เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
อ่าน: 24528 ซัวเถาในความทรงจำ
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 09:29

การฉลองเทศกาลหยวนเซียว หรือ หง่วงเซียว เป็นประเพณีใหญ่ของชุมชนจีนใหญ่ในต่างแดน





บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 09:32

แม้แต่ในบางหมู่บ้านในแถบชนบทของแต้จิ๋ว





บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 09:35

ขนมประจำเทศกาลหยวนเซียว ชาวบ้านเรียกอะบอหนิ่ม บางแห่งเรียก อะบอหลิ่ม
เป็นบัวลอยสอดไส้

ต่างจากบัวลอยเทศกาลตังโจยของชาวจีนทางใต้แต่ดั่งเดิม ที่ไม่สอดไส้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 09:38

การฉลองเทศกาลหยวนเซียว หรือ หง่วงเซียว เป็นประเพณีใหญ่ของชุมชนจีนใหญ่ในต่างแดน
เทศกาลนี้ คือเทศกาลอะไรคะ  มีโคมเป็นส่วนหนึ่งด้วย เพราะอะไร    ประเทศไทยมีหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 09:47

หยวนเซียว (元宵) แปลว่า เพ็ญแรก  หมายถึงเพ็ญแรก ของปีใหม่ หรือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย ตามปฏิทินจันทรคติของจีนครับอาจารย์

แต่สมัยผมเด็กหรือราวสี่สิบปีที่แล้ว ลูกจีนใน กทม. มีโอกาสเล่นโคมกันตามขนบของจีนแถบมณฑลกวางตุ้ง ในเพ็ญเดือนแปดครับ (วันไหว้พระจันทร์)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 09:51

คุณจิตรา ก่อนันทเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องจีน เล่าเรื่องความเชื่อนี้ไว้ใน หนังสือลูกหลานกตัญญูโชคดี

ถึงวันที่  ๑๕  เดือน  ๑  ของจีน  ซึ่งคนจีนจะมีไหว้อีกครั้ง  เรียกเทศกาลไหว้นี้ว่า  “ง่วงเซียวโจ่ย”  แปลว่า  เทศกาลกลางเดือน  และมีบ้างที่เรียกเทศกาลนี้ว่า  เทศกาลชาวนา  เพราะเป็นวันและคืนสุดท้ายที่ชาวนาจะฉลองเต็มที่ก่อนเริ่มทำงาน

ที่เมืองจีน  จะมีธรรมเนียมไปไหว้บรรพบุรุษที่  “สื่อตึ๊ง”  สถานที่ตั้งป้ายชื่อของบรรพบุรุษประจำอำเภอ  บางแห่งมีขบวนแห่โคมไฟในตอนกลางคืน

ที่เมืองไทย  ไม่มีเทศกาลชาวนา  แต่ที่น่าสนใจคือธรรมเนียม  “จับโหงวแม้”  แปลว่า  คืนวันที่  ๑๕  บางบ้านมีไหว้เจ้าที่และไหว้บรรพบุรุษในช่วงเช้า  กลางคืนไปไหว้ที่ศาลเจ้าด้วยส้ม  มีการทิ้งส้มของเราไว้  แล้วเอาส้มของศาลเจ้ากลับมาทานเพื่อให้เป็นสิริมงคล


บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 09:53

เด็กๆในสิงคโปร์ และมาเลย์ เค้ายังได้เล่นโคมในวันไหว้พระจันทร์อยู่ครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 10:08

ในวันเทศกาลหยวนเซียว (元宵节) นั้น ชาวจีนนิยมทานขนมบัวลอยกันในครอบครัว เพราะบัวลอยในภาษาจีนมีนัยยะหมายถึงการอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันของคนในครอบครัว และในวันนี้ชาวจีนจะออกไปชมโคมไฟประดับอันงดงาม เพื่อความเป็นสิริมงคล ดังนั้นเทศกาลหยวนเซียวจึงมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า “เทศกาลโคมไฟ” (灯节) ด้วย
       
นอกจากนั้น กว่า ๒,๐๐๐ ปีที่ผ่านมา เทศกาลหยวนเซียว ยังมีนัยยะของเทศกาลแห่งคู่รัก เพราะในอดีตนั้นกุลสตรีจีนส่วนใหญ่มักต้องเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน แต่ในค่ำคืนวันนี้พวกนางจะมีโอกาสออกมาชมโคมประดับ เล่นทายปริศนา ทำให้หนุ่มสาวทั้งหลายมีโอกาสมองหาและเลือกคู่ครองในอนาคตด้วย

