ปิ่น
|
สวัสดีค่ะ อยากทราบข้อมูลว่าในอดีต ช่วงสมัยรัชกาลที่5 ถ้าคนที่เดินทางด้วยเรือจากเรือเหนือ เวลามาถึงกรุงเทพแล้ว โดยมากเขาขึ้นที่ท่าน้ำไหนคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 20 มิ.ย. 15, 15:30
|
|
สงสัยจะเอาไปเขียนนิยายย้อนยุค ฝากคำถามนี้ต่อถึงท่านผู้รู้ในเรือนไทย ดิฉันเองนึกถึงท่าพระจันทร์ ถัดจากท่าพระจันทร์ มีท่าน้ำเก่าแก่ติดๆกันอีกแห่ง เคยไปนั่งกินอาหารอยู่ในร้านติดกับท่านี้แหละค่ะ นึกชื่อไม่ออกแล้ว แต่ไม่ใช่ท่าช้างนะคะ ใครนึกออกบ้าง?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ปิ่น
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 20 มิ.ย. 15, 15:59
|
|
ใช่แล้วค่ะอาจารย์ เดาถูกเป๊ะเลยค่ะ ท่าน้ำท่าเรือก็ไม่รู้จัก เห็นท่าน้ำเก่าแก่มีหลายท่า ทั้งท่าเตียน ท่ามหาราช แต่ไม่รู้ว่าท่าไหน รบกวนเพื่อนสมาชิกด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 20 มิ.ย. 15, 16:07
|
|
ท่าเตียน ท่าช้าง ท่ามหาราช ท่าพระจันทร์ล้วนแต่เป็นท่าน้ำเก่าแก่ ในรัชกาลที่ 5 มีมาแล้วแน่ๆ มันขึ้นกับว่า สถานที่ที่ตัวละครจะไป มันอยู่ใกล้ท่าน้ำไหนด้วยค่ะ
ถ้าหากว่าพระเอกล่องเรือมาจากทางเหนือ จะไปหานางเอกที่บ้านอยู่ท้ายวัดโพธิ์ ขึ้นที่ท่าเตียนก็ถูกต้องแล้ว ดีกว่าไปขึ้นท่าพระจันทร์แล้วเดินทางผ่านถนนพระจันทร์ ออกสนามหลวงมาอีกไกลกว่าจะถึง แต่ถ้านางเอกมีบ้านอยู่แถวถนนราชดำเนิน ขึ้นท่าพระจันทร์ก็ได้นะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 20 มิ.ย. 15, 18:44
|
|
ถ้าเป็นช่วงก่อนเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก ขบวนเรือเจ้านายฝ่ายเหนือจะมาเทียบท่าแถวๆ วังหลัง เพราพเรือนพักรับรองที่รัฐบาลจัดเตรียมไว้ให้อยู่ใกล้บ้านหมอบรัดเล ที่ฝั่งธนบุรี
ช่วงหลังจากเสด็จกลับจากประพาสยุโรปครั้งแรกและมีการสร้างพระราชวังดุสิตแล้ว เปลี่ยนมาขึ้นท่าพายัพที่ศรีย่านครับ เพราะโปรดให้สร้างบ้านพักรับรองเจ้านายฝ่ายเหนือไว้ที่สี่แยกศรีย่าน และพระราชทานที่ดินให้พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าดิลดนพรัฐ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี) สร้างวังก็ริมถนนพายัพทางลงท่าพายัพฝั่งทิศใต้ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ปิ่น
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 20 มิ.ย. 15, 19:31
|
|
ถ้าเป็นช่วงก่อนเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก ขบวนเรือเจ้านายฝ่ายเหนือจะมาเทียบท่าแถวๆ วังหลัง เพราพเรือนพักรับรองที่รัฐบาลจัดเตรียมไว้ให้อยู่ใกล้บ้านหมอบรัดเล ที่ฝั่งธนบุรี
ช่วงหลังจากเสด็จกลับจากประพาสยุโรปครั้งแรกและมีการสร้างพระราชวังดุสิตแล้ว เปลี่ยนมาขึ้นท่าพายัพที่ศรีย่านครับ เพราะโปรดให้สร้างบ้านพักรับรองเจ้านายฝ่ายเหนือไว้ที่สี่แยกศรีย่าน และพระราชทานที่ดินให้พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าดิลดนพรัฐ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี) สร้างวังก็ริมถนนพายัพทางลงท่าพายัพฝั่งทิศใต้ครับ
