เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6]
  พิมพ์  
อ่าน: 24455 ซัวเถาในความทรงจำ
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 12:51

โรคคางทูม เป็นโรคที่เวลาเป็น เด็กๆจะถูกวาดคำว่า "หมู" และ "เสือ" ไว้บนแก้มสองข้าง นัยว่า เสือกินหมูไปแล้ว โรคจะหาย เราก็เรียกว่าเป็น "ตู ทาว ฮวง" 猪头风 หรือแปลตรงๆว่า โรคลมหัวหมู เพราะแก้มจะอ้วนเหมือนหัวหมูนั่นเอง

ตัวปิ่นเองเคยเป็นโรคไหม จำไม่ได้เสียแล้ว แต่มีญาติลูกพี่ลูกน้องเคยเป็น และจำได้ว่า หน้าเขาถูกเขียนหนังสือตัวโตๆว่า เสือ น่าแปลกว่า ไม่นานแก้มก็ยุบและหายไป ไม่แน่ใจว่าได้กินยาร่วมหรือเปล่า แต่ก็ถือว่าเป็นความเชื่อของถิ่นแต้จิ๋วที่เดี๋ยวนี้เห็นกันยากแล้ว



บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 13:52

โรคคางทูม เป็นโรคที่เวลาเป็น เด็กๆจะถูกวาดคำว่า "หมู" และ "เสือ" ไว้บนแก้มสองข้าง นัยว่า เสือกินหมูไปแล้ว โรคจะหาย เราก็เรียกว่าเป็น "ตู ทาว ฮวง" 猪头风 หรือแปลตรงๆว่า โรคลมหัวหมู เพราะแก้มจะอ้วนเหมือนหัวหมูนั่นเอง

ตัวปิ่นเองเคยเป็นโรคไหม จำไม่ได้เสียแล้ว แต่มีญาติลูกพี่ลูกน้องเคยเป็น และจำได้ว่า หน้าเขาถูกเขียนหนังสือตัวโตๆว่า เสือ น่าแปลกว่า ไม่นานแก้มก็ยุบและหายไป ไม่แน่ใจว่าได้กินยาร่วมหรือเปล่า แต่ก็ถือว่าเป็นความเชื่อของถิ่นแต้จิ๋วที่เดี๋ยวนี้เห็นกันยากแล้ว



รู้มาว่า ถ้าให้เวิร์คสุด คนที่เขียนแก้มต้องเกิดปีเสือด้วยค่ะ จำได้ว่าตอนเด็กๆเมื่อเห็นญาติพาลูกที่เป็นคางทูมมาให้คุณพ่อดิฉันเขียนแก้มให้ เพราะท่านเกิดปีขาล ดิฉันก็อยากได้บ้าง รู้สึกว่ามันเท่สุดๆจนนึกอยากจะเป็นคางทูม  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 14:08

อาจารย์ที่สอนวิชาชีววิทยาบอกว่า  โรคคางทูมเป็นโรคไม่ร้ายแรง  ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันจนหายได้เอง  อาการบวมที่ปรากฏเป็นระยะสูงสุดของอาการ  พอไปวาดเสือที่แก้มหรือไม่วาดก็ตาม  อาการจะค่อยทุเลาลงจนหายเป็นปกติโดยธรรมชาติอยู่แล้ว
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 14:20

ชอบรูปในความเห็นที่61 ของคุณNamplaeng  ผมอยากไปดูง่วงเซียวแบบบ้านๆอย่างนี้แหละ
แต่ไม่รู้อยู่ที่ไหน  ก็เลยไปดูที่ไต้หวันแทน  ซึ่งที่ไต้หวันเป็นโคมไฟฟ้า โคมแฟนซี




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 14:44

ตอนเด็กๆเคยถูกเขียนคำว่า โฮ้ว บนแก้มเหมือนกันตอนเป็นคางทูม ค่ะ
บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 15:13

ตอนเด็กๆเคยถูกเขียนคำว่า โฮ้ว บนแก้มเหมือนกันตอนเป็นคางทูม ค่ะ

เขียน เสือ ให้ หมู กลัวค่ะ อิๆ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 15:50

