เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 100614 ขนมของชาวจีน ในสยาม
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 26 มิ.ย. 15, 11:54

อีกสองอย่างค่ะ

ขนมรหัส4488-酒壳粿 จิ้วคักก๊วย ขนมอันนี้ทำไม่ค่อยบ่อย ก็เลยไม่มีข้อมูล เมื่อกี้ลองหาข้อมูลในเน็ต เขาว่า อีกชื่อคือ 鼠壳粿 จะทำเฉพาะช่วงเช็งเม้งหรือตรุษจีน โดยชื่อ 酒壳หรือ鼠壳 เป็นสมุนไพรชื่อ Cudweed Herb คิดว่าตัวแป้งน่าจะผสมสมุนไพรที่ว่า ไส้เป็นแบบไส้หวาน จำไม่ได้แล้วว่าใส่อะไร ตอนเด็กๆ เหมือนเด็กที่จะกินขนมนี้มีข้อห้าม ผู้ใหญ่จะห้ามกิน ไม่รู้เพราะอะไร อาจจะเกี่ยวกับส่วนผสมข้างในก็ไม่ทราบ ส่วนรูปทรงก็เหมือนท้อก๊วย ใช้แม่พิมพ์นาบลายเช่นเดียวกัน

ขนมรหัส4888-油粿 อิ๊วก๊วย เป็นขนมที่โดยปกติไม่ผสมสี มีไส้คาว ไส้เค็ม และไส้หวาน คือไส้คาวจะ เอากะหล่ำปลี ไข่เจียวที่หั่นชิ้น เนื้อสัตว์(หมู/กุ้ง/ปลาหมึก) ผัดรวมกันแล้วใส่เป็นไส้ข้างใน ถ้าไส้คาวจะทำรูปทรงเป็นแบบทรงยาว ไส้หวานจะเป็นไส้ถั่วผสมน้ำตาลแดง รูปทรงเป็นทรงกลม ไส้ถั่วแบบเค็ม รูปทรงเป็บทรง3เหลี่ยมอย่างในรูป เมื่อปั้นและใส่ไส้เสร็จก็จะนำไปทอด เด็กๆจะชอบขนมนี้แบบนี้มากที่สุด เพราะอร่อยที่สุด แถมตอนที่ผู้ใหญ่กำลังปั้นขนม เด็กๆก็จะไปแอบเอาแป้งมาปั้นเป็นรูปทรงต่างๆ ตอนผู้ใหญ่ทอดขนมก็ต้องขอร้องให้ทอดงานศิลปะของตัวเองด้วย อาจจะเพราะมีส่วนร่วมด้วย เด็กๆจะสนุกที่สุด



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 26 มิ.ย. 15, 13:58

ถ้าดิฉันมีประสบการณ์เหมือนคุณปิ่น  คงจะเขียนเรื่องขนมในความทรงจำออกมาได้เล่มหนึ่งแน่ๆ     ฟังน่าสนุกมาก
บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 26 มิ.ย. 15, 14:36

ถ้าดิฉันมีประสบการณ์เหมือนคุณปิ่น  คงจะเขียนเรื่องขนมในความทรงจำออกมาได้เล่มหนึ่งแน่ๆ     ฟังน่าสนุกมาก

ปิ่นจำสะเปะสะปะค่ะอาจารย์ เนื่องจากมีอาม่าที่ชอบไหว้เจ้าเป็นงานอดิเรก ก็เลยได้เห็นตอนเด็กๆค่ะ ถ้าให้เขียนเป็นหนังสือเกรงว่าต้องหาข้อมูลเยอะเลย ขนมชาวจีนที่เราเจอในไทย โดยมากแล้วเป็นขนมไหว้เจ้าทางแต้จิ๋วซะมากกว่า บางครั้งไปหาในถิ่นอื่นของจีนก็ไม่มี เพราะเป็นขนมดั้งเดิมของซัวเถา วัฒนธรรมของชาวจีนแต้จิ๋วเองก็ยังมีความแตกต่างอีก เมื่อก่อนคนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยรู้ตรงนี้ แต่เดี๋ยวนี้โลกอินเตอร์เน็ตเปิดกว้างแล้ว อะไรๆก็หาได้ค่ะ วัฒนธรรมแต้จิ๋วซะเองที่ยิ่งนับวันยิ่งจะหายไปจากสังคมชาวแต้จิ๋ว เพราะถูกวัฒนธรรมเมืองและภาษาจีนกลางกลืนกิน
บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 30 มิ.ย. 15, 11:30

