เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 86649 ภาพพระตำหนัก ตำหนัก ในเขตพระราชฐานชั้นใน
พนักงานชาวที่
อสุรผัด
*
ตอบ: 14


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 16 พ.ค. 15, 11:28

ขออนุญาตแทรกเพื่อตอบคำถามคุณNTครับ ในสมัยปัจจุบันผู้ควบคุมดูแลฝ่ายพระราชฐานชั้นในคือคุณเพ็ญศรี เขียวมีส่วน ควบคุมดูแลกำกับการปฏิบัติงาน การดูแลความเรียบร้อยภายในเขตพระราชฐานชั้นในทั้งหมด ส่วนฝ่ายในในปัจจุบันมีทั้งที่สืบทอดต่อเนื่องกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ รุ่นย่า ก็มีเป็นส่วนมาก ส่วนที่ได้เข้ามาโดยไม่เคยมีญาตพี่น้องเคยอยู่ในวังมาก่อนเลยก็มีแต่ก็เป็นส่วนน้อย อีกเรื่องที่ถามคือคนภายนอกจะมีโอกาสเข้าฝ่ายในมั้ยอันนี้ผมว่ายากที่จะเข้าไปเดินทั่ว ที่เปิดก็แค่บางตำหนักที่เป็นที่เรียนของวิทยาลัยในวังหญิงเท่านั้น  เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังเองถ้าไม่ได้มีงานที่จะต้องเข้าไปก็เข้าไม่ได้ ผมเคยมีโอกาสเข้าไปแค่สามครั้งก็ยังอยู่ได้แค่ที่ๆไปทำงานจริงๆ เดินไปเดินมาไม่ได้ ครั้งแรกที่ผมได้เข้าไปนานแล้วจำไม่ได้แล้วว่าปีไหนยังเคยไปกราบคุณท้าวโสภานิเวศน์ที่พระตำหนักสมเด็จพระพันวัสสาครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 17 พ.ค. 15, 07:58

ตำหนักพระองค์เจ้าสุนทรีนาฏ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 17 พ.ค. 15, 08:01

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุนทรีนาฏ
ความจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี 

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุนทรีนาฏ เป็นพระราชธิดาลำดับที่ 25 ในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ที่ประสูติแต่จอมมารดาสุ่นเล็ก ประสูติเมื่อวันอังคาร ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2423
ทรงมีพระชนมายุยืนมาก ถึง 90 พระชนษา สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2513

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร เสด็จแทนพระองค์ไปในการพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2514 ณ พระเมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 17 พ.ค. 15, 08:03

ตำหนักพระองค์เจ้าเทวีวิไลยวรรณ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 17 พ.ค. 15, 08:05

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวีวิไลยวรรณ
ความจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี และคุณกัมม์

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวีวิไลยวรรณ เป็นพระราชธิดาลำดับที่ 20 ในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2418 ในจอมมารดาสุ่นใหญ่ ในสกุลภมรมนตรี

กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา ปรากฏพระนามคล้องจองเรียงตามลำดับการประสูติคือ “ ปฐมพิสมัย  วิไลวรวิลาศ  กาญจโนภาสรัศมี  ภัทราวดีศรีราชธิดา  กัลยาณประวัติ   ธิดาจำรัสแสงศรี   ฉายรัศมีหิรัญพรรณ  กลิ่นแก่นจันทนารัตน์   สุทัศนนิภาธร   วรวุฒิอาภรณ์ราชกุมาร   โอภาสไพศาลรัศมี   อัปสรศรีราชกานดา   รุจาวรฉวี   เทวีวิไลยวรรณ   วิบูลยพรรณรังษี   รัชนีแจ่มจรัส   ไชยรัตนวโรภาส   วิมลมาศมาลี   สุนทรีนาฎ   ประสาทสมร   บวรวิสุทธิ์   กมุทมาลี   ศรีสุดสวาดิ” 
พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุนทรีนาฏ นับเป็นองค์ที่ 14 จากข้างต้น นั่นเพราะมีเจ้าพี่ 6 พระองค์ที่สิ้นพระชนม์ไปแต่ยังทรงพระเยาว์

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงเทวีวิไลยวรรณ  สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2485 พระชันษา ๖๗ ปี
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 17 พ.ค. 15, 08:11

ภาพพระตำหนักและตำหนักของเจ้านายฝ่ายใน ของพระบรมมหาราชวัง ผมมีเพี่ยงเท่านี้
แต่แรกคิดจะลงแต่ภาพพระตำหนักและตำหนัก ทว่าพอไปค้นหาพระประวัติท่านผู้เป็นเจ้าของเข้า เห็นว่าน่าจะนำลงมาประกอบไว้ก็ดี คราวนี้เลยยาวอย่างที่เห็น

