สามารถอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในเชิงชีวภาพ ก็เป็นไปได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นอาจเป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์แขนงอื่น ซึ่งในทางวิทยาศาสตร์ “พญานาค” ที่หลายคนเห็นนั้นคือคลื่นกระแทกที่เรียกว่า “เวก” (Wake) ซึ่งมักเกิดขึ้นในทะเลสาบ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 30 พ.ย. 15, 09:46

ตัวที่สอง Thylacine คุณธสาครอาจจะได้เห็นตัวจริงกลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้งในอนาคต  ยิงฟันยิ้ม

นักวิทยาศาสตร์ได้มีโครงการจะทดลองโคลนนิ่ง เพราะมีการเก็บรักษาดีเอ็นเอ ไว้ได้ถึง 4/5
สัตว์ที่คาดว่าจะอุ้มบุญได้น่าจะเป็นทัสมาเนียเดวิล
อย่างไรก็ดีความเป็นไปได้มีอยู่เพียง 20% เนื่องจากสายพันธุ์ยังค่อนข้างจะห่างกันไกล

แต่ก็ยังดีที่ยังมีความหวังนะคะ  
ยิงฟันยิ้ม



สำหรับตัวสุดท้าย Chupacabra

ตัวกินเลือดแพะของคุณเทาชมพู มีหลายเสียงว่าเป็นสุนัขป่า coyote (คนละอย่างกับโคโยตี้เมืองไทย  ยิ้มเท่ห์)  หรือลูกผสมกับสุนัขบ้าน ที่ไม่ใคร่มีขนเพราะเป็นขี้เรื้อนอยู่

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 30 พ.ย. 15, 10:04

สำหรับผีเสื้อปีก ๒ สี ๒ ลวดลาย มีอยู่จริงแท้แน่นอน

ผีเสื้อลักษณะนี้พบได้ในหลายสกุล ในเมืองไทยเราก็มี ตัวอย่างเช่น ๒ ตัวข้างล่างนี้  

ซ้าย : ผีเสื้ออาชดุ๊กธรรมดา (The Common Archduke - Lexias pardalis jadeitina)
ขวา : ผีเสื้อกะทกรกธรรมดา (The Leopard Lecewing - Cethosia cyane euanthes)  



ถ้าชาวเรือนไทยมีโอกาสไปเที่ยวที่แม่ริม เชียงใหม่ ลองไปแวะที่สวนสัตว์แมลงสยาม



จะเห็นผีเสื้อพวกนี้จัดแสดงอยู่ นอกจาก ๒ ตัวข้างบนแล้ว ยังมีอีก ๒ ตัวคือ ผีเสื้อถุงทองธรรมดา (The Golden Birdwing - Troides aeacus) อยู่ล่างซ้าย และ ผีเสื้อหางติ่งนางละเวง (The Great Mormon - Papilio memnon agenor) อยู่ตรงกลาง  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 01 ธ.ค. 15, 12:19

ผีเสื้อกะเทย ศัพท์ทางชีววิทยาคือ gynandromorph เป็นคำสนธิระหว่าง gyne (ตัวเมีย) และ andro (ตัวผู้) + morph (ลักษณะ) ยังไม่มีศัพท์บัญญัติเป็นทางการจากท่านรอยอิน ขอเสนอคำว่า "นรีบุรุษลักษณ์" เข้าประกวดเป็นชื่อแรก  ยิงฟันยิ้ม

นรีบุรุษลักษณ์เกิดจากความผิดปรกติของการแยกโครโมโซมเพศ (X-Y Chromosome) ที่ไม่เท่ากันในการแบ่งเซลล์ระยะเริ่มแรกของเซลล์ไข่ซึ่งผสมแล้ว (zygote) หากเกิดในระยะเริ่มแรก (๘-๖๔ เซลล์) จะมีลักษณะดังตัวอย่างที่สวนสัตว์แมลงสยาม เรียกว่า bilateral gynandromorph (นรีบุรุษลักษณ์แบบ ๒ ข้าง) แต่หากเกิดในระยะหลังจากนั้น จะเป็นแบบ mosaic gynandromorph (นรีบุรุษลักษณ์แบบผสม) ปีก ๒ ข้างมีลักษณะผสมกันระหว่างตัวผู้และตัวเมีย