ขอนำเสนอขนมเซ่นไหว้ของชาวจีนอีกอย่าง ไม่แน่ใจว่าเคยเห็นกันหรือเปล่าคะ

ภาษาจีนเรียกว่า "ถึงถะ" หรือ "ทึ้งถะ" (糖塔)อันหมายถึงว่า เจดีย์น้ำตาล เพราะเป็นการปั้นน้ำตาลให้เป็นรูปร่างต่างๆ เพื่อสำหรับไหว้เจ้าในเทศกาลสำคัญโดยเฉพาะ แต่จำไม่ได้ว่าเทศกาลอะไร โดยปกติแล้วสามารถตั้งบูชาได้นานมาก ก็ไม่เห็นมดขึ้น มีแบบสีขาวล้วนและแบบแต่งสีชมพูค่ะ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 30 มิ.ย. 15, 13:47

หลายสิบปีมาแล้ว   เคยเห็นอย่างรูปข้างล่างนี้ แต่สีออกน้ำตาล
จำได้ว่าตื่นเต้นมาก เพราะไม่รู้ว่ามันคืออะไร


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 30 มิ.ย. 15, 14:50

ในบาญชีขนมต่าง ๆ ที่จัดแสดงในงานนิทรรศการสินค้าพื้นเมืองไทยในพระราชพิธีสมโภชพระนครครบ ๑๐๐ ปี  พุทธศักราช ๒๔๒๕ ยังมีรายชื่อขนมที่คนจึนในสมัยนั้นทำขายอีกหลายอย่าง เช่น สิงโตน้ำตาล, ตังเมหลอด, เปาะเปี๊ยะ, น้ำตาลกรวด, ขนมโก๋, ขนมจั้ง, ขนมอี๋, ขนมเข่ง, ก๊ากวย, กะลาเปา, อิ๋วตุยก๊วย, เช้าก้วย, เล่งฮุ้น, กวยโถ, จือฮุนโก, เต้าฮวย, เน่ยจี้ถึง, จุดบีม้วย, ลิวบีม้วย, ไชหลวนก๊วย, กะโลจี๊

หากอยากทราบรายละเอียด กรุณาคลิกเข้าไปที่ลิงก์ข้างล่างโดยพลัน แล้วเลื่อนลงไปที่หน้า ๖๒-๖๕

http://www.dspace.li.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/2920/1/la-ar-aphilak-6.pdf

คงเป็นประเภทเดียวกับ สิงโตน้ำตาล ในบาญชีขนมข้างต้น

ที่ ๒๖๐ สิงโตน้ำตาล ชาวจีนทำขายที่ตำบลสำเพ็ง ราคาซื้อขายชั่วเปนน้ำหนัก

ตัวหนึ่งหนัก ๑ ชั่งจีน คู่ละบาท
หนัก ๑๒ ตำลึงจีน คู่ละสองสลึง
หนัก ๖ ตำลึงจีน คู่ละสลึง
หนัก ๓ ตำลึงจีน คู่ละเฟื้อง
หนัก ๑ ตำลึงจีน คู่ละ ๔ อัฐ
หนัก ๗ สลึงจีน คู่ละ ๒ อัฐ
หนัก ๓ ตำลึงเฟื้อง คู่ละ ๑ อัฐ

สิงโตน้ำตาลที่ศาลเจ้าพ่อเสือ เสาชิงช้า


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 30 มิ.ย. 15, 15:03

ขอนำเสนอขนมเซ่นไหว้ของชาวจีนอีกอย่าง ไม่แน่ใจว่าเคยเห็นกันหรือเปล่าคะ

ภาษาจีนเรียกว่า "ถึงถะ" หรือ "ทึ้งถะ" (糖塔)อันหมายถึงว่า เจดีย์น้ำตาล เพราะเป็นการปั้นน้ำตาลให้เป็นรูปร่างต่างๆ เพื่อสำหรับไหว้เจ้าในเทศกาลสำคัญโดยเฉพาะ แต่จำไม่ได้ว่าเทศกาลอะไร โดยปกติแล้วสามารถตั้งบูชาได้นานมาก ก็ไม่เห็นมดขึ้น มีแบบสีขาวล้วนและแบบแต่งสีชมพูค่ะ

ของไหว้สิงโตน้ำตาล เขาไว้ไหว้สำหรับขอลูกชาย นิครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 30 มิ.ย. 15, 15:11

ของไหว้สิงโตน้ำตาล เขาไว้ไหว้สำหรับขอลูกชาย นิครับ

คุณจิตรา ก่อนันทเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องจีน เล่าเรื่องความเชื่อนี้ไว้ใน หนังสือลูกหลานกตัญญูโชคดี