แต่หวังว่าผู้สนใจเข้ามาในกระทู้คงพอจะเห็นประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นนะครับ
บันทึกการเข้า
unming
อสุรผัด
*
ตอบ: 19


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 18 พ.ค. 15, 09:51

ขอบคุณมากค่ะ ติดตามอ่านตลอดนะค่ะ อย่าพึ่งจบได้ไหมค่ะ อยากให้ลงต่อเรื่อย ๆ นะคะ
บันทึกการเข้า
พนักงานชาวที่
อสุรผัด
*
ตอบ: 14


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 18 พ.ค. 15, 10:58

ต้องขอบพระคุณท่านผู้ใหญ่ทุกท่านที่ร่วมกันเผยแพร่ข้อมูลประวัติศาสตร์ที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ให้กับคนรุ่นหลังครับ เพราะแม้แต่คนสำนักพระราชวังเองยังไม่มีโอกาสได้รู้ได้เห็น เด็กรุ่นใหม่ๆทุกวันนี้ก็ไม่ค่อยสนใจจะศึกษาเรียนรู้กัน อาศัยว่าชอบคุยชอบถามกับคนเก่าๆจนตอนนี้ตัวเองก็เริ่มความจำเลอะเลือนไปเยอะแล้ว พอมาเข้าเรือนไทยอะไรหลายๆอย่างที่ลืมไปก็แวบกลับมา
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 19 พ.ค. 15, 07:31

ขอบคุณมากค่ะ ติดตามอ่านตลอดนะค่ะ อย่าพึ่งจบได้ไหมค่ะ อยากให้ลงต่อเรื่อย ๆ นะคะ

อ้างถึง
พนักงานชาวที่
ตำหนักในฝ่ายพระราชฐานชั้นในปัจจุบันบางตำหนักมีผู้พักอาศัยอยู่ครับ บางตำหนักก็เป็นที่พักของนักเรียนศิลปาชีพหญิงเช้าก็มีรถมารับไปสวนจิตรลดา เย็นก็มาส่งประตูปิดสี่ทุ่มถ้าเกินเวลาเข้าไม่ได้ บางตำหนักเป็นที่เรียนของวิทยาลัยในวังหญิง ปกติมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายพระราชฐานชั้นในคอยนั่งเวรเป็นจุดๆถ้าเป็นสมัยก่อนก็คงเป็นพวกโขลน กลางวันก็จะมีชาวที่ กองสวน ผู้ชายเข้าไปทำงานปกติแต่ห้ามนอนค้าง ตอนงานพระศพสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงประทับที่ตำหนักสมเด็จพระพันวัสสาครับ พวกผู้ชายอยู่ได้แค่สองทุ่มต้องออกมานอนที่เต๊งนอกกัน


ยังเหลืออาคารที่เป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงผู้อ่านวรรณกรรมเรื่องสี่แผ่นดิน คือ เต๊ง

.. เมื่อผ่านเข้าประตูศรีสุดาวงศ์ มาระยะหนึ่งพลอยสังเกตเห็นอาคารริมทางเดินเป็นตึกแถว ๒ ชั้น ยาวติดต่อกันแบ่งเป็นห้อง ๆ เมื่อพลอยถามแม่แช่มถึงตึกที่ว่านี้ แม่แช่มก็ตอบสัน ๆ ว่า "แถวเต๊ง"

แถวเต๊ง นี้ ในเน็ทมีอธิบายไว้สำนวนคล้ายๆกัน ผมขออนุญาตยกเอามาผสมผเสกันไปนะครับ ไม่ทราบว่าจะให้เครดิตใครดี

อาคารที่เรียกว่า "แถวเต๊ง" นี้เป็นที่อยู่ของพนักงานที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ ภายในเขตพระราชสำนักฝ่ายใน  
สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ท่านสร้างเป็นอาคารแถวทิมชั้นเดียวก่ออิฐถือปูน ตั้งอยู่ขอบเขตพระราชฐานชั้นในทั้งด้านทิศตะวันออก ทิศตะวันตก และทิศใต้ เพื่อกั้นเขต ยังไม่เรียกว่า "แถวเต๊ง" ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ปรับปรุงใหม่  ต่อเติมขึ้นเป็นอาคาร ๒ ชั้น ชั้นล่างเป็นตึก ชั้นบนเป็นไม้ หลังคามุงกระเบื้องดินเผา แบ่งส่วนเป็นห้อง ๆ ด้วยฝาไม้ มีระเบียงโปร่งด้านหน้า ใช้เป็นที่อยู่ของพนักงานฝ่ายที่ไม่สังกัดเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ในเขตพระราชฐานชั้นใน เช่นข้าหลวง คุณพนักงาน คุณห้องเครื่อง คุณเฒ่าแก่ ชาววังเรียกอาคารลักษณะนี้ว่า "แถวเต๊ง"  สันนิษฐานว่า คำนี้น่ามาจากการเรียกของช่างก่อสร้างชาวจีนที่เรียกเรือนแถวไม้ ๒ ชั้นว่า "เหล่าเต๊ง"


