เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 86656 ภาพพระตำหนัก ตำหนัก ในเขตพระราชฐานชั้นใน
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 09 พ.ค. 15, 21:03

เจ้าจอมก๊กออ
ย่อความจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เจ้าจอมก๊กออ เป็นชื่อที่ใช้เรียกพระสนมเอกทั้งห้าในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีนามขึ้นต้นด้วยอักษร อ. อ่าง อันได้แก่ เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ และเจ้าจอมเอื้อน ซึ่งทั้งหมดเป็นเป็นบุตรีของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) กับท่านผู้หญิงอู่ ภริยาเอก
 
แรกเริ่มเจ้าจอมมารดาอ่อน ได้เข้าถวายตัวเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปีพ.ศ. 2428 และเจ้าจอมเอี่ยม ในปีพ.ศ. 2429 ตามมาด้วยเจ้าจอมเอิบในปีเดียวกัน เจ้าจอมอาบในปี พ.ศ. 2434 และเจ้าจอมเอื้อนในปี พ.ศ. 2447 ซึ่งเจ้าจอมท่านสุดท้ายนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสขอเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์และท่านผู้หญิงอู่เพื่อให้มีจำนวนครบห้าคน นอกจากเจ้าจอมก๊กออทั้งห้าแล้ว ยังมีน้องสาวต่างมารดาที่เข้ารับราชการฝ่ายในคือ เจ้าจอมแก้ว (เกิดแต่หม่อมพวง) และเจ้าจอมแส (เกิดแต่หม่อมทรัพย์)  ถวายตัวในปี พ.ศ. 2451

โดยเจ้าจอมมารดาอ่อนมีประสูติกาลพระราชธิดาสองพระองค์คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา ส่วนเจ้าจอมเอี่ยม ตั้งครรภ์พระองค์เจ้าแต่ตกเสียไม่เป็นพระองค์สองครั้ง  ขณะที่เจ้าจอมท่านที่เหลือมิได้ให้ประสูติกาลพระราชบุตรธิดาเลย

อย่างไรก็ตามเจ้าจอมก๊กออทั้งห้าเป็นพระสนมคนโปรดของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (มีเพียงเจ้าจอมอาบเท่านั้นที่มิได้เป็นพระสนมเอก) ส่วนหนึ่งก็อาจเป็นเพราะความซื่อสัตย์และจงรักภักดีของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ แต่อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญที่ผูกพระราชหฤทัยมิเสื่อมคลาย และทำให้เจ้าจอมก๊กออเป็นที่โปรดปรานเป็นระยะเวลามากว่า 30 ปี แม้บางท่านไม่มีพระเจ้าลูกเธอมาเป็นเครื่องผูกมัด  สิ่งนั้นก็คือคุณสมบัติพิเศษของเจ้าจอมก๊กออในแต่ละท่าน อาทิ เจ้าจอมเอี่ยม เป็นผู้ชำนาญงานนวด เพราะได้ศึกษาเกี่ยวกับกายภาพจนทราบดีถึงกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกาย รู้จังหวะหนักเบาในการกดคลึง ทำให้หายขบเมื่อยและรู้สึกเบาสบาย ส่วนเจ้าจอมเอิบ เป็นผู้ที่มีไหวพริบและเอกอุในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีหน้าที่ในการแต่งฉลองพระองค์ของพระราชสวามี  มีความสามารถในการถ่ายภาพ และสามารถทำอาหารได้พิถีพิถันต้องพระราชหฤทัยโดยเฉพาะการทอดปลาทู

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้แปรพระราชฐานมาประทับที่พระที่นั่งวิมาณเมฆ เจ้าจอมก๊กออได้ย้ายมาอยู่ที่วังสวนสุนันทาด้วย

