เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 86760 ภาพพระตำหนัก ตำหนัก ในเขตพระราชฐานชั้นใน
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 09 พ.ค. 15, 09:32

น่าจะเป็นช่่องให้อากาศระบายจากใต้ถุนมากกว่าครับ
สมัยก่อนพื้นเป็นไม้ ถึงจะเป็นไม้สักแต่หากถูกอบชื้น จะผุได้ง่าย จึงต้องให้อากาศใต้พื้นไม้โปร่งเข้าไว้ เพื่อระบายความชื้นออกไป
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 09 พ.ค. 15, 09:34

ตำหนัก พระองค์เจ้าประเวศวรสมัย (เจ้าจอมมารดาทับทิม)





บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 09 พ.ค. 15, 09:39

เจ้าจอมมารดาทับทิมในรัชกาลที่ ๕
ย่อความจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เจ้าจอมมารดาทับทิม เกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2400 เป็นธิดา พระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ)  เริ่มต้นชีวิตภายในพระบรมมหาราชวังตั้งแต่อายุได้เพียง 6 ขวบ โดยเจ้าจอมมารดาเที่ยง ในรัชกาลที่ 4 ผู้เป็นพี่ใหญ่ได้พาไปฝากให้คุณท้าววรคณานันท์ (หุ่น) เป็นครูผู้ฝึกสอนการละคร และฟ้อนรำ จึงนับได้ว่าเจ้าจอมมารดาทับทิมได้ครูดี ได้โรงเรียนดี และได้สิ่งแวดล้อมทั้งมวลดีด้วย
ภายหลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ให้หัดละครในรุ่นเล็กขึ้น เจ้าจอมมารดาทับทิมจึงตั้งหน้าฝึกหัดฟ้อนรำพร้อมๆกับศึกษาวิชาอื่นๆคู่ควบไปด้วย เมื่อละครหลวงชั้นเล็กออกโรงปลายสมัยรัชกาลที่ 4 คนทั้งปวงก็พากันชมเชยว่าเจ้าจอมมารดาทับทิมสามารถรำได้งดงามกว่าคนอื่น ซึ่งเป็นละครชั้นเดียวกันเป็นอันมาก

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว เจ้าจอมมารดาทับทิมก็ยังเป็นละครหลวงอยู่ และมีลีลาการฟ้อนรำเป็นที่เลื่องลือกันทั่วไป จนได้ชื่อว่าเป็นนางเอกละครหลวงที่ดีที่สุดคนหนึ่ง ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯชุบเลี้ยงเจ้าจอมมารดาทับทิมเป็นเจ้าจอม  และจัดเรือนในบริเวณตำหนักหลังหนึ่งกับคนสำหรับใช้สอย เมื่อเจ้าจอมมารดาทับทิมมีครรภ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้พระราชทานตำหนักอย่างเจ้านายให้อยู่เป็นอิสระในฐานะเจ้าจอมมารดา ดังที่เห็นในภาพ

พระราชโอรสและธิดาทั้งหมดมีด้วยกัน 3 พระองค์ คือ
พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช (กรมหลวงนครชัยศรีสุรเดช)
พระองค์เจ้าหญิงประเวศวรสมัย
พระองค์เจ้าวุฒิชัยเฉลิมลาภ (กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร)

เจ้าจอมมารดาทับทิมมีอัธยาศัยดี เป็นที่ชอบแก่บุคคลโดยทั่วไป โดยเฉพาะกิริยามารยาทถือกันว่าเป็นแบบฉบับแห่งหญิงชาววังที่ดี ในที่สุดทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานเครื่องยศ ยกย่องขึ้นเป็นพระสนมเอก นับว่าพระราชทานเกียรติยศอย่างสูง เจ้าจอมมารดาทับทิมดำรงชีพอยู่ในพระบรมมหาราชวัง จนกระทั่งกรมหลวงนครชัยศรีสุรเดชพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ทรงสำเร็จการศึกษาจากยุโรป กลับมาพร้อมกับกรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร พระราชโอรสพระองค์เล็ก ซึ่งเสด็จไปทรงศึกษาวิชาทหารเรือ เจ้าจอมมารดาทับทิมก็ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตออกไปพำนักอยู่ที่วังของพระราชโอรสทั้ง 2 โดยเฉลี่ยเท่า ๆกัน บางครั้งท่านก็ไปพำนักกับพระราชธิดาพระองค์เดียว ณ ตำหนักในสวนสุนันทา เป็นต้น
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เมื่อเจ้าจอมมารดาทับทิมมีอายุได้ 53 ปี หลังจากนั้นท่านก็ออกไปอาศัยอยู่กับพระราชโอรส-ธิดาเป็นการถาวร  และใช้เวลาให้หมดไปกับการบำเพ็ญธรรม ฟังเทศน์ ทำบุญและให้ทาน

