เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 24521 ซัวเถาในความทรงจำ
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 12 ก.ค. 15, 10:10

ไม่ถูกค่ะ อิๆ  รูปที่สามที่ถ่ายที่หน้าบ้านยืมเรียงแถวตามลำดับอายุค่ะ
บันทึกการเข้า
walai
มัจฉานุ
**
ตอบ: 64


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 12 ก.ค. 15, 12:12




................ถ้าเรียงตามอายุ   ขอทายว่า...หนูน้อยชุดชมพู..ค่ะคาดว่าอายุคงห่างจากชุดแดง
................สักสองสามปีละค่ะ แลบลิ้น
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 12 ก.ค. 15, 13:38

คุณปิ่นยังพอจะจำได้ไหมคะว่าโรงเรียนที่ซัวเถาบรรยากาศเป็นยังไง เด็กๆเรียนอะไรบ้าง
บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 12 ก.ค. 15, 14:38

มีใครจะทายอีกไหมคะ มีแค่สองตัวเลือกเองคะ  แลบลิ้น

ตอบคุณแอนนาค่ะ

ที่โรงเรียนก็เรียน ภาษาจีน(语文) คณิตศาสตร์(数学) ธรรมชาติรอบตัว(自然) พละ(体育) ความคิดและคุณธรรม (思想品德) ศิลปะ(美术) ดนตรี(音乐) ประมาณนี้ค่ะ อาจจะมีอีกแต่จำไม่ได้แล้ว

การเรียนจะเรียนประจำห้องค่ะ ไม่ได้เดินเรียน ยกเว้นพละที่จะไปเรียนที่สนาม

ถ้าถามว่าบรรดาวิชาทั้งหลาย วิชาไหนประทับใจที่สุด ก็ต้องบอกว่าวิชาภาษาจีน เพราะต้องท่องบทเรียน สามสี่หน้าก็ต้องท่องจำให้ได้ทุกตัวอักษร แล้วไปท่องให้ครูฟังทีละคนๆ นอกจากนั้นก็ยังต้องคัดบทเรียน จะมีสมุดสำหรับคัดบทเรียนโดยเฉพาะ เป็นช่องสี่เหลี่ยมทีละช่องๆ คัดเกือบทุกวัน จำได้ว่ามีอยู่ครั่งหนึ่ง ปิ่นน่าจะเล่นเยอะไปหน่อย การบ้านไม่เสร็จ คัดบทเรียนจนถึงดึกๆดื่นๆ

สอบก็มีบ่อยมาก จบบทนึงก็สอบทีนึง ข้อสอบเป็นกระดาษหนึ่งแผ่น น่าจะขนาดเอสี่หรือเอฟสี่ ข้อสอบจะอาจจะมีแค่หน้าเดียวหรือสองหน้า ข้อสอบภาษาจีนต้องแต่งเรียงความตั้งแต่เด็ก ชั้นเล็กๆก็เขียนเล่นเรื่องตามภาพ ชั้นโตหน่อยก็ต้องแต่งเรียงความละ ถ้าสอบตก ก็ต้องคัดข้อสอบใหม่พร้อมแก้คำตอบ วิธีการคือไปร้านเครื่องเขียนซื้อกระดาษที่มีขนาดเท่ากระดาษข้อสอบ แล้วมาทาบคัดตาม เหมือนกระดาษลอกลายเลย

ปิดเทอมก็มีการบ้านทุกวิชา เนื้อหาของชั้นปีต่อไป ส่วนใหญ่ก็ทำไม่ได้หรอก ก็มั่วๆแล้วไปส่งตอนเปิดเทอม ชั้นโตหน่อยต้องเขียนไดอารี่ทุกวันตอนเปิดเทอมไปส่ง วิชาเลขต้องท่องตารางสูตรคูณตั้งแต่ป.๒

โต๊ะเรียนเป็นโต๊ะแบบนั่งคู่ เก้าอี้ก็เช่นกัน ใต้โต๊ะมีช่องให้เก็บกระเป๋านักเรียน (รูปแบบโต๊ะและเก้าอี้ตามรูปแนบเลย แบบเดียวกันค่ะ)

มีเวรเหมือนกัน ต้องทำเวรห้องเรียนตอนเลิกเรียน มีเวรทำความสะอาดห้องน้ำด้วย ถ้าจำไม่ได้ผิด ที่โรงเรียนจัดเวรรับผิดชอบส่วนต่างๆของโรงเรียนตามชั้นปี บางชั้นต้องไปทำความสะอาดสวนหย่อม บางชั้นต้องไปทำความสะอาดห้องน้ำชาย/หญิง แล้วแต่โรงเรียนจะจัดสรรให้ทำ ตอนนั้นก็ไม่ได้รู้สึกว่าเหนื่อยอะไร ถ้าจะปิดเทอมต้องทำความสะอาดครั้งใหญ่กันทุกห้อง ทุกคนต้องเอาแปรง ไม้กวาด จากบ้านมา แล้วช่วยกันขัดห้องเรียนให้สะอาด ได้สาดน้ำกันสนุกเลย (มีบรรยากาศมาให้ชมค่ะ)

