เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 9114 “เฉินเชี่ย” (臣妾)คำนี้มีความหมาย
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



 เมื่อ 07 ก.ค. 15, 18:15

“เฉินเชี่ย” (臣妾)คำนี้มีความหมาย

หลายคนดูละครเรื่อง “เจินหวนจ้วน” (甄嬛传) หรือ “เจินหวน นางพญาวังหลัง” คงจะจำฉากสำคัญที่ฮ่องเฮาคร่ำครวญเทวษไห้กับฮ่องเต้ว่าอยากจะโกรธฮ่องเต้ แต่ทำไม่ได้ ทำไม่ลงจริงๆ หม่อมฉันทำไม่ได้... วลีที่ว่า “หม่อมฉันทำไม่ได้” ในภาษาจีนจะพูดว่า “เฉินเชี่ยจั่วปู้เต้า” (臣妾做不到!) ภายหลังวลีนี้กลายเป็นประโยคเด็ดทางอินเตอร์เน็ตของจีนไปพักหนึ่งในปี ๒๐๑๓  เวลาพูดอะไรก็ตามจะลงท้ายคำว่า “เฉินเชี่ยจั่วปู้เต้า” เสมอ อาทิ

“วันนี้การบ้านยากจัง หม่อมฉันทำไม่ได้” (作业好难,臣妾做不到!)

อันนี้เนื้อความยังพอไปกันได้ แต่ถ้าเนื้อความไปกันไม่ได้ ก็ยังใส่ได้เหมือนกัน อยากใส่ก็ใส่ไปเถอะ อาทิ

“กินข้าวอิ่มจัง หม่อมฉันทำไม่ได้” (好饱!臣妾做不到!)

จากวลีข้างต้นนี้ ทำให้หลายคนเข้าใจว่า “เฉินเชี่ย” เป็นคำแทนตัวของนางใน เวลาเพ็ดทูลต่อฮ่องเต้
แต่จริงๆแล้วหาใช่ไม่

คำว่า”เฉิน” (臣)ในปัจจุบันนี้จะแปลว่าขุนนาง ส่วนคำว่า”เชี่ย” (妾) แปลว่าอนุภรรยา แต่ถ้าสมัยโบราณจริงๆ ในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก ยุคเลียดก๊กที่เรารู้จักกัน คำนี้มีความหมายว่า ทาส โดยทาสชายเรียกว่า เฉิน ทาสหญิงเรียกว่าเชี่ย พอเอาสองคำนี้มาวางไว้ด้วยกัน เป็นคำว่า “เฉินเชี่ย” (臣妾) ตามหลักการการแปลภาษาจีน การแสดงความเป็นเจ้าของ ของที่เราเป็นเจ้าของจะอยู่ข้างหลัง ดังนั้น จึงหมายความว่า “ภรรยาของข้าผู้ต่ำต้อย” เป็นการเรียกภรรยาของคนชั้นล่าง ขณะเดียวกันจะแปลว่าผู้ยากไร้ชายหญิงก็ได้

ปัจจุบันนี้ละครจีนหลายเรื่องนำคำว่า “เฉินเชี่ย” เป็นคำที่นางในใช้แทนตัวกับฮ่องเต้ ซึ่งจริงๆแล้วไม่ได้ใช่คำนี้ จริงอยู่ต้องใช้แทนตัวว่าต่ำต้อย เป็นการแสดงความเคารพฝ่ายตรงข้ามและถ่อมตัวในเวลาเดียวกัน แต่ก็ไม่ได้ใช้คำนี้จะใช้คำว่า “เจี้ยนเชี่ย” (贱妾) แปลว่าภรรยาผู้ต่ำต้อย “เสี้ยวเชี่ย” (小妾) แปลว่าภรรยาผู้ตัวน้อย หรือ “เชี่ย” (妾) เฉยๆก็ได้ คำเหล่านี้เป็นคำแทนตัวสตรีในสมัยโบราณ แปลเป็นราชาศัพท์แบบไทยๆ ก็แปลได้ว่า “หม่อมฉัน” “กระหม่อมฉัน” เป็นต้น

ดังนั้นถ้าจะใช้ให้ถูก ก็ต้องครวญคร่ำว่า “เจี้ยเชี่ยจั่วปู้เต้า...”