เจ้าจอมมารดาทับทิมก็มีนิสัยแปลกกว่าคนอื่นอยู่อย่างหนึ่ง คือชอบไปเที่ยวตามหัวเมือง ถ้าอยู่กับบ้านกับวังนานๆคล้ายๆกับจะเจ็บป่วย แต่ถ้าได้ไปที่อื่นจะกลับฟื้น  ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อใดที่พระโอรสธิดาสังเกตเห็นว่า เจ้าจอมมารดามีอาการไม่สบายผิดปกติ ก็มักชวนไปพำนักที่อื่นอย่างน้อยปีละหนหนึ่ง

กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกรพระราชโอรสพระองค์เล็ก ทรงสร้างตำหนักไว้ที่หนองแก ทางใต้ของหัวหิน ซึ่งเจ้าจอมมารดาทับทิมมักจะไปอยู่ที่นั่นเป็นเวลานานๆในฤดูร้อนแทบทุกปี  หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เจ้าจอมมารดาทับทิมเคยไปเยี่ยมพระโอรสและธิดาถึงปีนัง ทั้งๆที่อายุเกือบจะ 80 อยู่แล้ว เมื่อเห็นว่าปีนังอากาศดี เลยพักอยู่ที่ตำหนักพระองค์หญิงประเวศฯถึง 13 เดือน

เมื่ออายุได้ 80 ปี ได้เริ่มต้นของโรคชราระดับยากที่จะกลับฟื้นดีได้ แต่เจ้าจอมมารดาทับทิมต้องการไปรักษาตัวที่บางปะอิน ผู้รักษาพยาบาลเห็นว่าอาการร้ายแรง อาจจะทำให้โรคกำเริบก็ทัดทานไว้ แต่ไม่สำเร็จ พระราชโอรสธิดาซึ่งรีบเสด็จมาจากปีนังเมื่อทราบเหตุ พยายามจะให้กลับกรุงเทพฯอีกก็ไม่เป็นผล  เจ้าจอมมารดาทับทิมอยู่ที่บางปะอินได้ถึง 79 วัน จึงได้ถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2480



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 09 พ.ค. 15, 14:31

ซ้าย-ตำหนักพระองค์เจ้าอรประพันธุ์รำไพ พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา และเจ้าจอมมารดาอ่อน (ตำหนักแดง)
กลาง-เรือนก๊กออ
ขวา-ตำหนักพระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา พระองค์เจ้าสุจิตราภรณ์ และเจ้าจอมมารดาชุ่ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 09 พ.ค. 15, 14:49

เจ้าจอมมารดาอ่อน
ย่อความจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เจ้าจอมมารดาอ่อน เกิดในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2410 เป็นบุตรคนที่ 4 ของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) ที่เกิดกับท่านผู้หญิงอู่ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 5 คน เมื่อเจ้าจอมมารดาอ่อนอายุได้ 12 ปี ได้เข้าร่วมขบวนแห่โสกันต์ของ พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ สุนทรศักดิ์กัลยาวดี พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ) ผู้เป็นเจ้าจอมมารดาผู้ใหญ่ ทรงยกย่องเป็นหัวหน้าเจ้าจอมทั้งปวง และได้รับการฝากฝังโดย สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วงบุนนาค) ผู้มีศักดิ์เป็นลุง ให้อยู่กับเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ มีหน้าที่ช่วยตั้งเครื่องเสวย
ได้ถวายตัวเมื่อ พ.ศ. 2427 ขณะนั้นอายุ 17 ปี ให้ประสูติพระราชธิดา 2 พระองค์คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา

เจ้าจอมมารดาอ่อน พร้อมด้วยน้องๆ ทั้งสี่คน ในกลุ่มเจ้าจอมก๊กออ และพระราชธิดาทั้งสอง ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายงานใกล้ชิดพระองค์อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเมื่อครั้งประทับที่พระบรมมหาราชวัง หรือเมื่อเสด็จไปประทับที่พระราชวังดุสิต พระที่นั่งวิมานเมฆ หรือเมื่อครั้งเสด็จแปรพระราชฐาน ประพาสหัวเมืองเหนือ เมื่อ พ.ศ. 2444 หรือไปประทับที่พระราชวังบางปะอิน เมื่อ พ.ศ. 2445 และเสด็จประพาสต้นเมื่อ พ.ศ. 2447

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าจอมมารดาอ่อน และพระราชธิดา ได้ประทับอยู่ที่ตำหนักในวังสวนสุนันทา ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้ย้ายไปมาอยู่ที่ตำหนักสร้างใหม่ริมคลองสามเสน กับถนนราชสีมา สร้างบนที่ดินพระราชทานแก่เจ้าจอมก๊กออ เรียกว่า "สวนนอก" ตำหนักนี้เรียกว่า วังสวนปาริจฉัตก์
ท่านเจ้าจอมมารดาอ่อนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2512 ในรัชกาลปัจจุบัน สิริอายุ 102 ปี



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 09 พ.ค. 15, 14:51

(ตำหนักแดง)


บันทึกการเข้า
NT
มัจฉานุ
**
ตอบ: 92


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 09 พ.ค. 15, 16:16

ขอบพระคุณอาจารย์ Navarat C. ครับ ที่นำรูปมาลงมากมาย

ว่าด้วยท่านเจ้าจอมมารดาอ่อน เข้าใจว่าท่านอายุยืนจนถึงอสัญกรรมหลังจากพระองค์อรประพันธ์ฯ และพระองค์อดิสัยฯ สิ้นพระชนม์เสียอีก ผมเคยเห็นรูปท่านเจ้าจอม รับพระราชทานเครื่องราชฯ จุลจอมเกล้า จะมีสุภาพสตรีท่านหนึ่งอยู่ใกล้ชิดตลอด แต่ไม่ทราบว่าท่านเป็นใคร น่าจะเป็นคนสกุลบุนนาค ?
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 09 พ.ค. 15, 18:28

น่าจะใช่ภาพนี้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 09 พ.ค. 15, 19:13

เจ้าจอมมารดาชุ่ม ในรัชกาลที่ 5
ย่อความจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เจ้าจอมมารดาชุ่ม เป็นธิดาของพระมงคลรัตน์ราชมนตรี (ช่วง ไกรฤกษ์) เกิดเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2412 มีพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันกับท่าน 10 คน โดยท่านเป็นคนที่ 7

ต่อมาท่านได้ถวายตัวเข้ารับราชการฝ่ายใน และให้ประสูติกาลพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 2 พระองค์ คือ
พระองค์เจ้าหญิงอาทรทิพยนิภา ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2432
พระองค์เจ้าหญิงสุจิตราภรณี ประสูติเมื่อวันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2433

เจ้าจอมมารดาชุ่ม เป็นเจ้าจอมที่ทรงโปรดมากคนหนึ่ง เพราะท่านสามารถพูดภาษาอังกฤษได้คล่อง จึงได้รับพระกรุณาธิคุณให้ตามเสด็จประพาสชวาถึงสองครั้ง
ครั้งแรกในปีพ.ศ. 2439 เจ้าจอมมารดาชุ่มได้ตามเสด็จพระราชดำเนินโดยรับหน้าที่เป็นนางสนองพระโอษฐ์ให้กับสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี

ครั้งที่ 2 ในปีพ.ศ. 2444 เจ้าจอมมารดาชุ่มได้ตามเสด็จพระราชดำเนินอีกครั้งพร้อมเจ้านายฝ่ายในอีกหลายองค์ โดยในครั้งนี้พระเจ้าลูกเธอของท่านโสกันต์แล้ว จึงได้ตามเสด็จพระราชดำเนินด้วยทั้งสองพระองค์ ส่วนสาเหตุที่เจ้าจอมมารดาชุ่มได้ตามเสด็จด้วยนั้นเป็นเพราะว่า "ท่านใส่ชุดฝรั่งขึ้น"

เจ้าจอมมารดาชุ่มถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2454 สิริอายุ 42 ปี



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 09 พ.ค. 15, 20:05

พระตำหนักตึก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 09 พ.ค. 15, 20:07

