นกข.
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 14 มิ.ย. 01, 22:46
|
|
แต่ที่แปลกคือ ผมหาประวัติเฮนลีย์ไม่เจอว่าเขาฆ่าตัวตาย สงสัยจะจำผิด ในเว็บมีบอกไว้แต่ว่า เฮนลีย์ป่วยเข้าโรงพยาบาลหลายหนด้วยหลายโรค จนถึงต้องตัดขาข้างหนึ่ง แล้วตอนหลังดูเหมือนปอดอักเสบตาย
แต่ผมก็จำได้จริงๆ ว่าบทความทางจิตวืทยาภาษาไทยเรื่องโรคซึมเศร้าที่ผมเคยอ่าน พูดถึงบทกวีสองประโยคสุดท้ายนี้จริงๆ แล้วก็บอกว่าคนเขียนทำเป็นเก่งไปยังงั้นเอง เพื่อเก็บกดความเศร้าของตัว ในที่สุดก็ฆ่าตัวตายจนได้
อาจเป็นได้ว่าคุณหมอไม่ได้พูดถึงเฮนลีย์ แต่พูดถึงคนอื่นที่อ้างบทกวีเฮนลีย์ (เหมือนที่แม็คเวอ้าง)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
พวงร้อย
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 15 มิ.ย. 01, 01:23
|
|
ดิฉันคัดมาให้ดูเฉยๆตามที่หาได้เท่านั้นเองค่ะ ไม่ได้เห็นตามความเห็นของเค้า ขออภัยด้วยค่ะ ช่วงนี้ยุ่งมากๆเลยค่ะ ตามความเห็นของดิฉันตาแม็คเวนี่ก็ประเภทเดียวกับ ฮิตเล่อร์ สตาลิน หรือ อีตาอะไรที่สั่งทหารฆ่าล้างเผ่าในบอสเนียน่ะค่ะ เป็นจิตของฆาตกร ที่ล้างสมองตัวเองด้วยข้ออ้างข้อคิดต่างๆ เพื่อฆ่าคนได้เหมือนผักเหมือนผลาน่ะค่ะ ไม่ควรเลี้ยงไว้เสียภาษีอากร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 15 มิ.ย. 01, 11:00
|
|
โคลงบทนี้แต่งขึ้นโดยชายที่ทุกข์ทรมานสาหัสจากวัณโรค เมื่อถึงที่สุด เขาก็ค้นพบว่ากำลังใจและความเข้มแข็งเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เขาไม่ยอมแพ้ชะตากรรม
อ่านข้างบนนี้ บอกว่าเขารักษาตัวได้ แต่จะไปตายทีหลังด้วยอะไรยังไม่เจอค่ะ ที่เย้ยฟ้าท้าดินก็คือความเข้มแข็งอดทนต่อโรคร้าย และถือว่าเขาจะกุมชะตาตัวเอง ไม่ปล่อยตามพระเจ้า พระเจ้าจะมีจริงหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็น แต่เขาไม่ยอมแพ้ชีวิตก็แล้วกัน
ปรโยคที่คุณ นกข.ยกมา แม่ชีคงจะตีความไปในแนวผู้ศรัทธาต่อพระเจ้าอย่างแน่นแฟ้นในแนวโรมันคาธอลิค แต่ดิฉันตีความตรงข้าม I am the Master of my fate I am the Captain of my soul. คือว่าแกไม่ได้แอบแฝงการยอมรับพระเจ้า ตรงกันข้าม (ถ้าแกรู้ภาษาฮีบรู )แกประกาศย้ำว่า ข้านี่แหละคือพระเจ้า(ของตัวข้าเอง)
ข้อนี้คงจะโดนใจนายแม็คเว เป็นอหังการของเขาที่จะเป็น" พระเจ้า" ของตัวเอง ไม่ให้ใครมาอยู่เหนือเขาได้ เมื่อเผชิญอะไรขนาดไหนก็ไม่มีคำว่าท้อแท้ ถือว่าเขาลิขิตชีวิตตัวเอง ตายก็ไม่ว่า แต่การลิขิตตัวเองแกทำให้คนอื่นตายไปเยอะนี่...เป็นอหังการที่ควรสาปส่ง ไม่น่าเอาโคลงของเฮนลีย์ที่มีเบื้องหลังความเป็นมา และความหมายต่างกันลิบลับมาอ้างเลยเชียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
สวิริญช์
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 18 มิ.ย. 01, 13:31
|
|
ไม่ว่าอะไรจะเป็นมูลเหตุแห่งการตัดสินใจของนายแม็คเวก็ตาม สิ่งสำคัญที่ไม่อาจให้อภัยได้ก็คือคนบริสุทธิ์นับร้อยที่ต้องเสียชีวิต ไปโดยไม่รู้อีโหน่อิเหน่ เห็นภาพคนที่ต้องสูญเสียบุคคลที่เป็นที่รัก ภาพเด็กๆที่หน้าตาอาบไปด้วยเลือด ถามว่าพวกเขามีความผิดอะไร ถึงถูกลงโทษขนาดนี้ และก็ถามกลับไปเช่นกันถึงการเข้าโจมตีหมู่บ้าน ลัทธิอะไรนะคะนั่นที่แม็คเวเห็นเหตุการณ์ หน่วยงานของรัฐมีอำนาจอะไรถึงได้ ใช้วิธีจัดการที่เหี้ยมโหดถึงขนาดนั้น แถมยังไม่รับผิดชอบอะไรอีกต่างหาก ถามว่าคนเรามีสิทธิ์อะไรที่จะตัดสินให้ใครมีชีวิตรอดและใครสมควรตาย ประเด็นนี้ไม่เกี่ยวกับกลุ่มองค์กรที่ต่อต้านการตัดสินประหารชีวิตนะคะ ความจริงอยากคุยถึงเรื่องนี้เหมือนกันค่ะ แต่ต้องขอเรียบเรียงความคิดดีๆก่อน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|