รบกวนคุณวีมีช่วยบอกรายละเอียดชื่อท่าน้ำบริเวณวังหลังและเรือนรับรองใกล้บ้านหมอบรัดเลได้ไหมคะ ขอบพระคุณมากค่ะ ข้อมูลตรงนี้ไม่เคยเห็นเลยค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ปิ่น
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 20 มิ.ย. 15, 19:37
|
|
ท่าเตียน ท่าช้าง ท่ามหาราช ท่าพระจันทร์ล้วนแต่เป็นท่าน้ำเก่าแก่ ในรัชกาลที่ 5 มีมาแล้วแน่ๆ มันขึ้นกับว่า สถานที่ที่ตัวละครจะไป มันอยู่ใกล้ท่าน้ำไหนด้วยค่ะ
ถ้าหากว่าพระเอกล่องเรือมาจากทางเหนือ จะไปหานางเอกที่บ้านอยู่ท้ายวัดโพธิ์ ขึ้นที่ท่าเตียนก็ถูกต้องแล้ว ดีกว่าไปขึ้นท่าพระจันทร์แล้วเดินทางผ่านถนนพระจันทร์ ออกสนามหลวงมาอีกไกลกว่าจะถึง แต่ถ้านางเอกมีบ้านอยู่แถวถนนราชดำเนิน ขึ้นท่าพระจันทร์ก็ได้นะคะ
ขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ เป็นข้อมูลให้ดิฉันได้ไว้อ้างอิงเลยค่ะ เนื่องด้วยไม่ได้อยู่ฝั่งพระนครจึงไม่รู้ภูมิศาสตร์ทางนู้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 20 มิ.ย. 15, 20:23
|
|
ถ้านิยายของคุณเกิดก่อนพ.ศ. 2442 ถนนราชดำเนินยังไม่มีนะคะ นางเอกต้องอยู่ที่อื่น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
prahnmongkol
อสุรผัด

ตอบ: 37
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 20 มิ.ย. 15, 20:31
|
|
ติดตาม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ปิ่น
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 20 มิ.ย. 15, 20:38
|
|
ถ้านิยายของคุณเกิดก่อนพ.ศ. 2442 ถนนราชดำเนินยังไม่มีนะคะ นางเอกต้องอยู่ที่อื่น
2428 เป็นต้นไปค่ะอาจารย์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 20 มิ.ย. 15, 20:54
|
|
2428 เป็นปีที่กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ วังหน้าพระองค์สุดท้ายเสด็จทิวงคต
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
พีรศรี
อสุรผัด

ตอบ: 25
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 20 มิ.ย. 15, 23:56
|
|
ในพ.ศ. ๒๔๓๐ ทางการมีแผนจะซ่อมแซมท่าน้ำสองฝั่งแม่น้ำ รวม ๑๓ แห่ง ดังนี้ครับ ฝั่งตะวันออก (ฝั่งพระนคร) : ท่าช้างวังหน้า / ท่าพระ / ท่าเตียน / ท่าวัดจักรวรรดิ / ท่าศาลเจ้าเก่า / ท่าวัดสัมพันธวงศ์ / ท่าศาลเจ้าปุนเถ้าก๋ง ฝั่งตะวันตก (ฝั่งธนบุรี) : ท่าวัดดุสิดาราม / ท่าข้างบ้านเจ้าเชียงใหม่ / ท่าวัดระฆังโฆสิตาราม / ท่าวัดอรุณ / ท่าวัดกัลยาณมิตร / ท่าปากคลองสาน จำนวนท่าน้ำจริงๆ มีมากกว่านี้แน่นอน อันนี้แค่ท่าน้ำที่สภาพทรุดโทรม ควรซ่อมแซม นะครับ ที่มา : หจช.ร.๕ น.๑.๑/๕
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 21 มิ.ย. 15, 10:46
|
|
สวัสดีค่ะ อยากทราบข้อมูลว่าในอดีต ช่วงสมัยรัชกาลที่5 ถ้าคนที่เดินทางด้วยเรือจากเรือเหนือ เวลามาถึงกรุงเทพแล้ว โดยมากเขาขึ้นที่ท่าน้ำไหนคะ
ขึ้นอยู่กับว่าเรือเหนือบรรทุกสิ่งอะไรมาค้าขายครับ และหากเป็นเรือขุนนาง ข้าราชการก็จะต่างกันไป แต่ในภาพเก่าเคยเห็นกลุ่มเรือหางแมงป่องจอดท่าอยู่บริเวณฝั่งทางบ้านเจ้าเชียงใหม่ คงเป็นชุมชนชาวเหนือพี่คุ้นเคย แค่สำหรับท่าเรือทางแถวท่าพระจันทน์นั้นเคยทราบว่า ท่าเรือแถวนี้เดิมเป็นท่าเรือของชาวมุสลิมที่ซ่อนตัวอยู่ด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กะออม