แต่ในบางพื้นที่ของจีนไม่เพียงแค่ทานบัวลอย ชมโคมประดับกันเท่านั้น ยังพ่วงกิจกรรมแปลก ๆ ขึ้นมาด้วย ดังเช่นที่มณฑลเสฉวน กว่างตง และกว่างซี ยามค่ำมืดดึกดื่นของคืนวันเทศกาลหยวนเซียว ทั้งเด็กผู้ใหญ่คนหนุ่มคนสาวจะย่องเข้าสวนผักของบ้านอื่น เพื่อขโมยผักที่บ้านนั้นปลูก เป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาในพื้นที่แถบนี้เรียกว่าประเพณี “ขโมยผัก” (偷青) แต่เริ่มต้น ณ สมัยไหนนั้นไม่มีระบุแน่ชัด
       
ที่เรียกว่า “ขโมยผัก” นั้นจริง ๆ แล้วก็ใช่ว่าจะขโมยกันแบบเอาเป็นเอาตายจนเจ้าของสิ้นเนื้อประดาตัว แต่จะขโมยกันแค่พอเป็นพิธี พอหอมปากหอมคอเท่านั้น เพราะจุดประสงค์ของการขโมยที่แท้จริงแล้ว คือการขโมยความโชคดี ความมีสิริมงคลมากกว่า ผักที่นิยมไปขโมยกัน ก็ได้แก่ “หัวหอม” (葱 - ชง) ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่า “ฉลาดเฉลียว” (聪明- ชงหมิ่ง), “ผักคื่นช่าย” (芹菜 – ฉินไช่) พ้องเสียงกับคำว่า “ขยัน” (勤 - ฉิน), “กระเทียม” (蒜 - ซ่วน) พ้องเสียงกับคำว่า “คำนวณ” (算 – ซ่วน) ซึ่งมีนัยยะว่า คิดอย่างละเอียดถี่ถ้วน (精打细算 – จิงต่าซี่ซ่วน) แต่ในกว่างซีจะไม่นิยมขโมย “หัวผักกาด” (萝卜- หลัวปอ) เพราะเขามีสำนวนพูดติดปากว่า “ใครขโมยหัวผักกาด คนนั้นโง่กว่าควาย”
       
ส่วนเจ้าของสวนที่ถูกขโมยผักในวันนี้นั้น นอกจากจะไม่ถือโทษโกรธเคืองกันแล้ว กลับมีความสุขซะอีก เพราะนั่นหมายความว่าผักที่บ้านตัวเองปลูกได้นั้นเติบโตงอกงามดี และจะเก็บเกี่ยวดียิ่งๆ ขึ้นในปีต่อๆ ไป แต่ถ้าบังเอิญไปเจอหัวขโมยโลภมากเข้า เจ้าของสวนก็ได้แต่ก้มหน้ารับชะตากรรม ถือว่าฟาดเคราะห์ไป เจ้าของสวนบางรายรอบคอบเตรียมพร้อมรับมือหัวขโมยมืออาชีพด้วยการชิงเก็บผักที่สุกแล้วและกลางสุกกลางดิบไปเสียก่อน เหลือผักไว้ส่วนหนึ่งสำหรับให้ชาวบ้านร่วมสนุกกัน
       
หลังจากได้ผักตามต้องการแล้ว ขโมยสมัครเล่นจะนำผักที่ได้กลับบ้านไปต้มกิน ว่ากันว่าเมื่อกินผักที่ได้มาในคืนเทศกาลหยวนเซียวแล้ว คนคนนั้นจะปราศจากโรคภัย กลายเป็นคนเฉลียวฉลาด ใจกว้าง จิตใจดีงาม ผู้เฒ่าผู้แก่เชื่อว่า ประเพณีขโมยผักนั้นก็คือการขโมยความสนิทสนม หรือก็คือการไปเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันนั่นเอง เพราะมีตำนานเล่าว่า ในอดีตบรรพบุรุษของชาวจีนไม่สมัครสมานสามัคคีกัน เข่นฆ่าสายเลือดเดียวกันเป็นว่าเล่น ต่อมามีท่านเซียนปรากฏตัวสั่งสอนจนรู้สำนึก ในค่ำคืนขึ้น ๑๕ ค่ำเดือนอ้ายพวกเขาจึงได้ร่วมสาบานต่อหน้าผักว่าจะสมัครสมานสามัคคีกัน นับแต่นั้นมาจากศัตรูก็กลายเป็นมิตร

