เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 105 เมื่อ 18 ก.ย. 15, 10:37
|
|
เท่าที่ดูจากคลิป เม่นทะเลถูกหักปลายหนามออกแล้ว ก่อนจะนำมาป้อน ถึงกระนั้น"เจ้าหน้าโหด"ก็ยังจัดการได้ไม่ค่อยเด็ดขาด กอปรกับลูกตาอยู่ห่างจากปลายปากไม่มาก สรีระไม่เหมาะที่จะกินเม่นทะเล ผมคาดว่าเม่นทะเลอาจไม่ใช่อาหารปกติของมัน เม่นทะเลเป็นอาหารโปรดของปลาไหลหมาป่า (wolf eel) เชียว (ความจริงมันไม่ใช่ปลาไหล ฝรั่งเห็นตัวยาวเลยเรียกไปอย่างนั้น) ด้วยขากรรไกรที่ทรงพลัง มันสามารถจัดการกับเม่นทะเลได้สบาย  ภาพจาก boydski.com
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ธสาคร
|
ความคิดเห็นที่ 106 เมื่อ 18 ก.ย. 15, 15:14
|
|
555 ถ้าพันธุ์หนามสั้นอย่างนี้ ก็โอชาหมาป่าน่ะสิครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 107 เมื่อ 18 ก.ย. 15, 15:41
|
|
พันธุ์หนามยาวอย่าง เม่นทะเลแดง Strongylocentrotus franciscanus ก็ไม่พรั่นหรอกน่า ภาพจาก otlibrary.com
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ธสาคร
|
ความคิดเห็นที่ 108 เมื่อ 19 ก.ย. 15, 04:01
|
|
ชอบครับ...ที่หาหลักฐานมาล้มสมมติฐานของผมได้
ตอนตัวเล็กนี่ดูไม่ประหลาดเท่าไรแฮะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 109 เมื่อ 20 ก.ย. 15, 15:41
|
|
ขอย้อนกลับไปจุดเริ่มของเรื่องนี้ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เกิดเหตุฮือฮาขึ้นในโลกโซเชียลฯ เมื่อนายฮิโรชิ ฮิราซาโกะ ชาวประมงญี่ปุ่น สามารถจับปลาประหลาดนี้ได้ โดยไม่รู้ว่ามันคือปลาพันธุ์อะไร รู้เเต่ว่ามันมีรูปร่างน่ากลัว เเละยาวกว่า ๑ เมตรเลยทีเดียว!
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเจ้าปลาตัวนี้ดูจะหน้าตาประหลาด ๆ เหมือนเอเลี่ยนไปซะหน่อย แต่ความจริงแล้วมันคือ "ปลาไหลหมาป่า" (Wolf Eel) มีถิ่นที่อยู่ในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ โดยจะพบได้มากที่แถบชายฝั่งทะเลญี่ปุ่นและแคลิฟอร์เนีย ซึ่งพวกมันมักจะอาศัยอยู่ในโพรงหินซอกหลืบใต้ท้องทะเลลึก และมักจะอาศัยอยู่ที่นั่นเป็นเวลานานถึง ๒๕ ปีเลยทีเดียว
ทั้งนี้ ปลาไหลหมาป่านั้นสามารถโตจนมีตัวยาวได้ถึง ๒๐๓ ซม. และมีน้ำหนักมากกว่า ๑๘.๖ กก. และแม้ว่าขนาดหัวที่ใหญ่โตของมันจะดูน่ากลัว แต่มันไม่ทำอันตรายใด ๆ  ดูท่าปลาประหลาดของคุณฮิโรชิจะไม่ใช่ปลาไหลหมาป่า ปลาไหลหมาป่าตัวยาวกว่าตัวข้างบนนัก 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 110 เมื่อ 20 ก.ย. 15, 16:10
|
|