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 19 พ.ค. 15, 07:36

แถวเต๊งในพระราชฐานชั้นในมีสามแถวดังนี้

แถวเต๊งนอกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงแถวเต๊งท่อ และเต๊งด้านกลาง นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเต๊งแถวนอกดังกล่าวนี้ขึ้นใหม่ ทางทิศใต้ของเขตพระราชฐานชั้นใน ลักษณะแถวเต๊งนอกเป็นอาคารก่ออิฐปูนสูงสองชั้น หลังคามุงกระเบื้องมอญทรงสูง ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบวิคตอเรียน มีโถงทางเข้าร่วมกันแต่ละคู่ที่ชั้นล่าง ประตูทางเข้าร่วมทำเป็นซุ้มโค้ง มีบันไดภายในเชื่อมชั้นล่างและชั้นบน มีการตกแต่งตอนมุมของอาคารเป็นเสาอิงเซาะร่อง มีบัวหัวเสาเป็นแบบตะวันตก ตอนหักมุมของอาคารทำเป็นรูปจั่วแบบตะวันตก (pediment) ตรงกลางมีลายปูนปั้นรูปวงกลมแถวเต๊งกลาง หรือโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบหรือเต๊งท่ออาณาเขตตั้งแต่เต๊งแดงถึงเต๊งท่อ เป็นที่พำนักข้าราชบริพารและข้าราชการฝ่ายใน ปัจจุบันเป็นที่ทำการโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ มี 75 ห้อง
แถวเต๊งท่อเป็นอาคารสูงสองชั้น โครงสร้างก่ออิฐถือปูน แบ่งห้องพักเป็นคู่ ๆ มีสถาปัตยกรรมแบบเดียวกันแถวเต๊งกลาง สันนิษฐานว่าปรับปรุงขึ้นพร้อมกันในสมัยรัชกาลที่ 5

ที่เรียกเต๊งแถวท่อเพราะสร้างขึ้นตามแนวท่อที่ชักน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามาใช้ในพระบรมมหาราชวัง และที่เรียกว่าเต๊งแดงก็เพราะทาด้วยสีแดง ส่วนเต๊งแถวนอก เป็นเต๊งที่อยู่ระหว่างเต๊งแถวท่อและเต๊งแดง เต๊งทั้งหมดรวมเรียกว่า "แถวเต๊ง"

ภาพโดยรวมแล้ว แถงเต๊งจึงเป็นอาคารสูง ๒ ชั้น โอบล้อมพระราชสำนักฝ่ายในอยู่ทั้งด้านทิศตะวันออก ทิศตะวันตก และทิศใต้ แถวเต๊งเป็นที่อยู่ของพนักงานหน้าที่ต่าง ๆ ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกรัชกาล จึงเป็นสถานที่ที่มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างแออัดคับคั่ง ดังที่ผู้ประพันธ์บรรยายบรรยากาศแถวเต๊ง โดยผ่านความนึกคิดของพลอยว่า "ตามแถวเต๊งนั้นมีคนอยู่เต็มไปหมดไม่มีที่ว่าง"


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 19 พ.ค. 15, 07:37

เต๊งเเถวนอกใช้กั้นเขตพระราชฐานชั้นใน  เเเต่ประตูทางเข้าเขตพระราชฐานชั้นในบางประตู ยั้งสร้างอยู่ระหว่างเเถวเต๊งเลย อย่างเช่นประตูพิศาลทักษิณ ประตูกัลยาวดี แถวเต๊งอยู่ส่วนท้ายสุดของพระบรมมหาราชวัง เพื่อเป็นที่กั้นเเบ่งเขตพระราชฐานปัจจุบันได้รับการบูรณะซ่อมแซมเหมือนกับอาคารอื่นๆ และคงถูกใช้ประโยชน์ต่อไป ถือว่าไม่ใช่ส่วนของเขตพระราชฐานชั้นใน  ยังเคยเป็นที่พักทหารมหาดเล็กเสียด้วยซ้ำ

ประตูศรีสุดาวงศ์และประตูช่องกุดยังเปิดอยู่เช่นกัน แต่สำหรับเจ้าหน้าที่ของสำนักพระราชวังใช้เข้าออก เรื่องเข้าชมนั้นอาจยากโดยเฉพาะผู้ชาย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 19 พ.ค. 15, 07:47

