เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
  พิมพ์  
อ่าน: 38052 ท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 02 มิ.ย. 15, 19:52

พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ (ลออ  ไกรฤกษ์) ได้สมัครเป็นสมาชิกเสือป่าตั้งแต่แรกกแงตั้งเสือป่า
ได้รับพระราชทานยศเสือป่าครั้งแรกเป็นนายหมู่ตรี  แล้วได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นลำดับ ดังนี้
เลื่อนเป็นนายหมู่โท  ๓๐  กันยายน  ๑๓๐
เลื่อนเป็นนายหมู่เอก  ๑๗  กุมภาพันธ์  ๑๓๐
เลื่อนเป็นนายหมู่ใหญ่  ๑๗  กุมภาพันธ์  ๑๓๑
เป็นนายหมวดโท  ๕  ธันวาคม  ๒๔๕๗
เป็นนายหมวดเอก  ๖  กุมภาพันธ์  ๒๔๕๗
เป็นนายกองตรี  ๑๖  ธันวาคม  ๒๔๕๘

วันที่ ๒ กันยายน  ร.ศ. ๑๓๐ (พ.ศ. ๒๔๕๔)  ได้รับพระราชทานธงประจำตัวนายหมู่  มีลักษณะเป็นธง
พื้นธง      สีเหลือง  หมายว่ามีกำเนิดในวันพฤหัสบดี
ลายกลาง   รูปมือ ๒ ข้างชูจักร์  มือตัดแค่ข้อ  โผล่จากมงคล  หมายถึงปาณี (คือมือ) ถือจักร  ตรงกับราชทินนาม จักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ 
อักษรด้านบน  ยถาวาที  ตถาการี  แปลความว่า เป็นผู้มีปกติกล่าวอย่างใด  เป็นผู้กระทำอย่างนั้น
อักษรด้านล่าง  เมธารโน  เป็นนามฉายาเมื่อครั้งอุปสมบทเป็นพระภิกษุ



บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 02 มิ.ย. 15, 19:59

เช็มสมาชิกสมาคมบำรุงเสือป่า  ซึ่งท่านอาจารย์เรียกว่า "เข็มแม่เสือ" นั้น  เป็นเข็มอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ รร ๖ พระมหามงกุฎ ประดิษฐานเหนือหน้าเสือ  สอดด้วยแพรแถบหมายกองเสนาที่สังกัด  ในภาพเป็นแพรแถบสีดำมีริ้วสีแดง  หมายกองเสนาหลวงรักษาพระองค์ที่เจ้าพระยามหิธรสังกัด

กองเสนาอื่นๆ ก็มีสีหมายกองเสนแตกต่างกันไป คือ
๑)   กองเสนารักษาดินแดนกรุงเทพฯ         หมายสีเหลือง
๒)   กองเสนารักษาดินแดนกรุงเก่า          หมายสีชาต
๓)   กองเสนารักษาดินแดนฝ่ายเหนือ       หมายสีม่วงแก่
๔)   กองเสนารักษาดินแดนอีสาน           หมายสีน้ำตาลอ่อน (กากี)
๕)   กองเสนารักษาดินแดนตวันออก        หมายสีแสด
๖)   กองเสนารักษาดินแดนอาคเนย์        หมายสีไพล
๗)   กองเสนารักษาดินแดนปักษ์ใต้          หมายสีเขียว
๘)   กองเสนารักษาดินแดนภูเก็ต         หมายสีฟ้า
๙)   กองเสนารักษาดินแดนตวันตก        หมายสีน้ำเงินแก่   
๑๐)   กองเสนารักษาดินแดนพายัพ          หมายสีบานเย็น



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 02 มิ.ย. 15, 20:30

 ยิ้มกว้างๆ


บันทึกการเข้า
Diwali
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 03 มิ.ย. 15, 02:45

มาลงชื่อเข้าเรียนรอบดึกมากๆ หลังจากตั้งกระทู้ไปแล้วครบสามสิบวันนะครับ

หวังว่าคุณครูทุกท่านคงไม่ลงโทษแบบโบราณเอาหวายตีก้นนะครับ





ขออนุญาตนั่งหลังห้องต่อไปแบบเงียบๆนะครับ
เจ๋ง เจ๋ง เจ๋ง
บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 04 มิ.ย. 15, 14:13