ตัวอย่างข้างล่างเป็น ผีเสื้อปีกสีฟ้าแห่งเปรู (Giant Blue Morpho - Morpho didius)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 01 ธ.ค. 15, 14:19

อาจารย์ครับ ผีเสื้อที่เป็นอย่างนี้ ยังสืบพันธุ์ได้ไหมครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 01 ธ.ค. 15, 15:40

ผีเสื้อลักษณะนี้โดยปรกติจะเป็นหมัน ไม่สามารถมีลูกหลานต่อไปได้  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 02 ธ.ค. 15, 03:34

ผีเสื้อกะเทย ศัพท์ทางชีววิทยาคือ gynandromorph เป็นคำสนธิระหว่าง gyne (ตัวเมีย) และ andro (ตัวผู้) + morph (ลักษณะ) ยังไม่มีศัพท์บัญญัติเป็นทางการจากท่านรอยอิน ขอเสนอคำว่า "นรีบุรุษลักษณ์" เข้าประกวดเป็นชื่อแรก
นรีบุรุษลักษณ์  ฟังอย่างกับตำราหมอดู
กะเทย มีศัพท์บาลีว่า บัณเฑาะก์  ถ้าจะสมาสกับ "ลักษณ์"  คงต้องคืนรูปเดิมก่อน  บัณเฑาะก์ ==> ปัณฑก ==> ปัณฑกลักษณ์
แต่เห็นจะไม่ไหว  เรียกว่า"ลักษณะกะเทย"ดีกว่า  เรียบ..ง่าย..เข้าใจ..จบ
แค่คำศัพท์เท่าที่มีอยู่ในพจนานุกรม  ก็เขียนกันผิดระนาว  จนเป็นกระแสตีกลับที่คนไทยเมิน  จนอาจถึงตั้งใจที่จะเขียนคำไทยแบบผิดๆ
บางคำใช้กันเป็นสากล เช่น tsunami  เราน่าจะทับศัพท์ไปเลย  จะ ซึนามิ หรือ ซูนามิ ก็บัญญัติให้ชัดลงไป  ผมไม่เห็นความจำเป็นต้องใช้คำว่า ธรณีพิบัติภัย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 03 ธ.ค. 15, 09:55

ขอขอบพระคุณคุณธสาครที่ร่วมส่งชื่อภาษาไทยของ gynandromorph เข้าประกวดด้วย ขอส่งต่อให้ท่านรอยอินทางวิทยาศาสตร์พิจารณา  ยิงฟันยิ้ม

gynandromorph เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในผีเสื้อเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาเห็นจะเป็นพวกกุ้งมังกร (lobster)

Dana Duhaime ชาวประมงแห่งหมู่บ้าน Beverly ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองบอสตัน  รัฐแมสซาชูเซตส์  ประหลาดใจเป็นอย่างยิ่ง เมื่อกุ้งมังกร (lobster) ที่เขาจับได้ตัวหนึ่งมีสีสันผิดแปลกจากปรกติคือมีสองสีแบ่งครึ่งซ้ายขวาอย่างชัดเจน ครึ่งซ้ายมีสีดำส่วนครึ่งขวามีสีส้ม ด้วยความประหลาดและสีดำส้มของมันซึ่งสอดรับกับเทศกาลฮาโลวีน กุ้งมังกรตัวนี้จึงได้ชื่อว่า Halloween Lobster



