กะออม
|
ความคิดเห็นที่ 135 เมื่อ 30 มิ.ย. 15, 08:01
|
|
ประวัติ พ. เนตรรังษี เท่าที่พอหาได้และปะติดปะต่อจากหลายที่นะคะ พ. เนตรรังษี หรือ พัฒน์ เนตรรังษี บุตรคนเล็กของพระยาไชยยศสมบัติ (เนื่อง เนตรรังษี) กับนางชม เนตรรังสี เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙ มีพี่ร่วมมารดาเดียวกัน ๒ คน ประวัติเมื่อเยาว์ อ่านได้จากเด็กบ้านสวน และหนุ่มนักเรียน พัฒน์เป็นคนเรียนหนังสือเก่ง สอบได้ที่หนึ่งที่สองเมื่อเริ่มเรียนที่โรงเรียนวัดพิชัยญาติ ต่อด้วยโรงเรียนวัดประยุรวงศาวาส เมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมที่โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยาแล้ว เข้าเป็นนักเรียนช่างรังวัดที่ดินรุ่นแรก รับราชการเป็นช่างรังวัดจัตวา กองรังวัด กรมที่ดิน ประมาณ ๖ ปี จากนั้นเข้ารับราชการที่กรมโฆษณาการ ประจำกองข่าว ได้ ๒ ปีกว่า แล้วลาออกระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ พัฒน์เป็นนักเขียนในคณะสุภาพบุรุษ (เรื่องราวของคณะสุภาพบุรุษต้องแยกเป็นอีกเรื่องหนึ่ง) มีงานเขียนในหนังสือ สุภาพบุรุษ พ. เนตรรังษี เป็นนักประพันธ์มีผลงานหลายเรื่อง เช่น ความรักเรียนไม่รู้จบ แม่ศรีเรือน โลกละคร แต่ที่รู้จักกันดีน่าจะเป็นเด็กบ้านสวน และหนุ่มนักเรียน พ. เนตรรังษี ถึงแก่กรรม มีงานฌาปนกิจที่ วัดประยุรวงศาวาส เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๙
นามสกุลท่าน เนตรรังษี ค่ะ คอมพิวเตอร์รุ้ดีแก้ให้เป็น ส เสมอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Anna
|
ความคิดเห็นที่ 136 เมื่อ 30 มิ.ย. 15, 10:15
|
|
ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ คุณกะออม
ขอโทษอาจารย์เทาชมพูด้วยค่ะ ที่เแทรกเรื่องนี้ในกระทู้ท่านผู้หญิงกลีบ คือดิฉันกำลังหาประวัติของ พ.เนตรรังษี อยู่พอดีน่ะค่ะ เห็นชื่อพระยาไชยยศสมบัติก็เลยได้จังหวะถามถึง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33423
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 137 เมื่อ 30 มิ.ย. 15, 17:10
|
|
ไม่เป็นไรค่ะ คุณ Anna ตามสบาย
ช่วงทศวรรษหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือช่วง 2490s ท่านผู้หญิงกลีบประสบโลกธรรมด้านลบ อีกครั้ง คือการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก คนแรกคือบุตรชาย วิจิตราภรณ์ซึ่งรับราชการเป็นผู้พิพากษา ชีวิตการงานกำลังเจริญก้าวหน้า ได้เลื่อนเป็นชั้นพิเศษ ก็เกิดประสบอุบัติเหตุถึงเสียชีวิตในพ.ศ. 2495 ยังความวิปโยคแสนสาหัสให้ท่านผู้หญิง แต่ท่านเป็นพุทธศาสนิกชนที่ยึดมั่นในพระธรรมจริงๆ จึงสามารถข่มความทุกข์ลงได้ ดำเนินชีวิตต่อไปด้วยการเลี้ยงหลานกำพร้าทั้งสองคนอย่างดีที่สุด ผ่านมาอีกเพียง 4 ปี บุคคลสำคัญที่สุดในชีวิตท่านผู้หญิง คือเจ้าพระยามหิธรก็จากไปในพ.ศ. 2499 หลังจากใช้ชีวิตคู่กับท่านมาถึง 61 ปี แม้ว่าท่านผู้หญิงประสบความวิปโยคสาหัสอีกครั้ง ท่านก็เข้มแข็งพอจะเป็นแม่งานจัดงานศพให้สามีจนเรียบร้อย จากนั้นก็ดูแลแบ่งมรดกให้บุตรธิดาอย่างทั่วถึง ท่านผู้หญิงตัดสินใจยกตึกริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลตึกแดง ที่ท่านเคยใช้ชีวิตคู่กับเจ้าคุณมาตั้งแต่แต่งงานได้ 6 เดือน ให้เนติบัณฑิตยสภาตั้งเป็นมูลนิธิเจ้าพระยามหิธร และท่านผู้หญิงกลีบ เพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียนเนติบัณฑิตยสภา โดยมีเหตุผลว่า เจ้าคุณกับท่านได้ใช้ชีวิตร่วมกันที่บ้านนั้น ขณะที่เจ้าคุณเริ่มเรียนกฎหมายจนสอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตคนแรกของประเทศไทย การสละทรัพย์สินมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ทำให้ท่านผู้หญิงได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก จากการทำเรื่องกราบบังคมทูลขอพระราชทาน โดยกระทรวงยุติธรรม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33423
