เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 24450 ซัวเถาในความทรงจำ
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 03 ก.ค. 15, 20:26

"รองเท้าแลกลูกโป่ง"

เด็กบ้านนอกอย่างเราน้อยคนนักที่จะมีของเล่นไว้เล่น โดยปกติก็จะหาเพื่อนเล่นกันเอง เล่นโดดยาง เล่นดินเล่นทราย ไปตามเรื่อง ดังนั้น "รถขายลูกโป่ง" เป็นสิ่งที่เด็กๆรอคอยกัน

คนขายลูกโป่งมักจะขี่จักรยานมา โดยมีถังก๊าซทรงยาวติดอยู่ข้างหลังจักรยาน ลูกโป่งที่ขายเป็นลูกโป่งใบเล็ก ขนาดเล็กที่สุดนั่นแหละ เขาขายลูกละ 0.2 หยวน สมัยนั้นก็น่าจะแพงอยู่นะ เพราะสมัยนั้น ไอติมแท่งละ 0.2yuan ถ้าเป็นแบบช็อคโกแลต 0.5หยวน

แต่คนขายลูกโป่งเขาก็รับรองเท้าพลาสติก และ กระป๋องน้ำอัดลมด้วย ตอนนี้นึกขึ้นมาเพิ่งรู้สึกว่า คนขายลูกโป่งนี่มีหัวทางการตลาดดีมาก คือ ขายลูกโป่งด้วย รับซื้อของเก่าด้วย

กระป๋องน้ำอัดลมแบบอลูมิเนียม สองใบ สามารถแลกลูกโป่งแบบเติมแก็สได้ หนึ่งใบ

รองเท้ายาง หนึ่งข้างก็สามารถแลกได้หนึ่งใบเหมือนกัน ดังนั้นจึงเกิดเหตุการณ์ที่ผู้ใหญ่ที่บ้านไม่ยอมให้ตังค์มาซื้อลูกโป่ง เด็กก็จะเอารองเท้าตัวเองบ้าง ขโมยรองเท้าที่บ้านบ้าง หรือเอารองเท้าชาวบ้านบ้าง ไปแลกลูกโป่ง

รองเท้าหนึ่งคู่มันราคา สาม สี่ หยวนได้ บางทียังเป็นรองเท้าใหม่อยู่แท้ๆ มันก็เอาไปแลกลูกโป่งกันหมด พอผู้ใหญ่รู้เข้า มิวายถูกจัดหนักอีกตามเคย

รูปประกอบหาจากในเน็ต คาดว่าเป็นที่อินเดีย แต่จักรยานและถังก๊าซจะมาในลักษณะนี้


บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 03 ก.ค. 15, 21:27

เขาเอารองเท้าที่รับแลกไปขายเป็นรองเท้ามือสองหรือไงคะ ถ้าใช่่ แล้วที่มาข้างเดียวจะขายได้หรือคะ
บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 03 ก.ค. 15, 21:38

เขาเอารองเท้าที่รับแลกไปขายเป็นรองเท้ามือสองหรือไงคะ ถ้าใช่่ แล้วที่มาข้างเดียวจะขายได้หรือคะ

เขาน่าจะเอาไปขายเป็นพลาสติกแปรรูปอีกทีค่ะ เพราะเขาไม่รับรองเท้าแบบอื่นที่ไม่ใช่รองเท้าพลาสติก
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 03 ก.ค. 15, 22:45

กระทู้นี้ทรงคุณค่าสำหรับคนเชื้อสายจีนแต้จิ๋วจริงๆครับ

สมัยคุณปิ่นอยู่ที่นั่น สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปจากก่อนช่วงเปิดประเทศมากไหมครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 03 ก.ค. 15, 23:31

กระทู้นี้ทรงคุณค่าสำหรับคนเชื้อสายจีนแต้จิ๋วจริงๆครับ

สมัยคุณปิ่นอยู่ที่นั่น สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปจากก่อนช่วงเปิดประเทศมากไหมครับ