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 21 มิ.ย. 15, 12:15
|
|
การเดินทางจากหัวเมืองทางเหนือมายังพระนคร ช่วง พ.ศ. ๒๔๒๘ แล้วแต่ว่ามาด้วยกิจใด หากมากับคณะหมอสอนศาสนา ก็อาจจะขึ้นที่ท่าโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง หากมากับหมู่เรือเจ้าทางเหนือ ก็ยังไม่มาขึ้นท่าเจ้าเชียงใหม่ที่วังหลัง เพราะบ้านเจ้าเชียงใหม่ยังไม่ปลูกสร้างที่นั่น หากมากับพวกค้าไม้ น่าจะมีปลายทางแถวโรงเลื่อย เช่น แถบบางอ้อ เช่น ท่าน้ำวัดละมุด แถบล่าง คลองสานลงไปถึงถนนตก หากเดินทางเนื่องจากกลับจากราชการ หรือ ทำการค้าอื่น ก็น่าจะขึ้นที่ท่าน้ำบ้านของผู้เดินทาง ทั้งท่าน้ำริมแม่น้ำและในคลอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ปิ่น
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 21 มิ.ย. 15, 15:07
|
|
สวัสดีค่ะ พอดีเมื่อคืนลองค้นข้อมูลจาก จดหมายเหตุรายวัน ในรัชกาลที่ 5 ช่วงปีพ.ศ. 2429 มีพิธีฉลองการสถาปนาของพระบรมโอรสาธิราช พระองค์แรกของสยาม ตอนแรกค้นข้อมูลเข้าใจว่า พระเจ้าเชียงใหม่เดินทางมาพร้อมกับเจ้าดารารัศมีมาร่วมพิธีและถวายเจ้าดารารัศมีให้เข้ารับราชการในวังหลัง แต่ปรากฏพระนาม พระเจ้าเชียงใหม่ตั้งแต่ก่อนพิธีจริงในวันจันทร์ แรม๒ค่ำ เดือน๒ ปีจอ อัฐศก ศักราช ๑๒๔๘
หลังจากนั้นเมื่อเสร็จสิ้นพิธี วันพุธ ขึ้น๑๐ค่ำ เดือน๓ ปีจอ อัฐศก ศักราช ๑๒๔๘ ปรากฏข้อมูลในจดหมายเหตุว่า "พระยาศรีนำเจ้าราชวงศ์เมืองเชียงใหม่... ซึ่งลงมาในการราชพิธีลงสรงไม่ทัน...เข้าเฝ้า" ตรงนี้ ไม่แน่ใจว่า เจ้าราชวงศ์ที่กล่าวถึง คิดว่าน่าจะเป็น เจ้าราชวงศ์ (น้อยขัตติยะ ณ เชียงใหม่) ในหม่อมคำ มากกว่าเป็น เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ ใน เจ้ารินคำ นะคะ เพราะเวลาไม่ตรงกัน ขออนุญาตอ้างอิงข้อมูลจากวิกิพีเดีย ซึ่งอาจจะไม่ถูกต้องว่า "เจ้าน้อยสุริยะได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น "เจ้าราชบุตร" เมื่อปี พ.ศ. 2432[1] เป็น "เจ้าราชวงศ์" ในปี พ.ศ. 2436 และได้รับพระราชทานสถาปนาเป็น "เจ้าอุปราช" ในปี พ.ศ. 2441 ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรแต่งตั้งเป็น เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ ดำรงนพีสีนคร สุนทรทศลักษ์เกษตร์ วรฤทธิ์เดชดำรง จำนงยุติธรรมสุจริต วิศิษฐสัตยธาดา มหาโยนางคราชวงษาธิบดี เจ้านครเชียงใหม่"
จดหมายเหตุ วันพฤหัส ขึ้น ๑๑ค่ำ เดือน๓ ปีจอ อัฐศก ๑๒๔๘ ได้กล่าวถึงเจ้าดารารัศมีว่า "วันนี้เจ้าดารารัศมี ธิดาพระเจ้านครเชียงใหม่ เข้ามาอยู่ในพระบรมมหาราชวัง พระเจ้าเชียงใหม่ถวาย โปรดให้เรือหลวงไปรับ"
จากข้อมูลที่ได้มา ก็เลยไม่แน่ใจว่า เจ้าเชียงใหม่กับเจ้าดารารัศมีเดินทางมากรุงเทพพร้อมกัน หรือว่า เจ้าดารารัศมีเดินทางมาพร้อมเจ้าราชวงศ์ พี่/น้องชายต่างมารดา หรือเจ้าดารารัศมีเสด็จมาองค์เดียว
พอดีเรื่องทีเขียนจะกล่าวถึงขบวนเสด็จของเจ้าดารารัศมีคราวมาร่วมพิธีลงสรงของเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ถ้าข้อมูลไม่ถูกต้อง คงจะต้องเลี่ยง เดี๋ยวผิดขึ้นมาจะแย่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|