เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 32688 ฟันเฟืองปิศาจ ฟรานซ์ สแตงเกล
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 18 พ.ค. 15, 19:22

ลืมเล่าว่าห้องรมแก็สที่โซบิบอร์เค้าสังหารนักโทษกันอย่างไร


ในขณะที่ห้องรมแก็สที่เอาชวิตซ์จะใช้ไซคลอนบีเป็นแก็สสังหาร  แต่สำหรับที่โซบิบอร์ใช้เทคโนโลยีที่เรียบง่ายกว่านั้น คือใช้เครื่องยนต์เบนซินเก่าของรัสเซีย 8 สูบ 200 แรงม้าระบายความร้อนด้วยน้ำสำหรับใช้ในรถถังหรือรถแทร็คเตอร์ วางอยู่บนฐานคอนกรีตต่อท่อระบายไอเสียซึ่งเป็นคาร์บอนไดออกไซดิ์และคาร์บอนมอนนอกไซด์ไปยังห้องแก็ส   นักโทษจะถูกบังคับให้ถอดเสื้อผ้าและถูกกร้อนผมไว้ก่อน จากนั้นถูกบังคับให้เข้าไปรออยู่ในห้องแก็ส  เครื่องยนต์ถูกเร่งเพื่อปล่อยไอเสียเข้าไป หลังผ่านไปประมาณ 10 นาทีนักโทษก็จะเสียชีวิต   


นักโทษประหารที่โซบิบอร์ไม่ได้มีแต่ชาวยิวจากทั่วยุโรป แต่นักมีนักโทษสงครามโซเวียตด้วย ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของค่าย แรงงานส่วนใหญ่เป็นนักโทษที่แข็งแรง 600 คนที่ถูกคัดไว้เป็นทาสแรงงาน ในปี 1943 บรรดานักโทษเหล่านี้เริ่มสงสัยว่าค่ายกำลังจะถูกปิด เพราะปริมาณนักโทษที่ถูกส่งมากำจัดมีน้อยลงและข่าวลือที่แพร่สะพัด ทำให้นักโทษเริ่มแอบสะสมอาวุธและวางแผนยึดค่าย นักโทษที่เป็นอดีตทหารโซเวียตที่มีประสบการณ์ใช้อาวุธเป็นผู้สอนนักโทษยิวเรื่องการใช้อาวุธและกลยุทธต่างๆ ในวันที่ 14 ตุลาคม 1943 บรรดานักโทษแรงงานเหล่านี้จึงก่อการจราจลเพื่อยึดค่าย นาซีที่ทำงานในช่วงเวลานั้นหลายคนถูกสังหาร  นักโทษประมาณ 300 คนหลบหนี้ออกจากค่ายไปได้  พวกนี้ส่วนใหญ่ถูกจับได้และถูกประหารชีวิต  มีนักโทษประมาณ 50 คนเท่านั้นที่รอดชีวิตมาบอกเล่าเรื่องราวของโซบิบอร์


หลังจากจราจล ค่ายโซบิบอร์ถูกปิดตัวลง นักโทษที่เหลือทั้งหมดถูกกำจัด  พวกนาซีกำจัดร่องรอยหลักฐานทุกอย่างถึงการเคยมีอยู่ของค่ายมรณะ อาคาร ห้องรมแก็ส ทุกอย่างถูกทำลายราบไม่หลงเหลือ มีการปลูกต้นไม้บนพื้นที่ทับซากอาคาร  ทำถนนทับซากห้องรมแก็ส  ในการขุดค้นสำรวจเมื่อปี 2013 พบบริเวณที่เคยเป็นห้องรมแก็สที่ถูกทำลายเพื่อปกปิดหลักฐานก่อนหน้า  คาดว่าแต่ละห้องสามารถประหารนักโทษได้คราวละ 500 คน และยังพบหลักฐานอื่นๆ เช่นกระดูกมนุษย์หรือแผ่นป้ายรูปดาวเดวิดของชาวยิว


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 19 พ.ค. 15, 21:59

ในบรรดาผู้ช่วยของฟรานซ์ นอกจากเฮอร์มัน ไมเคิลที่ทำหน้าที่ที่ห้องรมแก็สแล้ว ผู้ช่วยอีกคนคือกุสตาฟ วากเนอร์


