เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 5105 อยากทราบว่าช่วงรัชกาลที่5 คนที่ล่องเรือมาจากทางเหนือมากรุงเทพฯขึ้นท่าน้ำไหน
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 21 มิ.ย. 15, 15:13

ถ้าคุณ V_Mee เข้ามาอ่าน น่าจะไขข้อข้องใจได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
hobo
พาลี
****
ตอบ: 324


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 21 มิ.ย. 15, 16:53

สำหรับชีวิตชาวบ้านร้านตลาด แนะนำอ่านหนังสือเรื่อง เด็กบ้านสวน มีเขียนไว้บทท้ายๆ หรือไม่ก็อ่าน ฟื้นความหลังของพระยาอนุมานฯ มีแทรกอยู่ตลอดเรื่องครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 21 มิ.ย. 15, 18:10

เรื่องพระราชชายาฯ ลงมาถวายตัวทำราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น  เจ้าแก้วนวรัฐฯ ผู้เป็นเชษฐาได้เรียบเรียงไว้ในพระประวัติพระราชชายาฯ ที่ตีพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงพระศพพระราชชายาฯ ว่า

"ครั้น ณ วันจันทร์  ขึ้น ๓ ค่ำ  เดือน ๓ เหนือ  ตรงกับวันที่  ๑๙  พฤศจิกายน  พระพุทธศักราช ๒๔๒๙ ปีจอ  ได้ตามพระบิดาลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพฯ  แล้วเลยอยู่รับราชการฉลองพระเดชพระคุณฝ่ายในเป็นเจ้าจอม  ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการสมโภชเป็นการรับรองด้วย

เรื่องนี้อธิบายได้ว่า การเดินทางขึ้นล่องกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ในยุคนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก  เพราะหนทางไกลและต้องผขญโจรผู้ร้ายที่คอยดักปล้นชิงทรัพย์สินในระหว่างเดินทางอยู่เนืองๆ 

ส่วนเจ้าราชวงศ์ที่กล่าวถึงในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันนั้น  ไม่แน่ใจว่าจะใช่เจ้าน้อยขัติยะหรือไม่  เพราะพบในเอกสารจดหมายเหตุหลายฉบับเหมือนกันที่ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเรียกเจ้าน้อยขัติยะว่า เจ้าราชวงศ์  อาจจะเป็นการที่พระเจ้าเชียงใหม่ออกประทวนตั้งให้เป็นเจ้าราชวงศ์แล้ว  แต่ในเวลานั้นยังไม่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นเจ้าราชวงศ์  จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๒ จึงมีบันทึกว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เลื่อนเจ้าราชบุตร (น้อยขัติยะ) เป็น เจ้าราชวงศ์  และในคราวนั้นได้ำระราชทานบรรดาศักดิ์เลื่อนเจ้าสุริยวงศ์ (น้อยสุริยะ) เป็นเจ้าราชบุตร 

เจ้าราชวงศ์ (น้อยขัติยะ) คงว่าที่อุปราชนครเชียงใหม่มาจนถึงอนิจกรรมในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๕  แล้วต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๓๖ จึงได้โปรดเกล้าฯ ตั้งให้เจ้าราชบุตร (น้อยสุริยะ) เป็นเจ้าราชวงศ์  แล้วเลื่อนเป็นเจ้าอุปราช ผู้รั้งเจ้านครเชียงใหม่ใน พ.ศ. ๒๔๔๐  เลื่อนเป็นเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้านครเชียงใหม่ใน พ.ศ. ๒๔๔๔
บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 21 มิ.ย. 15, 22:47

เรื่องพระราชชายาฯ ลงมาถวายตัวทำราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น  เจ้าแก้วนวรัฐฯ ผู้เป็นเชษฐาได้เรียบเรียงไว้ในพระประวัติพระราชชายาฯ ที่ตีพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงพระศพพระราชชายาฯ ว่า

"ครั้น ณ วันจันทร์  ขึ้น ๓ ค่ำ  เดือน ๓ เหนือ  ตรงกับวันที่  ๑๙  พฤศจิกายน  พระพุทธศักราช ๒๔๒๙ ปีจอ  ได้ตามพระบิดาลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพฯ  แล้วเลยอยู่รับราชการฉลองพระเดชพระคุณฝ่ายในเป็นเจ้าจอม  ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการสมโภชเป็นการรับรองด้วย