เจ้าจอมมารดาชุ่ม และพระราชธิดาเมื่อทรงพระเยาว์


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 09 พ.ค. 15, 20:08

เจ้าจอมมารดาชุ่ม และพระราชธิดาเมื่อทรงเจริญพระชนษาแล้ว


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 09 พ.ค. 15, 20:20

เรื่องโสกันต์หรือโกนจุกพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ที่พบในเอกสารจดหมายเหตุมีความปรากฏใน

ท้องตราพระราชสีห์  ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ผู้สำเร็จราชการกรมมหาดไทย  อัญเชิญกระแสพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวไปถึง  พระยาราชสัมภารากร (เลื่อน  สุรนันทน์)  ข้าหลวงสามหัวเมือง ณ ศาลต่างประเทศเมืองนครเชียงใหม่  เมื่อวันอังคาร  เดือน ๑๒  แรม ๑๓ ค่ำ  ปีมะแมเบญจศก  จุลศักราช ๑๒๔๕ (วันที่  ๒๗  พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๔๒๖) ความตอนหนึ่งว่า 
“...เมื่อพระเจ้าอินทวิไชยานนท์เจ้านครเชียงใหม่  เจ้าทิพเกสรลงมา ณ กรุงเทพฯ  ได้พาเจ้าดารารัศมีผู้บุตรเข้าเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า  กราบถวายบังคมลาขึ้นไปถึงบ้านเมืองแล้ว  จะได้ทำการมงคลตัดจุกเจ้าดารารัศมี...”

นอกจากนั้ยังพบความในใบบอกของพระยาราชสัมภาราการ  ฉบับลงวันอังคาร  เดือน ๑๑  ขึ้น ๑ ค่ำ  ปีมะแมเบญจศก  จุลศักราช ๑๒๔๕ (วันที่  ๒  ตุลาคม  พ.ศ. ๒๔๒๖) มีความตอนหนึ่งว่า
“...เมื่อ ณ วัน ๖  เดือน ๑๐  แรม ๕ ค่ำ  ปีมแมเบญจศก   พระเจ้านครเชียงใหม่  กับเจ้านายมารับพระราชทานโต๊ะ  พร้อมด้วยข้าพระพุทธเจ้าที่ศาลต่างประเทศ  พระเจ้านครเชียงใหม่แจ้งความแก่ข้าพระพุทธเจ้าว่า  พระเจ้านครเชียงใหม่มีบุตรหญิงผู้เดียว  อายุศม์ก็สมควรที่จะทำการตัดจุกอยู่แล้ว  แต่การตัดจุกในเมืองนครเชียงใหม่ยังไม่เคยมีเลย  ขอให้ข้าพระพุทธเจ้าเปนธุระจัดการด้วย  ข้าพระพุทธเจ้าตอบว่าธรรมเนียมโกนจุกข้างเมืองไต้  ถ้าบุตรชายอายุศม์ได้ ๑๕ / ๑๗ / ๑๙  ก็โกนได้  แต่บุตรหญิงถ้าร่างใหญ่ต้องโกนในอายุศม์ ๑๑ / ๑๓  และเจ้าดาราบุตรหญิงพระเจ้านครเชียงใหม่  อายุศม์รูปร่างก็สมควรที่จะทำการตัดจุกอยู่แล้ว  ครั้นรุ่งขึ้นพระเจ้านครเชียงใหม่  ให้ข้าพเจ้าเข้าไปพร้อมด้วยเจ้าทิพเกสร  ถามข้าพระพุทธเจ้าว่า  จะจัดการอย่างไรบ้าง  ข้าพระพุทธเจ้าตอบว่า  ธรรมเนียมการโกนจุกมีมาแต่โบราณ  ท่านผู้ที่เปนเจ้าการก็ยักย้ายดัดแปลงไปต่าง ๆ กัน  เว้นไว้แต่เครื่องมณฑลที่รดน้ำเท่านั้น  ซึ่งจะทำการบัดนี้  ยังไม่ทราบว่าจะทำมากน้อย  ยังไรกำหนดเมื่อใดต้องให้ทราบก่อน  จึ่งจะช่วยชี้แจงได้ตามความเหน  เจ้าทิพเกสรว่ากำหนดในเดือน ๑๒ ข้างขึ้น   เครื่องแห่ก็ได้ทำไว้บ้างแล้ว  แต่ภูเขาที่รดน้ำ นั้นจะตั้งตรงไหนดี  กระบวนแห่จะเดินทางไหน  จะจัดยังไรจึ่งจะเรียบร้อยได้  ข้าพระพุทธเจ้าตอบว่าถ้าจะผูกเขามีกระบวนแห่ด้วย  กลัวจะไม่ทันเหนวันจวนนัก  อนึ่งไข้เจบก็ชุกชุม  จะต้องใช้คนมากทั้งผู้หญิงผู้ชาย  ที่พักโรงครัวก็จะต้องทำหลายหลัง  ของลเอียดปักเยบร้อยก็จะต้องทำมาก  เครื่องแต่งตัวก็จะต้องทำ  เจ้าทิพเกสรว่าของเหล่านี้ได้คิดไว้แล้วพอจะทำทันได้  ให้ข้าพระพุทธเจ้าช่วยให้ตัวอย่างชี้แจง  ข้าพระพุทธเจ้าเหนด้วยเกล้าฯ  ว่าจะทัดทานห้ามปรามไม่ฟังเปนแน่  จึ่งตอบว่าภูเขานั้นตั้งที่น่าคุ้มก็ได้  แต่กระบวนแห่นั้นไม่ใช่พนักงาน  ข้าพระพุทธเจ้า  เปนแต่ได้ดูจำได้บ้าง  จะกำหนดว่าสิ่งใดอยู่น่าหลังนั้นเปนแน่ไม่ได้  เจ้าทิพเกษรว่าคนในเมืองนครเชียงใหม่  ก็ไม่ได้เคยเหนการนี้เลย  คนเมืองไต้ที่ขึ้นขึ้นไปอยู่ได้ถามแล้วก็ไม่ทราบ  เปนแต่ดูจำก็ไม่ได้  ถึงจะขาดบ้างก็ไม่เปนไร  ขอให้ข้าพระพุทธเจ้าช่วยชี้แจงด้วย  ข้าพระพุทธเจ้าว่าจะพูดกันดังนี้จำไม่ได้  ต้องมีสมุดจดเปนตะรางกระบวน  และสิ่งของที่จะไช้ในการนี้  เมื่อสิ่งใดมีแล้วก็ให้กางด  ที่ยังไม่มีก็ให้ให้ทำขึ้น  สิ่งที่จะทำขึ้นนั้นบ่อน้ำทองเงินสำฤทแก้ว  และกะที่ผูกภูเขา  คนในกระบวนแห่รวมพันหกสิบหกคน  กระบวนเดินทางประตูช้างเผือกเข้าประตูท่าแพหลังศาลต่างประเทศ    ได้ลงมือทำของผูกเขาแต่ ณ วัน ๑  เดือน ๑๐  แรม ๗ ค่ำปีมแมเบญจศก...”   
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 09 พ.ค. 15, 20:24