วากเนอร์เป็นชายอารยันแท้ๆ สูง 6 ฟุต ผมสีทอง หน้าตาดี วากเนอร์อ้างว่าเคยเข้าร่วมแข่งพุ่งแหลนในกีฬาโอลิมปิคปี 1936 ที่เบอร์ลิน แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันคำอวดอ้างนี้ และไม่มีชื่อของวากเนอร์ในบรรดาผู้เข้าแข่งขันแต่อย่างใด  วากเนอร์เข้าร่วมพรรคนาซีตั้งแต่ปี 1931 เคยเป็นสมาชิกหน่วย SA (เป็นกองกำลังของพรรคนาซีก่อนจะมี SS)


เส้นทางการเติบโตของวากเนอร์แทบจะขนานไปกับฟรานซ์ สแตงเกล แต่วากเนอร์จะอยู่ในลำดับที่ต่ำกว่าเล็กน้อย ที่ Hartheim ซึ่งสแตงเกลดูแลเรื่องความปลอดภัย วากเนอร์ทำหน้าที่ที่โรงเผาศพ เมื่อสแตงเกลมาเป็น ผบ. ค่ายโซบิบอร์ ได้รับยศร้อยโท วากเนอร์เป็นจ่าสิบเอกมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยรับผิดชอบดูแลคนงานยิวทาสแรงงานที่ทำหน้าที่ในค่าย  และต่อมารับหน้าที่หัวหน้าห้องรมแก็สต่อจากเฮอร์มัน ไมเคิล  เมื่อตอนที่ฮิมเลอร์มาเยี่ยมชมโซบิบอร์ ฮิมเลอร์มอบเหรียบกางเขนเหล็กให้วากเนอร์ด้วยตัวเอง


วากเนอร์ไม่ใช่พวกฆาตกรนั่งโต๊ะแบบสแตงเกล  แต่เป็นฆาตกรแบบที่เรามักจะจินตนาการ สำหรับบรรดานักโทษแล้ว วากเนอร์คือหนึ่งในอมนุษย์ที่เลวทรามที่สุดที่โซบิบอร์ เป็นซาดิสต์ที่สนุกกับการฆ่า ทั้งการแขวนขอ ทรมานทุบตี ใช้ขวาน พลั่ว มือเปล่า หรือยิงทิ้งนักโทษ  วากเนอร์จะกินข้าวไม่ลงถ้าวันไหนไม่ได้ฆ่าคน เวลาที่กำลังฆ่าใครซักคน วากเนอร์จะยิ้มไปด้วย นักโทษคนใดที่เดินแตกแถว แม้แต่แถวที่กำลังไปห้องรมแก็ส วากเนอร์จะไม่พลาดโอกาสสำราญที่จะฆ่าทิ้ง บางครั้งด้วยมือเปล่าทุบนักโทษจนตาย


หลังสงคราม วากเนอร์หลบหนีไปกับสแตงเกล เป็นเพื่อนร่วมทางกัน วากเนอร์หนีไปจนถึงบราซิลและใช้ชีวิตที่นั่นจนกระทั่งถูกเปิดโปงในปี 1978 คำร้องขอให้ส่งตัวมาดำเนินคดีของอิสราเอล โปแลนด์ ออสเตรีย และเยอรมันถูกทางการบราซิลปฏิเสธ  ในการให้สัมภาษณ์กับ BBC ในปี 1979  วากเนอร์ไม่รู้สึกสำนึกผิดใดๆ อ้างว่าทุกอย่างแค่เป็นการทำไปตามหน้าที่เท่านั้น ก็แค่งาน


ในเดือนตุลาคมปี 1980 มีผู้พบศพวากเนอร์เสียชีวิตในสภาพถูกแทง รายงานอย่างเป็นทางการบอกว่าเป็นการฆ๋าตัวตาย  แต่ที่จริงอาจเป็นการจัดฉากจากใครซักคนก็ได้






บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 21 พ.ค. 15, 03:11

การมาเยือนของฮิมเลอร์และความสำเร็จของโซบิบอร์เ็ป็นเครื่องรับประกันความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของฟรานซ์   ค่านสามารถดำเนินงานได้เต็มที่ในระยะเวลาแค่ 3 เดือนที่ฟรานซ์มาเป็น ผบ. ในจำนวนนักโทษ 250000 - 300000 คนที่ถูกสังหารที่โซบิบอร์ ประมาณ 1 ใน 3 ถูกสังหารในช่วงที่ฟรานซ์ สแตงเกลเป็นผู้บัญชาการค่าย