  พิธีอีกอย่างหนึ่งที่คุณหญิงในสมัยนั้นต้องเข้าร่วม คือพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาของบรรดาข้าราชการ    ซึ่งมาล้มเลิกไปหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475    ในฐานะภรรยาเอก  คุณหญิงกลีบต้องสวมเสื้อขาวนุ่งผ้าขาว สะพายแพรปัก และประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์เต็มยศ    ตามสามีเข้าไปร่วมพิธีที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว     ในรัชกาลต่อมาก็โปรดเกล้าฯให้ย้ายไปทำพิธีที่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ
   พิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาในสมัยต้นรัตนโกสินทร์  เป็นพิธีที่มีสีสันอย่างหนึ่งคือ ภรรยาเอกนุ่งขาวห่มขาว  ส่วนภรรยาน้อยทั้งหลายแต่งสีต่างๆตามเข้าไปเป็นขบวนด้วย    เนื่องจากสังคมไทยไม่ได้กีดกันเมียน้อย  มีกฎหมายรองรับ     งานที่เมียหลวงพาเมียน้อยมาร่วมด้วยจึงกลายเป็นงานประกวดประขันกันอยู่ในที ว่าขบวนของท่านขุนนางคนใดดูโอ่อ่ากว่ากัน     เป็นหน้าที่เมียหลวงจะจัดหาเสื้อผ้าเครื่องประดับให้เหมาะสมกับนางเล็กๆของสามี อย่าให้อายบ้านอื่นได้
  แต่ในเรื่องนี้ ไม่ได้บรรยายว่าอนุภรรยาคนอื่นๆของเจ้าคุณจักรปาณีได้ติดตามขบวนเข้าไปด้วยหรือไม่      หรือว่ามีแต่คุณหญิงกลีบคนเดียว
  ในรัชกาลที่ 6 และ 7  ธรรมเนียมนุ่งขาวห่มขาวของสตรีบรรดาศักดิ์หมดไป   เปลี่ยนเป็นแต่งสีสันต่างๆแล้วแต่สมควร   

แอบมาถามอาจารย์ว่า ถ้ากรณีขุนนางท่านนั้นมีภรรยาที่เป็นเมียพระราชทานกับเมียกลางเมืองในบ้านเดียวกัน อย่างกรณีพระไวยกับสร้อยฟ้าศรีมาลา ใครจะเป็นคนนุ่งขาวเข้าวังตามพระไวยคะ เพราะสองนางศักดินาเท่ากัน หรือแต่งขาวทั้งคู่

อันนี้สงสัยจริงๆเจ้าค่ะ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 04 มิ.ย. 15, 19:24

ภรรยาคนไหนได้รับพระราชทานตราจุลจอมเกล้า คนนั้นได้นุ่งขาวห่มขาวเข้าวังค่ะ
ถ้าหากว่าไม่มีคนไหนได้รับพระราชทาน   ในบ้าน สามีนับใครเป็นภรรยาเอก คนนั้นนุ่งขาวห่มขาวเข้าวัง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 06 มิ.ย. 15, 08:08

   เมื่อพระยาจักรปาณีฯกลับมาสู่ความเจริญก้าวหน้าอีกครั้ง    คุณหญิงกลีบก็ต้องมีบทบาทเป็นแรงหนุนสำคัญ ด้วยฝีไม้ลายมือในการทำอาหารของท่าน  เมื่อเจ้าคุณได้รับเลือกเป็นนายทะเบียนของสโมสรจิตรลดา ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงก่อตั้งขึ้น แบบสโมสรอังกฤษ  เป็นสโมสรที่หรูหรามีหน้ามีตาที่สุดในยุคนั้น    สโมสรมีการนัดพบปะสมาชิกที่พระตำหนักจิตรลดาทุกวันเสาร์   มีการรับประทานอาหารค่ำร่วมกัน  และมีการบันเทิงต่างๆ   
   นอกจากนี้ มีการจัดเวรทำอาหารมาเลี้ยงแขก หมุนเวียนกันไปในหมู่กรรมการสโมสร    เมื่อถึงเวรพระยาจักรปาณี  ก็เป็นหน้าที่คุณหญิงต้องโชว์ฝีมืออาหาร จัดหามาจากบ้าน  เป็นอาหารชั้นดีและแปลกไปกว่าที่จะหารับประทานกันได้ทั่วๆไป
   
