เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 11931 บ้านเลขที่ 183 ถนนสาทรใต้ (อาคารรัจนาการในปัจจุบัน)
NT
มัจฉานุ
**
ตอบ: 92


 เมื่อ 27 เม.ย. 15, 22:08

เมื่อสองสามวันที่ผ่านมา ผมเห็นภาพเก่าบ้านหลังหนึ่ง สวยงามมาก จากสังคมออนไลน์ของกลุ่มคนซึ่งรักวังและบ้านโบราณ โดยข้อมูลระบุว่าเป็นบ้านเลขที่ 183 สาทรใต้ ปัจจุบันคืออาคารรัตนาการ ทั้งนี้ผมสืบค้นแล้วยังไม่พบประวัติของบ้านนี้ หากผู้รู้แห่งเรือนไทยจะกรุณา จะขอบคุณยิ่ง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 28 เม.ย. 15, 15:20

เอาภาพมาลงให้แล้วกัน ส่วนตัวผมไม่ทราบประวัติบ้านหลังนี้ครับ


บันทึกการเข้า
พีรศรี
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 28 เม.ย. 15, 20:21

บ้านพระอภัยวงศ์วรเศรษฐ (ช่วง อภัยวงศ์) ครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 28 เม.ย. 15, 20:47

จากประวัติเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
ท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ป่วยเป็นโรคเรื้อรังมาหลายปี จนถึง วันที่ 27 สิงหาคม 2465 ถึงแก่อสัญกรรม หลังจากที่ท่านอสัญกรรม พระยาอภัยวงศ์วรเศรษฐ (ช่วง อภัยวงศ์) บุตรชายที่เกิดจาก หม่อมสอิ้ง ซึ่งเป็นบุตรวัยอาวุโสกว่าคนอื่นได้รับพินัยกรรมให้เป็น ผู้จัดการมรดก
ต่อมาปี พ.ศ. 2467 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางเจ้าสุวัทนาพระวรราชเทวี ซึ่งเป็น ธิดาของพระยาอภัยภูเบศร (เลื่อม อภัยวงศ์) ซึ่งเป็นพี่ชายของพระยาอภัยวงศ์วรเศรษฐ (ช่วง อภัยวงศ์) จึงได้ถวายตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรและสิ่งปลูกสร้าง ให้แด่ พระนางเจ้าสุวัทนาพระวรราชเทวี
และพระนางเจ้า ฯ ได้น้อมเกล้าถวายแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อมา พระองค์ได้ทรงมอบตึกหลังนี้ คืนให้กับ พระนางเจ้าสุวัทนาพระวรราชเทวี หลายปีต่อมาพระนางเจ้า ฯ ได้ทรงมอบตึกหลังนี้ให้กับรัฐบาลเพื่อใช้เป็นโรงพยาบาลและประโยชน์ต่อส่วนรวม
บันทึกการเข้า
NT
มัจฉานุ
**
ตอบ: 92


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 28 เม.ย. 15, 21:44

จากประวัติเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
ท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ป่วยเป็นโรคเรื้อรังมาหลายปี จนถึง วันที่ 27 สิงหาคม 2465 ถึงแก่อสัญกรรม หลังจากที่ท่านอสัญกรรม พระยาอภัยวงศ์วรเศรษฐ (ช่วง อภัยวงศ์) บุตรชายที่เกิดจาก หม่อมสอิ้ง ซึ่งเป็นบุตรวัยอาวุโสกว่าคนอื่นได้รับพินัยกรรมให้เป็น ผู้จัดการมรดก
ต่อมาปี พ.ศ. 2467 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางเจ้าสุวัทนาพระวรราชเทวี ซึ่งเป็น ธิดาของพระยาอภัยภูเบศร (เลื่อม อภัยวงศ์) ซึ่งเป็นพี่ชายของพระยาอภัยวงศ์วรเศรษฐ (ช่วง อภัยวงศ์) จึงได้ถวายตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรและสิ่งปลูกสร้าง ให้แด่ พระนางเจ้าสุวัทนาพระวรราชเทวี
และพระนางเจ้า ฯ ได้น้อมเกล้าถวายแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อมา พระองค์ได้ทรงมอบตึกหลังนี้ คืนให้กับ พระนางเจ้าสุวัทนาพระวรราชเทวี หลายปีต่อมาพระนางเจ้า ฯ ได้ทรงมอบตึกหลังนี้ให้กับรัฐบาลเพื่อใช้เป็นโรงพยาบาลและประโยชน์ต่อส่วนรวม