ลองใช้กันดูนะทุกท่าน

ที่มา

https://www.facebook.com/gugonglady/photos/pb.795347270541856.-2207520000.1436267470./837413489668567/?type=3&theater


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 07 ก.ค. 15, 18:41

ภาษาไทยมีคำว่า "ข้าน้อย" ความหมายน่าจะทำนองเดียวกับเฉินเชี่ย
เช่นในเรื่องนางนพมาศ หรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์

"   พึงให้ทราบว่าข้าน้อยนพมาศ กระทำราชกิจในสมเด็จพระร่วยงเจ้ากรุงมหานครสุโขทัย ตั้งจิตคิดสิ่งซึ่งเป็นการควรกับเหตุ ถูกต้องพระราชอัชฌาสัยพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้ปรากฎชื่อแสียงว่าเป็นสตรีนักปราชญ์ ฉลาดในวิชาช่างอยู่ชั่วกัลปาวสาน"
บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 07 ก.ค. 15, 20:27

ตามธรามเนียมของชาวจีนเป็นคนถ่มตนมากค่ะ อย่างบ้านตัวเองก็เรียกว่า 寒舍 อันหมายถึง กระท่อมซอมซ่อ   

เวลาเรียกฝ่ายตรงข้ามก็จะเรียกให้อีกฝ่ายอาวุโสไว้ก่อน เป็น 兄台 พี่ชายไปซะหมด

อาจารย์หานปิงคะ หนูคิดว่า เขาอาจจะใช้คำว่า 妾身 ก็เป็นได้นะคะ พอดีอ่านนิยาย ดูละครจะเห็นผ่านๆอยู่ แต่ไม่เคยอ่านเอกสารประวัติศาสตร์

อีกอย่าง เคยได้ยินเขาพูดถึงว่า  臣妾 ความเป็น "ข้า"ของกษัตริย์ นั้นมาก่อน ความเป็นภรรยา หรือ 臣子 ก็ทำนองเดียวกัน คือ ความเป็น "ข้า" มาก่อนความเป็นลูก สำหรับกษัตริย์แล้ว ครอบครัวหรือสายสัมพันธ์อื่นๆ ล้วนอยู่หลังจากความเป็น กษัตริย์-ข้า
บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 07 ก.ค. 15, 20:31

ภาษาไทยมีคำว่า "ข้าน้อย" ความหมายน่าจะทำนองเดียวกับเฉินเชี่ย
เช่นในเรื่องนางนพมาศ หรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์

"   พึงให้ทราบว่าข้าน้อยนพมาศ กระทำราชกิจในสมเด็จพระร่วยงเจ้ากรุงมหานครสุโขทัย ตั้งจิตคิดสิ่งซึ่งเป็นการควรกับเหตุ ถูกต้องพระราชอัชฌาสัยพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้ปรากฎชื่อแสียงว่าเป็นสตรีนักปราชญ์ ฉลาดในวิชาช่างอยู่ชั่วกัลปาวสาน"


ในละครจีน ที่เขาพากษ์เสียงกันว่า "ข้าน้อย" โดยเฉพาะในเปาบุ้นจิ้น ก็มาจากคำว่า 小人 แปลตามรูปคำ ก็หมายถึง คนตัวเล็ก หรือ ข้าน้อยนั่นเอง เป็นคำตรงกันข้ามกับคำว่า 大人 ที่แปลว่า คนใหญ่/ผู้ใหญ่ ก็คือ ใต้เท้า นั่นเองค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 07 ก.ค. 15, 21:06

