เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10
  พิมพ์  
อ่าน: 38170 ท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร
หมามุ่ย
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 25 มิ.ย. 15, 08:38

เข้ามาแอบแฝงตัวเป็นผู้อ่านอยู่นาน..ได้รับความรู้และความสุขใจมากมายค่ะต้องขอบพระคุณอาจารย์หลายๆท่านจบจากกระทู้นี้แล้วคงได้เข้าไปอ่านกระทู้"เจ้าพระยามหิธร"ต่อเลย...รู้สึกแปลกใจค่ะว่าทำไมสองกระทู้นี้ถึงได้ห่างกันถึง 10 ปี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 25 มิ.ย. 15, 09:56

ตอบง่ายนิดเดียวค่ะ
ได้หนังสือห่างกัน 10 ปีค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 25 มิ.ย. 15, 10:18

          ชีวิตในช่วงปลายรัชกาลที่ 6  ต่อกับต้นรัชกาลที่ 7 ดำเนินไปอย่างราบรื่น   เว้นเรื่องมรณกรรมของปาณีเสียเรื่องหนึ่ง  ท่านผู้หญิงกลีบก็มีชีวิตที่สุขสบาย  พรั่งพร้อมด้วยเกียรติยศ
          ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลาบรรยายถึงนิสัยของมารดาท่าน ที่ออกจะทันสมัยกว่าสตรีอื่นๆในยุคเดียวกันอยู่มาก   เช่นมีใจรักในศิลปะและวรรณกรรม  ถึงกับจัดละครรำขึ้นในบ้านของท่าน  ผู้แสดงคือธิดาและเด็กๆในบ้าน โดยมีครูละครของคุณท้าวนารีวรคณารักษ์มาฝึกสอนให้  ละครที่เล่นก็เป็นละครพระราชนิพนธ์ในศกุนตลา อิเหนา สังข์ทอง และไกรทอง   ฝึกหัดกันจนรำได้ดี  ท่านผู้หญิงจัดให้แสดงต่อหน้าแขกเหรื่อญาติมิตรหลายครั้ง
         คุณสมบัติของท่านผู้หญิงกลีบ นอกจากทำกับข้าวเก่งทั้งไทยและฝรั่ง  ปรุงน้ำอบน้ำหอมเองได้ถึงขั้นทำเป็นสินค้าออกขาย อ่านหนังสือยากๆอย่างวรรณคดีได้   ชอบละคร    ด้านกีฬาท่านก็เก่งเกินหน้าสตรีสมัยนั้นมาก  คือเล่นแบดมินตันได้   และที่น่าอัศจรรย์กว่านี้ คือเล่นบิลเลียดได้ด้วย    แทงลูกได้แม่นยำขนาดเป็นเพื่อนเล่นบิลเลียดของเจ้าพระยามหิธรสามีท่านได้เป็นประจำ
บันทึกการเข้า
หมามุ่ย
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 25 มิ.ย. 15, 12:32

ในสมัยนั้นนับว่าน่าทึ่งมากค่ะสำหรับ"แม่บ้าน"อย่างท่่านที่มีงานรัดตัวขนาดนั้น....แล้วยังจะมีเวลาสำหรับงานอดิเรกด้านกีฬาได้อีกโดยเฉพาะ"บิลเลียด"เพราะเป็นกีฬาที่ต้องผ่านการฝึกซ้อมจึงจะแทงได้อย่างแม่นยำ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 26 มิ.ย. 15, 09:41

   หลังจากประสบความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตมาหลายปี  โลกธรรม 8 ก็ได้สำแดงตัวทางด้านเสื่อมให้ท่านผู้หญิงกลีบได้ประสบ    เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475  คณะราษฎร์ได้ทูลสมเด็จพระปกเกล้าให้ยุบตำแหน่งเสนาบดีมุรธาธรของเจ้าพระยามหิธร  เปลี่ยนจากราชเลขาธิการเป็นราชเลขานุการ และลดฐานะลงให้เทียบเท่าปลัดกระทรวง    เมื่อถูกบีบบังคับเช่นนั้น   เจ้าพระยามหิธรจึงกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง
   ความผันผวนในโชคชะตาของสามี เป็นความกังวลของท่านผู้หญิง    แต่ก็ยังดีอยู่หน่อย ที่บุตรชายทั้งสามกลับจากต่างประเทศมาแล้ว  ไม่มีเรื่องต้องให้ห่วงใยอีก
   ท่านผู้หญิงประสบโลกธรรม อยู่ 3 ปี    ชะตาของเจ้าพระยามหิธรก็กระเตื้องขึ้นมาอีกครั้ง   กลับขึ้นสู่ที่สูง เมื่อรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนาขอให้ท่านเข้าร่วมค.ร.ม. ในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม
   