ข่าวสด บอกว่าเป็น ปลาหมาป่า (wolf fish) ปลาที่ว่านี้คือปลาหมาป่า หรือเรียกชื่อภาษาอังกฤษว่า wolf fish ซึ่งจริง ๆ แล้วเจ้า wolf fish ยังมีอีกหลายชื่อเรียก ไม่ว่าจะหมาป่าทะเล หรือปลาดุกแอตแลนติก โดยเป็นปลาที่มีมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์แล้ว และส่วนมากมักจะชอบอยู่ในแถบมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือในส่วนที่น้ำเย็น ลักษณะโดยคร่าว ๆ ก็จะมีปากที่กว้างใหญ่ ฟันคมสำหรับใช้กินเม่นทะเลข้อมูลข้างบน ข่าวสดบรรยายความตามคุณวิกกี้ ในหัวข้อ Atlantic wolffish Anarhichas lupus แต่ญี่ปุ่นไม่ใช่อยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกแต่อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ปลาหมาป่าตัวนี้จึงไม่ใช่ มีปลาหมาป่าอีกตัวหนึ่งอยู่ทางเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ Bering wolffish Anarhichas orientalis ปลาประหลาดของคุณฮิโรชิคือตัวนี้แหละ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ธสาคร
|
ความคิดเห็นที่ 111 เมื่อ 23 ก.ย. 15, 04:43
|
|
ปลาฉนากแม่น้ำ ตัวสุดท้ายของไทย บทความโดย กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์ วารสาร AQUARIUM ฉบับมีนาคม 2554
กาลครั้งหนึ่ง ที่ปากคลองบางกอกน้อยใกล้โรงพยาบาลศิริราช เนื่องจากเป็นวันสำคัญจึงจดจำได้ดี โดยขณะนั้นเป็นวันปิยมหาราช พ.ศ.2525 วันดังกล่าวเป็นวันที่ไม่มีวันลืม เพราะเป็นวันแรกที่สามารถจับปลาหนวดพราหมณ์จากธรรมชาติและทำให้รอดชีวิตได้เป็นครั้งแรก ปลาชุดแรกมีจำนวน 5 ตัว จากปลาแม่น้ำร้อยตัวที่จับได้ และเป็นครั้งแรกอีกเช่นกันที่ได้ฟังเรื่องราวของปลาฉนากในแม่น้ำเจ้าพระยา กรุงเทพฯนี่เอง ชาวประมงที่จับปลาหนวดพราหณ์ด้วยกันเล่าให้ฟังว่า เมื่อหลายปีก่อนเคยวางข่ายติดปลาฉนาก ความยาวราวเมตรเศษ เมื่อจับได้แล้วก็นำมาอวดกันในชุมชนและปล่อยให้แห้งตายไปอย่างนั้น เพราะไม่รู้จะเอาไปทำอะไร เนื้อก็กินไม่ได้ ไร้ประโยชน์อย่างสิ้นเชิง ผู้เขียนจึงบอกว่า ถ้าต่อไปจับได้ ช่วยจับเป็นไว้ให้หน่อย แล้วรีบโทรศัพท์บอกทันที ไม่ว่าจะเป็นเวลาอะไร ตี1 ตี2 เวลาไหนก็ได้ ตลอด24ชั่วโมง รับรองจะสมนาคุณให้อย่างงามจนพอใจแน่นอน เหตุการณ์คราวนั้นจึงถือได้ว่าเป็นการสั่งหาปลาฉนากแม่น้ำเป็นครั้งแรก ตั้งแต่เมื่อ30ปีก่อน แต่ก็ยังสายเกินไปอยู่ดีสำหรับปลาฉนาก ... 3 ปีต่อมา ในปีพ.ศ.2528 ที่สะพานพระราม6 อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมปลาที่สำคัญแห่งหนึ่ง ปลาในบริเวณนี้ที่โดดเด่นที่สุดคือ ปลาดุกทะเลยักษ์ (Plotosus canius) ซึ่งปลาที่วางเบ็ดราวได้ ล้วนเป็นปลาขนาดใหญ่ถึงขนาดยักษ์ ความยาวกว่า 1.5 เมตร น้ำหนักกว่า 10 กก. ซึ่งปลาขนาดนี้ในทะเลยังพบได้น้อย แต่น่าแปลกที่กลับมาอาศัยในแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างชุกชุม โดยเฉพาะบริเวณใต้สะพานพระราม6 