เรื่องนี้อธิบายได้ว่า การเดินทางขึ้นล่องกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ในยุคนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก  เพราะหนทางไกลและต้องผขญโจรผู้ร้ายที่คอยดักปล้นชิงทรัพย์สินในระหว่างเดินทางอยู่เนืองๆ 

ส่วนเจ้าราชวงศ์ที่กล่าวถึงในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันนั้น  ไม่แน่ใจว่าจะใช่เจ้าน้อยขัติยะหรือไม่  เพราะพบในเอกสารจดหมายเหตุหลายฉบับเหมือนกันที่ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเรียกเจ้าน้อยขัติยะว่า เจ้าราชวงศ์  อาจจะเป็นการที่พระเจ้าเชียงใหม่ออกประทวนตั้งให้เป็นเจ้าราชวงศ์แล้ว  แต่ในเวลานั้นยังไม่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นเจ้าราชวงศ์  จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๒ จึงมีบันทึกว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เลื่อนเจ้าราชบุตร (น้อยขัติยะ) เป็น เจ้าราชวงศ์  และในคราวนั้นได้ำระราชทานบรรดาศักดิ์เลื่อนเจ้าสุริยวงศ์ (น้อยสุริยะ) เป็นเจ้าราชบุตร 

เจ้าราชวงศ์ (น้อยขัติยะ) คงว่าที่อุปราชนครเชียงใหม่มาจนถึงอนิจกรรมในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๕  แล้วต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๓๖ จึงได้โปรดเกล้าฯ ตั้งให้เจ้าราชบุตร (น้อยสุริยะ) เป็นเจ้าราชวงศ์  แล้วเลื่อนเป็นเจ้าอุปราช ผู้รั้งเจ้านครเชียงใหม่ใน พ.ศ. ๒๔๔๐  เลื่อนเป็นเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้านครเชียงใหม่ใน พ.ศ. ๒๔๔๔

ขอบคุณมากค่ะ แต่ดิฉันยังสงสัยค่ะ คือดิฉันเจอข้อความ ลงวันที่เป็น วันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๒ ปีจอ อัฐศก ศักราช ๑๒๔๘ กล่าวถึงพระเจ้าเชียงใหม่และเจ้าผู้ครองนครอื่นๆมาเข้าเฝ้าในช่วงที่มีการสถาปนาเจ้าฟ้ามหาวิชิรุณหิศ ซึ่งดูแล้วไม่ตรงกับวันที่ที่คุณ V_Mee แจ้งมานะคะ

ไม่แน่ใจว่า มีความคลาดเคลื่อนหรือเปล่าคะ


บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 21 มิ.ย. 15, 23:11

ดังข้อความที่ยกมาข้างต้นค่ะ พอมาเจออีกที่นึงก็เลยงงว่า ที่ให้จัดเรือหลวงไปรับ คือรับจากที่ไหน แล้วได้เสด็จลงมากรุงเทพฯพร้อมกันหรือไม่



บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 22 มิ.ย. 15, 06:26

มีเพียงภาพเรือที่ใช้เดินทางไปตอนเหนือ
คือเรือหางแมงป่องหรือเรือลาว
เราเคยเรียกกลุ่มตอนเหนือว่าลาวเฉียง

เป็นภาพเรือลาวจากเหนือมาจอดจริงๆประมาณปี ๒๔๓๐ (+-)
ตำแหน่งที่จอดดูไม่ออกว่าตรงไหน
เป็นแถวฝั่งธนบุรีอาจจะอยู่ข้างศิริราช ตามแผนที่วังเจ้าลาว
คงจะก่อนที่จะย้ายบ้านรับรองเจ้าทางเหนือไปอยู่แถวท่าเขียวไข่กา

เป็นท่าเฉพาะของเจ้าทางเหนือ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 22 มิ.ย. 15, 06:31