ก่อนช่วงเปิดประเทศ??? อันนี้ก็ไม่แน่ใจค่ะ เพราะว่ายังไม่เกิดมั้งคะ ก็เลยไม่มีภาพเปรียบเทียบเท่าไหร่ เกิดมาก็อยู่ที่นั่นเลย แต่ถ้าถามว่า เมื่อหลายปีก่อนที่กลับไปเยี่ยมบ้าน สภาพเปลี่ยนไปจากเมื่อสิบกว่าปีก่อนที่ปิ่นอยู่ที่จีนไหม ก็ต้องยอมรับว่าเปลี่ยนไปเยอะพอควร อย่างแรกเลย ตอนเด็กๆแถวบ้านปลอดภัย ไม่มีขโมยหรือโจรนะคะ และอีกอย่างที่หลายๆคนไม่ทราบคือ คนแต้จิ๋วท้องถิ่นจริงๆไม่ต้อนรับคนจากข้างนอกมาอาศัยอยู่ในชุมชนนะคะ เพราะชุมชนค่อนข้างมีลักษณะปิด รถยนต์ไม่เคยเห็น ใช้จักรยาน มอเตอร์ไซต์ เป็นหลัก ดังนั้น คนต่างจังหวัดจะเข้ามาก็ลำบากเหมือนกัน อีกทั้งในตัวหมู่บ้านเองก็ไม่มีอะไรให้คนต่างจังหวัดทำ เพราะในท้องที่ไม่มีอุตสาหกรรม ผู้ชายจะออกไปหางานทำข้างนอก ไม่ก็ค้าขาย อีกทั้งไม่ต้อนรับสะใภ้ต่างจังหวัดที่พูดต่างภาษากับตัวเอง เพราะส่วนใหญ่แล้ว พ่อแม่สามีพูดจีนกลางไม่ได้ จะมีปัญหาในการสื่อสารค่ะ (บ้านปิ่นเองก็เพิ่งมีพี่สะใภ้เป็นคนเซี่ยงไฮ้แต่งเข้ามาที่บ้าน เวลาพวกเราเด็กๆคุยกันก็จะคุยภาษาไทย พวกผู้ใหญ่คุยกันก็คุยแต้จิ๋ว พี่สะใภ้ก็จะงง เพราะไม่เข้าใจทั้งสองภาษา ต้องแปลให้ฟังทีเดียวสองภาษา) ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม แต่ปิ่นมีความรู้สึกว่า คนแต้จิ๋วค่อนข้างมีความรู้สึกเชิงลบกับคนต่างจังหวัด คือ เรียกพวกเขาว่า "หงั่ว เซ่ เกี๊ย" (外省仔) อันหมายถึงว่า คนต่างจังหวัด ครอบครัวแต้จิ๋วขนานแท้ ไม่เคยเห็นบ้านไหนมีเมียน้อยนะคะ ไม่รักก็อยู่กันจนแก่ได้ แต่อำนาจของบ้านอยู่ที่ผู้ชายแต่เพียงผู้เดียว ผู้หญิงเป็นได้แค่ช้างเท้าหลัง ไม่มีปากมีเสียงอะไรในบ้าน ต้องทำงานบ้านเลี้ยงลูก ต้องมีลูกผู้ชาย ผู้ใหญ่เขาจะมองกันว่า ผู้หญิงต่างจังหวัดขี้เกียจ ทำงานไม่เก่ง

นอกเรื่องไปซะเยอะ คือจะเล่าว่า ในหมู่บ้านของเรา บ้านใกล้เรือนเคียง ใครเป็นลูกใคร รู้กันหมด คนต่างจังหวัดจะหายากมาก ถ้าเกิดมีการขโมยของหรือของหายขึ้นมาจะหมายหัวพวกคนต่างจังหวัดที่เข้ามาในหมู่บ้าน บอกว่า พวกคนต่างจังหวัด มือไม้ไม่สะอาด คือลักเล็กขโมยน้อยนั่นเอง สมัยนั้นอยู่เมืองจีน เข้าบ้านนู้นบ้านนี้ ประตูบ้านเปิดอ้าไว้ไม่ต้องกลัวคนมาขโมยของ แต่เมื่อหลายปีก่อนที่กลับบ้านไปสัมผัสได้ถึงความเปลี่ยนแปลง โดยปกติแล้ว การสร้างบ้านจะสร้างกันคนละหลังๆ โดยมีช่องว่างระหว่างบ้านเว้นไว้ลักษณะเป็นซอยทะลุได้ ซึ่งตอนปิ่นเด็กๆเคยเล่นกับเพื่อนบ้าน เช่น โดดยาง ขุดทราย เป็นต้น แต่ตอนกลับไปเยี่ยมบ้านกลับพบว่า ซอยแบบนั้น ทุกๆบ้านกั้นรั้วแบบล็อคได้ ขึ้นมาหมดแล้ว คือ จากเมื่อก่อนที่มีทางลัดกลับบ้าน พอกลับไปที่บ้านยายตอนดึกๆ ไฟถนนก็ไม่มี มืดก็มืด ไม่ได้กลับไปก็เป็นสิบปี ซอยทุกซอยที่เราเคยวิ่งเล่นตอนเด็ก เรากลับจำไม่ได้ซะแล้วว่าต้องเดินยังไง เพราะมันเปลี่ยนไปเยอะมาก ต้องคอยระวังบ้านช่อง คนต่างจังหวัดก็มาอยู่เยอะขึ้น แม่น้ำก็เน่าจนดูไม่ได้ มีแต่ขยะ ถนนลูกรังกลายเป็นถนนคอนกรีด แต่สภาพสังคมไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมากมายค่ะ
บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 03 ก.ค. 15, 23:48