คิดว่าน่าจะเป็นจิตวิทยาอันชาญฉลาดของคนโบราณ ที่หาวิธีเบี่ยงเบนความสนใจของเด็กจากอาการเจ็บป่วยน่ะค่ะ แหม..ก็แก้มบวมจนโย้ออกขนาดนั้น คงจะปวดไม่น้อย ท่านก็เลยหามุขมาเล่นให้เด็กพอเพลินๆจนลืมเจ็บ
บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 16 ก.ค. 15, 12:38

แต้จิ๋ว "อาม่า" ไม่ใช่ "อาม่า"

ในการรับรู้ของคนส่วนใหญ่ที่ไทย อาม่า เป็นสรรพนามที่ใช้เรียก หญิงชราเชื้อสายจีน หรือ ย่า/ยายที่มีเชื้อสายจีน ทำนองเดียวกับ grandmother นั่นแหละ

แต่ที่แต้จิ๋วเอง อาม่า ไม่ได้ใช้ในความหมาย ย่า/ยาย

อาม่า จะเป็น ย่า/ยาย ก็ได้ แต่น่าจะเป็นธรรมเนียมของคนพูดภาษาฮกเกี้ยน เพราะใต้หวันเองที่ใช้ภาษาฮกเกี้ยนก็เรียกย่า/ยายหรือหญิงชราว่า "อาม่า"

แต่ที่แต้จิ๋ว ย่า/ยาย เราเรียกว่า "พัว" "อาพั้ว" 婆/阿婆 แต่ถ้าจะจำแนกให้ชัดเจน ส่วนใหญ่ ย่าฝ่ายพ่อจะเรียกว่า "อาพั้ว" เฉยๆ ส่วน ยายฝ่ายแม่จะเรียกว่า "หงั่ว พั้ว" 外婆 คำว่า "หงั่ว" นี้ หมายถึง ข้างนอก

แล้วคำว่า "อาม่า" หรือ "ม่า" เป็นคำที่ สะใภ้เรียกแม่สามี ถ้าไปที่แต้จิ๋ว ได้ยินผู้หญิงเรียกหญิงชราว่า "ม่า" ไม่ต้องสงสัยว่า สองคนนี้เป็น ลูกสะใภ้-แม่สามี

คำว่า "อากง" หรือ "กง" ใช้เรียก ปู่/ตา ของตน

ส่วนคำว่า "เตี่ย" 爹 ตามตัวอักษรแปลว่าพ่อก็จริง แต่คนแต้จิ๋วเรียกพ่อว่า "ป๊า" ส่วนลูกสะใภ้ต่างหากที่จะเรียกพ่อสามีว่า "เตี่ย" เช่นเดียวกัน ได้ยินผู้หญิงเรียกชายชราว่าเตี่ย เขาไม่ได้เป็นพ่อลูกกัน แต่เป็น ลูกสะใภ้-พ่อสามี ค่ะ

บางคนอาจจะสงสัยว่า อ้าว แล้วเรียกแม่ว่ายังไงนะ ถ้าคนแก่เก่าหน่อย อย่างรุ่นพ่อแม่ จะเรียกแม่ว่า "นี-ออ"(พูดควบเร็วๆค่ะ สุดความสามารถในการถอดเสียงแล้ว) หรือ 娘 เป็นคำเดียวกับ เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว (林姑娘) ค่ะ ส่วนเด็กยุคใหม่ก็เรียกแม่ว่า "หม่าม้า" หรือ "ม้า" ค่ะ

ชายชรา เพื่อนอากง หรือญาติห่างๆเรียกรวมๆว่า "เหล่า แปะ" 老伯 ในกรณีที่อายุมากกว่าอากงของเรา ต้องเรียกเขาว่าแปะ แต่ถ้าอายุน้อยกว่าอากงเราก็ให้เรียกว่า "เหล่า เจ็ก" 老叔

หญิงชรา เพื่อนอาม่า ก็เรียกว่า "เหล่า อึ้ม" 老姆 ในกรณีที่อายุมากกว่าอาม่าเรา ถ้าอายุน้อยกว่าก็เรียกว่า "เหล่า ซิ่ม" 老婶 ค่ะ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 16 ก.ค. 15, 14:52