   ในพ.ศ. 2479   ท่านผู้หญิงกลีบมีความสุขอีกครั้ง เมื่ออายุท่านครบ 5 รอบ    ซึ่งโบราณถือว่าเป็นมงคลที่มีอายุยืนยาวมาจน 60 ปี  ควรแก่การฉลองเป็นงานใหญ่ โดยมีลูกๆหลานๆช่วยกัน จัดทั้งพิธีสงฆ์ การเลี้ยงญาติมิตร และมีละครที่จัดฉลองอายุ     ทุกคนเห็นพ้องกันว่าจะทำตรานางฟ้าโปรยดอกไม้ ติดหน้าโรงละคร      เมื่อถามกันว่าจะเป็นดอกอะไรดี  ท่านผู้หญิงก็ตอบว่า ควรเป็นดอกจำปา  เพราะนามเต็มของท่านคือ "กลีบจำปา"   ทำให้ลูกๆประหลาดใจมากเพราะไม่รู้มาก่อน  และไม่เคยได้ยินใครเรียกด้วย
   ท่านผู้หญิงหัวเราะและตอบว่า เจ้าพระยามหิธรเป็นคนตัดชื่อของท่านให้เหลือสั้นๆ เพียง"กลีบ" คำเดียว     โดยให้เหตุผลว่าชื่อสามัญชนที่ยาวเกิน 2 พยางค์ ถือว่าทำเทียมเจ้านาย  ไม่สมควรทำ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 26 มิ.ย. 15, 09:58

ท่านผู้หญิงหัวเราะและตอบว่า เจ้าพระยามหิธรเป็นคนตัดชื่อของท่านให้เหลือสั้นๆ เพียง"กลีบ" คำเดียว     โดยให้เหตุผลว่าชื่อสามัญชนที่ยาวเกิน 2 พยางค์ ถือว่าทำเทียมเจ้านาย  ไม่สมควรทำ

แต่ก็แปลกที่ธิดาของท่านมีชื่อเกิน ๒ พยางค์แทบทุกคน  ยิงฟันยิ้ม

ท่านเจ้าคุณและท่านผู้หญิงมีบุตรธิดา ๑๒ คน

๑๒ พี่น้องมีดังนี้ครับ

๑)  จักร  (ถึงแก่กรรมแต่ยังเยาว์)
๒)  ปาณี  ต่อมาเป็น นายจ่ายวด 
๓)  ศรี  ต่อมาเป็นเป็นคุณหญิงไชยยศมบัติ (ศรี  ฤษณามระ)
๔)  ศีล  (ถึงแก่กรรมแต่ยังเยาว์)
๕)  วิสุทธิ์  ต่อมาเป็น หลวงจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์
๖)  ดุษฎีมาลา  ต่อมาเป็น ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา  มาลากุล
๗)  วิจิตราภรณ์
๘)  ภูษนอาภรณ์  สมรสกับคุณสังวรณ์  บุญเกตุ
๙)  นิภาภรณ์  วิมลศิริ
๑๐) มัณฑนาภรณ์
๑๑) ดารา  ต่อมาเป็นคุณดารา  ไชยยศมบัติ (สมรสกับพระยาไชยยศสมบัติ)
๑๒) รัตนาภรณ์  สมรสกับนายแพทย์ใช้  ยูนิพันธ์

บันทึกการเข้า
เอื้องหลวง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 55


ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 26 มิ.ย. 15, 11:09

   
   ท่านผู้หญิงหัวเราะและตอบว่า เจ้าพระยามหิธรเป็นคนตัดชื่อของท่านให้เหลือสั้นๆ เพียง"กลีบ" คำเดียว     โดยให้เหตุผลว่าชื่อสามัญชนที่ยาวเกิน 2 พยางค์ ถือว่าทำเทียมเจ้านาย  ไม่สมควรทำ

