เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 100604 ขนมของชาวจีน ในสยาม
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 12 มิ.ย. 15, 11:20

ก้วยถอ คือขนมกุ๋ยฉ้ายที่ทำแป้งเป็นสีชมพู รูปร่างคล้ายลูกท้อ

ขนมที่ว่านี้คือ อั่งถ่อก้วย (红桃粿-ขนมท้อสีแดง)

รูปโดย เจ๊หลี



น่าจะเป็นคนละอย่างกับก้วยถอ ซึ่งบอกว่า "ที่ตักใส่ในถ้วยนั้นก้วยถอ"

ขนมที่ต้องตักใส่ถ้วยน่าจะเป็นขนมประเภทน้ำมากกว่า

ป.ล. แถมวิธีอั่งถ่อก้วยสูตรเจ๊หลี  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 12 มิ.ย. 15, 12:00

อ่า....ขนมอีตุยมีที่มาอย่างนี้เอง ก็ว่า ทำไมเรียกอีตุย  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 16 มิ.ย. 15, 09:19

ขนมหน้าโรงหวยนี้ หลายอย่างมีรายชื่อใน พระราชบัญญัติอากรเครื่องจันอับ รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๑

             ขนมที่ไม่ค่อยได้เห็นหรือรับประทานแล้ว ครับ

สี่แผ่นดิน เมื่อแรกเข้าวัง

         "นั่นห่ออะไร พลอย"
         "ห่อจันอับ" พลอยตอบ "ฉันได้มาจากบ้านเมื่อเช้านี้ กินด้วยกันซีช้อย"
ว่าแล้วพลอยก็แก้ห่อจันอับออกวางบนตัก
         ช้อยหยิบจันอับไปเคี้ยวกิน โดยไม่พูดไม่จาอะไรอยู่สักครู่หนึ่ง แล้วถามขึ้นห้วนๆ ว่า
         "คิดถึงบ้านไหม พลอย"

จากมติชน  28 กรกฎาคม 2552 โดยคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ

                         กล่อง“จันอับ” ใส่ขนม“แต้เหลี้ยว”ของจีน


      จันอับ เพี้ยนจากคำจีนแปลว่า กล่องใส่ของ แต่ไทยหมายถึงขนมหวานอย่างแห้งของจีน
มีหลายอย่าง

         อาจารย์เฉลิม ยงบุญเกิด อธิบายว่ามาจากภาษาจีนแต้จิ๋วว่า จิ๊งอั๊บ แปลว่า กล่องถวายหรือกล่องบูชา
ซึ่งในกล่องใส่ขนมจันอับไหว้เจ้า (จากหนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเฉลิม ยงบุญเกิด
เมรุวัดธาตุทอง วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2518)

        ยุคกรุงศรีอยุธยามีขนมจันอับขายแล้ว มีโรงทำเครื่องจันอับด้วย หนังสือภูมิสถานพระนครศรีอยุธยา
(เอกสารจากหอหลวง) บันทึกว่า มีพวกจีนตั้งโรงทำเครื่องจันอับ และขนมแห้งจีนต่างๆหลายชนิด
หลายอย่างอยู่ตลาดน้อย ใกล้ประตูช่องกุดท่าเรือจ้างข้ามไปวัดพนัญเชิง

          จันอับสมัยรัชกาลที่ 5 หมายถึงขนม 6 อย่าง มีรายชื่อในพระราชบัญญัติอากรจันอับ ร.ศ. 111
ดังนี้คือ

น้ำตาลกรวด

ฟัก, ถั่วก้อน, ถั่วตัด, งาตัด, โซถึง, ปั้นล่ำ, ก้านบัว, ขิงเคี่ยว, น้ำตาลทราย, ขนมเปี๊ยะ,
ข้าวพอง, ตังเม, ถั่วงา, ขนมโก๋ทำด้วยแป้งขาวแป้งถั่ว

วุ้นแท่ง, ตังเมหลอด, น้ำตาลทรายเคี่ยวหล่อหลอมเป็นรูปต่างๆ

ขนมซาลาเปา
ทำด้วยแป้งข้าวสาลี

ไพ่กระดาษจีน

เทียนไขเนื้อ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 16 มิ.ย. 15, 09:26