ผมคิดว่ากระทู้นี้คงไปต่อไม่ไหวแล้ว จะเล่าต่อเรื่องประตูศรีสุดาวงศ์และประตูช่องกุด ก็จะซ้ำกับของเดิมที่เรือนไทยมีอยู่แล้ว หากคุณunmingยังคิดว่าไม่จุใจ อยากจะอ่านเพิ่ม ขอให้เข้าไปในกระทู้ที่ผมทำระโยงไว้ให้นะครับ  นี่ก็อีกยาว อ่านกันได้หลายวัน

คุณท้าวศรีสัจจา หรือเจ้าคุณประตูดิน

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4737.0
บันทึกการเข้า
พนักงานชาวที่
อสุรผัด
*
ตอบ: 14


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 19 พ.ค. 15, 09:57

สมัยผมเป็นทหารมหาดเล็กช่วงปี2532 ถึง 2534 ผมต้องไปยืนเวรที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทจะมีกองรักษาการอยู่ตรงกลางชั้นล่างของพระที่นั่งจักรี ตอนนี้กองรักษาการณ์ย้ายไปอยู่ใกล้ๆประตูศรีสุดาวงศ์ เย็นๆนักเรียนศิลปาชีพหญิงกลับมาจากสวนจิตรก็จะออกมาเดินเล่น หรือผ่านเข้าออกก็จะเป็นโอกาสให้ทหารมหาดเล็กรุ่นหนุ่มๆได้เกี้ยวสาวกันบ้างเพราะช่วงเย็นๆหลังปิดจากการให้นักท่องเที่ยวเข้าชมแล้วการอยู่เวรจะไม่ค่อยเข้มงวดนัก ผมจะคุ้นตากับเรือนแถวท้ายวังมากกว่าเพราะอยู่นอกเขตฝ่ายใน สมัยนั้นท้ายวังยังอยู่กันอย่างแออัดเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานก็จับจองพื้นที่พักอาศัยกัน สภาพก็ชำรุดทรุดโทรมไปมาก ต่อมาสำนักพระราชวังได้สร้างแฟลตที่พักข้าราชบริพารขึ้นตรงท่าโรงโม่ จึงได้ทยอยย้ายเจ้าหน้าที่ที่พักอาศัยอยู่ท้ายวังออกไป ส่วนเรือนแถวท้ายวังก็ได้รับการปรับปรุงให้เป็นวิทยาลัยในวังชาย ช่างทองหลวง สถานรับเลี้ยงบุตรหลานข้าราชบริพาร หน่วยทันตกรรม กองแพทย์หลวง หน่วยงานพวงมาลาสำหรับพระราชทาน ฝ่ายช่าง งานเครื่องสูง
บันทึกการเข้า
unming
อสุรผัด
*
ตอบ: 19


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 22 พ.ค. 15, 08:22

เรียน อาจารย์ NAVARAT ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ สำหรับ ความรู้ต่าง ๆ ที่มอบให้ ในทุก ๆ ด้าน ประวัติศาสตร์ การเมือง .... ฯลฯ ติดตามอ่านตลอดนะคะ

เรียนอาจารย์ เทาชมพู
ไม่ทราบว่า ใช้คำว่า ค่ะ คะ ถูกหรือเปล่าคะ จำได้ว่า อาจารย์ได้เคยแนะนำการใช้คำว่า ค่ะ คะ ใน เวปนี้ แต่หนูจำกระทู้ไม่ได้นะคะ ต้องขอโทษด้วยคะ ใจจริงอยากจะใช้คำให้ถูกต้องเพราะเป็นภาษาของเรา
 

เคารพ
อันหมิง
บันทึกการเข้า
unicorn9u
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 22 พ.ค. 15, 08:36

เรียน อาจารย์ NAVARAT ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ สำหรับ ความรู้ต่าง ๆ ที่มอบให้ ในทุก ๆ ด้าน ประวัติศาสตร์ การเมือง .... ฯลฯ ติดตามอ่านตลอดนะคะ

เรียนอาจารย์ เทาชมพู
ไม่ทราบว่า ใช้คำว่า ค่ะ คะ ถูกหรือเปล่าคะ จำได้ว่า อาจารย์ได้เคยแนะนำการใช้คำว่า ค่ะ คะ ใน เวปนี้ แต่หนูจำกระทู้ไม่ได้นะคะ ต้องขอโทษด้วยคะ ใจจริงอยากจะใช้คำให้ถูกต้องเพราะเป็นภาษาของเรา
 

เคารพ
อันหมิง

ต้องใช้ว่า "ต้องขอโทษด้วยค่ะ"
หรือ   "ต้องขอโทษด้วยนะคะ"    ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 19 คำสั่ง