อู้ฮู...คณะทำงานอายุน้อยกว่าที่ผมนึกวาดภาพไว้เยอะเลย น่าชื่นชมในความสามารถ อย่างนี้..วิจัยกันได้อีกหลายสิบปี ละมั่งเต็มแผ่นดิน อิ อิ
2) ทำหลอดแก้ว เมื่อ 30-3-2553 ใช้แม่ละมั่ง 3 ตัว (ล้มเหลว ลูกละมั่งตายในท้อง)
3) ทำหลอดแก้ว เมื่อกุมภาพันธ์ 2554 ใช้แม่ละมั่ง 8 ตัว (ได้โรหิสรัตน์) นึกถึงภาพตอนที่มีละมั่งนอนขึ้นเขียงพร้อมกัน 8 ตัว คณะทำงานคงวุ่นพิลึก
ขอแก้ไขให้ชัดเจนขึ้น
2) ทำหลอดแก้ว เมื่อ 30-3-2553 ใช้แม่ละมั่งอุทิศไข่ 1 ตัว + ใช้แม่ละมั่งอุ้มบุญ 3 ตัว (ล้มเหลว ลูกละมั่งตายในท้อง)
3) ทำหลอดแก้ว เมื่อกุมภาพันธ์ 2554 ใช้แม่ละมั่งอุทิศไข่ 1 ตัว + ใช้แม่ละมั่งอุ้มบุญ 8 ตัว (ได้โรหิสรัตน์)
ผมเข้าใจว่าแต่ละครั้งใช้แม่อุ้มบุญไม่เท่ากัน คงจะเป็นเพราะ..แล้วแต่ว่าการปฏิสนธิในหลอดแก้ว สัมฤทธิผลได้ตัวอ่อนกี่ตัว
สมมติว่าคราวหน้า เกิดได้ตัวอ่อนขึ้นมา 12 ตัว คงปั่นป่วนไปทั้งศูนย์วิจัย
แต่ที่ผมยังตีข่าวไม่แตก ก็คือเรื่องที่ว่า ใช้แม่อุ้มบุญ 8 ตัว
1) แหล่งข่าว เดลินิวส์ กล่าวว่า
ได้ย้ายตัวอ่อนเข้าสู่ท่อนำไข่ของละมั่งอุ้มบุญ แบ่งเป็นตัวอ่อนระยะ 2 เซล แก่แม่ 2 ตัว (แม่ละ 1 ตัวอ่อน) และตัวอ่อนระยะ 4 เซล แก่แม่อีก 2 ตัว (แม่ละ 1 ตัวอ่อน)แล้วแม่อุ้มบุญอีก 4 ตัวไปอยู่ตรงไหน?
2) แหล่งข่าว นิตยสารสารคดี กล่าวว่า
เมื่อเติบโตถึงระยะ 8 เซล จึงย้ายตัวอ่อนไปไว้ในท่อนำไข่ของละมั่งอุ้มบุญ3) แหล่งข่าว นสพ.ผู้จัดการ กล่าวว่า
ดร.อัมพิกา ทองภักดี ทีมสวนสัตว์เขาเขียว ผู้มีประสบการณ์โคลนนิ่งแมวลายหินอ่อน แมวป่าหัวแบน โดยการผลิตละมั่งหลอดแก้วนี้เธอมีส่วนในการผลิตตัวอ่อนละมั่งระยะ7วัน หรือระยะ blastocystคือผมงงว่า ระยะที่เหมาะสมในการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่แม่อุ้มบุญคือระยะใดแน่


ระยะ2เซล หน้าตาเหมือนข้าวต้มมัด // ระยะ blastocyst หน้าตายังกะลูกลิ้นจี่ มี coelom แล้วด้วย
ตำแหน่งที่จะฉีดตัวอ่อนเข้าสู่แม่อุ้มบุญ ก็แตกต่างกันด้วย ระยะ2เซล-ฉีดเข้าตอนต้นของท่อนำไข่ // ระยะ blastocyst ฉีดเข้าที่ผนังมดลูก
ไฉนข่าวรายงานไปคนละทิศละทางอย่างนี้ (ซึ่งเป็นศัพท์วิชาการที่นักข่าว ไปมั่วเอาเองไม่ได้แน่)
คือแบบว่า... ผมไม่ได้จริงจังมากไปใช่ไหมเนี่ย