แนบรูปหนังสือเรียนค่ะ





บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 12 ก.ค. 15, 15:04

เรียนเขียนพู่กันจีนหรือเปล่าคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 12 ก.ค. 15, 15:39

อักษรจีนแปดตัวเหนือกระดานดำ 好好学习  天天向上 เรียนรู้หนักครัน  ทุกวันก้าวหน้า ดูจะเป็นคำขวัญสำคัญของการศึกษาจีน


บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 13 ก.ค. 15, 03:18

ผมรู้จักเทศกาลหยวนเซียวจากเรื่องอ่านเล่นทั่วไป  อ่านแล้วก็จินตนาการเอาเองว่าคงเป็นอย่างนั้นอย่างนี้  ไปถามพ่อ  พ่อก็ไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร  ประมาณว่าแต้จิ๋วไม่มีเทศกาลนี้  ทั้งๆที่ภูมิภาคอื่นในจีนเขาถือเป็นเทศกาลรื่นเริงใหญ่ที่สุดก็ว่าได้  เมื่อหลายปีก่อนผมเลยเป็นตัวตั้งตัวตีชวนพ่อกับเพื่อนพ่อกลุ่มใหญ่ไปชมเทศกาลหยวนเซียวที่ไต้หวัน (พ่อและเพื่อนพ่อ เป็นลูกจีน generation แรกที่เกิดในไทย)
ผมอยากทราบว่า  ซัวเถาในความทรงจำของคุณปิ่น  มีเทศกาลหยวนเซียวไหมครับ?

เรื่องนโยบายลูกคนเดียว  การแอบซ่อนผู้หญิงท้องไว้ในห้องลับ  ผมก็เคยได้ยินมา  แต่ผมสงสัยว่า  ต่อให้แอบซ่อนสำเร็จ  จนได้ลูกมากกว่า 1 คน  แต่เวลาจดทะเบียนเกิด  จะทำอย่างไร  ลูกคนที่ 2, 3, ... ถ้าจดทะเบียนเกิดไม่ได้  ก็กลายเป็นคนเถื่อน  จะเข้าเรียนหนังสืออย่างไร?  ต่อไปก็ไม่มีบัตรประชาชน  สมัครงานก็ไม่ได้ด้วย

ดูจากรูปถ่ายวัยเด็กของคุณปิ่น  พบว่ามีสามล้อเด็ก  เสื้อผ้าก็สวยสดงดงาม  ไฉนลูกโป่งยังสร้างความตื่นเต้นให้คุณปิ่นได้อยู่อีก?
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 13 ก.ค. 15, 04:39

ผมติดตามพ่อไปเยี่ยมญาติที่ซัวเถาในปี 2535  ผู้ใหญ่เขานั่งคุยกัน  ผมฟังไม่รู้เรื่องก็นั่งเฉยๆ  บรรยากาศห้องในบ้านมืดทึม  จำไม่ได้ว่าเปิดหลอดไฟหรือเปล่า  แต่ไม่น่าเปิดหรอก  เพราะจำได้ว่า  ตั้งตะเกียงไว้ดวงหนึ่ง  แสงเพียงริบหรี่ (ตั้งระดับไส้ตะเกียงไว้สั้นๆ เพื่อประหยัดน้ำมัน)  หน้าต่างก็ไม่มี, ผนังเป็นปูนหนาๆ, ธรณีประตูเป็นหิน, พื้นเป็นดินอัดแน่น  สัตว์เลี้ยงเช่น ไก่ หมู เดินเข้านอกออกในบ้านกันตามสบาย

เห็นเด็กจีนเขาเล่นไพ่กระดาษที่พิมพ์เป็นรูปตัวละครในวรรณกรรมจีน  ผมยังให้ญาติชาวจีนพาไปซื้อบ้าง  เก็บไว้เป็นที่ระลึก

ธนบัตรเมืองจีน โดยเฉพาะใบปลีกที่ราคาต่ำกว่า 1 หยวน  สภาพยับย่น-ขาดวิ่น-มอมแมม-ถูกขยำเป็นก้อนๆ  เวลารับเงินทอน  ผมต้องคลี่ออกดู  เพราะดูไม่ออกว่าเป็นแบงค์อะไร