ว่าแล้วสอดแทรกเรื่อง "นโยบายมีลูกคนเดียว" ของรัฐบาล คิดว่าน่าจะอยู่ในความสนใจของทุกท่านพอควร

นโยบายคุมกำเนิด หรือ มีลูกคนเดียวนั้น อันที่จริงเด็กยุค 80's ก็คงจะโตมาคนเดียวแบบไม่มีพี่น้อง จนผลกระทบที่ส่งถึงปัจจุบันมีมากมาย คำเรียกญาติมากมายในภาษาจีนแทบจะหมดความหมายไปเลยทีเดียว ด้วยไม่มีคนให้เรียกแล้ว เห็นได้ว่า สถาบันครอบครัวนั้นมีบทบาทสำคัญในสังคมจีน

แต่... เหนือฟ้ายังมีฟ้า... ในฐานะตัวแทนของเด็กยุค 90‘s จะมารายงานว่า บ้านปิ่นมีลูกพี่ลูกน้องรวมๆแล้วน่าจะเกิน 30 คน ลำพังคุณลุงคนโต บ้านนั้นมีลูกปาเข้าไป 7 คน

ตอนนี้ท่านอาจจะงงว่า พวกแม่ๆป้าๆเขาหลุดไปได้ยังไง อย่างแรกเลย คือ ด้วยความที่เราอยู่บ้านนอก พวกรัฐบาลที่เขารับผิดชอบด้านนี้เขาก็เอาคนไปตรวจจับถึงที่บ้านเลยนะ แบบพาไปดูเลยว่าใครมีลูกเกิน 1 คน ถ้ายังไม่ทำหมันจะ จับไปทำหมัน เข้าใจว่าเขาน่าจะจับจริง ตอนปิ่นยังเด็ก ก็เลยได้เจอเหตุการณ์ที่ป้า กับ แม่ ต้องหลบภัย คือ หลบไปอยู่บ้านญาติช่วงที่พวกคุมกำเนิดจะมาจับคนที่บ้าน เพราะมีพรายกระซิบมาปล่อยข่าวก่อน  วิธีที่สองที่เขานิยมทำ ก็คือไปใส่ห่วงคุมกำเนิดกัน แต่เห็นผู้ใหญ่เขาว่ากันว่าใส่ห่วงปลอม อันนี้ก็เกินความเข้าใจของปิ่นแล้วแหละ ก็คือ ๑ การจับไม่ค่อยเข้มข้นที่บ้านเรา ๒ พวกผู้หญิงมีทางหนีทีไล่ที่ดี ดังนั้น พวกเราก็เลยหลุดรอดมาได้แบบไม่ต้องเสียค่าปรับให้รัฐบาล เพราะตามกฎหมายแล้วต้องเสียค่ะ

แล้วตอนเด็กๆเคยถูกโรงเรียนพาไปเดินขบวนด้วยนะคะ เด็กนักเรียนตัวเล็กๆเข้าแถวเดินตะโกนคำโฆษณา "计划生育" (ก๊อย เหวะ เซ ยก) หมายถึง วางแผนคุมกำเนิด นั่นเอง

และบอกตามตรงอีกที... ไอ้ที่ร้องๆไปกับเขา ตอนนั้นก็ไม่เข้าใจว่าแปลว่าอะไร จำได้แต่ว่าร้องๆอยู่อย่างงั้นสนุกดี