และแถวหน้าโรงไฟฟ้าบางกรวย สาเหตุที่ปลาชุกชุมถ้าให้คาดเดาคือ ชาวบ้านเชื่อกันว่า เพราะน้ำแถบนี้อุ่นสบายกว่าบริเวณใกล้เคียง เพราะได้น้ำอุ่นจากโรงไฟฟ้าออกมาผสม ทำให้เกิดความแตกต่างของอุณหภูมิ นอกจากปลาดุกทะเลยักษ์แล้ว ชาวประมงที่รวบรวมปลาให้ ยังเคยจับได้ปลากดหัวผาน (Hemiarius verrucosus) ขนาดใหญ่ แต่นานๆจะพบสักครั้งหนึ่ง ปัจจุบันปลากดหัวผานก็เป็นอีกชนิดหนึ่งที่อาจสูญพันธุ์ไปแล้วจากประเทศไทย เพราะไม่มีการพบมานานกว่าสิบปีแล้ว ชาวประมงคนนี้เป็นผู้ที่เคยจับปลาฉนากได้มากถึง 5 ตัว โดยบางปีก็จับได้ บางปีก็จับไม่ได้ ปลาฉนากจับได้โดยวิธีวางข่ายจม ข่ายจมคือการวางข่ายให้ก้นอวนจมถึงพื้นดิน ปลาที่ได้มักเป็นปลาหน้าดินหรือปลาหากินน้ำลึก เช่น ปลากระเบนราหู ปลาม้า ปลากดหลายชนิด การวางข่ายจมมักใช้ในช่วงที่ปลาหน้าดินชุกชุม และช่วงที่มีผักตบชวาลอยเต็มผิวน้ำ เพื่อหลีกเลี่ยงผักตบที่จะมาติดข่าย และในฤดูห้ามจับสัตว์น้ำ (15 พฤษภาคม ถึง 15 กันยายน ของทุกปี) ซึ่งเป็นฤดูวางไข่ การวางข่ายจมนั้นยังช่วยให้พ้นหูพ้นตาจากเจ้าหน้าที่ได้อีกด้วย ปลาฉนากที่จับได้ส่วนมากเป็นลูกปลาขนาดไม่เกิน 1 เมตร ซึ่งร้านขายยาจีนแถบบางโพมักซื้อไว้เพื่อทำยา ฟันปลาฉนากอ่อนเท่านั้นที่เชื่อกันว่ามีสรรพคุณคล้ายเขากวางอ่อน ส่วนฟันของปลาที่มีขนาดใหญ่เกินไปไม่เป็นที่ต้องการ ด้วยเหตุนี้ที่บ้านคนหาปลาผู้นี้จึงมีฟันปลาฉนากอันใหญ่เกินไปเหลืออยู่ 1 ชิ้น **ฟันในที่นี้หมายถึงส่วนที่เป็นจะงอยยื่นออกมาเหมือนใบเลื่อย...ธสาคร** จึงนับเป็นโชคดีอย่างมากที่ผู้เขียนได้เห็นฟันปลาฉนากจากแม่น้ำเจ้าพระยาตัวจริง และได้ขอซื้อไว้ในราคา 100 บาท ความจริงแล้วเจ้าของอยากให้ฟรีด้วยซ้ำ ฟันปลามีขนาดยาว 52 เซนติเมตร มีฟันข้างละ 19 ซี่ จึงระบุชนิดได้ว่าเป็น Pristis microdon ถ้าเป็นอีกชนิดหนึ่งจะมีซี่ฟันมากกว่านี้ ความยาวของตัวปลาน่าจะยาวเกือบ 2 เมตร เพราะความยาวของปลาฉนากชนิดนี้ มักจะยาวประมาณ 3 เท่าของความยาวฟัน ซึ่งก็ตรงกับคำบอกเล่าของผู้ที่จับได้ ปลาฉนากตัวนี้ถูกจับได้ 2 ปีก่อนหน้านี้ ซึ่งก็คือ พ.ศ.2526 อาจถือได้ว่าเป็นปลาฉนากแม่น้ำตัวสุดท้ายที่พบในประเทศไทย ... แม่น้ำบางปะกงเป็นอีกที่ที่พบปลาฉนากเช่นกัน แต่ก็พบน้อยมาก นานครั้งจึงจับได้สักตัว และมักเป็นที่สนใจของผู้พบเห็น เนื่องจากรูปร่างที่แปลกอย่างมีเอกลักษณ์ ปลาฉนากตัวหนึ่งถูกจับได้อย่างมีหลักฐานอ้างอิงราว พ.ศ.2510 ถูกจับได้ที่ปากคลองบ้านใหม่ อ.เมืองฉะเชิงเทรา โดยการใช้ข่ายดักปากคลอง ปลามีความยาวเกือบ 2 เมตร ฟันปลาฉนากถูกตัดนำไปถวายศาลเจ้าพ่อโกมินทร์ ในตลาดบ้านใหม่ซึ่งอยู่ใกล้กัน ซึ่งปัจจุบันคือตลาดร้อยปี ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัด ผู้เขียนได้พยายามส่งคนไปดูว่าฟันปลาฉนากซึ่งต่อมาได้ถูกปิดทองกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไปแล้วว่ายังคงอยู่หรือไม่ แต่ก็ยังหาไม่พบ ... พ.