ที่ไม่ตรงกันก็เพราะ พระราชชายาฯ ตามพระบิดาลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพฯ นั้น ออกเดินทางจากเชียงใหม่ในวันจันทร์  ขึ้น ๓ ค่ำ  เดือน ๓ เหนือ (ปฏิทินทางเหนือเจะเร็วกว่าปฏิทินเมืองใต้ไป ๒ เดือน  เช่น วันลอยกระทงวันเพ็ญเดือน ๑๒  ทางเหนือจะตรงกับวันยี่เป็ง หรือวันเพ็ญเดือนยี่)  ซึ่ง
ตรงกับวันที่  ๑๙  พฤศจิกายน  พระพุทธศักราช ๒๔๒๙ ปีจอ

แต่จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันนั้นจดบันทึกตามปฏิทินกรุงเทพฯ  ซึ่งรัชกาลที่ ๕ ทรงอธิบายว่า ทางเหนือนั้นลืมนับอธิกมาศไป ๒ ปี  เดือนจึงเคลื่อนกันไป ๒ เดือน  ฉะนั้นที่จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันระบุว่า พระราชทานเรือหลวงไปรับเจ้าดารารัศมีในวันศุกร์ เดือน ๓ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีจอ อัฐศก  จึงตรงกับวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๒๙ (สมัยนั้นยังเปลี่ยนปีกันในวันที่ ๑ เมษายน)
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 22 มิ.ย. 15, 07:01

อ้างถึง
"ครั้น ณ วันจันทร์  ขึ้น ๓ ค่ำ  เดือน ๓ เหนือ  ตรงกับวันที่  ๑๙  พฤศจิกายน  พระพุทธศักราช ๒๔๒๙ ปีจอ  ได้ตามพระบิดาลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพฯ  แล้วเลยอยู่รับราชการฉลองพระเดชพระคุณฝ่ายในเป็นเจ้าจอม  ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการสมโภชเป็นการรับรองด้วย"
๑๙  พฤศจิกายน  ๒๔๒๙ ออกเดินทางจากเชียงใหม่ไงครับ ขาล่อง เรือตามน้ำมาใช้เวลาน้อยกว่าขาขึ้นมาก ในปี พ.ศ. ๒๓๔๕ พระเจ้ากาวิละ นำขบวนเรือเครื่องบรรณาการ เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ล่องไปตามแม้น้ำปิง ใช้เวลา ๒๐ วัน จึงถึงกรุงเทพ ถ้าเที่ยวนี้ใช้เวลาเท่ากัน ก็มาถึงก่อนวันเข้าเฝ้าทันอย่างฉิวเฉียด

อ้างถึง
ขอบคุณมากค่ะ แต่ดิฉันยังสงสัยค่ะ คือดิฉันเจอข้อความ ลงวันที่เป็น วันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๒ ปีจอ อัฐศก ศักราช ๑๒๔๘ กล่าวถึงพระเจ้าเชียงใหม่และเจ้าผู้ครองนครอื่นๆมาเข้าเฝ้าในช่วงที่มีการสถาปนาเจ้าฟ้ามหาวิชิรุณหิศ ซึ่งดูแล้วไม่ตรงกับวันที่ที่คุณ V_Mee แจ้งมานะคะ
วันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๒ ปีจอ อัฐศก ศักราช ๑๒๔๘ ตรงกับวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๔๓๐ เป็นวันที่พระเจ้าเชียงใหม่และเจ้าผู้ครองนครอื่นๆเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว  ก็สอดคล้องกับเรื่องราวที่อาจารย์วรชาติเขียนไว้ดีนี่ครับ ทำไมหรือ ?