   เมื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงจัดงานออกร้านในฤดูหนาว เพื่อหารายได้มาบำรุงกิจการเสือป่า   ในพ.ศ. 2461    เจ้าคุณได้รับมอบหมายให้ออกร้าน    คนดำเนินการตัวจริงก็คือคุณหญิง  ต้องจัดการออกแบบร้าน ตกแต่งร้าน  หาคนเฝ้าร้าน ฯลฯ  และคอยรับเสด็จเมื่อเสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมเยียนร้านด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 06 มิ.ย. 15, 08:43

  เมื่อเมฆหมอกในปลายรัชกาลก่อนผ่านไป    พระยาจักรปาณีกลับสู่ความก้าวหน้าในราชการอีกครั้ง  คุณหญิงกลีบก็รู้สึกเป็นสุขและมั่นคงในชีวิต   แต่ท่านก็ยังไม่ละทิ้งรายได้ในการปรุงน้ำอบน้ำปรุงขายอยู่เช่นเดิม    ท่านปลูกไม้หอมเอาไว้เต็มบ้าน  ชื่อไม้ดอกที่ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลาบรรยายไว้ในหนังสือ ทำให้มองภาพออกว่าบริเวณบ้านเจ้าคุณคงจะกว้างมาก ถึงปลูกได้เป็นสิบๆชนิด  บางอย่าง เด็กรุ่นหลังก็ไม่รู้จักแล้ว  ทั้งชื่อและดอก
   ขอยกตัวอย่างมาบางชื่อที่หายาก     เช่น เกด บุนนาค สารภี ประยงค์ กาหลง โยทะกา    บุหงา ลำเจียก สายน้ำผึ้ง จำปาแขก จันทน์กะพ้อ  นมแมว   ส่วนที่หาไม่ยาก มีอีกเป็นสิบ

   คุณหญิงกลีบสอนให้เด็กในบ้านร้อยมาลัย   แต่ไม่ได้ร้อยไว้เปล่าๆ ท่านนำไปฝากขายตามร้าน เป็นค่าขนมให้เด็กๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 06 มิ.ย. 15, 08:59

เกด โยทะกา  นมแมว กาหลง จำปีแขก


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 06 มิ.ย. 15, 12:59

จำปีแขก

คนละอย่างกับดอกจำปี Michelia alba


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 06 มิ.ย. 15, 13:09

ดอกจำปีแขก หรือ จำปาแขก Michelia figo


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 08 มิ.ย. 15, 14:52

มีฝากให้คุณหมอเพ็ญอีกเยอะเลย
มหาหงส์ มะลิลา มะลิซ้อน  กระดังงา ลำดวน เทียนกิ่ง เขี้ยวกระแต ชะลูด โมก พุทธชาด  จันทน์กะพ้อ

เพราะทำน้ำอบน้ำหอมขาย   งานอดิเรกของคุณหญิงกลีบคือกลั่นน้ำหอมด้วยเครื่องกลั่นที่ซื้อมาประจำบ้าน   กลั่นจากกระดังงา กุหลาบและจันทน์กะพ้อ  โดยสกัดน้ำมันออกเสียก่อน   เอาน้ำมันนี้ไว้ใช้ปรุงน้ำอบได้ตลอดปี
ในเมื่อปรุงน้ำอบขาย  ท่านก็เลยต้องสะสมเครื่องหอมต่างๆ รวมทั้งเลี้ยงชะมดเอาไว้ด้วย   ท่านฟั่นเทียนเอง   จัดพานพุ่มดอกไม้เอง นำไปถวายพระเถระผู้ใหญ้ในเทศกาลทางศาสนา    เมื่อถึงวันวิสาขบูชา ข้าราชการทำโคมดอกไม้สดแขวนที่ระเบียงวัดพระแก้ว ก็แน่นอนว่ามีโคมดอกไม้สดฝีมือคุณหญิงจักรปาณีรวมอยู่ด้วย

ชะตาของคุณหญิงกลีบรุ่งเรืองขึ้นอีกเมื่อปาณี บุตรชายคนหนึ่งของท่านได้รับพระมหากรุณาธิคุณคัดเลือกไปเป็นมหาดเล็กรับใช้ และได้ร่วมแสดงละครพระราชนิพนธ์หลายเรื่อง     ในฐานะแม่ คุณหญิงก็ได้รับเชิญไปชมละคร ตลอดจนจัดหาเครื่องแต่งกายโก้ๆงามๆสมฐานะให้บุตรชาย
ท่านจึงกลายเป็นสตรีบรรดาศักดิ์ฺระดับผู้ใหญ่รายหนึ่ง ได้รับพระมหากรุณาฯ ให้เข้าวังในโอกาสต่างๆเสมอๆ รวมทั้งรับพระราชทานเลี้ยงในวังเจ้านายหลายๆพระองค์ ไม่ว่าจะเป็นสมเด็จพระพันปี  หรือวังของเจ้าฟ้ากรมขุนนครราชสีมา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 08 มิ.ย. 15, 15:05