ศ.2529 เมื่อผู้เขียนมีส่วนร่วมในการทำวารสาร AQUARIUM วารสารปลาเล่มแรกของบ้านเรา ก็ได้โอกาสแปลเรื่องของ Mr. Heiko Bleher ชาวเยอรมันที่เข้าไปจับปลาฉนากน้ำจืดในประเทศออสเตรเลีย เพื่อนำกลับไปเลี้ยงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่เยอรมัน เรื่องดังกล่าวถูกตีพิมพ์ในนิตยสาร TROPICAL FISH HOBBYIST (T.F.H.) ได้จุดกระแสปลาฉนากขึ้นมา ปลาฉนากจึงเป็นที่ต้องการอย่างมากของนักสะสมปลาแปลก/ปลาหายาก ตลอดจนพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น ในบ้านเราก็เช่นกัน หลังจากบทความตีพิมพ์ไม่นาน ก็มีร้านปลาแห่งหนึ่งสั่งปลาฉนากเข้ามา 2 ตัว เพื่อขายให้นักเลี้ยงปลา แต่ทราบภายหลังว่าปลาได้ตายในเวลาไม่นานนัก ปลาฉนากน้ำจืดหายากและราคาแพงมาก การตายของปลาคู่แรกทำให้ไม่มีใครคิดจะสั่งปลาฉนากเข้ามาอีกเป็นเวลานานหลายปี อีก 5 ปีให้หลัง ราคาปลาฉนากได้ถูกลงมาก จากราคาหลักแสนบาทเหลือราวหนึ่งในสามเท่านั้น เนื่องจากพบแหล่งปลามากขึ้นจากอินโดนีเซีย และปลาฉนากก็ไม่เป็นที่คลั่งไคล้อีกแล้ว เนื่องจากเลี้ยงยากเกินไปสำหรับนักเลี้ยงปลาทั่วไปที่ไม่มีพื้นที่กว้างใหญ่พอ ปลาฉนากมักจะทนอยู่ได้ไม่นานและเครียดตาย ... ลูกปลาที่มีขนาดเล็ก (ต่ำกว่า 1 เมตร) มักมีปัญหาเรื่องการกิน ปลาจะค่อยๆผอมลง หรือทรงตัว ไม่มีการเติบโต จริงอยู่ปลาฉนากไม่ใช่ปลากินยาก แต่สาเหตุเกิดจากพฤติกรรมส่วนตัว ขอยกกรณีเทียบเคียงปลาฉลาม-กระเบน-ฉนาก กล่าวคือ ปลาฉนากแม้มีรูปร่างคล้ายปลาฉลาม แต่ปลาฉนากกลับเป็นญาติใกล้ชิดของปลากระเบน การเป็นปลากระเบนนั้นต่างกับปลาฉลามอย่างไร? สำหรับผู้ที่เคยเลี้ยงปลากระเบน โดยเฉพาะกระเบนหน้าดิน จะทราบดีว่า นิสัยการกินอาหารของปลากระเบนเป็นไปอย่างละเมียดละไม อาหารแต่ละคำจะบดเคี้ยวแล้วเคี้ยวอีก ขยอกเข้าออกอยู่หลายรอบกว่าจะกลืนลงไป และกินเพียงไม่กี่คำก็จะหยุด แต่สักพักก็จะเริ่มกินได้ใหม่ สรุปคือกินน้อยแต่บ่อยครั้ง ผิดกับปลาฉลามซึ่งกินอย่างตะกละตะกลาม กินขยอกเหยื่อครั้งละมากๆจนอิ่ม ... พ.ศ.2535 ผู้เขียนสั่งปลาฉนากเข้ามาเลี้ยงจำนวน 6 ตัวจากสิงคโปร์ โดยปลาดังกล่าวมาจากอินโดนีเซีย ราคาในขณะนั้นถือว่าถูกมาก แม้ไม่ได้ตั้งใจจะเลี้ยงปลาจำนวนมากขนาดนั้น แต่ถ้าซื้อทั้งหมด ราคาจะลดลงมาก จึงตัดสินใจซื้อและแบ่งขายออกไป 3 ตัว โดยผลักภาระราคาปลาทั้งหมดไปรวมอยู่กับปลาที่ได้ขายออกไป เท่ากับว่าปลาที่เหลือไว้ไม่มีต้นทุน การลองผิดลองถูกจึงทำได้เต็มที่ ไม่มีความกดดันกับตัวเอง