นักโทษยิวที่รอดชีวิตจากโซบิบอร์หลายคนจำฟรานซ์ สแตงเกลได้และมาให้การเป็นพยานในการพิจารณาคดีสแตงเกลในภายหลังระลึกว่าฟรานซ์ไม่ได้มีลักษณะของคนที่รุนแรงหรือโหดร้ายมากเท่าบรรดาผู้ช่วย พวกนักโทษจำได้ว่าฟรานซ์มักจะสวมเสื้อเชิตสีขาว มือถือแส้ม้า ท่าทางกระวนกระวายอยู่ที่ชานชาลาคอยอำนวยการนักโทษที่เพิ่งมาถึงที่กำลังถูกเปลื้อเสื้อผ้า เครื่องประดับ ทรัพย์สินก่อนส่งไปตาย ทำท่าเหมือนไม่ค่อยอยากพบปะพวกยิวมากเท่าไหร่


แสตนนิสลอว ซมาจเนอร์ หนึ่งในนักโทษที่รอดชีวิตจากโซบิบอร์ถูกส่งไปที่ค่าเมื่อเดือนพฤษภาคม 1942  ตอนนั้นซมาจเนอร์เพิ่งอายุ 14 แต่มีทักษะเป็นช่างทำทองซึ่งเป็นที่ต้องการของค่าย ซมาจเนอร์ถูกแยกจากครอบครัวเพื่อมาเป็นนักโทษแรงงานให้การว่า สแตงเกลมีลักษณะท่าทางเหมือนอาจารย์มหาวิทยาลัยมากกว่าทหาร มักจะใส่เสื้อสีขาวแต่ร้องเท้าบู๊ตมันเงาเสมอ  มีสายตาที่ดูเมตตา ยิ้มง่าย แม้จะดูไม่ค่อยฉลาด แต่ก็สุภาพและมีมารยาทกับนักโทษเสมอ


ซมาจเนอร์มีหน้าที่คอยหลอมทองที่ได้มาจากนักโทษเช่นจากฟันปลอม และคอยทำแหวนให้พวก SS สำหรับซมาจเนอร์แล้ว สแตงเกลดูค่อนข้างจะเอ็นดูเค้าเป็นพิเศษ สแตงเกลเคยแม้แต่เอาไส้กรอกมาให้ในคืนวันศุกร์วันหนึ่ง แล้วก็บอกว่า เป็นไส้กรอกสำหรับไว้ฉลองในวันซับบาท   แม้จะเป็นไส้กรอกหมูและผิดหลักศาสนาของยิว แต่ในยามสงครามและในค่ายเช่นนั้น ไส้กรอกหมูแบบนั้นถือว่าเป็นของที่หรูหรามากแล้ว


ซมาจเนอร์เคยขอร้องสแตงเกลว่าขอพบพ่อแม่และน้องสาวที่ถูกแยกกันตอนมาถึงค่ายหน่อย สแตงเกลหลบตา แต่บอกซมาจเนอร์ว่าไม่ต้องเป็นห่วง พวกนั้นสบายดี พวกนั้นได้รับเสื้อผ้าใหม่และกำลังทำงานอยู่ที่อื่น มีความสุขและได้รับการดูแลอย่างดีแม้จะต้องทำงานหนักกว่าซมาจเนอร์  สแตงเกลยังสัญญาเป็นมั่นเป็นเหมาะอีกว่า อีกไม่ช้าซมาจเนอร์จะได้พบครอบครัวแน่ๆ

แน่นอนว่าซมาจเนอร์ไม่เคยได้พบครอบครัวอีก  ซมาจเนอร์รอดชีวิตมาได้เพราะยังคงทำงานเป็นช่างทองที่โซบิบอร์จนถึงวันที่ค่ายเกิดจราจลและหลบหนีออกมาได้ เป็นหนึ่งในผู้รอดชีวิตไม่กี่คนจากโซบิบอร์


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 21 พ.ค. 15, 09:02

ยังคงติดตามอยู่เสมอ  ยิงฟันยิ้ม

หนุ่มน้อย Stanislaw Szmajzner ติดอาวุธหลังจากหลบหนีออกจากค่ายนรก Sobibor


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 21 พ.ค. 15, 09:06

หวังว่าไส้กรอกหมูที่เอามาให้เชลยกิน มันเป็นหมูจริงๆนะ
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 21 พ.ค. 15, 13:54