สินค้าหัตถกรรมเมืองจีน  สวยมากและถูกมาก (พ.ศ.2535) จนอยากจะซื้อให้หมดทุกชิ้น  แต่กลัวว่าจะขนขึ้นเครื่องบินไม่ไหว  ภายในร้านไม่เปิดไฟซักดวง  พนักงานก็ไม่สนใจลูกค้า (บริการใช้ได้ หยิบยกนั่นนู่นนี่ ไม่มีบ่นหรือหน้างอ แต่ไม่สนใจลูกค้า) สภาพเปลือกนอกของร้านค้าเหมือนร้านใกล้เจ๊ง  ไม่มีป้ายเชิญชวนดึงดูดสายตา  ผมเดินเข้าร้านไปงั้นๆแหละ (เพราะตลอดทั้งถนน ไม่มีอะไรจะให้ดูนักหรอก) พอเข้าไปในร้านเท่านั้นแหละ...อู้หูกันเลย

นั่งสามล้อถีบ  ตกลงราคากันที่3หยวน  มันขี่ไปเจอเพื่อนที่ขี่สวนมา  จึงหยุดเจรจากันซักพัก  น้ำเสียงไม่พอใจอะไรบางอย่าง  แล้วต่างคนต่างขี่แยกย้ายกันไป  แม่ข้าพเจ้าแปลให้ฟังว่า  มันเจรจาขายข้าพเจ้ากับแม่ให้เพื่อนมันในราคา2หยวน  เพื่อนมันบอกว่าต้องได้ราคา3หยวนเท่ากันสิ  ก็เลยโชคดีไปที่ข้าพเจ้ากับแม่ไม่ต้องย้ายคัน  มันยังมีหน้าหันมาระบายกับแม่ด้วยว่า "ดูซิ เพื่อนมันโง่ไหม ให้ราคา2หยวน ยังไม่ยอมเอา"

ถนนในหมู่บ้าน  ผู้คน-หาบเร่-แผงลอย เป็นเจ้าถนน  ไม่สนใจไยดีกับรถยนต์  ประหนึ่งว่ารถยนต์เป็นอากาศธาตุ  รถยนต์ต้องคืบคลานไปด้วยความเร็วเท่ากับคนเดิน  บางครั้ง(บ่อยครั้ง)ที่คนขับต้องเปิดกระจกออกไปตวาดเพื่อขอทาง  มือหนึ่งจับพวงมาลัย  อีกมือคอยผลักคนให้เซออกไปให้ห่างจากรถ (ขนาดว่าหน้ารถแหวกฝูงคนไปได้แล้ว ยังต้องมาแหวกตอนช่วงกลางคันรถอีกด้วย)

ปากซอยที่ต้องเดินเท้าเข้าบ้านญาติ  เป็นร้านขายสัตว์พะโล้  ต้องใช้คำกว้างๆว่า"สัตว์"จริงๆ  เพราะมีทั้ง หมาพะโล้ แมวพะโล้ แขวนให้เห็นกันจะๆแบบเต็มตัวหัวจรดหาง

ระหว่างรถบัสวิ่งอยู่บนทางหลวงชนบท  จู่ๆก็เหยียบเบรกกระทันหัน  จนผู้โดยสารหัวคะมำ  คนขับรถกำลังเอะอะเอ็ดตะโรใส่คนที่อยู่บนถนน  เรานึกว่าเกิดอุบัติเหตุ  ที่แท้เจ้าหมอนั่นมันกระโดดมาขวางถนน  เพื่อมาขอตังค์ใช้
บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 13 ก.ค. 15, 11:24

เทศกาลหยวนเซียวจากเรื่องอ่านเล่นทั่วไป  อ่านแล้วก็จินตนาการเอาเองว่าคงเป็นอย่างนั้นอย่างนี้  ไปถามพ่อ  พ่อก็ไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร  ประมาณว่าแต้จิ๋วไม่มีเทศกาลนี้  ทั้งๆที่ภูมิภาคอื่นในจีนเขาถือเป็นเทศกาลรื่นเริงใหญ่ที่สุดก็ว่าได้  ซัวเถาในความทรงจำของคุณปิ่น  มีเทศกาลหยวนเซียวไหมครับ?

เรื่องนโยบายลูกคนเดียว  การแอบซ่อนผู้หญิงท้องไว้ในห้องลับ  ผมก็เคยได้ยินมา  แต่ผมสงสัยว่า  ต่อให้แอบซ่อนสำเร็จ  จนได้ลูกมากกว่า 1 คน  แต่เวลาจดทะเบียนเกิด  จะทำอย่างไร  ลูกคนที่ 2, 3, ... ถ้าจดทะเบียนเกิดไม่ได้  ก็กลายเป็นคนเถื่อน  จะเข้าเรียนหนังสืออย่างไร?  ต่อไปก็ไม่มีบัตรประชาชน  สมัครงานก็ไม่ได้ด้วย

ดูจากรูปถ่ายวัยเด็กของคุณปิ่น  พบว่ามีสามล้อเด็ก  เสื้อผ้าก็สวยสดงดงาม  ไฉนลูกโป่งยังสร้างความตื่นเต้นให้คุณปิ่นได้อยู่อีก?