ใบบอกของพระยราราชสัมภารากรอีกฉบับกล่าวว่า

“...เมื่อ ณ เดือน ๑๒ ปีมแมเบญจศก  จะทำการตัดจุกเจ้าดารารัศมี  พระเจ้านครเชียงใหม่ถามข้าพระพุทธเจ้าว่า  เมื่อจะตัดจุกนั้นทำประการใด  ข้าพระพุทธเจ้าบอกว่า  เมื่อจวนจะถึงฤกษต้องแยกจุกออกมุ่นเปนสามหมวก   ต้องหาคนที่ดีมีอายุมากมียศมากมาตัดหมวกละคน  พระเจ้านครเชียงใหม่ถามข้าพระพุทธเจ้าว่าจะได้ใคร  ข้าพระพุทธเจ้าตอบว่าพระเจ้านครเชียงใหม่คนหนึ่ง  อีกสองคนนั้นแล้วแต่จะหา  พระเจ้าเชียงใหม่ว่าให้ข้าพระพุทธเจ้าตัดด้วยหมวกหนึ่ง  เจ้านครลำพูน ตัดหมวกหนึ่ง  แล้วให้มีหนังสือไปเชิญเจ้านครลำพูนๆ มีหนังสือบอกป่วยตอบมา   ครั้นวันแห่วันแรกพระเจ้านครเชียงใหม่บอกข้าพระพุทธเจ้าว่าเจ้านครลำพูนบอกป่วย  ข้าพระพุทธเจ้าว่าให้เจ้านายผู้ใดไปบอกว่า  พระเจ้านครเชียงใหม่กับข้าพระพุทธเจ้าให้ไปเชิญมา  พระเจ้านครเชียงใหม่ก็ให้นายน้อยมหาวงษไปเชิญ  เจ้านครลำพูนก็มาถึงต่อวันแห่ที่สอง...”