จาก ผู้จัดการ
บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 10:51

ยินดีที่กระทู้นี้มีส่วนในการให้ความรู้เรื่องต่างๆของชาวแต้จิ๋วค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ทุกท่านที่เข้ามาให้ความรู้เพิ่มเติมค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 10:54

มีโคมเป็นส่วนหนึ่งด้วย เพราะอะไร  

ว่ากันว่าเมื่อนานมาแล้ว เป็นยุคที่มีสัตว์ร้ายมากมายเที่ยวทำร้ายผู้คน ทำให้มนุษย์ต้องรวมตัวกันต่อสู้ กระทั่งวันหนึ่ง ได้มีวิหคสวรรค์บินหลงมายังโลก แล้วถูกบรรดานายพรานพลั้งมือฆ่าตาย จนทำให้เง็กเซียนฮ่องเต้ทรงพิโรธ มีราชโองการให้เหล่าขุนพลสวรรค์เดินทางมาเพื่อปล่อยเพลิง เผาทำลายมนุษย์และทรัพย์สินทั้งหลายให้หมดสิ้น ในคืน ๑๕ ค่ำเดือนอ้าย
      
ในครั้งนั้นธิดาผู้ของเง็กเซียนฮ่องเต้ เกิดสงสารไม่อาจทนเห็นผู้คนต้องประสบเภทภัย จึงแอบขี่เมฆบินลงมายังโลกมนุษย์ เพื่อเตือนภัยล่วงหน้า เมื่อนั้นจึงมีผู้เฒ่าคนหนึ่งได้เสนอแผนการว่า ในคืนวัน ๑๔ ค่ำ -๑๖ ค่ำ เดือนอ้าย ให้ทุกคนแขวนโคมประดับ จุดประทัดเสียงดัง พร้อมกับจุดพลุ เช่นนี้แล้ว เง็กเซียนฮ่องเต้จะเข้าใจว่าคนบนโลกถูกเผากันหมดแล้ว
      
ทุกคนต่างเห็นด้วย แล้วแยกย้ายกันไปเตรียมการตามแผนนั้น ในวัน ๑๕ ค่ำ เมื่อเง็กเซียนฮ่องเต้ทรงทอดพระเนตรลงมา ทรงเห็นว่าบนโลกนอกจากแดงเถือกไปหมดแล้ว ยังมีเสียงดังโหวกเหวก ต่อเนื่องเป็นเวลา ๓ วัน จึงคิดว่าโลกไปถูกไฟเผาไปแล้ว เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในครั้งนี้ ทำให้ทุกปีเมื่อถึง ๑๕ ค่ำเดือนอ้าย ทุก ๆ บ้านก็จะมีการแขวนโคมไฟ และจุดประทัดเพื่อระลึกถึงวันดังกล่าว
      
บ้างก็ว่า เทศกาลหยวนเซียว เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ก่อนคริสตกาล ๒๐๖ ปี- ค.ศ.๒๕) หลังจากที่มีการปราบกบฏเสร็จสิ้น ฮ่องเต้ฮั่นเหวินตี้รู้สึกปิติยินดีกับความสงบสุขที่เกิดขึ้น จึงต้องการจะจัดงานฉลองร่วมกับประชาชนขึ้นในวัน ๑๕ ค่ำเดือนอ้ายนี้
      
ส่วนประเพณีการชมโคมไฟ เล่ากันว่าเริ่มขึ้นเมื่อ ๑๙๐๐ ปีที่แล้ว ในยุคของจักรพรรดิหมิงตี้ แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก จักรพรรดิองค์นี้มีความศรัทธาในศาสนาพุทธ และทรงได้ยินมาว่าในวันขึ้น ๑๕ ค่ำของเดือนอ้าย พระสงฆ์จะเข้าไปสักการะพระธาตุและจุดประทีบูชาเพื่อแสดงความศรัทธา ดังนั้น จึงมีพระราชบัญชาให้วัดและวัง รวมไปถึงประชาชนทำการแขวนโคมไฟ จนเป็นจุดเริ่มต้นของกิจกรรมชมโคมไฟอย่างแพร่หลาย
      