สำหรับผู้ที่เคยเลี้ยงสัตว์ราคาสูงจะทราบดีว่า บางครั้งปลาหรือสัตว์ป่วย เจ้าของมักจะเครียดหรือป่วยมากกว่าตัวสัตว์เสียอีก ปลาฉนากทั้งสาม ได้เลี้ยงไว้ในบ่อปลาคาร์พ ทำจากผ้าใบกว้าง 3 เมตร ซึ่งเป็นบ่อขนาดใหญ่สุด โดยใส่น้ำเกือบเต็มบ่อ เหลือราว 15 เซนติเมตรจากขอบบ่อ เนื่องจากเป็นบ่อทรงกลม ปลาจึงอยู่ได้ค่อนข้างดี ไม่มีมุมให้ปลาว่ายเข้าไปติด แต่อย่างไรก็ตามปลาตัวหนึ่งได้เกิดอุบัติเหตุไถลออกมาตาย เนื่องจากระดับน้ำใกล้ขอบบ่อเกินไป ทำให้ปลาสไลด์ตัวออกมา ไม่ใช่การกระโดด เพราะโดยนิสัยปลาฉนากไม่ใช่ปลาที่กระโดด อาหารที่ใช้เลี้ยงในระยะแรกคือ กุ้งสดขนาดพอเหมาะแกะเปลือกที่ส่วนหัวออกเท่านั้น ปลาจะขยอกบดเคี้ยวกุ้งอยู่นานกว่าจะกลืนกินจริง และกินเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น ซึ่งเมื่อเทียบกับขนาดตัวปลาจะเห็นว่า เป็นเพียงเล็กน้อยไม่เหมาะสมกัน ในเมื่อปลากินครั้งละน้อย จึงจำเป็นต้องป้อนอาหารวันละหลายครั้ง การป้อนเพียงวันละ 1-2 ครั้งมักไม่เพียงพอ และปลาจะผอมลงเรื่อยๆ จนตายในที่สุด เมื่อปลาฉนากปรับตัวได้ดีแล้วก็เริ่มให้เหยื่อปลาทอง การจับเหยื่อปลาทองในบ่อทำได้ไม่ดีนัก เนื่องจากในบ่อมีพื้นที่น้อยเกินไป ปลาฉนากเวลาล่าเหยื่อจะใช้ฟันเลื่อยฟันเหยื่อ การฟันเหยื่อในบ่อมักจะติดขอบบ่อ ทำให้จับเหยื่อได้น้อย เมื่อเลี้ยงปลามาได้ราว 1 เดือน ปลาฉนากทั้งสองก็ได้ย้ายไปอยู่ร่วมกับโลมาหัวบาตรอีก 3 ตัวในบ่อขนาด 5x12 เมตร ลึก 2.5 เมตร ความจุรวม 150 ตัน (โลมาชุดนี้ได้มาจากจังหวัดตราด เริ่มต้นการเลี้ยงด้วยน้ำเค็ม แล้วค่อยๆปรับลดความเค็มลงตามลำดับ จนน้ำจืดสนิทในราวหนึ่งปี โลมาหัวบาตรเป็นโลมาชนิดที่ปรับตัวอยู่ในน้ำความเค็มต่ำ หรือน้ำจืดได้ดี การเลี้ยงโลมาในน้ำจืดย่อมประหยัดค่าใช้จ่ายลงมาก) โลมาล่าเหยื่ออย่างชาญฉลาดและไม่มีทางรอดสำหรับเหยื่อที่เป็นเป้าหมายโดยเฉพาะในบ่อพื้นที่จำกัด แต่โลมาก็ไม่ใช่สัตว์ก้าวร้าว จึงอยู่ร่วมกับปลาฉนากในบ่อเดียวกันได้อย่างดี และการให้อาหารปลาฉนากก็ทำได้อย่างเต็มที่ เพราะบ่อมีระบบกรองน้ำที่ดี ปลาฉนากปรับตัวได้ดีมากจนบางครั้งได้กลิ่นคาวกุ้งคาวปลา ก็จะว่ายขึ้นมารออาหารใกล้ผิวน้ำ แม้ว่าปลาฉนากจะปรับตัวได้ดี แต่เติบโตช้ามาก ความยาวเพิ่มขึ้นราว 10 เซนติเมตรเท่านั้นจากการเลี้ยงนานถึง 3 ปี
สรุป ปลาฉนากเลี้ยงค่อนข้างยาก ไม่เหมาะกับนักเลี้ยงทั่วไป และปัจจุบันถูกจัดเป็นปลาหายากใกล้สูญพันธุ์ตามรายชื่อในบัญชีแดงของ IUCN และมีชื่ออยู่ในบัญชีหมายเลข 2 (Appendix ll) ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ หรือ CITES กล่าวให้เข้ากับยุคสมัยก็ต้องเรียกว่า ปลาฉนากคือมรดกโลกที่มีชีวิตนั่นเอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 112 เมื่อ 24 ก.ย. 15, 09:48