คำว่า "ตึกหลังนี้" ในข้อความที่อาจารย์กรุณาตอบ หมายถึงตึกที่ผมสอบถามในรูป หรือหมายถึงตึก รพ. เจ้าพระยาอภัยฯ ที่ปราจีนฯ ครับ?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 29 เม.ย. 15, 08:18

ตึกรพ.ค่ะ  ตึกในรูปน่าจะเป็นบ้านในกรุงเทพ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 29 เม.ย. 15, 09:08

เรื่องของบ้าน ๒ หลัง บ้านในกรุงเทพฯ และ ตึกโรงพยาบาล

ภาพดังกล่าวมาจากปกหนังสืองานศพนางวนิดา  แก่นอบเชย
(งานศพเมื่อ ๒๓ พ.ย. ๒๕๔๕)

นางวนิดา  แก่นอบเชย  ผู้วายชนม์ เป็นธิดาคนโตของพระอภัยวงศ์วรเศรษฐ (ช่วง  อภัยวงศ์)
กับหม่อมหลวงอาภา  อภัยวงศ์วรเศรษฐ (สกุลเดิม กุญชร)

พระอภัยวงศ์วรเศรษฐ (ช่วง  อภัยวงศ์) เป็นบุตรของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม  อภัยวงศ์)กับคุณหญิงสอิ้ง  
หม่อมหลวงอาภา  อภัยวงศ์วรเศรษฐ (สกุลเดิม กุญชร) เป็นธิดาของเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์  (หม่อมราชวงศ์หลาน  กุญชร)

บ้านในภาพหลังบน  เป็นบ้านของพระอภัยวงศ์วรเศรษฐ (ช่วง  อภัยวงศ์)ที่ถนนสาทร อันเป็นสถานที่เกิดของผู้วายชนม์

ส่วนตึกหลังล่างคือ ตึกยุโรปที่เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม  อภัยวงศ์) สร้างขึ้น  ปัจจุบันคือ โรงพยาบาลอภัยภูเบศร

อย่างที่ทราบกันว่า  ตระกูลอภัยวงศ์และกุญชร  เป็นตระกูลที่มั่งคั่งในสมัยหนึ่ง  
แต่ต่อมาเกิดเหตุผันผวน(อันเนื่องมาจากอะไรก็ตามแต่)  ทำให้ความมั่งคั่งนั้นค่อยหายไป
แม้แต่ที่บ้านของพระอภัยวงศ์วรเศรษฐ (ช่วง  อภัยวงศ์) ก็เช่นกัน
ในหนังสือนี้  มีภาพความมั่งคั่งมั่งมีของบ้านถนนสาทรหลังนี้ให้ดูภาพหนึ่ง  
เป็นภาพโต๊ะจัดเลี้ยงที่บ้านหลังนี้  ซึ่งแต่ก่อนมีการจัดเลี้ยงบ่อยมาก
ช้อนเงินช้อนทอง แก้วน้ำ และภาชนะที่ใช้จัดเลี้ยงนั้น เป็นลวดลาย  สั่งทำจากฝรั่งเศส  
เขียนน้ำทองบ้าง ฉาบทอง มีตราสกุลอภัยวงศ์  (หนังสือท่านว่าไว้อย่างนั้น)


บันทึกการเข้า
พีรศรี
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 29 เม.ย. 15, 20:28

ข้อมูลจากหนังสืออนุสรณ์ นางจิตราภา วรทัต
เป็นลูกสาวคนกลางของพระอภัยวงศ์วรเศรษฐ (ช่วง)
บอกว่าตอนเด็กๆ คุณจิตราภาอยู่ทั้งที่บ้านสาทรใต้ และที่บ้านคลองเตยของท่านตา
คือเจ้าพระยาเทเวศร์
ภายหลังไปอยู่กับหม่อมยายที่บ้านขมิ้น
ท่านบิดา คือพระอภัยวงศ์วรเศรษฐ ก็ไปอยู่ที่บ้านขมิ้นด้วย
หนังสือเล่าไว้สั้นๆ ประมาณนี้ครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 30 เม.ย. 15, 10:03

อย่างที่ทราบกันว่า  ตระกูลอภัยวงศ์และกุญชร  เป็นตระกูลที่มั่งคั่งในสมัยหนึ่ง  
แต่ต่อมาเกิดเหตุผันผวน(อันเนื่องมาจากอะไรก็ตามแต่)  ทำให้ความมั่งคั่งนั้นค่อยหายไป
แม้แต่ที่บ้านของพระอภัยวงศ์วรเศรษฐ (ช่วง  อภัยวงศ์) ก็เช่นกัน