มาถึงราชวงศ์ถัง (ค.ศ. ๖๑๘-๙๐๗) ประเพณีการชมโคมไฟก็ยิ่งมีความพิถีพิถันมากขึ้น ภายในพระราชวัง หรือตามท้องถิ่น ทุกหนทุกแห่งล้วนมีการแขวนโคมไฟ ทั้งยังพัฒนาไปเป็นตึกโคมไฟ ต้นไม้โคมไฟ วงล้อโคมไฟ ในยุคนี้ ประเพณีการชมโคมไฟมีต่อเนื่องกันถึง ๓ วัน และเมื่อล่วงเข้าราชวงศ์ชิง ก็มีการเพิ่มการเชิดสิงโต

จาก ผู้จัดการ
บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 10:57

เทศกาล หยวนเซียว หรือ หงวงเซียว หรือ งวงเสี่ยว (ตามแต่สำเนียงพูดของแต่ละท้องถิ่น) เป็นเทศกาลยอดนิยมที่นักเขียนชอบเอาไปเขียนในนิยายพีเรียด เพราะอย่างที่ได้กล่าวถึงคือ

1. เป็นวันที่พระเอกกับนางเอกได้มาเจอะกันโดยบังเอิญในงานระหว่างชมโคม

2. เป็นเทศกาลที่พระเอกไปขออนุญาตพานางเอกออกไปเที่ยวนอกบ้าน ไปชมโคม ลอยโคมน้ำ(放水灯)ตอนกลางคืน

3. เป็นเทศกาลที่พระเอกได้โชว์ความสามารถในการต่อกลอน ทายปริศนาโคม ของรางวัลส่วนใหญ่เป็นโคมสวยงาม พอได้โคมมาก็มอบให้นางเอก เป็นต้น

เป็นเทศกาลที่โรแมนติกมากๆในนิยายค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 11:34

เทศกาล หยวนเซียว หรือ หงวงเซียว หรือ งวงเสี่ยว (ตามแต่สำเนียงพูดของแต่ละท้องถิ่น)

ในเมืองไทยเรียกเทศกาลนี้ว่า "เทศกาลง่วนเซียว" มีจัดอยู่หลายจังหวัดเช่นพิษณุโลก ขอนแก่น ฉะเชิงเทรา  แต่ที่พิษณุโลกดูจะครึกครื้นกว่าเพื่อน  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 12:20

เล่าเกร็ดให้ฟังว่า เวลาจาม ฝรั่งจะพูดว่า "Bless you"  คนแต้จิ๋วอย่างแม่ปิ่นจะพูดว่า "ฮ่อ ฮู ไล" แปลว่า ขอให้เรื่องดีๆเข้ามา

ไม่รู้ว่า ที่อื่นๆเขามีอะไรแบบนี้หรือเปล่า

แต่ถ้า แม่ไอ แม่จะไปตีคนข้างๆ ไม่รู้แก้เคล็ดอะไรหรือเปล่า จนบางทีเราได้ยินแม่ไอก็จะยื่นมือไปให้เขาตีโดยอัตโนมัติ 555
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 12:37

จำได้ว่าเมื่อตอนเล็กๆ มีอยู่วันหนึ่งไปเล่นที่บ้านญาติๆกันแล้วลื่นตกล้ม อาม่าที่อยู่ในบ้านนั้นรีบออกมาตีพื้นตรงที่ดิฉันหกล้ม พร้อมกับพูดอะไรสักอย่างด้วยน้ำเสียงดุๆ คิดว่าอาม่าคงกล่าวโทษพื้นว่าเป็นต้นเหตุทำให้เด็กหกล้มอะไรทำนองนั้นน่ะค่ะ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 15 ก.ค. 15, 12:45

จำได้ว่าเมื่อตอนเล็กๆ มีอยู่วันหนึ่งไปเล่นที่บ้านญาติๆกันแล้วลื่นตกล้ม อาม่าที่อยู่ในบ้านนั้นรีบออกมาตีพื้นตรงที่ดิฉันหกล้ม พร้อมกับพูดอะไรสักอย่างด้วยน้ำเสียงดุๆ คิดว่าอาม่าคงกล่าวโทษพื้นว่าเป็นต้นเหตุทำให้เด็กหกล้มอะไรทำนองนั้นน่ะค่ะ ยิงฟันยิ้ม

กรณีนี้น่าจะเป็นการปลอบใจเด็กมากกว่าค่ะ ผู้ใหญ่เห็นเด็กร้องไห้แล้วชอบทำบ่อย 555
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 19 คำสั่ง