ว้ายยยยยย พ่อหนุ่มซมาจเนอร์นี่หน้าตาน่าเอ็นดูจริงๆ ด้วย มิน่า มิน่า ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม


ซมาจเนอร์มาให้การเป็นหนึ่งในพยาน ในการพิจารณาคดีของสแตงเกลในปี 1970 เรื่องที่ซมาจเนอร์ให้การมีเรื่องของไส้กรอกด้วย ซึ่งสแตงเกลแก้ตัวว่า ไส้กรอกมีเนื้อวัวปนด้วย ไม่ใช่ไส้กรอกหมูล้วนๆ  และในภาวะสงครามเช่นนั้น ไส้กรอกเป็นของหายากจริงๆ  ซึ่งผมก็เห็นด้วย ดังนั้นไม่ว่ามันจะหมูหรือไม่ ผมเห็นว่าสแตงเกลให้ไส้กรอกกับซมาจเนอร์ด้วยความเมตตาจริงๆ เพราะจะไม่ให้ก็ไม่มีใครว่า  และคงไม่ได้ให้ไส้กรอกหมูไปเพื่อจงใจแกล้งหรือขัดข้อห้ามทางศาสนา  ส่วนคำมั่นสัญญาที่ว่าจะได้พบครอบครัวก็ไม่ได้โกหก สแตงเกลรู้ดีว่าสุดท้ายซมาจเนอร์ก็ต้องถูกกำจัดอยู่ดีเมื่อหมดประโยชน์ และด้วยฐานะของสแตงเกลเองคงช่วยอะไรมากไปกว่านั้นไม่ได้ คำโกหกของซมาจเนอร์อาจเป็นการปลอบประโลมให้ความหวังก็ได้


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 21 พ.ค. 15, 14:24

ในขณะที่โซบิบอร์กิจการดำเนินไปได้เป็นอย่างดี  ค่ายมรณะอีกแห่งที่่ตั้งขึ้นหลังโซบิบอร์ไม่นานกำลังประสบปัญหา


หมู่บ้านเทรบลิงกาเป็นหมู่บ้านเล็กๆ อยู่ทางอีสานของโปแลนด์ ห่างจากกรุงวอร์ซอร์เมืองหลวงไปประมาณ 80 กม. ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำบักซึ่งไหลผ่านสามประเทศคือเบลาลุส โปร์แลนด์ และยูเครนในปัจจุบันไปออกที่ทะเลบอลติก เป็นอีกสถานที่ที่ถูกเลือกให้เป็นที่ตั้งค่ายมรณะ  โดยค่ายเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปลายปี 1941 เป็นค่ายแรงงาน  และมีการขยับขยายเป็นค่ายมรณะในเดือนกรกฏาคมปี 1942 โดยมีอัมเฟร็ด อีเบิร์ลเป็นผู้บังคับการค่ายคนแรก


อีเบิร์ลเป็นอดีตแพทย์ จบแพทย์ศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอินซ์บรูคในปี 1933 และเรียนต่อเป็นจิตแพทย์เต็มตัวในปี 1935 อีเบิร์ลยินดีและเต็มใจเข้าร่วมโครงการ T-4 ในปี 1940 เป็นผู้อำนวยการฝ่ายแพทย์ในศูนย์สังหารที่เบรนเดนเบิร์ก และต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็น ผบ. ค่ายเทรบลิงกาในปี 1942


อิเบิร์ลเป็น ผบ ที่ไม่ได้เรื่อง ทะเยอทะยานแต่ไร้ความสามารถ เก่งแต่ใช้อำนาจแต่การจัดการบริหารห่วย จนค่ายเทรบลิงกาภายใต้การบริหารของอีเบิร์ลไม่ต่างจากนรก ศพนักโทษจำนวนมากถูกฝังหรือเผาไม่ทัน กองกันระเกะระกะ นักโทษจำนวนมากที่ถูกส่งมาทางรถไฟต้องรอความตายอย่างทรมานในตู้รถไฟแน่นเอี้ยดและอากาศที่ร้อนอบอ้าวไม่มีน้ำไม่มีอาหารอยู่เป็นวันๆ ก่อนจะถูกส่งไปรมแก็ส จนคริสเตียน เวิร์ธ และโอดิโล โกลบอคนิค นาซีตัวเอ้อมนุษย์อีกตนที่มีบทบาทสำคัญในการกำจัดนักโทษเข้ามาตรวจค่าย และเตะอีเบิร์ลกระเด็นไปที่อื่น  ถึงเวลาที่มืออาชีพต้องเข้ามาจัดการ และฟรานซ์ สแตงเกลคือตัวเลือกที่มีผลงานดีการันตีอยู่แล้ว