คุณธสาครมีหลากประเด็น แยกเป็น 3 คำถามนะคะ

1. เทศกาล หยวนเซียว(จีนกลาง) งวงเสี่ยว(แต้จิ๋ว) 元宵节 ถ้าตามเรื่องอ่านเล่น เช่น นิยายละก็ ต้องมีฉากที่พระเอกกับนางเอกเจอกันระหว่างชมโคมอยู่ที่ตลาดแล้วปิ๊งกันแน่เลย เขาก็ว่า เทศกาลหยวนเซียวเป็นวาเลนไทน์จีนที่นอกเหนือจากเทศกาลชีซี เทศกาลงวงเซียวที่ดังๆก็จะมีกิจกรรม ชมโคม ทายปริศนาที่เขียนบนโคม กินบัวลอย อย่างอื่นไม่ทราบจริงๆ แต่ถ้างวงเซียวที่แต้จิ๋ว...ในความทรงจำของปิ่นคือ...ว่างเปล่าคะ จำไม่ได้ หนึ่งก็อาจจะเพราะ เทศกาลต่างๆมีเยอะมากจนจำไม่ได้ว่าอันไหนเป็นอันไหน สองคือ ที่ซัวเถาไม่นิยมชมโคม ทายปริศนาโคมเหมือนถิ่นอื่นๆ สามคือ เทศกาลดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นการไหว้เจ้าซะมากกว่าซึ่งไม่เป็นที่สนใจของเด็กอย่างเรา ปิ่นก็เลยลองไปค้นในเว็บไซต์ ก็พบว่า เทศกาลงวงเสี่ยวของแต้จิ๋ว หลักๆคือ มีการเชิญเหล่าเอี๊ยจากซูตึ๊งหรือศาลเจ้าไปเดินวนรอบหมู่บ้าน มีแห่เป็นการครึกครื้น... ในความทรงจำพอจะจำได้ว่ามีพิธีนี้ แต่การแห่เหล่าเอี๊ยก็มีหลายเทศกาลเช่นกัน ไม่แน่ใจว่าเกิดขึ้นในงวงเสี่ยวด้วยหรือเปล่า แล้วก็เห็นว่าได้นำเจดีย์น้ำตาล 糖塔 สิงโตน้ำตาล 糖狮 ไปไหว้ที่ศาลเจ้าด้วย (แนบรูปให้ชมค่ะ)

2. นโยบายลูกคนเดียว การซ่อนผู้หญิงท้องในห้องลับ ประสบกับตัวเองมาโดยตรง เล่าไปแล้วว่า พวกแม่กับป้าไปซ่อนที่บ้านญาติเวลาเจ้าหน้าที่มาตรวจ การซ่อนนี้ คือ 1. ซ่อนผู้หญิงที่มีลูกแล้ว และยังไม่ได้ทำหมัน ไม่จำเป็นว่าต้องท้อง เพราะเจ้าหน้าที่เขาจะจับไปทำหมัน(จริงๆก็ยิ่งกว่าจับหมาจับแมวไปทำหมันอีก) ส่วนผู้หญิงท้องนี่ ไม่แน่ใจว่าจะถูกจับทำแท้งหรือเปล่า เพราะไม่เคยได้ยินมาก่อน นอกจากโตแล้วไปเห็นข่าวว่ามี เด็กที่เกิดมาโดยไม่ได้ไปขึ้นทะเบียนเกิดเรียกว่า "เฮก โฮ่ว" 黑户 คือคนเถื่อนนั่นเอง คิดว่าเรื่องนี้ คนเมืองน่าจะซีเรียสกว่ามาก บางคนก็ต้องเอาลูกไปฝากขึ้นชื่อเป็นลูกของญาติ บางคนก็เสียค่าปรับแล้วขึ้นทะเบียนได้ หลักๆคือ เสียค่าปรับนั่นแหละค่ะ แต่ถ้าอยู่บ้านนอกและมีเส้นสายจะไม่มีปัญหาสักเท่าไหร่ เพราะการจับกุมไม่เข้มงวด และใครๆก็ทำกัน ขนาดเจ้าหน้าที่เองก็มีลูกหลายคน