   ความเป็นสตรีบรรดาศักดิ์ในสมัยนั้น ทำให้เจ้าตัวต้องปรับปรุงตัวเองให้ทันสมัยอยู่เสมอ  คำบรรยายของท่านผู้หญิงดุษฎีมาลาละเอียดพอจะทำให้เห็นวิวัฒนาการการแต่งกายของสตรีในสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อถึงรัชกาลที่ 6 ได้
   เผื่อใครที่ทำละครเข้ามาอ่าน จะได้เห็นภาพ  ไม่พลาดในการกำหนดเครื่องแต่งกาย
   ตอนเล็กๆในสมัยรัชกาลที่ 5   เด็กหญิงกลีบแต่งกายอย่างเด็กลูกผู้ดี คือไว้ผมจุก  นุ่งโจงกระเบนสวมเสื้อคอรูด (คือคอกระเช้าร้อยริบบิ้นรูดมาผูกไว้ตรงกลางเหนืออก) สวมกำไลและลูกปะวะหล่ำ  สวมกำไลเท้า   การแต่งกายแบบนี้สำหรับเด็กหญิงที่ยังไม่โกนจุก
   เมื่อโกนจุก แสดงว่าเข้าสู่วัยสาว ก็เลิกสวมเสื้อคอรูด  มาห่มสไบจีบ  นุ่งผ้าลายขัดมัน  ผมจุกตัดแล้วก็ไว้เป็นผมสั้น  ไม่ปล่อยยาว นี่คือการแต่งกายของสาวชาววังและสาวลูกขุนนาง
    เมื่อออกจากวังไปอยู่สวน   การแต่งกายก็เปลี่ยนไป  ชาวบ้านไม่แต่งกายประณีตอย่างสาวชาววัง เพราะต้องทำงานหนัก เคลื่อนไหวตลอดเวลา  ท่านก็สวมเสื้อแขนกระบอกรัดกุม นุ่งโจงกระเบนรัดกุมเช่นกัน
   ชะตาเปลี่ยนไป กลายเป็นภรรยาขุนนาง   คุณนายกลีบซึ่งต่อมาเป็นคุณหญิงกลีบ ก็แต่งกายสวยงามตามแบบแผนสตรีมีตระกูลสมฐานะ สวมเสื้อติดลูกไม้สะพายแพร โจงกระเบนผ้าลายอย่างดี   
   มาถึงรัชกาลที่ 6  พระราชนิยมคือให้สตรีนุ่งซิ่น  ไว้ผมยาว และขัดฟันให้ขาว   คุณหญิงกลีบก็ทำตามพระราชนิยม เปลี่ยนแปลงตัวเองให้ทันสมัยอยู่เสมอ
     
   
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 08 มิ.ย. 15, 15:06

ถามคุณหมอเพ็ญชมพู ว่าลำดวนมีพันธ์ุหอมและไม่หอมด้วยหรือ
ลำดวนต้นที่บ้านดอกเยอะเลยแต่ไม่ค่อยหอม

เคยปลูกนมแมวหลายปี ไม่หอม ถอนทิ้งไปแล้ว
มาปลูกลำดวน ตอนนี้สูง ๔ เมตรได้ ออกดอกปีแรก

ยังมีจันกะพ้ออีกต้น สูง ๘ เมตรแล้วไม่มีดอกเลย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 08 มิ.ย. 15, 15:12

ชะตาของคุณหญิงกลีบรุ่งเรืองขึ้นอีกเมื่อปาณี บุตรชายคนหนึ่งของท่านได้รับพระมหากรุณาธิคุณคัดเลือกไปเป็นมหาดเล็กรับใช้ และได้ร่วมแสดงละครพระราชนิพนธ์หลายเรื่อง   

นายปาณี ไกรฤกษ์หน้าตาหล่อเหลาทีเดียว

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 20 คำสั่ง