Duhaime มอบกุ้งฮาโลวีนตัวนี้ให้พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำนิวอิงแลนด์ ในบอสตัน นักชีววิทยาทางทะเลอธิบายว่า สีสันที่ประหลาดของมันเกิดจากความผิดปรกติของการแบ่งเซลล์ขณะที่ไข่กำลังฟักเป็นตัว ความผิดปรกติดังกล่าวมักทำให้มันเป็น กุ้งกระเทย (hermaphrodite) คือมีทั้งสองเพศด้วย

กุ้งสองสีลักษณะนี้มีโอกาสพบได้ ๑ ใน ๕๐ ล้านตัว 

เรื่องและรูปจาก เดลิเมล
ในข่าวของเดลิเมลบอกว่าปรากฏการณ์นี้เรียกว่า hermaphrodite ซึ่งไม่ถูกต้องเพราะ hermaphrodite คือกะเทยที่มีอวัยวะเพศทั้งตัวผู้และตัวเมียที่สมบูรณ์อยู่ในตัวเดียวกัน กุ้งมังกรตัวนี้เป็น bilateral gynandromorph เหมือนกับผีเสื้อปีกสองสีที่บินว่อนอยู่ข้างบน  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 03 ธ.ค. 15, 10:16

กุ้งมังกรกะเทยชนิด "นรีบุรุษลักษณ์แบบสองข้าง" (bilateral gynandromorph lobster) อีกตัวหนึ่งจากแคนาดา  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 03 ธ.ค. 15, 15:26

ตัวนี้พบที่ โนวาสโกเชีย (Nova Scotia) แคนาดาเช่นกัน พ.ศ. ๒๕๔๕  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 03 ธ.ค. 15, 23:49

ผมมองว่ากรณีกุ้งมังกร ต่างกับ กรณีผีเสื้อ
กุ้งมังกรถึงแม้จะสีแบ่งครึ่ง  แต่อวัยวะต่างๆดูสมมาตรกันดี  ดูเหมือนว่ายีนสร้างสีเท่านั้นที่แทรกแซงยีนสมมาตร
เพราะถ้าหากยีนเพศเข้าแทรกแซง  ควรจะเห็นลักษณะอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น กระดอง2ข้างไม่เท่ากัน , ก้ามใหญ่ข้าง-เล็กข้าง
เท่าที่รู้จักสัตว์จำพวกกุ้งปู  ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้  ตัวผู้มีก้ามใหญ่กว่าตัวเมีย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 04 ธ.ค. 15, 09:59

จุดสำคัญที่จะแยกกุ้งมังกรหรือล็อบสเตอร์ตัวผู้หรือตัวเมียอยู่ที่ใต้ท้องคือ ขาว่ายน้ำ (swimmeret หรือ pleopod) คู่แรก ในตัวผู้จะแข็งคล้ายกระดูก ส่วนในตัวเมียจะอ่อนนุ่มดุจขนนกเนื่องจากนอกจากจะใช้ว่ายน้ำแล้วยังใช้สำหรับโอบอุ้มไข่ไว้อีกด้วย

ภาพข้างล่างเป็นกุ้งมังกรกะเทย "นรีบุรุษลักษณ์" พบที่เมืองร็อกพอร์ต แมสซาชูเซตส์ เมื่อ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙

ภาพจาก lobsters.org


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 05 ธ.ค. 15, 22:55

ตามไปอ่านบทความเต็มแล้ว  เขียนโดย Diane Cowan  เมื่อปี2006  ตลอดเวลา20ปี(นับถึง2006)  เธอได้ตรวจล็อบสเตอร์กะเทยมาแล้ว10กว่าตัว  พบว่ามีความแปรผันของลักษณะภายนอกสูงมาก  มีทั้งแบบ bilateral และ mosaic  บางครั้งถ้าไม่สังเกตจริงๆ  ก็จะผ่านตาเราไปราวกับกุ้งธรรมดาตัวหนึ่ง 