คำว่า 大人 ที่แปลว่า คนใหญ่/ผู้ใหญ่ ก็คือ ใต้เท้า นั่นเองค่ะ

ดูหนังจีนฟังฮ่องเต้ตรัสกับอำมาตย์ผู้ใหญ่ว่าใต้เท้าโน่นใต้เท้านี่แล้วดูแปลกพิกล เพราะคำว่าใต้เท้านี่หมายถึงผู้พูดอยู่ใต้ฝ่าเท้าของอีกฝ่ายหนึ่ง ทำนองเดียวกับ "ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท" นั่นแล
บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 07 ก.ค. 15, 21:10

เอ   ที่อาจารย์เพ็ญพูดนี่ หมายถึงว่า ในบริบทที่ ฮ่องเต้คุยกับขุนนางแล้วเรียกชื่อขุนนางใช่ไหมคะ สมมติว่าขุนนางคนนั้นแซ่เปา ฮ่องเต้ก็เรียกเขาว่า ใต้เท้าเปาใช่ไหมคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 07 ก.ค. 15, 21:33

รัชกาลที่ ๕ ทรงเรียกขุนนางด้วยชื่อตำแหน่ง หรือด้วยชื่อ อาจยกย่องโดยนำหน้าด้วย "คุณ" "ท่าน"

บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 07 ก.ค. 15, 21:54

อาจารย์เพ็ญคะ หนูลองค้นข้อมูลที่เป็นภาษาจีนดู ไม่ใช่ข้อมูลแบบเอกสารโบราณนะคะ แล้วก็พบข้อสังเกตที่มีคนมาตอบว่า

อ้างถึง
1.明清两朝的皇帝称呼臣子从来不说爱卿什么的,他们只会直呼其名。只是唐王朝的用法。在奏折中,清朝皇帝称呼臣子直接叫 尔、汝等。
2.对于汉族臣子,皇帝会说平身。对于满洲臣子,皇帝用满语说:“伊立。”
3.太监们在皇帝面前自称奴才,明朝就是这样。清朝入关时使用大量的明朝太监,所以沿用了下来。
4.汉族大臣在皇帝面前自称 臣。旗人大臣(包括满洲旗、蒙古旗、汉军旗)在皇帝面前称 奴才。

๑. ในราชวงศ์ชิงและหมิง ฮ่องเต้เวลาขานเรียกขุนนางจะเรียกชื่อโดยตรง ในเอกสารราชการฮ่องเต้จะเรียกพวกเขาว่า  尔、汝 (you ; thou)
๒. เวลาที่คุกเข่าแสดงความเคารพฮ่องเต้ ขุนนางชาวฮั่น ฮ่องเต้จะพูดว่า "ลุกขึ้นได้" ส่วนขุนนางชาวเม็งจูจะพูดด้วยภาษาเม็งจู
๓. ขันทีจะใช้สรรพนามแทนตัวต่อพระพักตร์ว่า "ทาส"
๔. ขุนนางชาวฮั่นจะใช้สรรพนามแทนตัวว่า "ข้า" อันหมายถึงข้ากษัตริย์ ส่วนขุนนางชาวเม็งจูจะใช้สรรพนามแทนตัวว่า "ทาส"


นอกจากนี้ยังเห็นว่า ฮ่องเต้เรียกขุนนาง อาจจะเรียก แซ่+ตำแหน่ง สมมติว่าเป็นอำมาตย์แซ่ตั้ง ก็เรียกว่า อำมาตย์ตั้ง เป็นต้น หรือไม่ก็เรียกชื่อเฉยๆ

น่าสังเกตว่า มีคนตั้งคำถามเช่นเดียวกับอาจารย์เพ็ญว่า ในประวัติศาสตร์เคยมีฮ่องเต้เรียกขุนนางว่า X大人 จริงหรือ เพราะคำว่า 大人 เป็นคำที่ยกย่องฝ่ายตรงข้ามว่าใหญ่กว่าตน ในฐานะโอรสสวรรค์ อาจจะใช้คำแทนตัวเองอย่างถ่มตัวก็ได้ แต่ไม่มีทางเรียกคนอื่นสูงกว่าตัวอยู่แล้ว ยกเว้นว่าขุนนางอาจจะเคยเป็นอาจารย์ เป็นญาติผู้ใหญ่ที่เคารพ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 20 คำสั่ง