งั่วกง งั่วม่า ก็ทราบว่าใช้เรียก ตา กับ ยาย  แต่บ้านผมไม่นิยมเรียก  โดยเรียกอากง อาม่า เหมือนกันหมดทั้งปู่ย่าตายาย
อาพั้ว นี่ผมไม่เคยเจอ

บ้านผมเรียกพ่อ แม่ ว่า อาปา อาแหมะ
ลูกสะใภ้ก็เรียก อาปา อาแหมะ เช่นเดียวกัน
แต่ในนิยายจีนกำลังภายใน  เรียกพ่อกับแม่ว่า เตีย กับ เนี้ย (เป็นสำนวนแปลของนักแปลเมื่อ50ปีมาแล้ว)

นี-ออ ผมเห็นคนไทยเขาถอดเสียงเป็น เนี้ย
บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 16 ก.ค. 15, 15:48

งั่วกง งั่วม่า ก็ทราบว่าใช้เรียก ตา กับ ยาย  แต่บ้านผมไม่นิยมเรียก  โดยเรียกอากง อาม่า เหมือนกันหมดทั้งปู่ย่าตายาย
อาพั้ว นี่ผมไม่เคยเจอ

บ้านผมเรียกพ่อ แม่ ว่า อาปา อาแหมะ
ลูกสะใภ้ก็เรียก อาปา อาแหมะ เช่นเดียวกัน
แต่ในนิยายจีนกำลังภายใน  เรียกพ่อกับแม่ว่า เตีย กับ เนี้ย (เป็นสำนวนแปลของนักแปลเมื่อ50ปีมาแล้ว)

นี-ออ ผมเห็นคนไทยเขาถอดเสียงเป็น เนี้ย


ค่ะ หลานที่เกิดที่แต้จิ๋วก็ยังติดนิสัยเรียก อากง อาพั้ว อยู่ แต่มีลูกพี่ลูกน้องที่เกิดที่ไทย เขาเรียกเป็นอากงอาม่าเหมือนคนไทยค่ะ

แล้ว ตา กับ ยาย นี่คือ ถ้าไม่เจาะจงก็เรียก "กง" กับ "พั้ว" เฉยๆก็ได้ หรือจะเรียก "งั่วกง" "งั่วพั้ว"ก็ได้เหมือนกัน อย่างปิ่นเวลาคุยกับแม่ ถ้าพูดถึงพั้ว โดยปกติแม่จะเข้าใจว่าหมายถึง ย่า เพราะ ครอบครัวยายอยู่ที่จีน แต่ถ้าจะพูดถึงยายก็ต้องบอกว่า "งั่วพั้ว"

ส่วนคำว่า 娘 นี่ รู้สึกว่า "เนี้ย" ก้ไม่ใช่การถอดเสียงที่ใกล้เคียงเลย แต่รุ่นปิ่นก็ยังมีคนเรียกแม่ว่า "เนี้ย" เหมือนกัน ตอนเด็กๆเห็นพี่ๆบ้านลุงเรียกแม่เขาว่า "เนี้ย" รู้สึกอยากเรียกตามยังไงก็ไม่ทราบ ไปเรียกแม่ว่า "เนี้ย" เลยโดนเบิ๊กกะโหลกไปที 55
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 16 ก.ค. 15, 16:48

ชายชรา เพื่อนอากง หรือญาติห่างๆเรียกรวมๆว่า "เหล่า แปะ" 老伯 ในกรณีที่อายุมากกว่าอากงของเรา ต้องเรียกเขาว่าแปะ แต่ถ้าอายุน้อยกว่าอากงเราก็ให้เรียกว่า "เหล่า เจ็ก" 老叔

หญิงชรา เพื่อนอาม่า ก็เรียกว่า "เหล่า อึ้ม" 老姆 ในกรณีที่อายุมากกว่าอาม่าเรา ถ้าอายุน้อยกว่าก็เรียกว่า "เหล่า ซิ่ม" 老婶 ค่ะ

'เหล่า'ใช้ในความหมายเดียวกับ'great grand'ก็ได้ใช่ไหมคะ เพราะพอได้ยินบรรดาคำที่ขึ้นต้นด้วย'เหล่า'ก็แวบคิดไปถึงคำว่า 'เหล่า กง' :ซึ่งถ้าจำไม่ผิดก็หมายถึง 'ปู่ทวด หรือ ตาทวด'