อิเบิร์ลรอดชีวิตจากสงครามมาได้ ถูกจับในปี 1948 และผูกคอตายหนีความผิดก่อนการพิจารณาคดีจะเริ่มต้นขึ้น


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 21 พ.ค. 15, 17:15

สแตงเกลได้รับคำสั่งให้ไปเป็น ผบ. ค่ายเทรบลิงก้าในปลายเดือนสิงหาคม 1942 ในการสัมภาษณ์ก่อนเสียชีวิตไม่นาน สแตงเกลเล่าว่า ในวันที่เดินทางไปถึงเป็นครั้งแรก ยังไม่ได้ไปรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ สิ่งที่เห็นน่าสยดสยองที่สุดในชีวิต เปรียบเหมือนเรื่อง Inferno ของดังเต้ (inferno ของดังเต้เป็นยังไง ฝากท่านอาจารย์ทั้งหลายด้วยครับ ยิ้ม ) เพราะที่โซบิบอร์ มีเฉพาะคนที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสังหารและขนศพเท่านั้นที่จะเห็นภาพฉากการตาย เพราะห้องประหารถูกซ่อนไว้อย่างดีในป่า คนนอกหรือผู้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องจะไม่ได้เห็นอะไรเลย เจ้าหน้าที่และคนงานจำนวนมากไม่เคยเห็นคนตายหรือซากศพด้วยซ้ำ


ในวันแรกที่เดินทางไปที่เทรบลังกา สแตงเกลได้กลิ่นเหม็นเน่าโชยมาในรถตั้งแต่ระยะทางยังเหลืออีกหลายกิโลกว่าจะถึงค่าย สแตงเกลเห็นซากศพทั่วไปตามทางรถไฟตั้งแต่ระยะห่างของการขับรถจากค่าย 15-20 นาที  จากไกลหน่อยก็น้อยหน่อย ทีละศพสองศพ  แต่เมื่อรถเข้าใกล้มากขึ้น จำนวนศพที่พบก็มากขึ้นตามไปด้วย จนถึงจุดที่ชาวยิวลวจากรถไฟ มีศพเป็นร้อยกองกันอยู่ กำลังเน่าอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนอบอ้าว มีตู้รถไฟที่ยังมีทั้งคนยิวที่ยังมีชีวิต กับที่ตายแล้วขังแน่นอยู่ภายใน รอการกำจัด


เมื่อเข้าไปในค่าย มีกองเสื้อผ้า ทรัพย์สินของชาวยิวกองอยู่ระเกะระกะไปทั่ว มีศพที่รอการจัดการระเกะระกะอยู่ทั่วไปหมด  สแตงเกลเห็นยามชาวยูเครนในสภาพเมาปลิ้นอยู่กับโสเภณีในเต็นท์  บ้างเต้น บ้างร้องเพลง มีเสียงปืนดังไปทั่ว หลังจากเยี่ยมชมค่ายอยู่หลายชั่วโฒง สแตงเกลเดินทางไปวอร์ซอว์ทันทีเพื่อรายงานกับหัวหน้าตำรวจในโปแลนด์ อมนุษย์นายพลโอดิโล โกลบอคนิค


โกลบอลนิคผู้นี้ มีบทบาทชั่วร้ายมากมาย เป็นคนประเภทหาข้อดีให้จดจำไม่ได้เลย มีแต่ความชั่วล้วนๆ หลังสงครามถูกจับตัวได้และกินยาพิษฆ่าตัวตาย พระในโบสถ์ใกล้เคียงปฏิเสธที่จะให้ศพของโกลบอลนิคถูกฝังในพื้นที่โบสถ์ ต้องเอาไปฝังนอกรั้วในหลุมศพที่ไม่มีป้ายชื่อ  แต่ก็ยังมีตำนานเล่าขานว่าหมอนี่หลบหนีไปได้เช่นกัน ชะตากรรมที่แท้จริงของอมนุษย์ตนนี้จึงยังคงเป็นปริศนา