3. ฐานะทางบ้านปิ่นในขณะนั้นถือว่า มีข้าวให้กินอิ่ม ไม่อดอยาก มีสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต แต่ไม่ได้ร่ำรวยอะไร สมัยปิ่นเป็นเด็ก แถวบ้านไม่มีใครใส่เสื้อผ้าแบบมีรอยปะ (补丁) กันแล้ว ไฟฟ้าก็เข้าถึงแล้ว เพียงแต่ ของเล่นยังไม่ได้มีให้เล่น อย่างขายลูกโป่งเนี่ย ของไทยอาจจะตามซื้อได้ในงานวัด ที่ซัวเถาเอง ไม่ได้มีงานแบบนั้น จะหาซื้อก็ไม่มีขาย ดังนั้นเด็กๆจึงตื่นเต้นกัน ไม่เกี่ยวกับว่ามีเงินหรือไม่มีเงิน แต่คือหาซื้อยากนั่นเอง ส่วนใหญ่เด็กสมัยนั้น บ้านใกล้เรือนเคียงจะออกมาเล่นด้วยกันตอนเย็นก่อนกินข้าวมากกว่า พอตัวมอมแมมก็จะถูกลากกลับบ้านไปอาบน้ำแล้วกินข้าว ตกดึกแล้วถนนไม่มีคนเลย ไม่มีnight lifeเลย จนเดี๋ยวนี้เอง อยู่ที่เมืองไทย เวลาไปกินข้าวข้างนอกดึกๆ แม่ก็ยังพูดว่า ชีวิตดีเนอะ ขับรถไปกินข้าวถึง หับซัว (峡山) ซึ่งหมายถึง ตัวเมืองที่เจริญที่สุดแล้วในขณะนั้น และจากบ้านจะไปที่นั่นก็ต้องนั่งรถสามล้อที่เรียกว่า ก่อยเชีย (街车) ไป คำว่า "ก่อย" เนี่ย เสียงเหมือนกับคำว่า "ไก่" ตอนเด็กๆ ปิ่นก็เอาแต่สงสัยว่า ทำไมรถมันถึงเรียกว่า "รถไก่" มันเกี่ยวกับอะไรกับไก่ มันใช้ขนไก่ไปขายหรือ เวลาว่างจากส่งไก่ก็มาส่งคนหรือเปล่า จริงๆแล้ว คำว่า "ก่อย" ในที่นี้ หมายถึง "ถนน" ค่ะ ยิงฟันยิ้ม  แม่จะพูดว่า นี่ถ้าอยู่ที่บ้านเก่าจะมีแบบนี้เรอะ ตกดึกก็ปิดประตูเข้าบ้านกันหมดแล้ว กิจกรรมยามดึกก็นั่งดูทีวีเป็นครอบครัวใหญ่อยู่ที่โถง ดูเสร็จก็แยกย้ายกันไปนอนค่ะ




คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 13 ก.ค. 15, 11:48

ผมติดตามพ่อไปเยี่ยมญาติที่ซัวเถาในปี 2535  ตั้งตะเกียงไว้ดวงหนึ่ง  แสงเพียงริบหรี่ (ตั้งระดับไส้ตะเกียงไว้สั้นๆ เพื่อประหยัดน้ำมัน)  หน้าต่างก็ไม่มี, ผนังเป็นปูนหนาๆ, ธรณีประตูเป็นหิน, พื้นเป็นดินอัดแน่น  สัตว์เลี้ยงเช่น ไก่ หมู เดินเข้านอกออกในบ้านกันตามสบาย

เห็นเด็กจีนเขาเล่นไพ่กระดาษที่พิมพ์เป็นรูปตัวละครในวรรณกรรมจีน  ผมยังให้ญาติชาวจีนพาไปซื้อบ้าง  เก็บไว้เป็นที่ระลึก

ธนบัตรเมืองจีน โดยเฉพาะใบปลีกที่ราคาต่ำกว่า 1 หยวน  สภาพยับย่น-ขาดวิ่น-มอมแมม-ถูกขยำเป็นก้อนๆ  เวลารับเงินทอน  ผมต้องคลี่ออกดู  เพราะดูไม่ออกว่าเป็นแบงค์อะไร

สินค้าหัตถกรรมเมืองจีน  สวยมากและถูกมาก (พ.ศ.2535) จนอยากจะซื้อให้หมดทุกชิ้น  แต่กลัวว่าจะขนขึ้นเครื่องบินไม่ไหว  ภายในร้านไม่เปิดไฟซักดวง  พนักงานก็ไม่สนใจลูกค้า (บริการใช้ได้ หยิบยกนั่นนู่นนี่ ไม่มีบ่นหรือหน้างอ แต่ไม่สนใจลูกค้า) สภาพเปลือกนอกของร้านค้าเหมือนร้านใกล้เจ๊ง  ไม่มีป้ายเชิญชวนดึงดูดสายตา  ผมเดินเข้าร้านไปงั้นๆแหละ (เพราะตลอดทั้งถนน ไม่มีอะไรจะให้ดูนักหรอก) พอเข้าไปในร้านเท่านั้นแหละ...อู้หูกันเลย

นั่งสามล้อถีบ  ตกลงราคากันที่3หยวน  มันขี่ไปเจอเพื่อนที่ขี่สวนมา  จึงหยุดเจรจากันซักพัก  น้ำเสียงไม่พอใจอะไรบางอย่าง  แล้วต่างคนต่างขี่แยกย้ายกันไป  แม่ข้าพเจ้าแปลให้ฟังว่า  มันเจรจาขายข้าพเจ้ากับแม่ให้เพื่อนมันในราคา2หยวน  เพื่อนมันบอกว่าต้องได้ราคา3หยวนเท่ากันสิ  ก็เลยโชคดีไปที่ข้าพเจ้ากับแม่ไม่ต้องย้ายคัน  มันยังมีหน้าหันมาระบายกับแม่ด้วยว่า "ดูซิ เพื่อนมันโง่ไหม ให้ราคา2หยวน ยังไม่ยอมเอา"