เวลาเปลี่ยน ค่านิยมก็เปลี่ยนนะคะ ถ้าคนสมัยก่อนมาเห็นชื่อจริงของคนสมัยนี้คงตกใจ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 26 มิ.ย. 15, 11:34

ชื่อยาว ๆ มีมาตั้งแต่สมัยนั้นแล้ว อย่างชื่อบุตรธิดา เจ้าพระยารามราฆพ นอกจากจะยาวแล้วยังคล้องจองกันด้วย  ยิงฟันยิ้ม

เรื่องตั้งชื่อลูกยาวๆ นี่  ทำให้นึกถึงลูกเจ้าพระยารามราฆพ ทราบว่า
ชื่อลูกๆ ท่านเจ้าคุณ  ยาวและคล้องจองพิศดารมาก
อย่างกับชื่อป้อมประตูในพระบรมมหาราชวัง

ชื่อบุตรธิดาเจ้าพระยารามราฆพ  จัดให้

รุจิรา
มานน  
พัฒนา  
บุษบานงเยาว์  
เชาว์ชาญบุรุษ  
พิสุทธิ์อาภรณ์  
บทจรพยัพทิศ  
จักรกฤษณ์กุมารา  
วนิดาบุญวาส  
พรหมาศนารายณ์  
เจ้าสายสุดที่รัก  
สุรางค์  
โสภางค์พึงพิศ  
จิตอนงค์  
บุษบงรำไพ  
อนงค์ในวัฒนา  
ปรียานงราม
ความจำนงค์  
สิริโสภา  
ดวงสุดาผ่องศรี  
กุมารีหริลักษณ์  
ทรงจักรวรพันธ์  
รามจันทร์วรพงศ์  
ภุชงค์บรรจถรณ์  
จันทรรัศมี  
รฆุพงศ์  
นีละพงศ์รำไพ  
ไกรกรีกูล  
ประยูรกาฬวรรณ  
นวลจันทร์ธิดาราม  
โสมยามส่องฟ้า  
สู่นคเรศ  
ทักขิณีเขตจรดล  
อำพลปนัดดา

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 26 มิ.ย. 15, 11:59

บุตรธิดาหมายเลข ๑-๕  ยังคงรักษาธรรมเนียมเดิม คือชื่อไม่เกิน ๒ พยางค์
๑)  จักร  (ถึงแก่กรรมแต่ยังเยาว์)
๒)  ปาณี  ต่อมาเป็น นายจ่ายวด
๓)  ศรี  ต่อมาเป็นเป็นคุณหญิงไชยยศมบัติ (ศรี  ฤษณามระ)
๔)  ศีล  (ถึงแก่กรรมแต่ยังเยาว์)
๕)  วิสุทธิ์  ต่อมาเป็น หลวงจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์

ตามชื่อราชทินนามของเจ้าคุณพ่อ
จากนั้น ก็ข้ามไป หมายเลข ๑๑   ที่ยังรักษาธรรมเนียมเดิม
๑๑) ดารา  ต่อมาเป็นคุณดารา  ไชยยศมบัติ (สมรสกับพระยาไชยยศสมบัติ)
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 28 มิ.ย. 15, 20:17

 เจ๋ง
บุตรธิดาหมายเลข ๑-๕  ยังคงรักษาธรรมเนียมเดิม คือชื่อไม่เกิน ๒ พยางค์
๑)  จักร  (ถึงแก่กรรมแต่ยังเยาว์)
๒)  ปาณี  ต่อมาเป็น นายจ่ายวด
๓)  ศรี  ต่อมาเป็นเป็นคุณหญิงไชยยศมบัติ (ศรี  ฤษณามระ)
๔)  ศีล  (ถึงแก่กรรมแต่ยังเยาว์)
๕)  วิสุทธิ์  ต่อมาเป็น หลวงจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์

ตามชื่อราชทินนามของเจ้าคุณพ่อ
จากนั้น ก็ข้ามไป หมายเลข ๑๑   ที่ยังรักษาธรรมเนียมเดิม
๑๑) ดารา  ต่อมาเป็นคุณดารา  ไชยยศมบัติ (สมรสกับพระยาไชยยศสมบัติ)

พระยาไชยยศสมบัติท่านนี้คือบิดาของ พ.เนตรรังสี ผู้เขียน 'เด็กบ้านสวน' ใช่หรือเปล่าคะ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 29 มิ.ย. 15, 10:25

อ่านประวัติพระยาไชยยศสมบัติ ( เสริม กฤษณามระ) ได้ที่นี่ค่ะ

http://www.shicu.com/index.php/about-us/story/33-2012-10-19-08-01-06
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 29 มิ.ย. 15, 10:40

  ความผันผวนทางการเมืองยังคงติดตามมาอีกไม่หยุดยั้ง   รัฐบาลพระยาพหลฯ พ้นหน้าที่ไปเมื่อพ.ศ. 2480  เป็นผลให้เจ้าพระยามหิธรพ้นจากตำแหน่งรมว.ยุติธรรมไปด้วย     จากนั้นชีวิตราชการของท่านก็สิ้นสุดลง กลายเป็นข้าราชการบำนาญมาตลอดอายุขัย

   ชะตาชีวิตหลังจากนั้นของท่านผู้หญิง ประสบเรื่องหนักๆเพียงครั้งเดียวคือป่วยหนักในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2   ถึงขั้นครอบครัวคิดว่าจะไม่รอด   เจ้าพระยามหิธรถึงกับตระเตรียมงานศพไว้ล่วงหน้า และเรียกบุตรชายที่รับราชการอยู่สงขลากลับมาดูใจแม่      แต่ชะตาท่านผู้หญิงยังไม่ถึงฆาต   บุตรเขยของท่านคือนายแพทย์ใช้ ยูนิพันธ์ ที่จบวิชาแพทย์มาจากอังกฤษ  ได้รักษาท่านจนหายสนิท แข็งแรงเป็นปกติ   เดินทางไปท่องเที่ยวจังหวัดไกลๆอย่างเชียงใหม่และสงขลาได้     ส่วนสุขภาพของเจ้าคุณ กลับเสื่อมโทรมลง

    หลังสงครามโลก ท่านผู้หญิงย่างเข้าวัย 70  ท่านมองเห็นสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก โดยเฉพาะสังคมครอบครัว  บ้านใหญ่ที่มีบริวารมากๆ มีแรงงานเหลือเฟือ เริ่มหมดไปจากสังคมไทย     วิชาทำกับข้าวที่ถ่ายทอดกันมาก็หายากขึ้น  แม่ครัวดีๆหาตัวไม่ได้เหมือนก่อน   ท่านจึงเขียนตำรากับข้าวขึ้นสำหรับลูกหลาน ให้หัดทำกันเอง  พิมพ์แจกในวันเกิดครบรอบ 72 ปีเมื่อพ.ศ. 2492  ตามมาด้วยตำราว่าด้วยการปอกผลไม้  ทำของว่างและขนม   โดยวิธีบอกปากเปล่าให้หลานจด แล้วนำไปพิมพ์รวมเล่ม
     หนังสือสองเล่มนี้เป็นผลงานที่ธิดาของท่าน ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลาภูมิใจมาก ว่ามารดาผู้ชราและเป็นคนรุ่นเก่า สามารถเรียบเรียงหนังสือตำราได้ถึง 2 เล่ม   ถือว่าเป็นความสามารถระดับอัจฉริยะ
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 29 มิ.ย. 15, 13:36

บิดา พ. เนตรรังสี คือ พระยาไชยยศสมบัติ (เนื่อง เนตรรังสี) มารดา ชื่อ ชม ค่ะ
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 29 มิ.ย. 15, 20:49

ขอบพระคุณอาจารย์เทาชมพูและคุณกะออม เดี๋ยวจะเข้าไปอ่านตามลิ้งค์ที่แนะนำค่ะ
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 29 มิ.ย. 15, 20:53

บิดา พ. เนตรรังสี คือ พระยาไชยยศสมบัติ (เนื่อง เนตรรังสี) มารดา ชื่อ ชม ค่ะ


คุณกะออมพอจะมีประวัติของ พ.เนตรรังสี เพิ่มเติมบ้างไหมคะ ดิฉันเสิร์ชเน็ทแล้วแต่ได้ข้อมูลแค่นิดหน่อยเท่านั้น
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 20 คำสั่ง