อ้างถึง
ดังข้อความที่ยกมาข้างต้นค่ะ พอมาเจออีกที่นึงก็เลยงงว่า ที่ให้จัดเรือหลวงไปรับ คือรับจากที่ไหน แล้วได้เสด็จลงมากรุงเทพฯพร้อมกันหรือไม่
วันศุกร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๓ ปีจอ อัฐศก ศักราช ๑๒๔๔ ตรงกับวันที่ ๔ กุมภาพันธุ์  ๒๔๓๐ วันนี้เจ้าดารารัศมี ธิดาพระเจ้านครเชียงใหม่ เข้ามาอยู่ในพระบรมมหาราชวัง โปรดให้จัดเรือหลวงไปรับ ก็รับจากจวนที่พระเจ้าเชียงใหม่พาธิดามาพำนักที่กรุงเทพ แถวๆโรงพยาบาลศิริราชเดี๋ยวนี้ไงครับ  ไม่ได้ไปรับถึงเชียงใหม่หรอก
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 22 มิ.ย. 15, 07:09

แผนที่ข้างบน มีทางรถไฟสายใต้แล้ว จึงไม่ก่อน พ.ศ. ๒๔๔๓
บ้านเจ้าเชียงใหม่ ปลูกสร้างหลัง พ.ศ. ๒๔๓๕ จำปีแน่ๆ ไม่ได้ 
เมื่อพระราชชายาเสด็จลงมากรุงเทพฯ บ้านพักเจ้าทางเหนือไม่ได้อยู่ที่ศิริราช
เคยอ่านพบนานแล้ว ตอนนี้จำไม่ค่อยได้ ถ้าจำไม่ผิดอยู่บริเวณบางยี่ขัน (ไม่แน่ใจ)

หากร่วมสมัยกับหมอบรัดเลย์ หมอมีบันทึกว่าพักอยู่แถววัดอรุณ แต่ก็ช่วงเวลาห้างกันมาก
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 22 มิ.ย. 15, 07:10

แนบภาพบ้านเจ้าเชียงใหม่ที่บริเวณศิริราชมาให้ชม


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 22 มิ.ย. 15, 09:28

คตินิยมของชาวสยามและล้านนาในอดีต  คนต่างบ้านต่างเมืองที่มาเยี่ยมเยือนกันนั้นจะให้พำนักอยู่นอกกำแพงเมือง  กรณีเจ้าเชียงใหม่นี้มีบันทึกของศาสนาจารย์แมคกิลวารีว่า เวลาพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ลลงมาเฝ้าฯ นั้น  โปรดให้จัดเรือนหลวงรับรองที่บางยี่ขัน บริเวณปากคลองบางกอกน้อยซึ่งสะดวกในการจอดเรือ

ส่วนข้าราชการสยามที่ไปประจำที่เชียงใหม่นั้น  พระเจ้าอินทวิชยานนท์ก็จัดที่ใกล้กับข่วงเมรุ (ลานเผาศพเจ้านายเมืองเชียงใหม่) ริมแม่น้ำปิงให้เป็นที่พำนักของข้าราชการไทย
บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 22 มิ.ย. 15, 09:57

อ้างถึง
"ครั้น ณ วันจันทร์  ขึ้น ๓ ค่ำ  เดือน ๓ เหนือ  ตรงกับวันที่  ๑๙  พฤศจิกายน  พระพุทธศักราช ๒๔๒๙ ปีจอ  ได้ตามพระบิดาลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพฯ  แล้วเลยอยู่รับราชการฉลองพระเดชพระคุณฝ่ายในเป็นเจ้าจอม  ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการสมโภชเป็นการรับรองด้วย"
๑๙  พฤศจิกายน  ๒๔๒๙ ออกเดินทางจากเชียงใหม่ไงครับ ขาล่อง เรือตามน้ำมาใช้เวลาน้อยกว่าขาขึ้นมาก ในปี พ.ศ. ๒๓๔๕ พระเจ้ากาวิละ นำขบวนเรือเครื่องบรรณาการ เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ล่องไปตามแม้น้ำปิง ใช้เวลา ๒๐ วัน จึงถึงกรุงเทพ ถ้าเที่ยวนี้ใช้เวลาเท่ากัน ก็มาถึงก่อนวันเข้าเฝ้าทันอย่างฉิวเฉียด

อ้างถึง
ขอบคุณมากค่ะ แต่ดิฉันยังสงสัยค่ะ คือดิฉันเจอข้อความ ลงวันที่เป็น วันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๒ ปีจอ อัฐศก ศักราช ๑๒๔๘ กล่าวถึงพระเจ้าเชียงใหม่และเจ้าผู้ครองนครอื่นๆมาเข้าเฝ้าในช่วงที่มีการสถาปนาเจ้าฟ้ามหาวิชิรุณหิศ ซึ่งดูแล้วไม่ตรงกับวันที่ที่คุณ V_Mee แจ้งมานะคะ
วันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๒ ปีจอ อัฐศก ศักราช ๑๒๔๘ ตรงกับวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๔๓๐ เป็นวันที่พระเจ้าเชียงใหม่และเจ้าผู้ครองนครอื่นๆเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว  ก็สอดคล้องกับเรื่องราวที่อาจารย์วรชาติเขียนไว้ดีนี่ครับ ทำไมหรือ ?