ถนนในหมู่บ้าน  ผู้คน-หาบเร่-แผงลอย เป็นเจ้าถนน  ไม่สนใจไยดีกับรถยนต์  ประหนึ่งว่ารถยนต์เป็นอากาศธาตุ  รถยนต์ต้องคืบคลานไปด้วยความเร็วเท่ากับคนเดิน  บางครั้ง(บ่อยครั้ง)ที่คนขับต้องเปิดกระจกออกไปตวาดเพื่อขอทาง  มือหนึ่งจับพวงมาลัย  อีกมือคอยผลักคนให้เซออกไปให้ห่างจากรถ (ขนาดว่าหน้ารถแหวกฝูงคนไปได้แล้ว ยังต้องมาแหวกตอนช่วงกลางคันรถอีกด้วย)

ปากซอยที่ต้องเดินเท้าเข้าบ้านญาติ  เป็นร้านขายสัตว์พะโล้  ต้องใช้คำกว้างๆว่า"สัตว์"จริงๆ  เพราะมีทั้ง หมาพะโล้ แมวพะโล้ แขวนให้เห็นกันจะๆแบบเต็มตัวหัวจรดหาง

ระหว่างรถบัสวิ่งอยู่บนทางหลวงชนบท  จู่ๆก็เหยียบเบรกกระทันหัน  จนผู้โดยสารหัวคะมำ  คนขับรถกำลังเอะอะเอ็ดตะโรใส่คนที่อยู่บนถนน  เรานึกว่าเกิดอุบัติเหตุ  ที่แท้เจ้าหมอนั่นมันกระโดดมาขวางถนน  เพื่อมาขอตังค์ใช้

1. สมัยเด็กๆ ที่บ้านก็มีเลี้ยงเป็ด ไก่ หมู นะคะ ที่เลี้ยงเป็นสัดส่วนค่ะ ที่บ้านปิ่นเลิกเลี้ยงก่อนบ้านยายค่ะ ตอนเด็กๆไม่ค่อยได้อยู่บ้านตัวเอง เป็นเด็กฝากบ้านยายค่ะ เรื่องที่นำมาเล่าก็มีทั้งบ้านตัวเองและบ้านยายปะปนไป บ้านปิ่นเองเนื่องจากคุณพ่อทำงานที่มณฑลอื่น จะมีของที่ทันสมัยกว่า แต่บ้านยายจะโบราณกว่านิดนึง บ้านปิ่นเอง เท่าที่จำได้เคยเลี้ยงไก่ ไม่ได้เอาไว้ขายนะคะ น่าจะเอาไว้เก็บไข่กินหรือใช้ไหว้เจ้าช่วงเทศกาล จำได้ว่า เคยมีเด็กข้างนอกมาขโมยไข่ไก่และต้มกินในเล้าไก่ พอเรารู้นี่โกรธมากเลย ไปซุ่มจับเด็กนั่นอยู่ที่เล้าไก่กับพี่สาวด้วย สุดท้ายจับได้หรือเปล่าก็จำไม่ได้ 555 ตะเกียงนี่พอจะนึกออกว่าเคยเห็นที่บ้านยาย ยายจะจุดไว้เวลาไหว้เจ้า จะมีเจ้าองค์หนึ่งที่วางกระจาดไว้บนหลังคาเตียง (เป็นเตียงโบราณแบบมีเสาสี่เสาและมีมุ้ง) เวลาถึงเทศกาลจะไหว้ก็ต้องเอากระจาดมาตั้งไว้บรเตียงแล้วเอาอาหารคาวหวานมาตั้งในกระจาด ปักธูปค่ะ... แต่เอ แม่เหมือนจะไม่ได้ไหว้นานแล้วนะ พอไหว้เจ้าองค์นี้ก็ต้องเอาตะเกียงมาจุดไว้ ไม่รู้ทำไมเหมือนกันค่ะ ไม่งั้นก็เวลาไฟดับค่ะ จุดเทียน จุดตะเกียง ทำการบ้านก็ไม่ได้ 555 เด็กๆนั่งรวมกันฟังยายเล่าเรื่องสมัยสาวๆ แต่ยายเล่าอะไรก็จำไม่ได้แล้ว

2. ไพ่กระดาษนั่น คือตำนานของเด็กยุค 80 ที่จีนเลย เรียกว่า "ฮอบนังเกี้ย" วิธีเล่นคือใช้มือ ตบให้เกิดลมแล้วถ้า ไพ่ของเราไปทับของอีกฝ่ายเราก็จะได้ไพ่ของอีกฝ่ายมาค่ะ เด็กผู้หญิงไม่ค่อยชอบเล่น เด็กผู้ชายชอบเล่นมากกว่า