ตรุษจีนเป็นเทศกาลแห่งความสุข  กลิ่นอายของความรัก  ความอบอุ่นอบอวลอย่างนี้ทุกปี  ปีแล้วปีเล่า  ซ้ำแล้วซ้ำเล่า  วิถีชีวิตดีงามที่สร้างลูกหลานจีนไทยส่วนใหญ่ให้เติบโตอย่างคุณภาพ  รอวันเป็นคนดีของประเทศไทย

บ้านที่ทำการค้า  บางแห่งก็เริ่มเปิดงานวันที่  ๒  บางแห่งดูวันดี  และบางทีก็รอเปิดวันที่ ๔  วันที่ “เหล่าเอี๊ย”  หรือเจ้าจะเสด็จกลับลงมา  แต่สำหรับชาวนาชาวไร่จีน  จะพักเต็มๆ  ถึงวันที่  ๑๕  เดือน  ๑  ของจีน  ซึ่งคนจีนจะมีไหว้อีกครั้ง  เรียกเทศกาลไหว้นี้ว่า  “ง่วงเซียวโจ่ย”  แปลว่า  เทศกาลกลางเดือน  และมีบ้างที่เรียกเทศกาลนี้ว่า  เทศกาลชาวนา  เพราะเป็นวันและคืนสุดท้ายที่ชาวนาจะฉลองเต็มที่ก่อนเริ่มทำงาน

ที่เมืองจีน  จะมีธรรมเนียมไปไหว้บรรพบุรุษที่  “สื่อตึ๊ง”  สถานที่ตั้งป้ายชื่อของบรรพบุรุษประจำอำเภอ  บางแห่งมีขบวนแห่โคมไฟในตอนกลางคืน

ที่เมืองไทย  ไม่มีเทศกาลชาวนา  แต่ที่น่าสนใจคือธรรมเนียม  “จันโหงวแม้”  แปลว่า  คืนวันที่  ๑๕  บางบ้านมีไหว้เจ้าที่และไหว้บรรพบุรุษในช่วงเช้า  กลางคืนไปไหว้ที่ศาลเจ้าด้วยส้ม  มีการทิ้งส้มของเราไว้  แล้วเอาส้มของศาลเจ้ากลับมาทานเพื่อให้เป็นสิริมงคล

แต่บางบ้านนิยมไปไหว้ที่ศาลเจ้าพ่อเสือด้วยขนมไหว้  “เจดีย์น้ำตาล”  และใครที่ไม่มีลูก  แต่อยากมี  นี่คือเทศกาลไหว้ขอลูกจากศาลเจ้าพ่อเสือ  โดยมีธรรมเนียมความเชื่อว่า  ต้องให้ฝ่ายชายเป็นคนไหว้  แล้วอุ้มหรือขอเช่า  “สิงโตน้ำตาล”  กลับมาบูชาต่อที่บ้าน หากได้ลูกสมใจ  ปีหน้าต้องไปไหว้ขอบคุณ  และซื้อสิงโตน้ำตาลไปไหว้เป็นสองเท่า  ที่บ้านพี่ชายเคยไปอุ้มมาและก็ได้สมหวังดังใจ
บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 30 มิ.ย. 15, 15:20

ตอบคุณหนุ่มสยามค่ะ

อันนี้เป็นรูปที่หาได้จากอินเตอร์เน็ตค่ะ แต่ถ้าจากประสบการณ์โดยตรงเท่าที่เคยพบมานั้น ปิ่นเคยเห็นอาม่าไหว้แต่ เจดีย์น้ำตาล ไม่เคยเห็นไหว้สิงโตน้ำตาลเลยค่ะ เพิ่งจะมาเห็นก็วันนี้ที่เซิร์ชหารูปวันนี้ แต่เจดีย์น้ำตาลก็ไม่ได้มีไหว้บ่อยนะคะ ปีนึงเห็นจะมีสัก1-2ครั้ง คงเป็นเทศกาลพิเศษอะไร แต่ไม่เคยถามอาม่าเลย สงสัยต้องไปถามสักหน่อย พอย้ายมาอยู่เมืองไทย ก็ไม่เคยได้ไหว้ของประเภทนี้เลยค่ะ

ว่าแล้วก็นึกของไหว้ได้อีกอย่าง ที่รูปทรงเหมือนบ้านค่ะ แต่ทำจากถั่วที่มีลักษณะเป็นถั่วตัด ตัวบ้านเป็นทรงกลม มีหลังคากลมปิดอีกที ขณะนี้นึกชื่อไม่ออกค่ะ ก็เลยยังหารูปไม่ได้ ถ้าอาจารย์ท่านใด พอนึกออกก็เชิญก่อนเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 30 มิ.ย. 15, 15:27