แต่ด้วยความเป็นกลุ่มคนโปรดของพระปิยมหาราช จึงเป็นเหตุที่ทำให้สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระอัครมเหสี ไม่พอพระทัยนัก และปฏิเสธที่จะเสด็จตามพระราชสวามีไปยังเมืองเพชรบุรี ที่ซึ่งระยะหลังๆ พระราชสวามีได้เสด็จไปบ่อยดุจราชสำนักประจำ สมเด็จพระพันปีหลวงทรงตรัสกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสยามมกุฎราชกุมารว่า "จะให้แม่ไปประจบเมียน้อยของพระบิตุรงค์นั้น เหลือกำลังละ" แต่กลางปี พ.ศ. 2453 สมเด็จพระพันปีหลวงได้ตามเสด็จพระราชสวามีไปยังเมืองเพชรบุรีด้วย ครั้นหลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงทุพพลภาพมากขึ้น และไม่ได้เสด็จเพชรบุรีอีกเลยจนกระทั่งสวรรคต

หลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นพระราชสวามี เหล่าเจ้าจอมก๊กออและพระราชธิดาทั้งสองคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา ยังคงพำนักอยู่ในในวังสวนสุนันทา

แต่ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 เจ้าจอมก๊กออได้ย้ายไปมาอยู่ที่เรือนสร้างใหม่ริมคลองสามเสนกับถนนนครราชสีมา โดยสร้างบนที่ดินพระราชทานกันคนละแปลงแบ่งเป็นสัดส่วน เรียกว่า "สวนนอก" ส่วนของเจ้าจอมมารดาอ่อนและพระราชธิดาเรียกว่า วังสวนปาริจฉัตก์ หรือ สวนท่านอ่อน
ส่วนที่เป็นของท่านเจ้าจอมน้องๆทั้งสี่ท่านที่เหลือ ก็เรียกตามชื่อตัวว่า สวนท่านเอิบ, สวนท่านอาบ และสวนท่านเอี่ยม ตามลำดับ และพำนักอยู่จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม

เจ้าจอมก๊กออที่ถึงแก่อสัญกรรมเป็นลำดับท้ายสุดคือ เจ้าจอมมารดาอ่อน ที่ถึงแก่อสัญกรรมในรัชกาลปัจจุบันในปี พ.ศ. 2512



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 10 พ.ค. 15, 06:39

ตำหนักพระองค์เจ้าศศิพงษ์ประไพ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 10 พ.ค. 15, 06:51

พระองค์เจ้าศศิพงษ์ประไพ
ความจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ฯลฯ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ (26 เมษายน พ.ศ. 2424 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2477) เป็นพระราชธิดาลำดับที่ 31 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและ เจ้าจอมมารดาจันทร์ ผู้เป็นธิดาพระยาราชสัมภารากร (เทศ)และคุณหญิงอ่ำ มีพระธิดา 1พระองค์ ประสูติวันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2424

เมื่อทรงสร้างพระราชวังสวนดุสิตแล้ว เจ้าจอมมารดาจันทร์ และพระองค์เจ้าศศิพงษ์ประไพทรงย้ายจากพระตำหนักฝ่ายในของพระบรมมหาราชวัง ตามเสด็จมาประทับที่วังศศิพงศ์ประไพ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

เจ้าจอมมารดาจันทร์ถึงแก่อสัญกรรมในปี 2463 ส่วนพระองค์เจ้าศศิพงษ์ประไพสิ้นพระชนม์วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 ในรัชกาลที่ 7 พระชันษา 53 พรรษา ด้วยพระอาการพระอันตะ (ลำไส้ใหญ่) อักเสบ



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 10 พ.ค. 15, 07:37

ตำหนักพระองค์เจ้าจุฑารัตน์ราชกุมารี


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 10 พ.ค. 15, 07:40

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุฑารัตน์ราชกุมารี
ความจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ฯลฯ