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
Diwali
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 22 พ.ค. 15, 00:09

แวะเอาภาพ Inferno ของ Dante วาดโดย Botticelli มาเสริมให้ครับ
ก็เป็นภาพนรกที่เต็มไปด้วยคนตายและการลงทัณฑ์ทรมาณในนรกครับ


เครดิตภาพ จาก wikipedia ครับ
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/3/3e/Sandro_Botticelli_-_La_Carte_de_l%27Enfer.jpg


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 22 พ.ค. 15, 03:15

โกลบอคนิคผู้นี้นอกจากเป็นหัวหน้าตำรวจในโปแลนด์แล้วยังเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดของโครงการกำจัดยิวในโปแลนด์ สร้างความร่ำรวยจากการอมทรัพย์สินของชาวยิวที่ยึดมา ไม่ว่าจะเป็นเงินสด อัญมณี ฯลฯ เมื่อสแตงเกลแจ้งแก่โกลบอคนิคถึงสถานการณ์ในเทบลิงกา สิ่งที่โกลบอคนิคแสดงความสนใจที่สุดคือทรัพย์สินที่ยึดมาได้ แต่อย่างไรก็ตามโกลบอคนิคเรียกตัวเวิร์ธมาช่วยสแตงเกลจัดการค่าย เวิร์ธจึงเดินทางไปเทรบลิงกาพร้อมสแตงเกล


ในขณะที่เวิร์ธเข้าพูดคุยหารือกับอีเบิร์ล สแตงเกลเลี่ยงไปคุยกับเจ้าหน้าที่ซึ่งบอกกับสแตงเกลว่าเทรบลิงกาคือสวรรค์ การยิงนักโทษทิ้งเป็นเหมือนกีฬา มีเงินและทรัพย์สินมากเกินกว่าที่ใครจะฝันถึง สิ่งเดียวที่ต้องทำคือช่วยตัวเอง อยากขนอยากได้เท่าไหร่ก็เอา ปาร์ตี้มีทุกคืน บางคืนอีเบิร์ลใช้ให้นักโทษหยิงชาวยิวเต้นเปลือยให้ดู สแตงเกลรับฟังด้วยความสะอิดสะเอียน


SS นายหนึ่งซึ่งทำหน้าที่รวบรวมทรัพย์สินมีค่าที่ค่าย ได้ยินการสนทนาวางแผนแก้ปัญหาระหว่างสแตงเกลกับเวิร์ธ ข้อเสนอแรกของสแตงเกลคือ ให้วางถังลงไปในรางยาวที่ใช้ให้นักโทษขับถ่าย จะได้ขนไปทิ้งให้สะดวก แต่เวิร์ธไม่สนใจข้อเสนอนี้ และบอกว่า ถ้ายิวจะขับถ่ายก็ปล่อยให้ถ่ายรดตัวไป ค่อยทำความสะอาดห้องหลังเป็นศพแล้วก็พอ


เช้าวันรุ่งขึ้น อิเบิร์ลพร้อมลูกน้องอีก 4 คนถูกส่งตัวไปแนวหน้ารัสเซีย เวิร์ธโทรสั่งให้หยุดส่งนักโทษมาที่เทรบลิงกาก่อนจนกว่าการจัดการค่ายจะเรียบร้อย  ต้องใช้เวลา 2 สัปดาห์ในการจัดการค่ายให้เข้ารูปเข้ารอย มีการขยายจำนวนห้องรมแก็สเพิ่มโดยสร้างให้ดูเหมือนกระท่อมที่ใช้เป็นห้องอาบน้ำ