ที่เมืองไทย  ไม่มีเทศกาลชาวนา  แต่ที่น่าสนใจคือธรรมเนียม  “จันโหงวแม้”  แปลว่า  คืนวันที่  ๑๕  บางบ้านมีไหว้เจ้าที่และไหว้บรรพบุรุษในช่วงเช้า  กลางคืนไปไหว้ที่ศาลเจ้าด้วยส้ม  มีการทิ้งส้มของเราไว้  แล้วเอาส้มของศาลเจ้ากลับมาทานเพื่อให้เป็นสิริมงคล



ที่ถูกต้อง น่าจะเป็น จับ โหงว แม้ มากกว่าค่ะ จับ(10) โหงว (5) แม้(คืน)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 30 มิ.ย. 15, 15:39

ขอบพระคุณที่กรุณาแก้ไข  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
unming
อสุรผัด
*
ตอบ: 19


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 30 มิ.ย. 15, 15:46

ก่อนอื่น ต้อง สวัสดีอาจารย์ทุก ๆ ท่าน ที่มามอบความรู้ให้คะ พอมีความรู้เล็กๆน้อยๆ เนื่องจาก ที่บ้าน แม่จะไหว้เจ้า เกือบจะทุก ๆ เทศกาล

เจดีย์น้ำตาล หรือ ถึงถะ จะนำมาไหว้ ตอนขึ้น 9 ค่ำคะ หมายถึง วันตรุษจีน ขึ้น 1 ค่ำ เนื่องจากวันขึ้น 9 ค่ำ ถือว่าเป็นวันเกิด ทีกง หรือ เทพเจ้า ฟ้าดิน คนจีนแต้จิ๋วจะ ไหว้ด้วย ถึงถะ และ ส้มคะ บางครั้ง ก็จะมีการไปไหว้ที่ มูลนิธิปอเต็กตึ้ง แล้วนำขนม จันอับ ที่ได้มาจากมูลนิธิ นำมาไหว้ด้วยในวันนั้น  ** ถ้าผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยนะคะ

เคารพ / unming
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 01 ก.ค. 15, 07:06

สมัยก่อน วัน ๑๕ ค่ำ เดือน ๑ ถือเป็นช่วงขอพรต้นปี มีการจัดงานตามศาลเจ้าจนเป็นประเพณีที่ไปไหว้ขอพรเทพเจ้า เป็นการไปขอพรเทพเจ้า ทำบุญ หรืออัญเชิญของสิริมงคล ทั้งสิงโตน้ำตาล หรือ ส้ม หรืออื่น ๆ กลับบ้าน ถือเป็นการขอพร บางที่ขอยืมเงินไปทำทุนต่อก็มี  บางศาลเจ้านำเงินใส่ซองไว้ให้เป็นขวัญถุงเพื่อให้เริ่มต้นการค้าขาย หรือธุรกิจ ให้รุ่งเรือง แต่ปีหน้าต้องใช้คืนเป็น ๒ เท่า
หลัง ๆ มานี้ประเพณีจีนสยามกลายไปจากเดิม จนเป็นว่าขอพรได้ตลอดเดือน ๑ และ
บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 01 ก.ค. 15, 10:18

เรื่องสิงโตน้ำตาล เคยได้ยินมาว่า  ให้ไปยกมาจากศาลเจ้า อย่าให้ใครเห็น (หรืออีกนัยคือขโมยมา)  แล้วเอามาต้มกิน  คนเล่ายังบอกว่า ให้เลือกอันที่เล็ก ๆ หน่อย จะได้หมดเร็ว ๆ
เท็จจริงอย่างไรไม่ทราบ  แต่คนที่เคยทำเขาก็ว่าได้ผลกัน คงต้องไปถามที่หน้าศาลเจ้าพ่อเสือ  เห็นมีติดป้ายว่า รับสอนไหว้ขอลูก
บันทึกการเข้า
ปิ่น
ชมพูพาน
***
ตอบ: 172


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 01 ก.ค. 15, 10:29

ความเชื่อเป็นอย่างไรไม่ทราบค่ะ

แต่สงสัยอย่างเดียว มันจะต้มกินเข้าไปได้ยังไง น้ำตาลทั้งตัว เท่าที่เคยกินเจดีย์น้ำตาลมา มันคือน้ำตาลดีๆนี่เอง น้ำตาลปั้นขึ้นรูป เอาไปต้มกินคิดว่าคงหวานบาดคอดีค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 19 คำสั่ง