เจ้าจอมมารดามรกฎ (พ.ศ. 2398 - พ.ศ. 2458) เป็นบุตรีของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) กับ ท่านผู้หญิงมหินทรศักดิ์ธำรง (หุ่น) ธิดาพระยานครอินทร์รามัญ
เจ้าจอมมารดามรกฎ มีพระโอรสธิดา 2 พระองค์ คือ
พระองค์เจ้าหญิงจุฑารัตนราชกุมารี
พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุฑารัตนราชกุมารี ประสูติวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2415 เป็นพระราชธิดา ลำดับที่ ๗ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีความสนพระทัยในด้านกาพย์กลอนจนเป็นที่ยกย่องในแวดวงวรรณกรรม ทรงสามารถใช้ภาษาได้อย่างเสนาะน่าฟังและเข้าใจง่าย ดังตัวอย่างที่ปรากฏในบทร้องพระนิพนธ์ เมื่อเสด็จเมืองเพชรบุรี พ.ศ.๒๔๗๒ ที่เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ ได้อย่างไพเราะ และนิราศหัวหินที่งดงามทางด้านวรรณศิลป์

ในเรื่องความเป็นศิลปินนี้ เห็นได้จากสายสกุลทางบิดาของเจ้าจอมมารดามรกต ที่มีความสามารถในทางการประพันธ์ดนตรี ทั้งยังมีคณะละครและดนตรีวงใหญ่ ส่วนพระอนุชา พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ ก็มีวงพิณพาทย์ส่วนพระองค์ที่มีชื่อเสียง และจัดว่าเป็นนักประพันธ์ผู้หนึ่งที่มีความสามารถยิ่ง ตามสายพระโลหิต

ภายหลังเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมเหสี และทรงมีข้าราชบริพารฝ่ายในของพระองค์แล้ว บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในและเจ้าจอมคุณพนักงาน ในรัชกาลที่ ๕ จึงเริ่มออกมาประทับและมาพำนักกับพระโอรสหรือพระประยูรญาติ  พระองค์เจ้าจุฑารัตนราชกุมารี จึงได้ทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเข้ามาประทับ ณ ตำหนักในสวนสุนันทา นอกจากนี้ยังเสด็จไปประทับที่ตำหนักสุขสมหมาย ริมหาดหัวหิน จังหวัดเพชรบุรี เพื่อสำราญพระอิริยาบถอยู่บ่อยครั้ง

พระองค์ประชวรพระโรคพระอันตะ (ลำไส้ใหญ่) และพระวักกะ (ไต) สิ้นพระชนม์วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 พระชันษา 58 พรรษา


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 10 พ.ค. 15, 09:22

ตำหนักกรมหลวงวรเสรฐสุดา


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 10 พ.ค. 15, 09:26

พระเจ้าอัยยิกาเธอ พระองค์เจ้าบุตรี กรมหลวงวรเสรฐสุดา
ความบางตอนจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ฯลฯ

พระเจ้าอัยยิกาเธอ พระองค์เจ้าบุตรี กรมหลวงวรเสรฐสุดา เป็นพระราชธิดาพระองค์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติเมื่อวันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2371  ในเจ้าจอมมารดาอึ่ง (สายสกุล กัลยาณมิตร) ผู่ที่ต่อมาได้เป็นท้าวสมศักดิ์ 

กรมหลวงวรเสรฐสุดาทรงเชี่ยวชาญด้านอักษรศาสตร์และโบราณราชประเพณี และทรงรอบรู้ในพระไตรปิฎก นอกจากนี้ยังทรงเป็นผู้ถวายอุปการะเลี้ยงดูสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ขณะทรงเป็นหม่อมเจ้ารำเพย เนื่องจากทรงเป็นกำพร้าทั้งพระชนกและพระชนนีตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ 
หม่อมเจ้าหญิงรำเพยเป็นพระราชนัดดาที่รัชกาลที่ 3 ทรงมีพระเมตตาเป็นอย่างยิ่ง โปรดเกล้าให้ประทับกับพระองค์เจ้าบุตรี กรมหลวงวรเสรฐสุดา ณ ตำหนักต้นจำปี เพื่อทรงศึกษาอักษรวิธีและโบราณราชประเพณี ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 หม่อมเจ้าหญิงรำเพยทรงเข้ารับราชการเป็นพระภรรยาเจ้า พระราชโอรสที่สำคัญยิ่งคือสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์

นอกจากนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุตรี กรมหลวงวรเสรฐสุดา ผู้ทรงรอบรู้ด้านอักษรศาสตร์ และโบราณราชประเพณีอย่างยิ่ง ยังได้เป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรแด่ สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ และพระราชโอรส พระราชธิดาทุกพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 สำหรับการศึกษาขั้นแรก

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระยศเป็น พระเจ้าอัยยิกาเธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา เมื่อ ปี พ.ศ. 2439 ทรงกำกับดูแลด้านพิธีกรรมต่างๆ และโบราณราชประเพณีของวังหลวง
พระเจ้าอัยยิกาเธอ พระองค์เจ้าบุตรี กรมหลวงวรเสรฐสุดา ทรงดำรงพระชนม์ชีพเป็นองค์สุดท้ายและมีพระชนมายุมากที่สุดในจำนวนพระราชโอรสพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  โดยสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2450 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สิริพระชันษา 80 ปี


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 10 พ.ค. 15, 10:15

ตำหนักพระองค์เจ้าวรลักษณาวดี


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 10 พ.ค. 15, 10:17

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรลักษณาวดี
ย่อความจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรลักษณาวดี เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสุด สุกุมลจันทร์ (ธิดาพระยาสุรินทรราชเสนี (จั่น) กับคุณหญิงกลิ่น) เมื่อวันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2415

พระองค์เจ้าวรลักษณาวดี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2469 ปีขาล พระชันษา 55 ปี


บันทึกการเข้า
NT
มัจฉานุ
**
ตอบ: 92


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 10 พ.ค. 15, 13:24

เรียนถามว่า มีพระราชธิดา ร.5 พระองค์ใด ไม่มีตำหนักในเขตพระราชฐานชั้นในไหมครับ ผมเข้าใจว่าหากเป็นพระราชธิดารุ่นหลังๆ อาจจะเข้าสู่ช่วงการสร้างพระราชวังดุสิต จึงไปสร้างตำหนักที่เขตพระราชฐานใหม่เลย อย่างนี้หรือเปล่าครับ ?
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 10 พ.ค. 15, 19:24

ไม่มีครับ พระที่นั่งวิมานเมฆซึ่งเป็นพระที่นั่งถาวรองค์แรกในพระราชวังดุสิตนั้น สร้างเสร็จและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการเฉลิมเมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๔๔๕
แต่พระองค์เจ้าเหมวดี พระราชธิดาพระองค์สุดท้ายประสูติวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๔๓๕ ก่อนหน้าประมาณสิบปี
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 11 พ.ค. 15, 07:01

พระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ ๕ มิได้เสด็จออกมาที่ประทับวังสวนสุนันทาทีเดียวพร้อมกัน แต่ทยอยกันมาส่วนใหญ่ก็หลังสิ้นรัชกาลแล้ว เสด็จไปประทับกับญาติก็มาก สุดท้ายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ก็ทรงย้ายออกไปกันเกือบหมด เหลือเพียงสองพระองค์ เท่าที่ผมหาเจอจากหน้าของชมรมคนรักวังและบ้านโบราณมีดังนี้

