เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 86648 ภาพพระตำหนัก ตำหนัก ในเขตพระราชฐานชั้นใน
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 12 พ.ค. 15, 17:31

สมเด็จพระเทพรัตน์ฯท่านทรงให้ใช้ประโยชน์เป็นโรงเรียนช่างฝีมือครับ เรียกว่าวิทยาลัยในวัง(หญิง)

http://www.homeiam.com/blog_detail.php?t_id=1107000015

และวิทยาลัยในวัง(ชาย)

http://www.changsipmu.com/theRoyalCraftsmenCollege_page01.html

ลองเข้าไปดูตามระโยงนะครับ

ส่วนใครจะเข้าไปเยี่ยมชมก็น่าจะเหมือนโรงเรียนทั่วๆไป ที่อยู่ๆใครอยากจะเข้าก็เดินเข้าไปเลยคงมิได้  ถ้ามีการติดต่อบอกวัตถุประสงค์ก่อนก็อาจได้รับอนุญาต
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 13 พ.ค. 15, 07:05

ตำหนักพระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 13 พ.ค. 15, 07:12

พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์
ความจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี  ฯลฯ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2409 เป็นพระราชธิดาองค์ที่ 77 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และเป็นองค์ที่ 10 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง มีพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีร่วมพระอุทรได้แก่ พระองค์เจ้าโสมาวดี พระองค์เจ้าชายเสวตรวรลาภ พระองค์เจ้าศรีนาคสวาดิ พระองค์เจ้ากมลาสเลอสรรค์ พระองค์เจ้ากนกวรรณเลขา พระองค์เจ้าหญิง (ชันษา 8 วัน) พระองค์เจ้าไชยานุชิต พระองค์เจ้าไขแขดวง พระองค์เจ้าชายจรูญฤทธิเดช

ในเวลาประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์นั้น พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ให้เอาช้างไปขายที่เมืองพม่า พระเจ้ามินดงจึงพระราชทานสังวาลย์เครื่องยศอย่างพม่ามาให้พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ พวกที่ไม่ชอบใจก็กล่าวหาว่าพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์เอาใจออกห่างไปเข้ากับพม่า พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์จึงเอาสังวาลย์ลงมาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่กรุงเทพ แล้วทูลเรื่องราวตามจริง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงระแวงพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ แต่ไม่ทรงรับสังวาลย์ไว้ เพราะทรงรังเกียจว่าจะเป็นการรับเครื่องยศจากพม่า ฝ่ายพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ก็ไม่ยอมเอาสังวาลย์กลับไป เพราะเกรงจะเป็นมลทินว่ายังคบหาพม่าอยู่ จึงถวายสังวาลย์นั้นให้แก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ โดยให้ช่างปรับปรุงเป็นเครื่องแต่งพระองค์ เป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนามว่า "พวงสร้อยสอางค์"

พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์มีฝีพระหัตถ์ในการปรุงพระสุคนธ์ (น้ำอบ) จึงมีหน้าที่ปรุงพระสุคนธ์ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระองค์มีศักดิ์เป็นพระญาติของเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยพระองค์สืบเชื้อสายมาจากนายจำปา ณ เวียงจันทน์ ซึ่งเป็นพระญาติของเจ้าจอมมารดาทองสุก พระราชธิดาของพระเจ้าอินทวงศ์แห่งเวียงจันทน์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 พระชันษา 84 ปี มีการจัดพิธีพระราชเพลิงพระศพ ณ ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2493 โดยใช้พระเมรุองค์เดียวกับพระเมรุมาศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล หลังการถวายพระเพลิง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 13 พ.ค. 15, 18:02

ตำหนักพระองค์เจ้าประพาฬรัศมี


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 13 พ.ค. 15, 18:04

พระองค์เจ้าประพาฬรัศมี
ความจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี  ฯลฯ

พระองค์เจ้าประพาฬรัศมี เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 71 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาสุ่น ธิดาของพระยาสุรินทรราชเสนี (จั่น ) สายสกุลสุกุมลจันทร์ ต่อมารัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาเป็น ท้าววนิดาพิจาริณี

พระองค์เจ้าประพาฬรัศมีประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2408 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2446 พระชันษา 37 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2448


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 13 พ.ค. 15, 18:25

ตำหนักพระองค์เจ้าอรุณวดี


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 13 พ.ค. 15, 18:27

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรุณวดี
ความจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี  ฯลฯ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรุณวดี ประสูติเมื่อ13 มิถุนายน พ.ศ. 2400 เป็นพระราชธิดาองค์ที่ 38 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหรุ่น ผู้ซึ่งเป็นหลานปู่ของ เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุญมา) สมุหพระกลาโหมในรัชกาลที่ 1
 
พระองค์เจ้าอรุณวดีสิ้นพระชนม์เมื่อ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2476 พระชันษา 76 ปี



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 13 พ.ค. 15, 19:29

ตำหนักพระองค์เจ้าแม้นเขียน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 13 พ.ค. 15, 19:31

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน
ความจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี  ฯลฯ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน ประสูติเมื่อวันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2366 เป็นพระราชธิดาลำดับที่ 72 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาลูกจันทน์เล็ก ธิดาเจ้าสุกเมืองหลวงพระบาง