ทว่า ความโหดร้ายของนโยบายมีลูกคนเดียวในท้องที่อื่น กลับไม่ได้โชคดีอย่างพวกผู้หญิงที่หมู่บ้านปิ่น จากข่าวสารหลายๆด้านที่ได้รับมาคือ มีคนถูกจับทำแท้งจริงๆ เพราะไอ้นโยบายนี้ และมีข้อกำหนดเป็นกฏหมายว่า จะคลอดลูกได้ต้องมีใบอนุญาตคลอดบุตร มิฉะนั้นจะคลอดไม่ได้ รายละเอียดไม่ได้ศึกษามา แต่บอกเลยว่า การทำแท้งที่เมืองจีน เขามองว่าเป็นเรื่องจิ๊บจ๊อย มากกว่าที่ไทยหลายเท่าเลย ไอ้วัดไผ่เงินหลายพันศพนั่น เป็นสิ่งที่ถูกเปิดโปงออกมา แต่เบื้องหลังนโยบายลูกคนเดียวน่าจะนองไปด้วยเลือดทารกอีกเป็นล้านศพที่ถูกทำแท้งด้วยเหตุผลต่างๆ




บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 04 ก.ค. 15, 09:50

..เวลาพวกเราเด็กๆคุยกันก็จะคุยภาษาไทย พวกผู้ใหญ่คุยกันก็คุยแต้จิ๋ว...
[/quote]

ขอโทษนะคะ อย่าหาว่าละลาบละล้วงเลย คือสงสัยน่ะค่ะ ว่าทำไมคุณปิ่นกับพี่น้องเป็นเด็กที่เกิดและอาศัยอยู่ในเมืองจีนแท้ๆ แต่ทำไมถึงพูดภาษาไทยกันคะ

ดิฉันก็มีบรรพบุรุษมาจากซัวเถา เมื่อเล็กๆเคยได้ยินญาติผู้ใหญ่ รวมทั้งเพื่อนฝูงของพ่อที่ไปมาหาสู่หรือทำการค้ากันก็ล้วนแล้วแต่สื่อสารกันด้วยภาษาจีน ส่วนดิฉันกับพี่ๆ พวกเราเด็กๆก็พูดภาษาไทยกันอย่างเด็กที่เกิดในเมืองไทยทั่วไป
บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 04 ก.ค. 15, 10:00

..เวลาพวกเราเด็กๆคุยกันก็จะคุยภาษาไทย พวกผู้ใหญ่คุยกันก็คุยแต้จิ๋ว...

ขอโทษนะคะ อย่าหาว่าละลาบละล้วงเลย คือสงสัยน่ะค่ะ ว่าทำไมคุณปิ่นกับพี่น้องเป็นเด็กที่เกิดและอาศัยอยู่ในเมืองจีนแท้ๆ แต่ทำไมถึงพูดภาษาไทยกันคะ

ดิฉันก็มีบรรพบุรุษมาจากซัวเถา เมื่อเล็กๆเคยได้ยินญาติผู้ใหญ่ รวมทั้งเพื่อนฝูงของพ่อที่ไปมาหาสู่หรือทำการค้ากันก็ล้วนแล้วแต่สื่อสารกันด้วยภาษาจีน ส่วนดิฉันกับพี่ๆ พวกเราเด็กๆก็พูดภาษาไทยกันอย่างเด็กที่เกิดในเมืองไทยทั่วไป
[/quote]

อันนี้ก็ต้องพูดอย่างอายนิดหนึ่งว่า ถนัดพูดภาษาไทยมากกว่าค่ะ ปิ่นมาอยู่ไทยประมาณ10ขวบได้ พอมาอยู่ช่วงแรกคือพูดไทยไม่ได้เลย ก็เลยถูกบังคับให้พูดแต่ภาษาไทย อีกทั้งญาติๆก็ไม่ได้อยู่ด้วยกัน เพื่อนวัยเดียวกันก็มีแต่เพื่อนที่โรงเรียนที่พูดภาษาไทย ผ่านไปสักสองสามปี ภาษาจีนก็ลืมจนเกือบจะหมด ตอนหลังอินเตอร์เน็ตเข้ามา ได้ศึกษาเองบ้าง อ่านหนังสือบ้างก็พอจะฟื้นมาได้บ้าง สรุปว่าได้ภาษาจีนกลางซะงั้น แต่ทักษะการพูดแต้จิ๋วอยู่ในขั้นวิกฤติจนถึงบัดนี้ คือคำธรรมดาปกติก็จะพูดได้ แต่อะไรที่นานๆพูดทีก็ชักจะจำไม่ได้  ส่วนน้องที่รุ่นเด็กกว่า นั่นแทบจะพูดกันไม่ได้แล้ว แล้วก็มีพวกที่เกิดในไทยด้วย ปัจจุบันมันก็เลยจะกลายเป็นว่า ผู้ใหญ่พูดจีนกับเรา แต่เราตอบเป็นภาษาไทย เกิดภาษาไทยอันไหนที่ผู้ใหญ่ไม่เข้าใจเราก็ต้องอธิบายเป็นแต้จิ๋ว
บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 04 ก.ค. 15, 11:33

สวัสดีค่ะ คุณปิ่น
ขอติดตามอ่านด้วยคนนะคะ
สะดุดกับคำว่า "มือไม้ไม่สะอาด คือลักเล็กขโมยน้อย"  ในความเห็นที่ 19
ดิฉันไม่ใช่แต้จิ๋ว แต่มีเชื้อสายกวางตุ้งค่ะ  เคยได้ยินคุณแม่พูดคำนี้แต่ในอีกความหมายหนึ่ง มือไม่สะอาด แปลว่า กำลังมีประจำเดือน
ไม่ทราบว่า วลีนี้จะใช้ได้กี่ความหมายคะ
บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 04 ก.ค. 15, 11:56

สวัสดีค่ะ คุณปิ่น
ขอติดตามอ่านด้วยคนนะคะ
สะดุดกับคำว่า "มือไม้ไม่สะอาด คือลักเล็กขโมยน้อย"  ในความเห็นที่ 19
ดิฉันไม่ใช่แต้จิ๋ว แต่มีเชื้อสายกวางตุ้งค่ะ  เคยได้ยินคุณแม่พูดคำนี้แต่ในอีกความหมายหนึ่ง มือไม่สะอาด แปลว่า กำลังมีประจำเดือน
ไม่ทราบว่า วลีนี้จะใช้ได้กี่ความหมายคะ

เข้าใจว่า การใช้คำว่า "สะอาด" มาพูดถึงเรื่องปจด.ก็เคยได้ยินมานะคะ แต่ไมใช่มือไม่สะอาด มักจะใช้พูดเวลาที่ปจด.ใกล้จะหมด แต่ยังไม่หมด เขาจะเรียกว่ายังไม่สะอาดดี ดังนั้นคำว่า "สะอาด" จึงหมายความว่า หมดไป จบไป นั่นเอง

อีกอย่างหนึ่งคือ ความเชื่อแบบจีน เชื่อว่า ผู้หญิงที่กำลังอยู่ในช่วง ปจด. เป็นช่วงที่ร่างกายไม่สะอาด อย่างเช่น ไปวัดบางวัด เขาจะเขียนไว้ว่าบางสถานที่ห้ามผู้หญิงที่อยู่ในระหว่างปจด.ขึ้นไป หรือเวลาไปงานศพ ข้ามสะพานกงเต๊ก ผู้หญิงที่กำลังมีรอบเดือนก็ต้องเดินใต้สะพาน เพราะเขาถือกันว่าเลือดปจด.เป็นของไม่สะอาด

จะว่าไปแล้ว กางเกงในของผู้หญิงก็เหมือนกันนะคะ ห้ามนำไปตากรวมกับคนในบ้าน เวลาตากผ้าอยู่ ผู้ชายห้ามลอดผ่าน ไม่งั้นจะซวย กรณีนี้ไม่ว่ากางเกงในหรือกางเกงนอกห้ามลอดผ่านทั้งนั้น ผู้ใหญ่เขาเรียกว่า "เฮี้ยม เฮว่" ไม่แน่ใจเหมือนกันว่ามาจากภาษาจีนคำว่าอะไร เพราะแต้จิ๋วเป็นภาษาย่อยที่จริงๆแล้วไม่มีภาษาเขียน การใช้อักษรจีนจริงๆแล้วเป็นการแปลความหมายแล้วเชื่อมโยงกันมากกว่า  จริงๆตอนเด็กๆอาม่าก็ค่อนข้างเคร่งครัดเรื่องนี้นะคะ พอมาอยู่เมืองไทยก็ไม่ได้สนใจเลย

ส่วนที่ถามว่า วลีนี้ใช้ได้กี่ความหมาย อันนี้ไม่ทราบจริงๆค่ะ แต่อีกความหมายหนึ่งคือ "มีความซื่อตรงสุจริต" ค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 04 ก.ค. 15, 13:45

ส่วนที่ถามว่า วลีนี้ใช้ได้กี่ความหมาย อันนี้ไม่ทราบจริงๆค่ะ แต่อีกความหมายหนึ่งคือ "มีความซื่อตรงสุจริต" ค่ะ

ตรงนี้ตรงกับสำนวนไทยว่า "มือสะอาด" ซึ่งมาจากสำนวนฝรั่งว่า "clean hands" อีกที  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 05 ก.ค. 15, 14:55

เรื่องราวในซัวเถา สมัยที่คุณปิ่นยังเป็นเด็กหญิงตัวน้อยๆไม่จบแต่เพียงเท่านี้ใช่ไหมคะ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 05 ก.ค. 15, 17:20

เรื่องราวในซัวเถา สมัยที่คุณปิ่นยังเป็นเด็กหญิงตัวน้อยๆไม่จบแต่เพียงเท่านี้ใช่ไหมคะ  ยิงฟันยิ้ม

ยังไม่จบคะ แต่ตอนนี้ยังนึกเรื่องสนุกๆมาเขียนไม่ได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 05 ก.ค. 15, 17:44

ตามประวัติบิดาของสมเด็จพระเจ้าตากสินก็มาจากซัวเถา ร่ำลือกันว่าคนที่นั่นรู้เกียรติประวัติของสมเด็จพระเจ้าตากสินดี จึงอยากเรียนถามว่าตอนสมัยยังเด็กอยู่ที่ซัวเถาเคยได้ยินเรื่องของพระองค์ท่านจากในโรงเรียนหรือคนที่บ้านบ้างหรือไม่  ฮืม
บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 05 ก.ค. 15, 18:12

ตามประวัติบิดาของสมเด็จพระเจ้าตากสินก็มาจากซัวเถา ร่ำลือกันว่าคนที่นั่นรู้เกียรติประวัติของสมเด็จพระเจ้าตากสินดี จึงอยากเรียนถามว่าตอนสมัยยังเด็กอยู่ที่ซัวเถาเคยได้ยินเรื่องของพระองค์ท่านจากในโรงเรียนหรือคนที่บ้านบ้างหรือไม่  ฮืม

ตัวปิ่นเองไม่เคยได้ยินนะคะอาจารย์ เพราะสถานทที่ปิ่นอยู่ไกลจากที่นั่นมากอยู่ แต่ที่เมือง เถิงไห่(แต้จิ๋ว เถ็ง ไฮ่) สถานที่ที่เชื่อว่าเป็นภูมิลำเนาของพระเจ้าตากสิน ปัจจุบันมีสุสานอยู่ โดยที่ป้ายด้านหน้าเขียนว่า “暹罗郑皇达信大帝衣冠墓” หมายถึง สุสานอาภรณ์ของพระเจ้าตากสินแห่งสยาม

สุสานนี้ไม่ได้มีอัฐิของพระเจ้าตากสิน แต่มีเสื้อผ้าและหมวกของพระเจ้าตากสิน ตามความเชื่อของคนจีนในอดีต ถ้าทหารไปรบแล้วหาศพไม่เจอ แต่ต้องทำหลุมฝังศพ สามารถนำเสื้อผ้าและหมวกของผู้ตายมาฝังแทนได้ เรียกว่า 衣冠墓 นั่นเอง แต่เสื้อผ้าอาภรณ์ที่เขาอ้างว่าเป็นของพระเจ้าตากสิน จริงเท็จแค่ไหนก็ไม่ทราบค่ะ

 "1782年秋,郑信的亲属把他常穿的泰服和华服各1套,运至故乡华富村安葬,建立泰皇郑信衣冠墓。1985年,重修郑信衣冠墓,现墓地为0.2公顷"

ฤดูใบไม้ร่วงในปี ค.ศ. ๑๗๘๒ ญาติของ สิน แซ่แต้ นำชุดไทยและเสื้อผ้าที่เขาใส่เป็นประจำอย่างละ ๑ ชุด ส่งมาฝังที่หมู่บ้านฮั้วฟู่ สร้างเป็นสุสานอาภรณ์ของกษัตริย์ไทยแต้สิน(เจิ้งสิ้น) ปีค.ศ. ๑๙๘๕ ทำการบูรณะใหม่ ปัจจุบันพื้นที่สุสานมีขนาด ๐.๒ เอเคอร์
 


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 20 คำสั่ง