๑.วังสมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์  กรมหลวงเพชรบุรีราชสินธร (วังคันธวาส) ปัจจุบันคือบริเวณพื้นที่โรงแรมพลาซ่า แอธธินี
๒.วังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร (วังวาริชเวสม์) ปัจจุบัน เป็นอาคารอนุรักษ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และครอบครองใช้ประโยชน์โดยบริษัทแม็ทชิ่ง สตูดิโอ จำกัด (มหาชน)
๓.วังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี (วังราชทัต) คือบริเวณหลังโรงแรมโฟร์ซีซั่น
๔.วังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา ในเจ้าจอมมารดาอ่อน (สวนปาริฉัจต์) ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของพระญาติ
๕.วังดาหาปาตี เมืองบันดุง/ตำหนักสายสุทธานพดล สวนสุนันทา ที่ประทับสุดท้ายของสมเด็จเจ้าฟ้านิภานพดล กรมขุนอู่ทองขัติยนารี
๖.สมเด็จเจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ ประทับ ณ ตำหนักสมเด็จ/ตำหนักริมน้ำ วังบางขุนพรหม
๗.พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าผ่องประไพ ประทับ ณ ตำหนักในพระบรมมหาราชวัง
๘.ตำหนักพระองค์เจ้าอรพินธ์เพ็ญภาค ปัจจุบันอยู่ในสถานีตำรวจนครบาลดุสิต ติดกับเขตดุสิต
๙.ตำหนักพระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ ปัจจุบันเป็นบ้านพักอาจารย์ ในบริเวณโรงเรียนอักษรเจริญ
๑๐.ตำหนักพระองค์เจ้าอัพภันตรีปชา ปัจจุบันห้องสมุดและร้านกาแฟ  ในบริเวณที่ทำการพรรคชาติไทย และ บางส่วนเป็น สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย
๑๑.ตำหนักพระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา(ตำหนักทิพย์) สามเสน  ปัจจุบันอยู่ในบริเวณกลุ่มบ้านของสกุลไกรฤกษ์
๑๒.สมเด็จเจ้าฟ้ามาลินีนพดารา ประทับที่ตำหนักมาลินี (ตำหนักเล็ก)ในวังสวนสุนันทา
๑๓.พระองค์เจ้าหญิงเยาวภาพงศ์สนิท เดิมประทับที่ตำหนักเยาวภาในวังสวนสุนันทา ต่อมาย้ายไปประทับวังวิทยุกับพระอนุชา


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 11 พ.ค. 15, 07:03

รบกวนท่านผู้รู้แห่งเรือนไทย อนุเคราะห์ภาพพระตำหนัก ตำหนัก ในเขตพระราชฐานชั้นใน พระบรมมหาราชวัง เป็นวิทยาทานครับ เมื่อวันที่ 5 พ.ค. ผมไปกราบพระแก้วมรกตที่พระอุโบสถวัดพระแก้ว และเข้าชมปราสาทพระเทพบิดร มองไปทางทิศใต้พบว่ามีพระตำหนัก ตำหนัก ในเขตพระราชฐานชั้นกลาง-ในอยู่ไกลๆ มีสถาปัตยกรรมต่างๆ น่าสนใจ แต่สอบถามเจ้าหน้าที่แล้ว พบว่าไม่มีโอกาสที่คนทั่วไปจะเข้าไปได้เลยครับ ผมสืบค้นดูในกูเกิลก็มีอยู่บ้างแต่น่าจะยังไม่ครบถ้วน ขอขอบพระคุณล่วงหน้า

ผมจะไม่ตามไปเก็บรายละเอียดนะครับ ขอทำการบ้านที่คุณNTให้มาตามข้างบนเท่านั้น
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 11 พ.ค. 15, 07:26

แผนที่ข้างล่างนี้เป็นแผนที่แสดงที่ดินที่พระราชทานเจ้าจอมมารดาและพระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕  ระหว่างถนนราชวัตรเดิมกับคลองสามเสน 
ถนนราชวัตรเดิมปัจจุบันมีสภาพเป็นซอยตันหลังคณะเด็กเล็กโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยและที่เอกชนเช่าจากพระคลังข้างที่  รายพระนามและรายนามในแผนที่เป็นพระนามและนามผู้ครอบครองที่ดินนั้นใน พ.ศ. ๒๔๖๒ ซึ่งเป็นที่พระราชทานที่ดินผืนดังดล่าวแก่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง 
ถนนพุดตาน ปัจจุบันคือ ถนนพิชัย



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 11 พ.ค. 15, 07:53

ตำหนักพระองค์เจ้าเหมวดี


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง