เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 100878 ขนมของชาวจีน ในสยาม
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 18 มิ.ย. 15, 18:04

อิ้วมั่วปัว  บีปัง  โซถึง  สามอย่างนี้ยังหาไม่เจอว่าคือขนมอะไร
ใครทราบกรุณาบอกด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 18 มิ.ย. 15, 20:53

อิ่วหมั่วปังครับ อิ่วมั้วคืองา อิ่วหมั่วปังคืองาตัด

บี๋ปัง คือข้าวพอง ตัดเป็นก้อนสีขาวเป็นส่วนใหญ่มีสีอื่นตรงส่วนหัว

โซวทึ้ง ตามศัพท์ โซวแปลว่ากรอบ ทึ้งคือน้ำตาลหรือขนม แต่โซวทึ้งคืออะไรผมไม่รู้จักครับ

บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 18 มิ.ย. 15, 21:24

อิ่วหมั่วปัง  งาตัด


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 18 มิ.ย. 15, 22:35

บี๋ปัง ข้าวพองครับ

(ภาพจาก ang-kee.com)


บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 19 มิ.ย. 15, 08:45

โซวทึ้ง =น้ำตาลกรอบ ---> ตังเมกรอบ?
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 19 มิ.ย. 15, 09:35

ค่อยๆหาไปเท่าที่จะหาได้  ง่ายที่สุดคือจันอับ เพราะเห็นบ่อยตอนเด็กๆตามร้านจีน ใส่ขวดโหลเอาไว้


จันอับที่ร้านค้าปัจจุบันทำมีอยู่ ๕ อย่าง เฉลยไปแล้ว ๔ อย่าง

หมวดว่าด้วยขนมต่าง ๆ ของจีน  ทำด้วยแป้งแลถั่วต่าง ๆ  เจือน้ำตาลทรายขาวอย่างที่ ๑  แลอย่างที่ ๒

เต้าปัง = ถั่วตัด
อิ้วมั่วปัง = งาตัด
บีปัง = ข้าวพอง
ตังกวยแฉะ = ฟักเชื่อม

อย่างที่ ๕ คือ ซกซา = ถั่วเคลือบน้ำตาล


บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 19 มิ.ย. 15, 10:56

โซวทึ้ง เป็น  จำพวกของขนมหวาน ไม่ใช่ชนิด

ภาษาจีนเขียน 酥糖 ท่านหมายถึงถั่ว หรือธัญญพืช ที่นำลงเคี่ยวกับน้ำตาลจนสุก แล้วนำออกมาผึ่งลมให้น้ำตาลแข็งตัวกรอบเคล้ากับถั่วหรือเมล็ดธัญญพืช  เต่าปัง หมั่วปัง หรือบีปัง ล้วนอยู่ในขนมจำพวกเดียวกัน เรียกว่า โซวทึ้ง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 19 มิ.ย. 15, 11:27

ขอบคุณมากค่ะคุณ Namplaeng  กำลังรอว่าคุณจะแวะเข้ามาอ่านอีกหรือเปล่า
ขอบคุณสำหรับคำเฉลยค่ะ

รายชื่อขนมของจีนที่ยกมาตอนต้นกระทู้   ตอนนี้ก็ได้คำตอบออกมาแล้วว่ามีขนมอะไรบ้าง
ส่วนใหญ่ก็ยังขายกันอยู่จนปัจจุบัน
ยังเหลือแต่ขนมของจีนข้างล่างนี้  เหลือชื่อที่ยังไม่รู้กันอีกมาก

คุณวันดีเคยคัดรายชื่อขนมจีนในสูจิบัตรไว้ในกระทู้ ขนมฝรั่ง บัญชีขนมในงานนาเชนนอลเอกซฮิบิเชน ณ ท้องสนามหลวง ๒๔๒๕   ครบ ๕๘ อย่าง

หมวดว่าด้วยขนมต่าง ๆ ของจีน  ทำด้วยแป้งแลถั่วต่าง ๆ  เจือน้ำตาลทรายขาวอย่างที่ ๑  แลอย่างที่ ๒

อิ๊วจ๊อ    เม่งถึง   เต้ายุ่น    นึ้งโก  แชะโก

เซียงเต้าทึง  ซกซา  กิมจี้เปีย   กิมเก๊กโซ  กิมโซเปีย 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 19 มิ.ย. 15, 11:31

เซียงเต้าทึง  เป็นอย่างเดียวกับ เต้าทึง หรือเปล่าคะ


บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 19 มิ.ย. 15, 12:29

รายการขนมนั้น ผมก็ไม่รู้จักเท่าไรครับ ที่เดาอย่างมั่นใจ ก็คงจะมีแต่ เม่งถึง ที่น่าจะเป็นเหม่งทึ้ง ( 明糖 ) หรือขนมงาอ่อนครับ


บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 19 มิ.ย. 15, 12:43

ขนมอีกตัวที่เดาคือ กิมเก๊กโซ ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็น กิมกิกโซว ( 金桔酥 )

กิมกิก 金桔 หมายถึงส้ม

酥 หมายถึงจำพวกขนมผิงสอดไส้ต่างๆ 

金桔酥  จึงหมายถึงสนมผิงสอดไส้ น้ำตาลกวนรสส้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 19 มิ.ย. 15, 12:47

ไปเจอเรื่องจันอับ ของคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ
คอลัมน์สยามประเทศไทย โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ อรรถาธิบายถึง "จันอับ" ไว้ในเรื่อง กล่อง "จันอับ" ใส่ขนม "แต้เหลี้ยว" ว่า จันอับ เพี้ยนจากคำจีน แปลว่า กล่องใส่ของ แต่ไทยหมายถึงขนมหวานอย่างแห้งของจีน มีหลายอย่าง อาจารย์เฉลิม ยงบุญเกิด อธิบายว่ามาจากภาษาจีนแต้จิ๋วว่า จิ๊งอั๊บ แปลว่า กล่องถวาย หรือ กล่องบูชา ซึ่งในกล่องใส่ขนมจันอับไหว้เจ้า (จากหนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิง นายเฉลิม ยงบุญเกิด เมรุวัดธาตุทอง วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2518)

ยุคกรุงศรีอยุธยามีขนมจันอับขายแล้ว มีโรงทำเครื่องจันอับด้วย หนังสือภูมิสถานพระนครศรีอยุธยา (เอกสารจากหอหลวง) บันทึกว่า มีพวกจีนตั้งโรงทำเครื่องจันอับ และขนมแห้งจีนต่างๆ หลายชนิดหลายอย่างอยู่ตลาดน้อย ใกล้ประตูช่องกุดท่าเรือจ้าง ข้ามไปวัดพนัญเชิง

จันอับ สมัยรัชกาลที่ 5 หมายถึงขนม 6 อย่าง มีรายชื่อใน พระราชบัญญัติอากรจันอับ ร.ศ.111 ดังนี้คือ 1. น้ำตาลกรวด 2. ฟักถั่วก้อน ถั่วตัด งาตัด โซถึง ปั้นล่ำ ก้านบัว ขิงเคี่ยว น้ำตาลทราย ขนมเปี๊ยะ ข้าวพอง ตังเม ถั่วงา ขนมโก๋ทำด้วยแป้งขาวแป้งถั่ว 3. วุ้นแท่ง ตังเมหลอด น้ำตาลทรายเคี่ยวหล่อหลอมเป็นรูปต่างๆ 4. ขนมซาลาเปา ทำด้วยแป้งข้าวสาลี 5. ไพ่กระดาษจีน 6. เทียนไขเนื้อ

แต่เอกสารบางเล่มเรียกขนมจันอับเป็นภาษาจีนว่า "แต้เหลี้ยว" ทำให้รู้ว่าจันอับเป็นชื่อกล่องใส่ขนม ส่วนขนมในกล่องจันอับ เรียกแต้เหลี้ยว มีขนม 58 อย่าง (สูจิบัตรงานนิทรรศการสินค้าพื้นเมืองไทยในพระราชพิธีสมโภชพระนครครบร้อยปี พ.ศ.2425 สำนักพิมพ์ต้นฉบับ พิมพ์ครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ.2543) แล้วมีคำอธิบายดังนี้ "รวม 58 สิ่งนี้จีนเรียกว่า แต้เหลี้ยว ไทยเรียกว่า เครื่องจันอับ เปนขนมสำหรับจีนไหว้เมื่อเทศกาลตรุษจีน ศาจจีน ไม่ว่าตรุษ ศาจอันใด ต้องมีเครื่องแต้ เหลี้ยวนี้กำกับทุกตรุษ ทุกศาจ โดยที่สุดแต่วันชิวอิดจับเหงา ก็ต้องมีเครื่องแต้เหลี้ยวไหว้เจ้าทุกวันๆ แลเครื่องแต้เหลี้ยวนี้เปนของรับประทานกับน้ำร้อนน้ำชาด้วย"

"อนึ่ง ไทยจีนจะทำการวิวาหะมงคล ฤๅทำการบุญต่างๆ ก็มักใช้เครื่องแต้เหลี้ยวเปนของขันหมาก แลใส่ปากกระจาดก็มาก เครื่องแต้เหลี้ยวนี้ จีนทำขายที่ตำบลสำเพง ราคาซื้อขายที่โรงผู้ทำต้องชั่งน้ำหนักระคนปนกันทุกสิ่งหนักห้าชั่งจีนต่อบาท ราคาซื้อขายตามตลาดเครื่องแต้เหลี้ยวห่อหนึ่งหนักเจ็ดตำลึงจีนบ้าง แปดตำลึงจีนบ้าง ราคาห่อละเฟื้อง ที่เปนชิ้นเปนอันก็ขายกันอันละเฟื้อง อันละ 4 อัฐ อันละ 2 อัฐ อันละ 1 อัฐ ก็มี"

สูจิบัตรนี้มีชื่อขนมจำนวนหนึ่งที่ยังบอกไม่ได้ว่าคืออะไร? เช่น โซถึง อิ้วจ๊อ เม่งถึง เซียงเต้าถึง กิมเก๊กโซ กิมโซเบีย ฮองหงัน เปีย เบเตยโซ กึงกังเปีย เกียมโก จือถึงโก เบ๋เต้ยโก ฬ่อใจ ทึ่งกวย กิมกวย กิมหัม เกยปะโก เปียโถ มี่เต๊ก เล่งมึ่งเปีย เง่าฮุนปั้ง กาเปีย เตเปีย บ้วยกี ตือถึงโก เปากวน

ยังมีข้อมูลจากนิตยสารครัว ว่า ชนิดของแต้เหลี้ยว (เต่เหลียว) ในประเทศไทยพบได้ 2 ชนิดคือ แบบแต้จิ๋ว หรือกวางตุ้ง และแบบฮกเกี้ยน โดยจันอับแบบฮกเกี้ยนจะมีเครื่องประกอบทั้งหมด 8 ชนิด แต่ละชนิดจะเป็นขนมที่จันอันแบบที่แต้จิ๋วไม่มี ยกเว้นฟักเชื่อม จันอับแบบฮกเกี้ยนหาทานได้ยากมาก พบได้เฉพาะที่จังหวัดภูเก็ตเท่านั้น ส่วนจันอับแบบกวางตุ้ง หรือแต้จิ๋ว โดยรวมมีเครื่องประกอบทั้งหมดประมาณ 5 ชนิดหลัก เป็นที่นิยมมาก

วัฒนธรรมแต้เหลี้ยว หรือจันอับ ถือว่าเป็นขนมที่ขาดไม่ได้ในงานแต่งงานของชาวจีนและชาวไทย เพราะเชื่อว่าความหวานของจันอับจะทำให้ชีวิตคู่รักกันหวานชื่น จันอับเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของการส่งของหมั้นให้เจ้าสาว ในส่วนของการบูชาต่างๆ ชาวจีนก็ขาดไม่ได้ที่จะบูชาด้วยจันอับ ไม่ว่าจะเป็นงานมงคล หรืออวมงคล จันอับก็มีส่วนเกี่ยวด้วย สรุปคือจันอับมีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคมไทยและสังคมจีน

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 19 มิ.ย. 15, 15:29

จันอับ สมัยรัชกาลที่ 5 หมายถึงขนม 6 อย่าง มีรายชื่อใน พระราชบัญญัติอากรจันอับ ร.ศ.111 ดังนี้คือ 1. น้ำตาลกรวด 2. ฟักถั่วก้อน ถั่วตัด งาตัด โซถึง ปั้นล่ำ ก้านบัว ขิงเคี่ยว น้ำตาลทราย ขนมเปี๊ยะ ข้าวพอง ตังเม ถั่วงา ขนมโก๋ทำด้วยแป้งขาวแป้งถั่ว  3. วุ้นแท่ง ตังเมหลอด น้ำตาลทรายเคี่ยวหล่อหลอมเป็นรูปต่างๆ 4. ขนมซาลาเปา ทำด้วยแป้งข้าวสาลี  5. ไพ่กระดาษจีน 6. เทียนไขเนื้อ


พระราชบัญญัติอากรเครื่องจันอับ รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๑

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 20 มิ.ย. 15, 18:15

บะจ่าง เครื่องปรุงหลักคือข้าวเหนียว มีทั้งเค็มและหวาน ส่วนใหญ่ในเมืองไทยมักจะทำเครื่องเค็ม ใส่หมู กุนเชียง เห็ดหอม ไข่เค็ม มีส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น ถั่วลิสง เม็ดบัว แปะก๊วย ถั่วเขียวซีก  บางแห่งใส่เผือกกวน ทำให้เค็มๆหวานๆ

คำอธิบายในบาญชีขนมต่าง ๆ ที่จัดแสดงในงานนิทรรศการสินค้าพื้นเมืองไทยในพระราชพิธีสมโภชพระนครครบ ๑๐๐ ปี  พุทธศักราช ๒๔๒๕

ขนมจั้ง เป็นของไหว้เจ้าวันศาจ เรียกว่า เหงาง้วยเจ้ย ราคาซื้อขายตามตลาดมัดใหญ่ใส่ถั่ว ๑๒ ต่อเฟื้อง มัดเล็ก ๒๐ ต่อเฟื้อง


ส่วน คุณวิกกี้ บอกว่า เทศกาลไหว้บ๊ะจ่างตรงกับวันที่ ๕ เดือน ๕ ตามปฏิทินทางจันทรคติ หรือ "โหงวเหว่ยโจ่ว"

ซึ่งตรงกับวันนี้นี่เอง  ยิงฟันยิ้ม

ภาพจาก myhora.com


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 20 มิ.ย. 15, 18:55

บ๊ะจ่าง


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.112 วินาที กับ 20 คำสั่ง