ในสูจิบัตรงานนิทรรศการสินค้าพื้นเมืองไทยในพระราชพิธีสมโภชพระนครครบร้อยปี พ.ศ. ๒๔๒๕ มีรายชื่อขนมจันอับเพิ่มขึ้นมาอีกมาก สำหรับชาวเรือนไทยได้ค้นคว้ากันต่อไปว่าหน้าตาขนมเหล่านี้เป็นเช่นใด  ยิงฟันยิ้ม

แต่เอกสารบางเล่มเรียกขนมจันอับเป็นภาษาจีนว่า“แต้เหลี้ยว”ทำให้รู้ว่าจันอับเป็นชื่อกล่องใส่ขนม
ส่วนขนมในกล่องจันอับเรียกแต้เหลี้ยว มีขนม 58 อย่าง (สูจิบัตรงานนิทรรศการสินค้าพื้นเมืองไทยใน
พระราชพิธีสมโภชพระนครครบร้อยปี พ.ศ. 2425 สำนักพิมพ์ต้นฉบับ พิมพ์ครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2543)
แล้วมีคำอธิบายดังนี้

            “รวม 58 สิ่งนี้จีนเรียกว่าแต้เหลี้ยว ไทยเรียกว่าเครื่องจันอับเปนขนมสำหรับจีนไหว้ เมื่อเทศการตรุษจีน
ศาจจีน ไม่ว่าตรุษศาจอันใด ต้องมีเครื่องแต้เหลี้ยวนี้กำกับทุกตรุษ ทุกศาจ โดยที่สุดแต่วันชิวอิดจับเหงา
ก็ต้องมีเครื่องแต้เหลี้ยวไหว้เจ้าทุกวันๆ แลเครื่องแต้เหลี้ยวนี้เปนของรับประทานกับน้ำร้อนน้ำชาด้วย

              อนึ่ง ไทยจีนจะทำการวิวาหะมงคล ฤาทำการบุญต่างๆ ก็มักใช้เครื่องแต้เหลี้ยวเปนของขันหมาก
แลใส่ปากกระจาดก็มาก

              เครื่องแต้เหลี้ยวนี้ จีนทำขายที่ตำบลสำเพง ราคาซื้อขายที่โรงผู้ทำต้องชั่งน้ำหนักระคนปนกันทุกสิ่ง
หนักห้าชั่งจีนต่อบาท

              ราคาซื้อขายตามตลาดเครื่องแต้เหลี้ยวห่อหนึ่งหนักเจ็ดตำลึงจีนบ้าง แปดตำลึงจีนบ้าง ราคาห่อละเฟื้อง
ที่เปนชิ้นเปนอันก็ขายกันอันละเฟื้อง อันละ 4 อัฐ อันละ 2 อัฐ อันละ 1 อัฐ ก็มี”

สูจิบัตรนี้มีชื่อขนมจำนวนหนึ่งที่ยังบอกไม่ได้ว่าคืออะไร? เช่น


“โซถึง, อิ้วจ๊อ, เม่งถึง, เซียงเต้าถึง, กิมเก๊กโซ, กิมโซเบีย, ฮองหงัน เปีย, เบเตยโซ, กึงกังเปีย,
เกียมโก, จือถึงโก, เบ๋เต้ยโก, ฬ่อใจ, ทึ่งกวย, กิมกวย, กิมหัม, เกยปะโก, เปียโถ, มี่เต๊ก,
เล่งมึ่งเปีย, เง่าฮุนปั้ง, กาเปีย, เตเปีย, บ้วยกี, ตือถึงโก, เปากวน”

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 16 มิ.ย. 15, 09:48

คุณวันดีเคยคัดรายชื่อขนมจีนในสูจิบัตรไว้ในกระทู้ ขนมฝรั่ง บัญชีขนมในงานนาเชนนอลเอกซฮิบิเชน ณ ท้องสนามหลวง ๒๔๒๕   ครบ ๕๘ อย่าง

หมวดว่าด้วยขนมต่าง ๆ ของจีน  ทำด้วยแป้งแลถั่วต่าง ๆ  เจือน้ำตาลทรายขาวอย่างที่ ๑  แลอย่างที่ ๒