|
|
ปลาฉนากแม่น้ำที่คุณธสาครนำเสนอเป็น สัตว์ประหลาด จริง ๆ นั่นแหละ ข้อมูลจาก บทความของคุณกิตติพงษ์ จารุธาณินทร์ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pristis microdon Latham, 1794 ชื่อ : Largetooth Sawfish, Freshwater Sawfish ชื่อไทย : ฉนากจะงอยปากกว้าง, ฉนากน้ำจืด, ปลาขนาก ถิ่นอาศัย : ชายฝั่งทะเลแถบอินโดแปซิฟิก บางครั้งเข้ามาในแม่น้ำสายใหญ่ในประเทศไทยเคยมีรายงานการพบที่แม่น้ำท่าจีน เจ้าพระยา และบางปะกง http://youtube.com/watch?v=qf6YotKNGEI#wsอ่าน ประวัติของคุณกิตติพงษ์ ก็ทึ่งในความสามารถ ท่านจบนิติศาสตร์แต่รอบรู้ในเรื่องปลาของเมืองไทย เป็นตัวอย่างของการศึกษาซึ่งไม่ได้มีเพียงในรั้วโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยโดยแท้ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 113 เมื่อ 25 ก.ย. 15, 11:29
|
|
ขอยกกรณีเทียบเคียงปลาฉลาม-กระเบน-ฉนาก กล่าวคือ ปลาฉนากแม้มีรูปร่างคล้ายปลาฉลาม แต่ปลาฉนากกลับเป็นญาติใกล้ชิดของปลากระเบน
คงจะจำปลาโรนันตัวนี้ได้ ตัวนี้ก็ของจริงหนอ   ญาติใกล้ชิดกับฉนากก็มีโรนันอีกตัว
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ธสาคร
|
ความคิดเห็นที่ 114 เมื่อ 25 ก.ย. 15, 15:35
|
|
รูปนี้มีเลศนัย ตรงไหนเอ่ย?
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ธสาคร
|
ความคิดเห็นที่ 115 เมื่อ 27 ก.ย. 15, 02:20
|
|
1) ฟันเลื่อย เล็กๆ ใหญ่ๆ 2) ... 3) ... เดี๋ยวมาใบ้ต่อ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 116 เมื่อ 28 ก.ย. 15, 09:23
|
|
ภาพชัด ๆ สัตว์ปริศนาของคุณธสาคร 
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 117 เมื่อ 28 ก.ย. 15, 09:27
|
|
สัตว์ปริศนาของคุณธสาครคือ ปลาฉลามฟันเลื่อยพันธุ์ญี่ปุ่น Japanese sawshark Pristiophorus japonicus คล้ายกับปลาฉนากที่อยู่ทางด้านขวา แต่มีข้อต่างกันหลายอย่างเช่น
ลักษณะทางกายภาพ ปลาฉลามฟันเลื่อย ปลาฉนาก
๑. ช่องเหงือก อยู่ด้านข้าง อยู่ด้านล่าง ๒. หนวด มีหนวด ๑ คู่ ไม่มี ๓. ฟันเลื่อย มีฟันขนาดไม่เท่ากัน ฟันขนาดเท่ากัน ๔. ถิ่นอาศัย เขตน้ำลึกนอกชายผั่ง เขตน้ำตื้นชายฝั่ง ๕. ขนาด ค่อนข้างเล็ก ยาวประมาณ ๑.๕ เมตร ค่อนข้างใหญ่ โตเต็มที่ยาวประมาณ ๗ เมตร
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ธสาคร
|
ความคิดเห็นที่ 118 เมื่อ 28 ก.ย. 15, 16:36
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 119 เมื่อ 02 ต.ค. 15, 13:35
|
|
ส่งท้ายเรื่อง ฉนาก-กระเบน-ฉลาม ด้วยสัตว์ประหลาดตัวนี้ ตัวอะไรหนอ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|