3. ธนบัตรที่ "แต้จิ๋ว" มีสภาพขาดๆนี่แหละ จนปิ่นนึกว่าแบงค์ของที่อื่นๆก็มีสภาพเหมือนกัน คือ ก่อนมาเมืองไทยก็ใช้ชีวิตอยู่แต่ในหมู่บ้านไม่ได้ไปไหน เมื่อมาอยู่เมืองไทยสัก10ปีได้กลับไป ถึงรู้ว่า ธนบัตรของคนเมืองไม่ได้ขาดอย่างบ้านเรา 555 สันนิฐานว่า ซัวเถาส่วนที่ไม่ได้เป็นตัวเมือง ออกไปข้างนอกลำบาก ทำให้ธนบัตรที่หมุนเวียนในหมู่บ้านเปลี่ยนมือกันอยู่แค่ในหมู่บ้าน เมื่อแบงค์เก่าไม่ออกไปข้างนอก แบงค์ใหม่ก็ไม่ได้เข้ามา นานๆไปก็ขาดและเปื่อยอย่างนั้นแหละ

4. ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เขาไม่จำเป็นต้องทำการตลาด เพราะลูกค้าเป็นคนในหมู่บ้านนั่นแหละ ร้านก็มีอยู่ไม่กี่ร้าน ไม่มีลูกค้าใหม่ด้วย เพราะคนในหมู่บ้านอยู่กันเป็นถาวร ไม่มีบ้านเช่า ดังนั้นกลุ่มลูกค้าคงที่ ไม่เจ๊งแน่นอน

5. คุณธสาครไปอยู่ตัวเมืองหรือเปล่าคะ เพราะสมัยที่ปิ่นอยู่แทบจะไม่เคยเห็นรถยนตร์เลย

6. อาหารพะโล้เป็นอาหารขึ้นชื่อของชาวแต้จิ๋ว 卤味 แต่ส่วนใหญ่ ขาย ไก่ เป็ด ห่าน หมู ส่วน หมากับแมว ไม่เคยเห็นขายกันอย่างนั้นนะคะ ต้องสารภาพว่า เคยกินเนื้อหมามา 1 ครั้งตอนเด็กๆ ที่บ้านยาย ไม่รู้เพราะอะไร แต่นานมาแล้ว หลังๆแทบจะไม่เคยเห็นมีใครกินเนื้อหมาเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 03:44

เรื่องผู้หญิงท้องกับนโยบายลูกคนเดียว  ผมยังไม่เคยได้ยินถึงขั้นจับไปทำแท้ง  ได้ยินแต่เพียงว่า  หากเจ้าหน้าที่เจอผู้หญิงท้อง  เขาจะจับไปอยู่รวมกัน  พอคลอดปุ๊บ  ก็ทำหมันปั๊บ  แต่จีนเป็นประเทศใหญ่  แต่ละภูมิภาคอาจใช้มาตรการหนักเบาแตกต่างกันตามอัธยาศัยของเจ้าหน้าที่  ตามที่คุณปิ่นเล่าว่า “ขนาดเจ้าหน้าที่เอง ก็มีลูกหลายคน”  อย่างนี้ก็สื่อได้ว่า  นโยบายนี้ไม่ได้ทารุณถึงขนาดปูพรมแดง(เลือด)  เพียงแต่ว่าจีนมีประชากรตั้งพันล้าน  คนที่ถูกทำแท้งแม้เพียง 0.01%  ก็ยังคิดเป็นจำนวนคนตั้ง1แสนคน

ข้อสันนิษฐานแบงค์ปลีกมีสภาพทรุดโทรม  ฟังสมเหตุสมผล

เรื่องรถยนต์ขับแหวกเข้าไปในฝูงชน  เรื่องหมาแมวพะโล้  สถานที่คืออำเภอเถ่งไฮ่,  หมู่บ้าน(หรือตำบลก็ไม่รู้)เน่ยเอ๋ (เน้ย-ดอกบัว  เอ๋-ข้างล่าง)

ผมพักที่โรงแรมก๊กจี่  พ่อไปทำธุระจัดการสะสางเรื่องเงินให้เรียบร้อย (ไม่งั้น เดี๋ยวญาติทะเลาะกัน)  รวมทั้งนำเงินไปมอบให้ครอบครัวอื่น (รับฝากธุระมาจากเมืองไทย) 