้อ้อ! ยังมีอีกค่ะ เคยดูหนังจีน ผู้หญิงสองคนนั่งคุยกัน (ดิฉันไม่เข้าใจทุกคำพูดหรอกค่ะ ซ้ำ subtitle ก็ไม่มี เลยได้แต่เดาไปตามเรื่อง) ผู้หญิงหนึ่งในสองบุ้บบ้ายไปทางผู้ชายที่นั่งอยู่ในห้องข้างๆ(เข้าใจว่าเป็นสามีหล่อน) พร้อมทั้งเอ่ยคำว่า 'เหล่ากง' 
ดิฉันก็เดาเอาว่า 'เหล่า กง'ในที่นี้ถ้าแปลเป็นไทยก็คงหมายถึง 'ตาเฒ่า' ใช่ไหมคะ?



 
บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 16 ก.ค. 15, 17:08

ชายชรา เพื่อนอากง หรือญาติห่างๆเรียกรวมๆว่า "เหล่า แปะ" 老伯 ในกรณีที่อายุมากกว่าอากงของเรา ต้องเรียกเขาว่าแปะ แต่ถ้าอายุน้อยกว่าอากงเราก็ให้เรียกว่า "เหล่า เจ็ก" 老叔

หญิงชรา เพื่อนอาม่า ก็เรียกว่า "เหล่า อึ้ม" 老姆 ในกรณีที่อายุมากกว่าอาม่าเรา ถ้าอายุน้อยกว่าก็เรียกว่า "เหล่า ซิ่ม" 老婶 ค่ะ

'เหล่า'ใช้ในความหมายเดียวกับ'great grand'ก็ได้ใช่ไหมคะ เพราะพอได้ยินบรรดาคำที่ขึ้นต้นด้วย'เหล่า'ก็แวบคิดไปถึงคำว่า 'เหล่า กง' :ซึ่งถ้าจำไม่ผิดก็หมายถึง 'ปู่ทวด หรือ ตาทวด'

้อ้อ! ยังมีอีกค่ะ เคยดูหนังจีน ผู้หญิงสองคนนั่งคุยกัน (ดิฉันไม่เข้าใจทุกคำพูดหรอกค่ะ ซ้ำ subtitle ก็ไม่มี เลยได้แต่เดาไปตามเรื่อง) ผู้หญิงหนึ่งในสองบุ้บบ้ายไปทางผู้ชายที่นั่งอยู่ในห้องข้างๆ(เข้าใจว่าเป็นสามีหล่อน) พร้อมทั้งเอ่ยคำว่า 'เหล่ากง' 
ดิฉันก็เดาเอาว่า 'เหล่า กง'ในที่นี้ถ้าแปลเป็นไทยก็คงหมายถึง 'ตาเฒ่า' ใช่ไหมคะ?



 

เอาแล้วไง นึกแล้วว่าต้องสงสัย 

"เหล่า กง" ในภาษาแต้จิ๋ว แปลว่า ปู่/ตาทวด ส่วน ย่า/ยายทวด เรียก "เหล่า ม่า" คือ 老公-老嫲

แต่ "เหล่า กง" ในภาษาจีนกลาง แปลว่า สามีค่ะ และ ภรรยา ก็เรียกว่า "เหล่า โผ" คือ 老公-老婆

แต่ถ้าตามรูปเขียนในภาษาจีน(ไม่เกี่ยวกับภาษาถิ่นนะคะ) คำว่า ปู่/ตาทวดต้องเขียนว่า 祖父 (จู่ปู้/ โจ๊ว เป่)
บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 27 ก.ค. 15, 04:33

ท่านั่งกินข้าวต้มของคนซัวเถา ที่เรียกกันว่า “ ยอง ” หรือ ยองยองเหลา แท้ๆ 

เทียบกับหุ่นยองๆเหลาในความเข้าใจของหลายคน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

บันทึกการเข้า
npnett
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 29 ก.ค. 15, 15:51

เห็นภาพแล้วนึกไปว่า (ขออภัย) ท่านำเข้าและท่านำออก ทำไมถึงต้องเป็นท่าเดียวกัน
บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 01 ส.ค. 15, 15:00

จากบริการของหาบเร่ สู่แผงลอย ?



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 20 คำสั่ง