ที่นับว่าประหลาดที่สุดที่เคยเจอคือ  ขาว่ายน้ำคู่แรก(first swimmeret) ท่อนโคนขามีลักษณะอวบเป็นก้านแข็งแบบตัวผู้  แต่ท่อนปลายเป็นพู่ขนแบบขาตัวเมีย  ไม่มีรูปประกอบ  แต่ขอให้ผู้อ่านจินตนาการเอาเองจากรูปกะเทยหงายท้อง  ที่คุณเพ็ญชมพูแปะเอาไว้

ลักษณะเพศที่ก้ำกึ่งเช่นนี้ยังไม่ทราบกลไกที่แน่ชัด  เพราะยังขาดการศึกษาในเรื่องยีนของสัตว์จำพวกกุ้งปู 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 06 ธ.ค. 15, 09:14

เคยอ่านพบว่า สัตว์นอกจากเป็นกะเทยแล้ว ยังเป็นเกย์ก็มี     
พอจะสันนิษฐานได้หรือไม่ ว่าเกี่ยวกับฮอโมนส์ไม่ปกติ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 07 ธ.ค. 15, 01:55

เคยดูหนังสารคดีรวบรวมเกี่ยวกับพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศของสัตว์  จำได้ฉากหนึ่ง  วาฬตัวผู้เอาอวัยวะเพศแหย่ลงไปในรูพ่นน้ำ(ที่อยู่กลางกบาล)ของตัวผู้อีกตัว
เป็นพฤติกรรมช่วงเวลาสั้นๆ  ลักษณะเกี้ยวกัน  มากกว่าที่จะปฏิบัติกิจกันจริงๆจังๆ

คำถามของคุณเทาชมพู  เป็นคำถามอมตะ  ที่ใครๆก็ใคร่ทราบความกระจ่าง  ผมไม่ได้มาช่วยตอบแล้วยังมีข้อสงสัยมาช่วยผสมโรงให้หนักยิ่งขึ้นไปอีก
1) ทอมบางคนเสพฮอร์โมนเพศชาย  เพื่อให้ได้ลักษณะทางกายภาพค่อนไปทางผู้ชาย // อย่างนี้แสดงว่าพฤติกรรมเบี่ยงเบนมาก่อนที่จะอาศัยฮอร์โมน
2) ทอมบางคน  นอกจากตัดผมสั้น  นุ่งห่มเลียนแบบชายแล้ว  รูปหน้า-โครงร่าง-ผิวพรรณก็ยังดูเป็นหญิงเหมือนเดิม // อย่างนี้แสดงว่าฮอร์โมนหญิงยังครบอยู่  จึงให้ลักษณะปรากฏภายนอกเหมือนหญิงทั่วไป  แต่จิตใจเป็นชาย
3) ผู้หญิงบางคน  มีลักษณะค่อนไปทางผู้ชาย เช่น เสียงห้าว มีหนวดจางๆ  แต่เธอกลับเป็นหญิงแท้ // อย่างนี้แสดงว่าฮอร์โมนไม่ปกติ  แต่จิตใจปกติ
4) ผู้ชายบางคน  หนวดเคราเฟิ้ม  ดูน่ากลัว  กลับเป็นตุ๊ด // ถ้าฮอร์โมนเพศชายน้อย  ก็น่าจะขนน้อยสิ?
5) ผู้ชายบางคน  ดูปกติ๊ปกติ  แต่นิยมชมชอบผู้ชายด้วยกัน 
6) ผู้ชายบางคนเล่นกีฬาเก่งเป็นถึงนักกีฬาทีมชาติ  กลับมีทั้งตุ๊ดและเกย์  คุณผู้หญิงต้องดูให้ดีเชียว
7) นักกีฬาหญิงบางคน  เสพฮอร์โมนเพศชาย  เพื่อดึงสมรรถนะร่างกายให้แข็งแรงขึ้น  แต่ก็ยังเป็นผู้หญิงเหมือนเดิม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 19 คำสั่ง