ส่วนผมกับแม่อยู่ว่าง  ก็เลยเดินเล่นละแวกโรงแรมนั้นเอง  ร้านขายสินค้าหัตถกรรมที่ผมพูดถึง  อยู่ในเขตเมืองทั้งหมด  มีตั้งแต่ร้านศิลปินเดี่ยว(ขายรูปวาด)  ไปจนถึงร้านใหญ่มากๆ  ซึ่งน่าจะเป็นร้านของรัฐบาล  เพราะสินค้ามีความหลากหลาย  และเป็นของมีค่าสูง เช่น หยกแกะสลักก้อนโตๆ  ตุ๊กตาดินเผาฝีมือละเอียดประณีต 
ตั้งใจจะกลับไปซื้ออีกรอบ  เอาให้หนำใจ  แต่ก็ไม่ได้กลับไปซัวเถาอีกเลย  เพราะอาม่าอายุมากขึ้นเรื่อยๆ  ไม่สามารถเดินทางไกลได้อีก  จนในที่สุดท่านก็เสียไป  ญาติผู้ใหญ่ที่จีนก็ทยอยลาโลกไปเช่นกัน  โครงการเยี่ยมญาติก็เป็นอันหยุดไปตั้งแต่คราวนั้น
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 03:54

พ่อผม เพื่อนพ่อ และคุณปิ่น ลงความเห็นตรงกันว่าชาวแต้จิ๋วไม่มีธรรมเนียมชมโคมไฟในเทศกาลง่วงเซียว  จะมีก็เพียงแต่ไหว้เจ้าเท่านั้น  ซึ่งคงไม่อาจเรียกเป็นงานเทศกาลโคมไฟได้
ผมแนบรูปงานประดับโคมไฟที่ไต้หวันมาให้ดู

รูปล่างสุด  ที่เห็นเป็นแนวไฟระยิบระยับสุดสายตานั่นคืองานเดียวกัน  กินเนื้อที่เป็นพันไร่ (ใหญ่มากกกก)
จัดแสดงแยกเป็นโซนต่างๆ  ทั้งโคมไฟรูปแบบดั้งเดิม  ทั้งตกแต่งเป็นรูปคน รูปสัตว์  เป็นไฟราว-ไฟพวงแบบเทศกาลคริสต์มาส  งานออกร้าน-ขายของ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 04:26

ไพ่กระดาษที่ผมพูดถึง  ไม่รู้จะใช่ "ฮอบนังเกี้ย" หรือเปล่า
แต่ละรูปมีขนาด 3x4cm  ยังไม่ได้ตัดแยกเป็นใบๆ (ติดกันเป็นแผ่นใหญ่แผ่นเดียว)
ผมสแกนด้านหลังมาแปะเทียบเคียงเอาไว้  เผื่อว่าคุณปิ่นหรือผู้รู้ภาษาจีนท่านอื่นผ่านมา  จะช่วยกันแปลให้เป็นที่ครึกครื้น

พ่อผมทราบแต่เพียงว่าเป็นเทวนิยาย  มนุษย์รบกันโดยมีเทพเจ้าถือหางมนุษย์แต่ละฝ่าย (ทำนองเดียวกับเทพนิยายกรีก สงครามกรุงทรอย)
ชื่อเทพเจ้าแต่ละองค์  พ่อผมอ่านออกแค่ไม่กี่ตัว


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ธสาคร
พาลี
****
ตอบ: 248


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 04:28

ต่อ...



บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 09:25

ผมเคยพาคุณแม่กลับไปเมืองจีนเมื่อราวปี 28 เวลานั้นบรรยากาศการปิดกั้นชาวบ้านออกจากขนบธรรมเนียมจีนเก่าตามนโยบายท่านผู้นำยังฟุ้งแรงอยู่ การเก็บกระถางธูปไว้เซ่นไหว้เจ้ายังเป็นสิ่งผิด  ตามวัดและศาลเจ้าที่รอดพ้นจากการกวาดล้างระบบความเชื่อเก่า แม้จะให้คนจีนทั่วไปเข้าชม

แต่จะอนุญาตให้เฉพาะคนจากต่างแดนที่กลับไปเยี่ยมบ้านเกิดมีโอกาสได้เซ่นไหว้เท่านั้น
และเครื่องเซ่นไหว้อย่างธูปเทียนกระทั่งไม้ขีดไม่มีขายแม้แต่ในวัด คนต่างประเทศจะต้องพกนำเข้าไปเอง

เวลานั้นขนบประเพณีที่ชาวบ้านเคยปฏิบัติสืบทอด ล้วนเป็นสิ่งที่ควรจะขจัดล้างเสียสิ้น

ผมมีโอกาสพาแม่ลงไปชนบทอีกครั้งเมื่อต้นปี 30 ถึงได้มีบรรยากาศของการผ่อนคลายและรื้อฟื้นประเพณีเก่าๆของแต่ละหมู่บ้าน
ซึ่งนั่นก็แล้วแต่ว่าคนในหมู่บ้านพร้อมจะร่วมขับเคลื่อนให้ประเพณีเก่าใดได้หวนกลับคืนมา

การที่บางหมู่บ้าน บางชุมชน จะละทิ้งบางขนบธรรมเนียมเก่า  ใช่ว่าหมู่บ้านอื่นต้องละทิ้งไปด้วย....
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.1 วินาที กับ 20 คำสั่ง