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 138 เมื่อ 06 ก.ค. 15, 15:30
|
|
ท่านผู้หญิงกลีบมีอายุล่วงเข้า 80 หลังเจ้าพระยามหิธรจากไป ท่านมีความสุขสงบอย่างผู้ชราอยู่กับลูกๆหลานๆ มีวิสุทธิ์หรือหลวงจักรปาณีกับภรรยาย้ายมาอยู่เป็นเพื่อน แต่เป็นสุขได้เพียง 2 ปี ก็ประสบความวิปโยคแสนสาหัสอีกครั้ง เมื่ิิอหลวงจักรปาณีถึงแก่กรรมลงอย่างกะทันหัน นายแพทย์ใช้ผู้เป็นบุตรเขยถึงกับต้องให้ยาระงับประสาท เพราะเกรงว่าท่านจะไม่สามารถอดกลั้นต่อความทุกข์โศกได้ ในระยะนี้ สุขภาพท่านผู้หญิงเสื่อมลง ทั้งหูก็เริ่มไม่ได้ยิน และดวงตาก็เป็นต้อกระจก เดินไม่ค่อยไหวและนั่งนานไม่ได้ แต่ท่านก็ปลาบปลื้มยินดีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จฯพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานเพลิงในงานศพหลวงจักรปาณี ท่านผู้หญิงได้มีโอกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอีก 2 ครั้ง ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อพ.ศ. 2502 ที่ท่านแต่งเต็มยศไปเฝ้า และอีกครั้งเมื่อไปรับพระราชทานเครื่องอิสริยาภรณ์ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก ในเวลานั้นดวงตาท่านมืดมัว มองไม่เห็นถนัด แต่ท่านก็ปลาบปลื้มที่ได้ฟังกระแสพระราชดำรัส โดยเฉพาะเมื่อทรงพระกรุณาโปรดถามถึงอาการดวงตาของท่าน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33423
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 139 เมื่อ 12 ก.ค. 15, 16:14
|
|
ท่านผู้หญิงกลีบดำเนินชีวิตอย่างสงบ และสมเกียรติยศท่านผู้หญิงมาจนอายุ 85 ปี ไม่มีอุปสรรคใดๆขัดขวางนอกจากต้อกระจก ซึ่งทำความเดือดร้อนรำคาญให้ เพราะท่านเป็นผู้ชอบอ่านหนังสือ เมื่ออ่านไม่ได้ท่านก็รำคาญมาก ท่านพยายามแสวงหาจักษุแพทย์มารักษา จนในที่สุดก็เข้าลอกต้อที่รพ.ศิริราช แต่กลับเป็นว่า นอกจากลอกต้อไม่สำเร็จ วัยที่ชราเป็นไม้ใกล้ฝั่งทำให้ท่านป่วยหนัก กลับมาอยู่บ้านด้วยการประคับประคองของลูกหลานที่เป็นแพทย์ได้ 15 วัน ท่านก็ถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบ และมีสติดีตลอดเวลาที่ป่วยหนัก
ชีวิตของท่านผู้หญิงกลีบ เป็นชีวิตที่เป็นแบบอย่างของสตรีโบราณก็ว่าได้ คือเป็นสตรีที่มีบุญวาสนาดีตลอดตั้งแต่วัยต้นจนปลายชีวิต ทั้งนี้จะเหมาว่าท่านเจอแต่โชคดีจากภายนอกใ่ายเดียวก็คงไม่ใช่ จริงอยู่ ท่านเป็นตัวอย่างความเชื่อของสมัยนั้นดังที่สุนทรภู่กล่าวว่า "เป็นสตรีสุดดีอยู่ที่ผัว" คือได้สมรสไปกับชายดี มีหน้าที่การงานสูง ยกย่องท่านเป็นเอกภรรยา ทำให้ชีวิตท่านรุ่งเรืองไปด้วย ท่านผู้หญิงกลีบเองก็ได้วางตัวเหมาะสมกับความสูงส่งที่ได้รับจากสามี เป็นช้างเท้าหลังที่คอยพยุงเท้าหน้าให้ก้าวไปด้วยกันอย่างมั่นคง ส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของสามี เท่าที่ภรรยาจะทำได้ นอกจากนี้จากคำบรรยายของท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มารดาท่านว่าเป็นผู้มีอัธยาศัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เมตตาบุตรธิดาทุกคนเสมอกัน แม้แต่คนอื่นๆที่ห่างออกไป เป็นญาติหรือไม่ใช่ญาติ แต่มาอยู่ในความปกครองของท่าน ท่านก็มีเมตตาจิตด้วยสม่ำเสมอ เป็นที่เคารพรักของคนเหล่านั้น ข้อนี้เป็นธรรมะข้อสำคัญมากสำหรับสตรีที่ต้องปกครองคนจำนวนมากในบ้าน ถ้าไม่มี บ้านช่องก็จะวุ่นวาย ถึงบ้านแตกสาแหรกขาดก็เป็นได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|