ความผันผวนทำให้คุณพระต้องย้ายบ้าน

ข้อมูลจากหนังสืออนุสรณ์ นางจิตราภา วรทัต
ภายหลังไปอยู่กับหม่อมยายที่บ้านขมิ้น
ท่านบิดา คือพระอภัยวงศ์วรเศรษฐ ก็ไปอยู่ที่บ้านขมิ้นด้วย

ส่วนบ้านก็คงเปลี่ยนเจ้าของ ดังบันทึกของ คุณ Tom Barnes

This was the house where my grandparents lived with my mother and her sister in Bangkok in 1946-49 when my grandfather was the United States Military Attache to Siam and Burma. The house was still there when we visited Bangok in 1991. It was destroyed in the mid 2000s for the Rajanakarn Tower, a high-rise office building. While they were in residence, S.J Perelman, Al Hirschfeld, Jim Thompson and others came to visit.


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 30 เม.ย. 15, 11:35

อ้างถึง
อย่างที่ทราบกันว่า  ตระกูลอภัยวงศ์และกุญชร  เป็นตระกูลที่มั่งคั่งในสมัยหนึ่ง   
แต่ต่อมาเกิดเหตุผันผวน(อันเนื่องมาจากอะไรก็ตามแต่)  ทำให้ความมั่งคั่งนั้นค่อยหายไป
แม้แต่ที่บ้านของพระอภัยวงศ์วรเศรษฐ (ช่วง  อภัยวงศ์) ก็เช่นกัน
ในหนังสือนี้  มีภาพความมั่งคั่งมั่งมีของบ้านถนนสาทรหลังนี้ให้ดูภาพหนึ่ง 
เป็นภาพโต๊ะจัดเลี้ยงที่บ้านหลังนี้  ซึ่งแต่ก่อนมีการจัดเลี้ยงบ่อยมาก
ช้อนเงินช้อนทอง แก้วน้ำ และภาชนะที่ใช้จัดเลี้ยงนั้น เป็นลวดลาย  สั่งทำจากฝรั่งเศส 
เขียนน้ำทองบ้าง ฉาบทอง มีตราสกุลอภัยวงศ์  (หนังสือท่านว่าไว้อย่างนั้น)

ข้อมูลของคุณหมอเพ็ญชมพูแสดงว่า บ้านหลังนี้เจ้าของไม่ได้อยู่เอง แต่ให้ฝรั่งเช่าจนกระทั่งอย่างน้อยก็ปี ๒๕๓๔ แต่หลังจากนั้นคงตัดสินใจขาย เพราะอยู่ไม่สบายแล้ว แบบมันโบราณเหลือเกิน ไม่คุ้มค่าบูรณะปฏิสังขรณ์
บันทึกการเข้า
chakad77
อสุรผัด
*
ตอบ: 38


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 30 เม.ย. 15, 19:23

มีความเห็นหนึ่งพูดว่า "สวยสู้บ้านเลขที่ 179 ไม่ได้ ปัจจุบันเป็นอาคารบางกอกซิตี้ทาวเวอร์"
ท่านไหนพอจะมี รูป หรือ ประวัติ บ้านเลขที่ 179 บ้างครับ
บันทึกการเข้า
ป้าหวัน
มัจฉานุ
**
ตอบ: 56


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 30 เม.ย. 15, 21:52

แม่ของดิฉันเคยเล่าให้ฟังว่า บ้านเจ้าพระยาอภัยภูเบศที่สาธรเคยมีคอกม้าสำหรับยานพาหนะด้วย บรรดาญาติๆ ก็เคยอาศัยที่บ้านสาธร มีตระกูลหวั่งหลีเป็นเรือนเคียง ขอบคุณที่แสดงภาพค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 01 พ.ค. 15, 09:50

ผมอยู่กรุงเทพฯ เขาลงประกาศข่าวในมหาโพธิ ให้ติดต่อที่บ้านพระอภัยวงศ์ ถนนสาธร นายธรรมทาสส่งที่อยู่ไปให้ผมไปติดต่อดู ผมก็ไป แต่เจอบ้านปิดเหมือนบ้านร้าง ถามคนแถวนั้นว่าไม่เห็นมีใครอยู่