วันหนึ่งในช่วงกวาดล้างค่าย สแตงเกลยืนอยู่ขอบหลุมฝังศพขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยศพนักโทษ เริ่มรู้สึกชาชินกับภาพศพจำนวนมาก สแตงเกลเล่าว่าเค้าเริ่มมองไม่เห็นว่าคนเหล่านี้คือมนุษย์ แต่เป็นเหมือนสินค้าหรือสิ่งของที่ถูกส่งมากำจัดเท่านั้น ในการสัมภาษณ์ในภายหลัง ผู้สัมภาษณ์ถามสแตงเกลว่า ในจำวนเหยื่อมีเด็กด้วยเป็นจำนวนมาก เด็กพวกนั้นไม่ทำให้สแตงเกลคิดถึงลูกตัวเองบ้างหรือ ถ้าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นเดิดกับลูกของตัว  สแตงเกลตอบว่า เค้าไม่เคยคิดทำนองนั้นเลย เพราะตัวแสตงเกลเองแทบจะไม่เคยสังเกตเห็นเด็กด้วยซ้ำ เห็นแต่กลุ่มคนจำนวนมากที่รอการกำจัด แต่สแตงเกลก็ยอมรับว่า เมื่อได้เห็นคนจำนวนมากเปลือยกายในห้องเปลื้องผ้ารอการประหาร คนเหล่านี้กลับมาดูเหมือนมนุษย์สำหรับสแตงเกลอีกครั้ง


ถาพสแตงเกลกับลูกสาวทั้งสอง



บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 22 พ.ค. 15, 09:07

สแตงเกลได้รับคำสั่งให้ไปเป็น ผบ. ค่ายเทรบลิงก้าในปลายเดือนสิงหาคม 1942 ในการสัมภาษณ์ก่อนเสียชีวิตไม่นาน สแตงเกลเล่าว่า ในวันที่เดินทางไปถึงเป็นครั้งแรก ยังไม่ได้ไปรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ สิ่งที่เห็นน่าสยดสยองที่สุดในชีวิต เปรียบเหมือนเรื่อง Inferno ของดังเต้ (inferno ของดังเต้เป็นยังไง ฝากท่านอาจารย์ทั้งหลายด้วยครับ ยิ้ม )

นรกขุมหนึ่งใน ๙ ขุมของดังเต้

ภาพจาก คุณวิกกี้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 22 พ.ค. 15, 16:56

เมื่อเป็น ผบ. ค่ายเต็มตัว สแตงเกลเปลี่ยนคำที่ใช้ในการกำจัดนักโทษเพื่อให้ดูลดความรุนแรงกว่าความเป็นจริง เช่นใช้คำว่าผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่(resettlement) สำหรับนักโทษที่ต้องกำจัดภายใน 3 ชั่วโมง ใช้คำว่าถนนสู่สวรรค์สำหรับทางเดินไปห้องแก็ส มีการใช้คำขวัญหรูๆ ติดอยู่ตามประตูต่างๆ เช่นทำงานให้อิสรภาพ(Work gives freedom)


ช่วงคริสมาส 1942 สแตงเกลเริ่มปรับปรุงสถานีรถไฟเทรบลิงกาซึ่งเป็นปลายทางสู่นรกของคนจำนวนมากให้น่าดูขึ้นและดูเป็นสถานนีสำหรับค่ายชั่วคราวที่นักโทษมาเพื่อรอเดินทางต่อ ไม่ใช่ค่ายมรณะ จากสถานีเล็กๆ ที่มีรางแยกเข้ามาสิ้นสุดที่ปลายทาง มีอาคารทื่อๆ ที่ไม่มีแม้แต่หน้าต่างที่ใช้เก็บทรัพย์สินและผมคนยิวที่รอขนย้ายออกไป สแตงเกลสั่วให้เพิ่มประตูและหน้าต่างปลอมๆ บนตัวอาคาร มีม่านสวยๆประดับหน้าต่างด้วย บนประตูปลอมมีป้ายติดเช่นบอกว่าเป็นประตูไปห้องนายสถานี  ป้ายห้องน้ำ ป้ายห้องนั่งรอขบวนรถไฟทั้งของชั้นหนึ่งและชั้นสอง ป้ายห้องพยาบาลพร้อมเครื่องหมายกาชาด มีการทำห้องขายตั๋วปลอมทั้งที่ที่นี่ไม่มีผู้โดยสารขาออก และใครที่มาไม่ต้องใช้ตั๋ว มีกระดานบอกตารางเวลารถไฟเข้าออกไปยังเมืองอื่นๆ เช่นวอร์ซอ