อ้างถึง
ดังข้อความที่ยกมาข้างต้นค่ะ พอมาเจออีกที่นึงก็เลยงงว่า ที่ให้จัดเรือหลวงไปรับ คือรับจากที่ไหน แล้วได้เสด็จลงมากรุงเทพฯพร้อมกันหรือไม่
วันศุกร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๓ ปีจอ อัฐศก ศักราช ๑๒๔๔ ตรงกับวันที่ ๔ กุมภาพันธุ์  ๒๔๓๐ วันนี้เจ้าดารารัศมี ธิดาพระเจ้านครเชียงใหม่ เข้ามาอยู่ในพระบรมมหาราชวัง โปรดให้จัดเรือหลวงไปรับ ก็รับจากจวนที่พระเจ้าเชียงใหม่พาธิดามาพำนักที่กรุงเทพ แถวๆโรงพยาบาลศิริราชเดี๋ยวนี้ไงครับ  ไม่ได้ไปรับถึงเชียงใหม่หรอก


ขอบพระคุณมากค่ะ อาจารย์อธิบายได้กระจ่างมากเลยค่ะ

ถ้าไม่ได้มาตั้งกระทู้ก็คงไม่รู้รายละเอียดมากขนาดนี้ คงจะยังงมเข็มแบบงูๆปลาๆอยู่ในมหาสมุทรา

ต้องขอบคุณ อาจารย์เาทชมพู อาจารย์V_Mee อาจารย์นวรัตน์ รวมถึงเพื่อนสมาชิกทุกท่านที่กรุณาให้ความช่วยเหลือให้ข้อมูลด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 22 มิ.ย. 15, 12:05

จากเอกสารที่อาจารย์ V_Mee ได้กล่าวถึงในกระทู้ ว่าด้วย พระประวัติ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี เรียบเรียงโดยเจ้าแก้วนวรัฐ นั้น ดิฉันได้ค้นเจอ เอกสารออนไลน์ หนังสือหายากของทางหอสมุดกลางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงของลงลิงค์ไว้ เผื่อผู้พบเห็นในกระทู้นี้สนใจศึกษาค่ะ

http://www.car.chula.ac.th/rarebook/book/av_00115/
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 22 มิ.ย. 15, 12:12

ถ้าคุณจะเขียนถึงเจ้าดารารัศมี ในกระทู้เก่าๆก็เรือนไทยก็มีเอ่ยถึงอยู่บ้างค่ะ    ส่วนรายละเอียดนั้น ท่านผู้รู้ในเรือนไทยมีอยู่หลายท่าน
ถ้าท่านว่างก็คงจะมาตอบคำถามคุณได้อีก

ดิฉันรู้เรื่องเจ้าดารารัศมีน้อยมาก   ความทรงจำเท่าที่นึกได้คือ จำเจ้าพรรณพิสิฐพระญาติของท่านได้   ท่านชราแล้วในตอนนั้น รูปร่างผอมบาง ท่านเล่าว่าเคยอยู่ในคุ้มของเจ้าดารารัศมี    แต่ที่เจอท่านคือเจอในกรุงเทพ
บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 22 มิ.ย. 15, 12:33

กำลังอ่านพระประวัติฯออนไลน์ที่ค้นได้ค่ะ อ่านถึงช่วงพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ที่ส่งไปให้พระราชชายาฯ เรียกง่ายๆว่าจดหมายรักนั้น อ่านไปอมยิ้มไป ทรงบ่นว่า "จดหมายทวนน้ำไม่ทันใจเลย"
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 20 คำสั่ง