อนึ่ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทราบความในใบบอกฉบับลงวันอังคาร  เดือน ๑๑  ขึ้น ๑ ค่ำ  ปีมะแมเบญจศก  จุลศักราช ๑๒๔๕ (วันที่  ๒  ตุลาคม  พ.ศ. ๒๔๒๖)  ที่พระยาราชสัมภารากรกราบบังคมทูลพระกรุณาเรื่องพระเจ้านครเชียงใหม่เตรียมการจัดจุกเจ้าดารารัศมีนั้นแล้ว  ก็ได้มีพระราชหัตถเลขาลงวันศุกร์  เดือน ๑๒  แรม ๙ ค่ำปีมะแมเบญจศก  จุลศักราช ๑๒๔๕ (วันที่  ๒๓  พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๔๒๖) พระราชทานไปยังพระยาราชสัมภารากรให้อัญเชิญกระแสพระบรมราชโองการไปชี้แจงแก่พระเจ้าอินทวิชยานนท์ และเจ้าทิพเกสร ทราบ  ดังมีความในพระราชหัตถเลขานั้นว่า
 “...ถึงพระยาราชสัมภารากรข้าหลวงสามเมือง  ด้วยมีหนังสือฉบับที่ ๔  ลงวัน ๓  เดือน ๑๑  ขึ้น ๑ ค่ำปีมแมเบญจศก  บอกด้วยการซึ่งพระเจ้าเชียงใหม่คิดจะโกนจุกบุตร  แลมีใบบอกทางราชการแลใบบอกไปรเวศ  ถวายสมเดจพระเจ้าบรมวงษ์เธอ เปนหลายฉบับ  ได้ทราบความตลอดแล้ว
บอกทางราชการแลบอกไปรเวตถวายสมเดจพระเจ้าบรมวงษเธอนั้น  ได้ถวายความไปให้ท่านทรงตอบตลอดแล้ว  แต่เรื่องโกนจุกนั้น  เมื่อพระเจ้าเชียงใหม่ลงมาอยู่กรุงเทพฯ  ทิพเกสรก็ได้บอกให้รู้  เรารับไว้ว่าจะทำขวัญ  จึ่งได้ส่งตุ้มหูระย้าเพชรคู่หนึ่งขึ้นมา  ให้พระยาราชสัมภารากรนำไปทำขวัญ  แต่ต้องชี้แจงให้ทราบ  ว่าธรรมเนียมเจ้าแผ่นดิน  ทำขวัญโกนจุกโดยทางราชการนั้นไม่มี  เปนแต่เมื่อบุตรข้าราชการที่ถวายตัวทำราชการอยู่ในวังทูลลาโกนจุก  ก็พระราชทานเงินพระคลังในที่ทำขวัญบ้าง  แต่บุตรข้าราชการที่ไม่ได้ทำราชการนั้น  ต่อทรงพระกรุณาบิดามาก  จึงได้พระราชทานบ้าง  มีน้อยราย  แต่ก็เปนของพระคลังข้างที่ทั้งนั้น  ไม่นับว่าเปนราชการแผ่นดิน  จึ่งไม่ได้มีศุภอักษรส่งของขึ้นมาตามทางราชการ

การซึ่งพระยาราชสัมภารากรได้ตริตรองโยกย้ายเหนี่ยวรั้ง  เพื่อจะไม่ให้พระเจ้านครเชียงใหม่รีบทำการโกนจุก  เพราะเกรงจะเปนธรรมเนียมกรุงเทพฯ  ก็เปนอัธยาไศรยตริตรองรอบคอบดีอยู่  แต่การโกนจุกนี้เปนน้ำท่วมทุ่ง  บางคนก็ทำมาก  บางคนก็ทำน้อยตามอัธยาไศรย  ไม่สู้เปนการสลักสำคัญอันใดนัก  ถึงจะทำการก็คงไม่เหมือนกรุงเทพฯ ทีเดียว  ซึ่งผ่อนผันไปไม่ให้เปนการขัดอกขัดใจกันในการไม่พอ  เรื่องดังนี้เปนการชอบแล้ว  อย่าให้มีความหวาดหวั่นอันใดเลย...”
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 09 พ.ค. 15, 20:57

เรือนตึกเจ้าจอมก๊กออ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.091 วินาที กับ 19 คำสั่ง