จากบทความเรื่อง ธรรมทาส ธรรมทาน และพุทธศาสนาในต่างประเทศ

ผม คือ ท่านพุทธทาส  เขา คือ พระโลกนาถ พระภิกษุชาวอิตาเลียน

พระโลกนาถเข้ามาเมืองไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๗๖ บ้านคุณพระอภัยวงศ์ฯ คงร้างตั้งแต่นั้นมาแล้ว
บันทึกการเข้า
ป้าหวัน
มัจฉานุ
**
ตอบ: 56


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 01 พ.ค. 15, 13:43

ผมอยู่กรุงเทพฯ เขาลงประกาศข่าวในมหาโพธิ ให้ติดต่อที่บ้านพระอภัยวงศ์ ถนนสาธร นายธรรมทาสส่งที่อยู่ไปให้ผมไปติดต่อดู ผมก็ไป แต่เจอบ้านปิดเหมือนบ้านร้าง ถามคนแถวนั้นว่าไม่เห็นมีใครอยู่

จากบทความเรื่อง ธรรมทาส ธรรมทาน และพุทธศาสนาในต่างประเทศ

ผม คือ ท่านพุทธทาส  เขา คือ พระโลกนาถ พระภิกษุชาวอิตาเลียน

พระโลกนาถเข้ามาเมืองไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๗๖ บ้านคุณพระอภัยวงศ์ฯ คงร้างตั้งแต่นั้นมาแล้ว

ตอนดิฉันเป็นนิสิต บ้านนี้ยังตั้งอยู่ที่สาทร ดิฉันเคยนั่งรถเมล์ผ่าน แต่ไม่มีคนอาศัยอยู่นานแล้วจริง มีรถแทรกเตอร์อยู่แทน สมบัติเป็นของนอกกาย มีได้ก็หมดได้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 01 พ.ค. 15, 15:17

พระโลกนาถเข้ามาเมืองไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๗๖ บ้านคุณพระอภัยวงศ์ฯ คงร้างตั้งแต่นั้นมาแล้ว

พ.ศ. ผิดไป ๑๐๐ ปี ขอแก้ไขเป็น พ.ศ. ๒๔๗๖ เลยขออนุญาตขยายความเรื่อง พระโลกนาถ

ท่านพุทธทาสไม่ใคร่เลื่อมใสในพระรูปนี้ และได้เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตย ฉบับวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๔๗๖ ในนามปากกา เปรียญเด็ก มีความตอนหนึ่งว่า

"พระโลกนาถได้เดินทางมาชักชวนพระภิกษุสยามที่มีความศรัทธา ยอมเสียสละออกเดินธุดงค์ ไปเผยแผ่พุทธศาสนาที่กรุงโรมและเยรุซาเล็ม และเที่ยวไปรอบโลก ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความเสียสละทุกอย่างผู้หนึ่ง แต่ทำไมข้าพเจ้าจึงไม่ไปกับพระโลกนาถ หรือไปกับพระโลกนาถไม่ได้

....ข้าพเจ้าไม่เลื่อมใสในพระโลกนาถเฉพาะอย่างหนึ่ง คือการที่ท่านตั้งนามตัวเองว่า "โลกนาถ" ซึ่งเป็นนามที่หมายเอาพระพุทธเจ้าจำพวกเดียวเท่านั้น ถ้าใจของข้าพเจ้าเชื่อว่าท่านรูปนี้เป็นพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าจะไปกับท่านทันที แต่บัดนี้ข้าพเจ้ายังไม่เชื่อ ทำให้เกิดความรังเกียจเล็กน้อย....

ทั้งบางคราวยังลังเลว่า เราควรรอดูการกระทำของผู้ที่อ้างตัวเป็นพระอรหันต์โดยอ้อมผู้นี้ ไปก่อนจะดีกว่ากระมัง"


ชาวพุทธไทยมักไม่ใคร่สบายใจ หากใครเอาชื่อที่มีความหมายถึงพระพุทธเจ้ามาตั้งเป็นชื่อตนเองหรือลูกหลาน

อาจารย์กรุณา กุศลาสัย เล่าไว้ว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ มีพระฝรั่งชาติอิตาลีชื่อ "โลกนาถ" เข้ามาชักชวนพระภิกษุสามเณรไปฝึกอบรมและเรียนวิชาธรรมทูตที่อินเดีย พระเถรานุเถระหลายองค์ของไทยเราไม่ค่อยพอใจพระฝรั่งองค์นี้ ก็ด้วยชื่อของท่านที่บังอาจตั้งฉายาของท่านว่า โลกนาถ

จาก ท่านพุทธทาสในความทรงจำของผม โดย กรุณา กุศลาสัย
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.08 วินาที กับ 20 คำสั่ง