จากสถานีมีป้ายบอกทางที่ชี้ไปยังประตูจริงๆ ที่อยู่ไกลออกไป แต่เป็นประตูแห่งความตาย  ป้ายทางซ้ายชี้ไปยังห้องที่นักโทษจะถูกบังคับให้ถอดเสื้อผ้า ผู้หญิงถูกกร้อนผม  และส่งต่อไปยังถนนสู่สวรรค์เพื่อไปยังห้องแก็ส ป้ายทางขวาชี้ไปยังโรงพยาบาลปลอมที่มีเครื่องหมายกาชาดด้านหน้า ซึ่งที่นี่คนแก่ คนป่วย และเด็กซึ่งดูแล้วอ่อนแอเกินกว่าที่จะเดินไปห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าทางซ้ายได้จะพบกับคนที่ชุดเหมือนพยาบาล พาคนอ่อนแอเหล่านั้นไปขอบหลุมเตาที่มีไฟ จากนั้นเพชรฆาตจะยิงคนเหล่านั้นลงหลุมไปเพื่อเผา  บางครั้งเพื่อเป็นการประหยัดกระสุนปืน เด็กบางคนจะถูกโยนลงหลุมไปเพื่อเผาทั้งเป็น เพชรฆาตบางคนที่มีใจเมตตากว่าเล็กน้อยอาจจับหัวเล็กๆ ของเด็กฟาดกับกำแพงก่อน


สิ่งเดียวที่เป็นของจริงที่สถานีรถไฟเทรบลิงกาคือดอกไม้สดที่ใช้ประดับสถานี


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 22 พ.ค. 15, 17:12

ค่ายมรณะเทรบลิงกาจะประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ  ส่วนแรกที่มีหมายเลข 1 คือส่วนที่เป็นที่พักอาศัยของเจ้าหน้าที่และนักโทษที่ถูกใช้แรงงาน  ส่วนหมายเลข 2 โดยเฉพาะตรงที่ลูกศรชี้เป็นทางเข้าสู่ค่ายจากชานชลาสถานีรถไฟ เส้นประคือถนนสู่สวรรค์ เส้นทางไปห้องแก็สที่มีเครื่องหมยกากบาท  สี่เหลี่ยมข้างๆ เส้นประนั่นคืออาคารที่นักโทษจะถูกบังคับให้เปลื้องเสื้อผ้า ส่วนที่เห็นเหลืองๆ คือหลุมเผาศพ  โรงพยาบาลปลอมน่าจะอยู่ที่หลุมเล็กที่ใกล้ทางรถไฟที่สุด



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 22 พ.ค. 15, 18:02

แม้จะเต็มไปด้วยความตาย แต่สำหรับเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะ SS ที่เทรบลิงกาชีวิตมีความสำราญไม่น้อย ที่นี่มีแม้แต่สวนสัตว์สำหรับให้พวก SS มาใช้พักผ่อนหย่อนใจหลังจากเคร่งเครียดเหน็ดเหนื่อยจากงานสังหารชีวิตเพื่อนมนุษย์ด้วย เพียงแต่สัตว์ที่มีมีแค่หมาจิ้งจอกไม่กี่ตัวที่ได้มาจากป่าแถวนั้น


ที่มาภาพ
http://www.deathcamps.org/treblinka/zoo.html





บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 22 พ.ค. 15, 19:10

กำลังพลในค่ายมรณะนอกจากสแตงเกลในฐานะ ผบ.ค่ายแล้ว ยังประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ SS ระดับรองซึ่งเป็นชาวเยอรมันหรือออสเตรียอีกราว 20-25 คน มีการ์ดซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวยูเครน และบางส่วนเป็นอดีตเชลยศึกกองทัพแดงที่มาเข้ากับฝ่ายเยอรมันอีก 80-120 คน  ส่วนแรงงานในค่ายจะเป็นนักโทษชาวยิว ประมาณ 300 คนทำหน้าที่ในห้องแก็สและที่หลุมเผาศพ  อีกประมาณ 700 คนทำหน้าที่อื่นๆ ในค่าย รวมทั้งการตัดไม้ทำฟืนเพื่อมาใช้เผาศพนักโทษด้วย   นักโทษยิวเหล่านี้มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงเพราะทนสภาพกดดันไม่ได้ ประมาณวันละ 15-20 คน  บางส่วนถูกพวกการ์ดยิงทิ้งเพราะทำงานไม่ถูกใจ  ซึ่งก็ไม่มีปัญหา เพราะสามารถคัดนักโทษใหม่ๆ  ที่แข็งแรงที่เพิ่งถูกส่งมาทดแทนได้ไม่ยาก


ภาพเหล่าเจ้าหน้าที่ค่าย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 20 คำสั่ง