เจ้าจอมมารดาลูกจันทน์เล็กนั้น ท่านบิดาพามาถวายตัวในรัชกาลที่ 1 ตั้งแต่อายุ 8 ขวบ พร้อมกับน้องสาวอีก 2 คน ได้เป็นละครหลวงรุ่นเล็กในรัชกาลที่ 1 ในบท“นางวิยะดา” เมื่อสิ้นรัชกาลที่ 1 ท่านอายุได้เพียง 11 หรือ 12 ปี ได้เป็นละครหลวงรัชกาลที่ 2 ในบท “นางมะดีหวี” ต่อมาได้เป็นครูละครหลวงในรัชกาลที่ 4 และ 5 รวมทั้งเป็นครูละครสำคัญของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)ด้วย ถึงแก่อนิจกรรม พ.ศ.2431 สิริอายุ 90 ปี

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน ทรงดำรงพระชนม์ชีพเป็นองค์สุดท้าย  มีพระชนมายุมากที่สุดในจำนวนพระราชโอรสพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และทรงดำรงพระชนม์ยืนยาวถึง 5 รัชกาล โดยสิ้นพระชนม์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2456 สิริรวมพระชันษา 89 ปี


บันทึกการเข้า
พนักงานชาวที่
อสุรผัด
*
ตอบ: 14


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 13 พ.ค. 15, 20:12

ตำหนักในฝ่ายพระราชฐานชั้นในปัจจุบันบางตำหนักมีผู้พักอาศัยอยู่ครับ บางตำหนักก็เป็นที่พักของนักเรียนศิลปาชีพหญิงเช้าก็มีรถมารับไปสวนจิตรลดา เย็นก็มาส่งประตูปิดสี่ทุ่มถ้าเกินเวลาเข้าไม่ได้ บางตำหนักเป็นที่เรียนของวิทยาลัยในวังหญิง ปกติมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายพระราชฐานชั้นในคอยนั่งเวรเป็นจุดๆถ้าเป็นสมัยก่อนก็คงเป็นพวกโขลน กลางวันก็จะมีชาวที่ กองสวน ผู้ชายเข้าไปทำงานปกติแต่ห้ามนอนค้าง ตอนงานพระศพสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงประทับที่ตำหนักสมเด็จพระพันวัสสาครับ พวกผู้ชายอยู่ได้แค่สองทุ่มต้องออกมานอนที่เต๊งนอกกัน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 13 พ.ค. 15, 22:07

ขอบคุณคุณพนักงานชาวที่มากนะครับ ที่เข้ามาให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 14 พ.ค. 15, 06:22

ตำหนักพระองค์เจ้าประภัศร


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 14 พ.ค. 15, 06:25

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภัศร
ความจากวิกิพีเดีย สารานุรมเสรี  ฯลฯ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภัศร ประสูติวันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2397 เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 กับ เจ้าจอมมารดาเกษ สิ้นพระชนม์วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2469 พระชันษา 73 ปี

พ.ศ. 2436 เกิดกรณีพิพาทระหว่าง ประเทศสยาม กับ ประเทศฝรั่งเศส ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ จึงได้ชักชวนสตรีอาสาสมัครขึ้น และได้กราบบังคมทูล สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ตั้ง "สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม" เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง "สภาอุณาโลมแดง" ขึ้น โดยมีคณะผู้ก่อตั้งดังนี้

ผู้บำรุงการอย่างสูงสุด
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ผู้บำรุงการ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าละม่อม กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร
สภาชนนี
สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
สภานายิกา
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภัศรได้ร่วมทำงานในคณะนี้ด้วย โดยทรงเป็นผู้ช่วยเลขานุการิณี ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 14 พ.ค. 15, 06:46

ท่านเจ้าของตำหนักทั้งหลาย จากซ้ายไปขวา

1.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาสารี
2.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภัศร
3.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านารีรัตนา
4.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญา
5.พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์
6.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ์
7.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประสานศรีใส
8.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแขไขดวง


บันทึกการเข้า
NT
มัจฉานุ
**
ตอบ: 92


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 14 พ.ค. 15, 09:46

ตำหนักในฝ่ายพระราชฐานชั้นในปัจจุบันบางตำหนักมีผู้พักอาศัยอยู่ครับ บางตำหนักก็เป็นที่พักของนักเรียนศิลปาชีพหญิงเช้าก็มีรถมารับไปสวนจิตรลดา เย็นก็มาส่งประตูปิดสี่ทุ่มถ้าเกินเวลาเข้าไม่ได้ บางตำหนักเป็นที่เรียนของวิทยาลัยในวังหญิง ปกติมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายพระราชฐานชั้นในคอยนั่งเวรเป็นจุดๆถ้าเป็นสมัยก่อนก็คงเป็นพวกโขลน กลางวันก็จะมีชาวที่ กองสวน ผู้ชายเข้าไปทำงานปกติแต่ห้ามนอนค้าง ตอนงานพระศพสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงประทับที่ตำหนักสมเด็จพระพันวัสสาครับ พวกผู้ชายอยู่ได้แค่สองทุ่มต้องออกมานอนที่เต๊งนอกกัน

เรียนถามคุณพนักงานชาวที่ ว่าผู้ดูแลตำหนักต่างๆ นั้น ยังเป็นผู้สืบสกุลจากผู้ดูแลในยุคก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือไม่ครับ หรือเป็นเจ้าหน้าที่ทั่วไปครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 19 คำสั่ง