เต้าปัง
อิ้วมั่วปัว
บีปัง
โซถึง
ตังกวยแฉะ

อิ๊วจ๊อ
เม่งถึง
เต้ายุ่น
นึ้งโก
แชะโก

เซียงเต้าทึง
ซกซา
กิมจี้เปีย
กิมเก๊กโซ
กิมโซเปีย

ฮองหงันเปีย
บีปังภู่อิ่ว
เต้าเปีย
บะเปีย
โซเกี้ยว

เบเตยโซ
กุ่ยซือเปีย
กึงกังเปีย
ฮุนเพียงโก
เกียมโก

จือถึงกัว
กังเหล็กเต้าโก
เบ๋เต้ยโก
เงกตัาวโก
มี่เปา

ฮวนกัวะโซ
เล่าฮวย
ซะผ่า
ฬ่อใจ
เก๊กฮวยโก

แปะจือมั่วโก
โอจือมั่วโก
ทึ่งปัง
ทึ่งกวย
กิมหัม

ฮำคักโซ
เต้ายินไซ
บียุ่น
เกยปะโก
เปียโถ

มี่เต๊ก
เล่งมึ่งเปีย
เง่าฮุนปัง
กาเปีย
มั่วโซ

เตเปีย
บ้วยกี
เกียมกิดโซ
เฮงยิ่นโช
กวยจี้โก

ตือถึงโก
เปากวน
ลาเลกเต้าโก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 16 มิ.ย. 15, 10:20

 ฮืม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 16 มิ.ย. 15, 10:34

ในบาญชีขนมต่าง ๆ ที่จัดแสดงในงานนิทรรศการสินค้าพื้นเมืองไทยในพระราชพิธีสมโภชพระนครครบ ๑๐๐ ปี  พุทธศักราช ๒๔๒๕ ยังมีรายชื่อขนมที่คนจึนในสมัยนั้นทำขายอีกหลายอย่าง เช่น สิงโตน้ำตาล, ตังเมหลอด, เปาะเปี๊ยะ, น้ำตาลกรวด, ขนมโก๋, ขนมจั้ง, ขนมอี๋, ขนมเข่ง, ก๊ากวย, กะลาเปา, อิ๋วตุยก๊วย, เช้าก้วย, เล่งฮุ้น, กวยโถ, จือฮุนโก, เต้าฮวย, เน่ยจี้ถึง, จุดบีม้วย, ลิวบีม้วย, ไชหลวนก๊วย, กะโลจี๊

หากอยากทราบรายละเอียด กรุณาคลิกเข้าไปที่ลิงก์ข้างล่างโดยพลัน แล้วเลื่อนลงไปที่หน้า ๖๒-๖๕

http://www.dspace.li.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/2920/1/la-ar-aphilak-6.pdf
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 16 มิ.ย. 15, 11:08

ค่อยๆหาไปเท่าที่จะหาได้  ง่ายที่สุดคือจันอับ เพราะเห็นบ่อยตอนเด็กๆตามร้านจีน ใส่ขวดโหลเอาไว้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 16 มิ.ย. 15, 11:11

ตังกวยแฉะ คือฟักเชื่อม เคยกินเหมือนกันค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 16 มิ.ย. 15, 11:13

นี่ก็ตังกวยแฉะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 16 มิ.ย. 15, 11:15

ขนมโก๋


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 16 มิ.ย. 15, 11:19

เต้าฮวย ยังหากินได้ง่ายอยู่


บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 16 มิ.ย. 15, 11:30

ขนมจั้ง
มีทั้งบะจ่าง เครื่องปรุงหลักคือข้าวเหนียว มีทั้งเค็มและหวาน ส่วนใหญ่ในเมืองไทยมักจะทำเครื่องเค็ม ใส่หมู กุนเชียง เห็ดหอม ไข่เค็ม มีส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น ถั่วลิสง เม็ดบัว แปะก๊วย ถั่วเขียวซีก  บางแห่งใส่เผือกกวน ทำให้เค็มๆหวานๆ

อีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า กีจ่าง ทำจากข้าวเหนียวแช่ในน้ำด่าง ห่อพันด้วยใบไผ่ มีขนาดเล็ก ต้มจนข้าวเหนียวเป็นเนื้อแป้ง จิ้มน้ำตาลรับประทาน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 16 มิ.ย. 15, 11:34

บ๊ะจ่าง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 16 มิ.ย. 15, 11:55

ขนมเข่ง ยังมีให้กินเสมอตอนตรุษจีน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 19 คำสั่ง